ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

มหากาพย์แห่งหนี้TPI ตอน ตั้งป้อมสู้

"... การปรับโครงสร้างหนี้ผมไม่มีโอกาสได้บริษัทคืน เพราะกระบวนการที่เขาปล้นประเทศไทย เดินไปตามกฎหมายฟื้นฟูฉบับนี้ที่คัดค้านกันมาตลอด เพราะไปลอกแบบกฎหมายฟื้นฟูของอเมริกาปี ๑๙๗๘ ซึ่งไปให้อำนาจเจ้าหนี้มายึดกิจการได้ ก่อนจะล้มละลาย" (การเสวนา “บทเรียนคนสู้หนี้” ,กองบรรณาธิการฐานเศรษฐกิจ,๔ ก.ค.๒๕๕๐)

มหากาพย์แห่งหนี้ ทีพีไอ. เริ่มจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศยอมรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float) แทนที่ระบบตะกร้าเงิน (Basket Currency) ในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ และสั่งระงับ หรือ ที่ประชัยใช้ภาษาหนังจีนกำลังภายใน “จี้สกัดจุด” การดำเนินกิจการของสถาบันการเงิน ๕๖ แห่ง

การใช้ “ยาแรง” ของธนาคารแห่งประเทศไทย สร้างผลข้างเคียง คือ ธุรกิจต่างประสบปัญหาขาดสภาพคลองอย่างรุนแรง ในกรณีของทีพีไอ ซึ่งกู้ยืมเงินในรูปเงินตราต่างประเทศประสบปัญหาขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีถึง ๖๕,๒๖๑ ล้านบาท ทำให้ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่า ๑๓๐,๐๐๐ ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ พยายามไกล่เกลี่ยหนี้สินกับ ประชัย แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติ กระทั่งรัฐบาล ชวน หลีกภัย เข้ามาไกล่เกลี่ยผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ไม่สำเร็จ

เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๐ มีการเชิญประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไข ในที่สุดทีพีไอ ประกาศ “พักชำระหนี้” (Moratorium)

วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ทีพีไอได้เจรจากับเจ้าหนี้โดยมอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการเงิน คือ เชส แมนฮัดตัน (เอส.อี.เอ.) ลิมิเต็ด จัดทำแผนเบื้องต้นเสนอแก่เจ้าหนี้

ขณะที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหนี้รายใหญ่รวม ๑๓ ราย หนี้สินรวมกันประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๙๓ ของหนี้สินทั้งหมด ได้แต่งตั้งบริษัท เฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จำกัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน และมีการเจรจากับนายประชัย จนเห็นพ้องต้องกันใน “ข้อตกลงหลัก” (Indicative term sheet) มีการจัดทำแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามที่ระบุในข้อตกลงหลัก ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ธนาคารแห่งประเทศไทย คิดเป็นหนี้สินประมาณ ๓,๗๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตกลงให้นำทีพีไอ และบริษัทย่อย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายล้มละลาย ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

ข้อตกลงหลักได้กำหนดว่า ทีพีไอจะต้องชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุภายในกำหนดเวลา โดยทีพีไอต้องจำหน่ายทรัพย์สิน ที่ไม่ใช่ทรัพย์สินหลัก (Non –core asset) และการเพิ่มทุน ซึ่งจะช่วยลดภาระหนี้สิน และดอกเบี้ยลงเพื่อให้ทีพีไอชำระหนี้ได้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้นได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานหลักเช่น ดอกเบี้ยร้อยละ ๒ บวกด้วยอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอน (LIBOR) สำหรับเงินที่ต้องชำระด้วยสกุลเงินยูโร เหรียญสหรัฐ หรือ เยน หรือบวกด้วยอัตรากู้ยืมเงินสำหรับลูกค้าชั้นดี สำหรับหนี้ที่ต้องชำระเป็นเงินบาท โดยหนี้ชั้นที่หนึ่ง จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นรายปี ซึ่งหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าร้อยละ ๕๕ ของเจ้าหนี้ทางการเงินทั้งหมด

มีการตั้งข้อสังเกตว่า “ข้อตกลงหลัก” คล้ายคลึงกับแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ คือ มีการแปลงหนี้เป็นทุน โดยนำดอกเบี้ยค้างรับส่วนใหญ่ในรอบปี พ.ศ.๒๕๔๑ มาแปลงเป็นทุนร้อยละ ๓๐ ของทุนเรือนหุ้นที่เพิ่มขึ้นของทีพีไอ. การกำหนดให้เจ้าหนี้ทางการเงิน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ส่วนที่เหลือออกไป โดยหนี้ส่วนที่เหลือจะแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ หนี้ชั้นที่ ๑ และหนี้ชั้นที่ ๒ โดยหนี้ชั้นที่ ๑ จะได้รับการชำระตั้งแต่เริ่มแรก ส่วนหนี้ชั้นที่ ๒ จะชำระต่อเมื่อมีเงินสดเหลือจากผลการประกอบการ หนี้ในสกุลเงินอื่นนอกจากเงินบาท เงินยูโร เงินเหรียญสหรัฐ หรือเงินเยน จะได้รับการชำระในสกุลเงินดังกล่าวข้างต้น ตามที่เจ้าหนี้เกี่ยวข้องจะกำหนด และได้กำหนดกลไกวิธีการที่จะมาชำระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้แต่ละรายจากแหล่งเงิน ๓ แหล่ง คือ การขายสินทรัพย์ กระแสเงินสดส่วนเกิน และการเพิ่มทุน

แต่ก่อนที่จะถึงวันไต่สวน คือ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ ประชัย ก็ยื่นคำคัดค้านการฟื้นฟูกิจการ

สาเหตุปัญหาต้องย้อนกลับไปที่ เงื่อนไขการเห็นพ้องใน “ข้อตกลงหลัก” ซึ่งมีการอ้างว่า เอาเข้าจริงฝ่ายประชัย ยินยอมภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องมีการแก้ไขข้อตกลงบางข้อ เพื่อให้แผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ อาทิ ตาม “ข้อตกลงหลัก” แม้ระบุให้ประชัยเป็นผู้ทำแผนและบริหารแผน แต่ต้องมอบอำนาจทั้งหมด ให้คณะกรรมการบริหารซึ่งเจ้าหนี้เห็นชอบเป็นส่วนใหญ่ หรือ การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้ดอกเบี้ยค้างรับแปลงเป็นทุน ทำให้ได้ถือหุ้นร้อยละ ๓๐ มีสิทธิเข้าบริหารและครอบงำกิจการของทีพีไอ การระบุให้ทีพีไอต้องชำระดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และจะต้องกระทำการต่างๆภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งเมื่อทีพีไอผิดนัด เจ้าหนี้มีสิทธิรับหุ้นกู้แปลงสภาพจากทีพีไอมาแปลงเป็นหุ้นสามัญ ถ้ารวมกับหุ้นร้อยละ ๓๐ แล้ว ก็จะได้หุ้นไปถึงร้อยละ ๗๕ การยอมให้ขายสินทรัพย์หลักของลูกหนี้ การไม่ได้สนับสนุนสินเชื่อตามที่ระบุในแผนโดยให้สินเชื่อเพียง ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐจาก ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ การระบุให้ทีพีไอต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในปี ๒๕๔๖

ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เดินหน้าต่อ ระหว่างที่ศาลทำการไต่สวนคำร้องขอในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ เจ้าหนี้ได้ขอแก้ไขคำร้อง โดยเสนอให้ บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ จำกัด (อีพีแอล) เป็นผู้บริหารแผนแทนนายประชัย

เป็นท่าทีชัดเจนว่า เจ้าหนี้ไม่เอากับประชัย !`

ขณะเดียวกันประชัย ก็ยื่นคำคัดค้านโดยระบุว่าผู้บริหารแผนที่เจ้าหนี้เสนอ เป็นนักบัญชี ไม่มีความรู้ความสามารถในกิจการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พร้อมเสนอ “บริษัท ทีพีไอ แพลนเนอร์ จำกัด” เป็นผู้บริหารแผน

เป็นท่าทีชัดเจนเช่นกันว่า ประชัยก็พร้อมสู้ทุกรูปแบบ !

สื่อมวลชนอย่าง “ Corporate Thailand” ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ วิเคราะห์ในบทความ “เกมตาอยู่ ฮุบทีพีไอ”ว่า ประชัยและชาตรี เกิดมาเป็นลูกเศรษฐีได้รับการศึกษาสมัยใหม่แบบตะวันตก มีอาณาจักรเป็นของตนเอง และต่างก็เป็นคนแข็งด้วยกันทั้งคู่

“เป้าหมายของชาตรีคือกำจัดประชัยให้พ้นจาก ทีพีไอ ส่วนเป้าหมายของประชัยก็คือต้องอยู่ต่อให้ได้”

แต่สำหรับทัศนะ ที่อาจถือว่าเป็นกลางที่สุดของงานนี้ก็คือ งานวิจัยที่เสนอต่อ “วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร” ของ “กมล ธีรเวชพลกุล” ซึ่งอธิบาย “รากเหง้า” ของปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

“กมล ธีรเวชพลกุล” สังเคราะห์ความเห็นจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลระดับ “คีย์แมน” ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอ ไม่ว่าจะเป็น ทนายของผู้บริหารทีพีไอ ทนายของอีพีแอล ทนายของเจ้าหนี้ ผู้บริหารระดับสูงของเจ้าหนี้ สมาชิกสหภาพแรงงาน ทีพีไอ ผู้บริหารแผนของกระทรวงการคลัง สื่อมวลชน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และอดีตผู้พิพากษาในศาลล้มละลายกลาง ก่อนสรุปฟันธงว่า

เงื่อนไข ของ “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์”

“ ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งเป็นผู้บริหาร ทีพีไอ โดยเป็นผู้ถือหุ้นที่เป็นส่วนทุนเดิม และเคยได้รับความเชื่อถือจากเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โดยให้ ทีพีไอ กู้ยืมเงินมาขยายกิจการ ในแง่สังคมจิตวิทยาย่อมรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของกิจการทีพีไอ และเหตุที่ทีพีไอมีหนี้สินจำนวนมากมิได้เกิดจากความผิดของตน หากแต่เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจ และรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท...”

“...จากการวิจัยพบว่า สิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอเป็นอย่างมาก ก็คือบทบาทของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของทีพีไอในฐานะเป็นผู้นำของผู้บริหารของทีพีไอ ที่ใช้การต่อสู้ในลักษณะแข็งกร้าวไม่ยอมอ่อนข้อในการเจรจากับคณะกรรมการเจ้าหนี้…”

เงื่อนไขของ “คณะกรรมการเจ้าหนี้”

“...การที่คณะกรรมการเจ้าหนี้มิได้ลดหนี้ (Hair Cut) ให้แก่ทีพีไอลงเฉกเช่นกิจการอื่นๆ และอาศัยช่องทางของกฎหมายแปลงหนี้ดอกเบี้ยเป็นทุนเข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ของทีพีไอ ทำให้กิจการตกเป็นของเจ้าหนี้ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นส่วนทุนเดิม...”

“...ส่วนบทบาทของคณะกรรมการเจ้าหนี้ก็ไม่ไว้วางใจผู้บริหารของทีพีไอ และไม่ยอมรับท่าทีของนายประชัย และปฏิเสธไม่ต้องการให้กลับมาเป็นผู้บริหารของทีพีไออีกต่อไปไม่ว่าในรูปแบบใด เป็นเหตุให้การเจรจาต่อรองไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งไม่สนับสนุนแก่ทีพีไออย่างที่ควรจะเป็น นับเป็นปมปัญหาความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุด

แม้คณะกรรมการเจ้าหนี้อ้างว่า ไม่ต้องการครอบครองกิจการของทีพีไอ เพียงต้องการจะได้รับชำระหนี้คืน โดยมองว่ากิจการของทีพีไอมีศักยภาพพอที่จะชำระหนี้ได้ในอนาคตจึงไม่จำต้องลดหนี้ลง แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่าแนวทางในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการอยู่บนรากฐานแห่งความขัดแย้ง คณะกรรมการเจ้าหนี้จึงใช้เป็นเครื่องมือในการตอบโต้ผู้บริหารของทีพีไอ โดยกีดกันมิให้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้บริหารทีพีไอในอนาคตอีกต่อไป จึงใช้วิธีแปลงดอกเบี้ยเป็นทุน เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้เข้าถือหุ้นส่วนใหญ่ของทีพีไอ ตลอดจนขายทรัพย์สินบางส่วนของทีพีไอชำระหนี้ และในระหว่างปฏิบัติตามแผนก็ไม่สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ทีพีไออย่างเพียงพอ ตลอดจนปฏิเสธการร้องขอของผู้บริหารของทีพีไอทุกรูปแบบ...”

เงื่อนไขพื้นฐานนี่แหละ ที่ทำให้ต่างฝ่าย ระดมสรรพกำลัง ตั้งป้อม พร้อมดาหน้าห่ำหั่นกัน โดยมีซากปรักหักพังของประเทศเป็นเดิมพัน

ที่มา เว็ปเสียงประชาคม
//www.civilvoice.net/columnist/tpi/51/002.php




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2551    
Last Update : 21 สิงหาคม 2551 1:19:38 น.
Counter : 611 Pageviews.  

มหากาพย์แห่งหนี้TPI ตอน ลอดลายอาณาจักร

ลอดลายอาณาจักรทีพีไอ

9 ส.ค. 51

ถ้าเข้าใจเรื่อง ทีพีไอ.ก็มองทะลุการเมืองปัจจุบัน ย้อนรอย เจาะลึก การต่อสู้แย่งชิง อาณาจักร แสนล้าน ทีพีไอ. ซึ่งว่ากัน “วงใน” ว่า เป็นเหตุผลหนึ่งของการปฏิวัติ 19 กันยายน 2548

งานวิจัย “จากทีพีไอ สู่ ไออาร์พีซี” ของ “ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ้างผลศึกษาของ นักวิชาการสำนักเศรษฐศาสตร์การเมือง หลายคน อาทิ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์-ยาบุชิตะ เพื่อฉายภาพรวมของธุรกิจไทยในยุคก่อนเศรษฐกิจตกต่ำ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ว่า เป็นไปในความสัมพันธ์แบบ “ธนาธิปไตย” คือ อำนาจทางการเงินกำหนดระบบการเมือง

ประเด็นที่นักวิชาการกลุ่มนี้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ก็คือ การถือครองอำนาจทางเศรษฐกิจในระดับสูงของกลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่ ซึ่งงานวิจัยของศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำมาอธิบายกับการสร้างอาณาจักร ทีพีไอ.ของ ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์

“...อนุมานได้ว่า ทีพีไอ.สามารถจัดอยู่ในกลุ่มของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะเฉพาะคือ กลุ่มธุรกิจเกือบทั้งหมด ถูกครอบครองโดยตระกูลผู้ก่อตั้งทั้งในส่วนของเจ้าของกิจการและการบริหาร ทั้งนี้นักวิชาการเหล่านี้ยังอธิบายโดนละเอียดว่า รูปแบบการบริหารในลักษณะ "กิจการครอบครัว” ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงบริษัทเอกชน ในลักษณะบริษัทจำกัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย

จากการสำรวจของ Suehiro ( ๒๐๐๓ หน้า ๑๐๙-๑๑๐) พบวา ยอดขายรวมต่อปีของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุด ๑๐๐ อันดับแรกในปี ๒๕๔๐ เป็นของเอกชนไทย ๕๗.๗ % ของรัฐวิสาหกิจ ๙.๐ % และของบริษัทต่างชาติ ๒๗.๗ % ยอดสินทรัพย์รวมต่อปีในปี ๒๕๔๐ เป็นของบริษัทเอกชนไทย ๗๔.๖ % ของรัฐวิสาหกิจ ๑๔.๘ % และของบริษัทต่างชาติ ๑๐ .๗ % เมื่อพิจารณาเฉพาะกรณีของทีพีไอ นั้น ทีพีไอ ติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ถือครองสินทรัพย์โดยครอบครัว ที่มีรายรับสูงที่สุดในประเทศ โดยมีรายรับรวมกันทั้งกลุ่มบริษัท กว่า ๑ แสนล้านบาท (เกริกเกียรติ,๒๐๐๕ หน้า ๘๐) นอกจากนี้ข้อสังเกตสำคัญของ Suehiro และเนตรนภาก็คือ เจ้าของธุรกิจเหล่านี้เป็นกลุ่มนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ ๒”

“เลี่ยวเปี๊ยะยู้” ปู่ของ “ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” เป็น“คนจีนรุ่นเสื่อผืน หมอนใบ” ทำการค้าอยู่ที่สระบุรีตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ กิจการมีทั้งโรงเหล้า โรงฝิ่น โรงฆ่าสัตว์ โรงสี และค้าพืชไร่

สระบุรี คือ ถิ่นของ “พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร” ผู้ซึ่งต่อมากลายเป็นเขยของ “จอมพล ผิน ชุณหะวัณ” และเป็นคู่เขยของ “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” คือ เหล่าสาแหรกของกลุ่ม Elite ทางการเมืองที่มีบทบาท อิทธิพลต่อหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในนาม “กลุ่มซอยราชครู”

“พร เลี่ยวไพรัตน์” พ่อของประชัย เป็นหนึ่งในพ่อค้ารุ่นใหม่ที่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากกลุ่มซอยราชครู เช่นเดียวกับ ชิน โสภณพนิช แห่งแบงก์กรุงเทพ

ชิน เอาดีทางสายแบงก์ ขณะที่ พร เอาดีทาง กิจการโรงงานทอผ้าได้แก่ ลักกี้เท็กซ์ไทล์ และไทยเกรียง

การเติบโตของกลุ่มราชครูและเครือข่ายธุรกิจ ติดปีก เมื่อเข้าไปค้ำฐานอำนาจให้จอมพลป. พิบูลย์สงคราม นานเกือบสิบปี

กลุ่มซอยราชครูและจอมพล ป. ตั้งบริษัทข้าวไทย และให้ “ม้าเลียบคุณ” หรือ นายมา บูลกุล เป็นผู้จัดการ พรก็ได้รับผลักดันจกจอมพลผินให้จัดตั้งบริษัท ธนาพรชัยค้าข้าว ร่วมกับสมาน โอภาสวงศ์

“ชิน โสภณพนิช” เองก็เข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนใน “บริษัท ธนาพรชัยค้าข้าว” แม้จะเป็นหุ้นเพียงส่วนน้อยแต่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ว่า นี่คือ “พรรคพวก” เดียวกัน ที่ต้องช่วยเหลืออุ้มชูกันไป เสมือนหนึ่ง “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า”

“ธุรกิจธนาคารนั้นอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องเติบโตตามโครงสร้างเศรษฐกิจโดยรวม จะเป็นเอกเทศไม่ได้ เพราะต้องเกาะหลังธุรกิจอุตสาหกรรมอีกทอดหนึ่ง” คำพูดนี้เป็นของ “โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์”

ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างตระกูล “โสภณพนิช” และ “เลี่ยวไพรัตน์” จึงมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน

จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก “ประชัย” กับ “ชาตรี” เป็นลูกจีนที่เกิดมาคาบช้อนเงินช้อนทอง เป็น “นายน้อย” ที่ได้รับการฟูมฟัก เพื่อสืบทอดอาณาจักรของตระกูล

ทั้งสองได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ “ประชัย” จบปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเบอร์กเลย์ เมื่อกลับมาประเทศไทยก็ลงไปคลุกกับธุรกิจอาหารสัตว์ ชนกับ “ตระกูลเจียรวนนท์” อยู่พักใหญ่ ก่อนที่ผู้เป็นแม่จะขอให้เลิกเพราะไม่อยากส่งเสริมการฆ่าสัตว์ ซึ่งถือเป็นบาป

ประจวบเหมาะกับ “ประมวล” น้องชายของ “ประชัย” เพิ่งจบปริญญาเอกทางด้านปิโตรเคมี จาก MIT ซึ่งถือเป็นตักศิลาชั้นสุดยอดของอเมริกา

ประชัยและประมวล มองเห็นลู่ทางที่จะหันเหไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เพราะเชื่อว่า มันเป็นพัฒนาการของเศรษฐกิจประเทศที่หนีไม่พ้น เป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลกำลังให้การส่งเสริม

ปัญหาคือ ใครจะมองเห็นอย่างทะลุ และเริ่มลงมือก่อน !

ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ภายใต้การบริหารประเทศของคณะรัฐบาลชุด พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ การพัฒนาที่ปลดปล่อยกลุ่มพลังทางการเมืองที่หลากหลายมากขึ้น อำนาจการเมืองไม่อาจแบ่งสรรเฉพาะ “ทุน-ขุนศึก” การเมืองเริ่มเคลื่อนจากระบอบ “อำมาตยาธิปไตย” สู่ “ประชาธิปไตย” แต่ก็ยังเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”

ภาวะเศรษฐกิจในยุคนั้นถือเป็นช่วง “ฟ้าเปิด” สำหรับ “ประชัย” ที่จะสร้างอาณาจักรทีพีไอ เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้คลี่คลายลงไปมาก ในภาพรวมมีการคาดการณ์กันว่า ทั้งกระแสเศรษฐกิจโลกและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่อเค้าว่าจะมีอนาคตอันสดใสขึ้นเนื่องด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะสถานการณ์ลงทุนในประเทศไทยเริ่มก้าวย่างเข้าสู่ระยะของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ระบบอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ภาพฝันที่วาดไว้สำหรับเศรษฐกิจไทยคือ เป็น “เสือตัวใหม่ของเอเชีย” ด้วยการเดินสู่ ความเป็น ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs - Newly Industry Countries)

อาณาจักรทีพีไอ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๒๑ ทุนจดทะเบียน ๓๐๐ ล้านบาท ผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วย กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ คือ บริษัท เลี่ยวไพรัตน์วิสาหกิจ จำกัด บริษัท ธนาพรชัยวิสาหกิจ จำกัด บริษัทอุตสาหกรรมสหธัญพืช จำกัด ซึ่งถือหุ้นรวมประมาณ ๖๐ % คิดเป็นเงินประมาณ ๑๘๐ ล้านบาท นอกนั้นก็เป็นเงินทุนจากตระกูลอื่นๆที่เคยร่วมกันทำธุรกิจการเกษตรมาด้วยกัน

แน่นอนว่า แบงก์กรุงเทพ ซึ่งชาตรีเข้าไปรับไม้ต่อจาก “ชิน” ผู้เป็นพ่อ ก็คือ ผู้สนับสนุนทางการเงินรายใหญ่

“ในระบบการเงินของไทย เขาถือพวกใครพวกมัน ถ้าคุณเป็นพวกแบงก์กรุงเทพ คุณก็จะไม่เป็นพวกแบงก์กสิกร เพราะถ้าคุณย้ายค่าย หมายความว่าต้องโกรธกันแล้ว” วิโรจน์ นวลแข กล่าวไว้เช่นนั้น

กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นห้วงขณะที่ประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ได้ประกาศความหวังใหม่ทางเศรษฐกิจด้วยคำว่า ‘โชติช่วงชัชวาล’ ประชัย ก็ได้ฤกษ์เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene : LDPE) ที่จังหวัดระยอง

ด้วยกำลังการผลิตขนาด ๖๕,๐๐๐ ตันต่อปีในช่วงเริ่มต้น ต่อมาปรากฏว่าได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่ง ‘กลุ่มบริษัททีพีไอ’ กลายเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุด และมีสายการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย สามารถส่งออกสินค้าสร้างรายได้ให้ประเทศปีละกว่าแสนล้านบาท พร้อมทั้งขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจอื่นๆ อีกหลายประเภท ครอบคลุมทั้งกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน กลุ่มปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดระยอง

โดยเฉพาะศักยภาพเชิงธุรกิจที่เข้มแข็ง อันเกิดจากการดำเนินการผลิตแบบประสมประสานของปิโตรเคมี คือ ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกและธุรกิจน้ำมันเข้าด้วยกัน ซึ่งนับว่ามีไม่กี่แห่งในโลกที่มีการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้ได้ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและความได้เปรียบเชิงบริหารจัดการ เป็นการลดต้นทุนการผลิต ทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าของผลพลอยได้ของการกลั่นน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกเกือบทั้งหมด

ในจำนวนนี้ยังไม่นับรวมถึงกลุ่มกิจการของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์และคอนกรีตตราทีพีไอ, ปูนสำเร็จรูปตราทีพีไอ และเม็ดพลาสติกความหนาแน่นต่ำ LDPE ซึ่งมีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ กม.๑๓๔ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

กลุ่มบริษัททีพีไอ (TPI) นั้น ใช้เวลาไต่เต้าสร้างฐานธุรกิจเพียงไม่กี่ปี ก็สามารถผลักดันตัวเองจนกลายเป็น ‘บริษัทมหาชน’ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีทรัพย์สินโดยรวมมากกว่า ๑.๓ แสนล้านบาท และมีพนักงานในกลุ่มทีพีไอถึง ๗,๓๐๐ คน

โดยการเจริญเติบโตของทีพีไอ ช่วงแรกจะขยายกิจการทุก ๔ ปี กระทั่งจากปี ๒๕๓๓ ความเจริญเติบโตจะขยายตัวทุก ๒ ปี เนื่องจากใกล้เข้าภาวะของ Free Trade หรือ ‘การค้าเสรี’ จึงต้องเร่งขยายกิจการเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเวทีการค้าโลก ถึงขั้นปี ๒๕๓๗ ทีพีไอลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขนาด ๑๐๐ เมกะวัตต์ จากเดิมที่ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องกำลังไฟไม่พอซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานด้านการผลิตของบริษัท โดยมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของตัวเองประมาณ ๔๐% ส่วนที่เหลือยังคงใช้ไฟของ กฟภ.อยู่

และถึงปี ๒๕๓๘ ทีพีไอร่นการพัฒนามาเป็นปีต่อปี โดยมีการสร้างโรงกลั่นขนาด ๖๕,๐๐๐ บาเรลต่อวัน

ประชัย เคยให้เหตุผลว่า ต้องเร่งสร้างกล้าม เพื่อสู้กับฝรั่ง

ดังนั้นแล้ว ปี ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จึงกลายเป็นปีที่ทีพีไอมีการขยายงานขนานใหญ่ กระทั่งเป็นธุรกิจที่ ‘ครบวงจร’ ในที่สุดโดยการใช้บริการ ‘เงินกู้’ จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และมีแผนขยายงานอีกหลากหลายโดยเฉพาะการเตรียมการเรื่องโรงกลั่นที่มีแผนจะขยายให้ได้ ๑๕๐,๐๐๐ บาเรล/วัน

แหล่งเงินทุนในการสร้างอาณาจักร นับแต่วันแรกจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มีดังนี้

* ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น ๓๐๐ ล้านบาท
* บริษัทและบริษัทในเครือกู้จากสถาบันการเงิน ๙๑,๕๕๗ ล้านบาท
* เงินลงทุนจากประชาชน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท
* ผู้ถือหุ้นกู้จากสถาบันการเงิน ๔,๖๐๐ ล้านบาท
* เงินปันผลจากการดำเนินงานที่ผู้ถือหุ้นนำกลับมาลงทุนใหม่ ๕,๔๐๐ ล้านบาท

“นักวิชาการจำนวนมากทั้งในประเทศไทยและนักวิชาการต่างประเทศ (Yen,๒๐๐๑;Gomex and Hsiao,๒๐๐๒;๒๐๐๒) ยังคงมองว่า คนในรุ่นดังกล่าวมีแนวคิดการทำธุรกิจในรูปแบบ “ครอบครัวจีน” คือ อาศัยความสัมพันธ์แบบกวางซี(กงสีในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว) และดูแลธุรกิจในเรื่องสำคัญด้วยคนในครอบครัว โดยตัดคนนอกครอบครัว หรือนักบริหารอาชีพ ให้ทำงานตามที่มอบหมาย แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรับนโยบายอย่างแท้จริง และมีความสัมพันธ์กับระบบภายนอกผ่านทุนนิยมแบบจีน การบริหารครอบครัวของบริษัทไทยดังกล่าว Lawler et al.(๑๙๙๗:๑๗๘)ให้ความเห็นว่า

“...บริษัทเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนนอกครอบครัว ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกเขาเหล่านั้นต้องการเพิ่มเงินทุนเพื่อการขยายธุรกิจ แม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะขยายไปจนเป็นบริษัทมหาชน หรือบรรษัทข้ามชาติ ตามรูปแบบการจดทะเบียน และการขายให้สาธารณชน แต่แท้จริงแล้วบริษัทเหล่านี้ ก็ยังคงถูกควบคุมโดยครอบครัวผู้ก่อตั้งอยู่เช่นเดิม” (ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,อ้างแล้ว)

แม้จะมีคำพยากรณ์จากนักวิชาการบางกลุ่มว่า NICs คือ “Narok(นรก) Is Coming Soon แต่ก็ไม่มีใครนึกภาพตอนนั้นออกว่า ยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมอย่างทีพีไอจะประสบกับ ‘ภาวะวิกฤติ’ อย่างรุนแรง หลังจากก่อตั้งบริษัทครบ ๑๙ ปีในปี ๒๕๔๐ โดยมีหนี้ที่นับว่าเป็นก้อนใหญ่สุดของประเทศ คือ ๒.๗ พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า ๑ แสนล้านบาท

การผจญกับวิกฤตการณ์ชนิดที่พลิกผันและสร้างผลสะเทือนรุนแรง กลายเป็นจุดกำเนิด ‘มหากาพย์แห่งหนี้ ’

ที่มา เว็ปเสียงประชาคม
//www.civilvoice.net/columnist/tpi/51/001.php




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2551    
Last Update : 21 สิงหาคม 2551 1:15:05 น.
Counter : 656 Pageviews.  

งัด ม.301 บี้ ‘จารุวรรณ’พ้นผู้ว่าการ สตง.

รธน.ชี้ชัดต้องสรรหาใหม่ในกำหนด 120 วัน :

โผล่อีก! พบเงื่อนไขตาม รธน.50 ระบุชัด ต้องเลือกผู้ว่าการ สตง. คนใหม่ ภายใน 120 วันนับแต่มีประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้าน ที่จะต้องมาทำหน้าที่กรรมการสรรหา 7 คน ขณะที่ “จารุวรรณ เมณฑกา” ทำหน้าที่เกินเวลาร่วม 7 เดือนเข้าไปแล้ว ส่อเป็นผู้ว่าการหมดอายุ ไร้สถานภาพในการทำงานและไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ระบุมีความแตกต่างกับตำแหน่ง ป.ป.ช. และ กกต. ที่มีการกำหนดวาระไว้ 7 ปี ตั้งข้อสงสัยเป็นไปได้หรือที่ “หญิงเป็ด” จะไม่รู้เงื่อนไขดังว่า นักกฎหมายชื่อดัง “คณิน บุญสุวรรณ” ออกโรงเตือนอย่าทำตัวมั่วนิ่ม ส่อจงใจกินเงินเดือนนับแสนที่มาจากภาษีประชาชน

ผลพวงจากการปฏิวัติรัฐประหารยังส่งผลกระทบต่อบ้านเมืองไม่เลิก หลังจากมีเหตุอันชวนให้เชื่อว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่อมีที่มาไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นองค์กรเถื่อน ล่าสุดยังส่อว่า คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะเป็นผู้ว่าการเถื่อนอีกคน เนื่องจากดำรงตำแหน่งโดยขัดต่อมาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญ 2550

กรณีดังกล่าว นายคณิน บุญสุวรรณ นักกฎหมาย และอดีต สสร. กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญ 2550 บทเฉพาะกาล มาตรา 301 ระบุว่า “ให้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และหากยังไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา โดย นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อนับวันที่ผ่านมา หลังจากนายยงยุทธดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรโดยสมบูรณ์จนถึงวันนี้เป็นเวลา 206 วัน และหลังจากนายอภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านแล้วเป็นเวลา 171 วัน
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้ปฏิบัติหน้าที่เกิน 120 วัน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 301 ว่าไว้จากวันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้าน เนื่องจากบุคคลทั้งสอง จะต้องเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ 2 ใน 7 คน

อย่างไรก็ดี ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ไม่ใช่ตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีวาระ 7 ปี หรือคุณหญิงจารุวรรณไม่ทราบกฎหมายนี้ หรือทราบแล้วแต่ทำเป็นนิ่งเฉย ตั้งใจจะมั่วนิ่มดำรงตำแหน่งนี้กินเงินเดือนจากภาษีประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้เคยอ้างว่า เกินเวลาก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีสภาพบังคับเอาโทษอะไร และถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพียงแต่ผู้รับผิดชอบอาจโดนตำหนิบ้าง ลักษณะคล้ายๆ กับการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่สรรหาเกินเวลา ทั้งนี้แม้เกินเวลา แต่ก็ยังมีผู้ว่าการ สตง. คนเดิมซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธาน คตง. และกรรมการ คตง. อยู่แล้ว ซึ่งงานก็เดินต่อไปได้

(ที่มา นสพ. ประชาทรรศน์รายวัน , 18 ส.ค. 2551)




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2551    
Last Update : 21 สิงหาคม 2551 0:28:11 น.
Counter : 516 Pageviews.  

ประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตย:ธีรยุทธ บุญมี กาฝาก 14 ตุลาและ"ปัญญาชนบริกร"

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์(เรียบเรียง) 20 สิงหาคม 2551 08:57:00น.

ธีรยุทธก็เช่นเดียวกับบุคคลอันตรายหลายคนที่เราบันทึกลงในประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทยก่อนหน้านี้ คือทั้งศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคำนูณ สิทธิสมาน คือในวัยหนุ่ม ในยุคทศวรรษ2510พวกเขาเคลื่อนไหวทางการเมืองในลักษณะก้าวหน้า นำพาบ้านเมืองไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติประชาชนมาก่อน

แต่ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนสีแปรธาตุไปแบบ360องศา จนเราต้องบันทึกชื่อพวกเขาไว้ในฐานะบุคคลอันตรายฯ!


ปมมืดผู้นำนักศึกษาที่กล่าวหาเพื่อนผู้ร่วมการต่อสู้
ธีรยุทธ บุญมี เกิดเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2493 เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในยุคเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีบทบาทในการวิจารณ์การเมือง แต่โน้มเอียงไปในทางสนับสนุนเผด็จการ คัดค้านฝ่ายประชาธิปไตย

ในยุค14ตุลาฯนั้นธีรยุทธเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อขอรัฐธรรมนูญคืนจากรัฐบาลเผด็จการซึ่งนำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นวันเสาร์ สมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน ได้ไปถือโปสเตอร์ แจกใบปลิว หนังสือ และบัตรลงประชามติที่ตลาดนัดสนามหลวง ในวันนั้นเขาเป็นหนึ่งใน 11 คนที่ถูกตำรวจสันติบาลจับกุม ตรวจค้นบ้านและยึดเอกสารใบปลิว การจับกุมดังกล่าวนำไปสู่เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของนักศึกษา-ประชาชน หรือเหตุการณ์ 14ตุลาคม พ.ศ. 2516

ผู้นำนักศึกษารายสำคัญคนหนึ่งในยุค14ตุลาฯคือเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งส่วนใหญ่ปราศรัยอยู่บนหลังคารถเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวธีรยุทธกับพวกนั้น ถ่ายทอดในเวลาต่อมา(โดยเฉพาะในภาพยนตร์เรื่อง14ตุลา:สงครามประชาชนที่เสกสรรค์เขียนบทภาพยนตร์)ด้วยความขมขื่นว่า ธีรยุทธแทนที่จะนึกเห็นแก่ที่เสกสรรค์เหนื่อยยากในการต่อสู้และพยายามช่วยให้พวกถูกจับได้รับการปลดปล่อย ธีรยุทธกลับกล่าวหาว่า เสกสรรค์แย่งบทบาทนำไปจากเขาและศูนย์ฯ ขออย่าให้ประชาชนเชื่อเสกสรรค์ เพราะรับแผนของคอมมิวนิสต์มา(ซึ่งนี่อาจเป็นรอยปริแยกในศูนย์นิสิตฯทำให้เวลาต่อมาเสกสรรค์แยกไปตั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเสรี)

ธีรยุทธ บุญมี : กาฝาก 14 ตุลา และ "ปัญญาชนบริกร"
ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้นำนักศึกษารุ่นน้องธีรยุทธ โดยเป็นผู้นำนักศึกษายุค6ตุลาคม 2519 ปัจจับันเป็นอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดียวกันกับธีรยุทธเขียนบทความในชื่อ"ธีรยุทธ บุญมี : กาฝาก 14 ตุลา และ "ปัญญาชนบริกร"ลงใน//somsakcouppostings.blogspot.com/2007/07/14.htmlดังต่อไปนี้


"กาฝาก 14 ตุลา"

หลัง 14 ตุลา (ในทีนี้ผมรวมถึงขบวนการต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 2520) ธีรยุทธ ได้สร้างสรรค์งานอะไรที่ทำให้สมควรได้รับความสนใจ หรือนับถือ ในระดับที่ทำให้มีปรากฏการณ์ "แถลงข่าว" ให้ หนังสือพิมพ์พาดหัวแบบนี้บ้าง? คำตอบคือ ไม่มีเลย เหตุผลสำคัญประการเดียว ที่ธีรยุทธ ได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะความประทับใจ หรือนับถือในผลงานวิชาการ หรือผลงานด้านสังคมอื่นๆ งาน "วิชาการ" ของเขา (ซึ่งมีน้อยมาก) ไม่เคยได้รับการยอมรับในวงวิชาการจริงๆ และเขาไม่เคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานอะไร ที่ทำอะไรออกมาจริงๆจังๆ สิ่งที่เขาทำจริงๆ ในรอบ 20 ปีนี้ ก็มีเพียงอย่างที่กำลังทำอยู่นี้แหละ คือ ออกมา "แถลงข่าว" เป็นระยะๆ - - - แต่เหตุผลประการเดียวที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ ก็คือ เขามีชื่อเสียงจาก 14 ตุลา

นั่นคือ การที่ธีรยุทธ สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะเขา อาศัย "ต้นไม้ 14 ตุลา" ซึ่งก็คือ เลือดเนื้อความเสียสละของผู้ปฏิบัติงาน และมวลชน จำนวนมหาศาล เป็น "แหล่งทำมาหากิน" .. เหมือนกาฝาก หรือในสำนวนไทยอีกอย่าง คือ "กินบุญเก่า" แต่เป็นบุญทีคนอื่นทำไว้เสียเยอะ (บุญที่เขาทำเอง หมดไปนานแล้ว เพราะไม่เคยต่อใหม่)


"ปัญญาชนบริกร"
นอกจาก "ความฉลาด" ในการเป็น "กาฝาก" ของ "ต้นไม้ 14 ตุลา" โดยไม่ยอมไป "ทำมาหากิน" ด้วยตัวเองจริงๆ แล้ว เหตุผลรองอีกประการหนึ่ง คือ "ความฉลาด" ในแง่เป็นคนคอย "บริการ" ให้กับ หนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนไทย ซึ่งไม่เคยมีความฉลาดด้วยตัวเองพอจะเขียนหัวข้อข่าวด้วยตัวเอง และขณะเดียวกัน ก็ โง่พอที่จะหลงเชื่อว่า "คำเท่ห์ๆ" เป็นอะไรที่น่าสนใจลึกซึ้ง... .. ลักษณะที่ธีรยุทธ "คิดคำ" ที่นำไปพาดหัวได้ กลายเป็นอะไรบางอย่างที่มากเสียจนกลายเป็น parody ตัวเองไปแล้ว

ในสมัยแรกๆ การ "คิดคำ" เหล่านี้ ยังมีลักษณะเพียงการเสริมการ "วิเคราะห์" ของเขาบ้าง ทุกวันนี้ นสพ.ไปฟัง และรายงาน "แถลงข่าว" เพื่อหา "พาดหัว" ล้วนๆ เพราะสิ่งที่ธีรยุทธ "วิเคราะห์" ออกมา มีคนอื่นพูดไปแล้วทั้งนั้น หลายรายพูดได้น่าสนใจกว่าเขา เพียงแต่ไม่มีใคร "ฉลาด" พอ หรือมีเวลาว่างพอ ในการคิดหาวิธีหลอก นสพ.แบบเขาได้ เขาได้พัฒนาเรื่องนี้จนเป็น art-form เป็น "ศิลปะ" อย่างหนึ่ง ความจริง หากในยามเกษียณอายุ (หวังว่าจะมีนะ กลัวแต่จะไม่ยอมไปไหน เหมือนประเวศ ที่เขากำลัง "เทรน" ตัวเอง ไว้แทนที่นั่นแหละ) แล้วใครต่อใคร โดยเฉพาะ นสพ. เริ่มฉลาดขึ้น และเลิกทำแบบนี้แล้ว เขาอาจจะไปเขียน "คู่มือ" การ "ปั่นข่าว" หากินต่อได้อีกสักระยะหนึ่งด้วย

เผด็จการฟาสซิสต์ ไม่พอ
คำ "วิจารณ์" คมช.-รัฐบาลทหารของธีรยุทธ ครั้งนี้(หมายถึงช่วงที่สมศักดิ์เขียนบทความเผยแพร่ในราววันที่21กรกฎาคม2550-ไทยอีนิวส์)ก็เช่นเดียวกับครั้งก่อน ("ขิงแก่", "ขมิ้นอ่อน", "โกกิ") คือ ไม่ใช่การวิจารณ์ว่ารัฐบาลนี้เป็นเผด็จการ ใช้อำนาจปืน มาจัดการผู้อื่น ทำให้กระบวนการยุติธรรม และกฎหมาย ที่ควรเป็นกติกา หรือ กลไกที่เป็นกลางกับทุกฝ่าย ให้เป็นเพียงเครื่องมือเล่นงานศัตรูทางการเมือง ..

"การตรวจสอบ" ต่างๆ ที่ดำเนินอยู่นี้ แม้แต่ชาวบ้าน ก็รู้ว่า เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมหลอกๆ (show trial) คือ มีไว้เล่นงานศัตรูเท่านั้น (สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ทำ ถ้าเป็นสมัยก่อน เช่น การรับตำแหน่ง 4-5 ตำแหน่งพร้อมๆกันของผู้นำทหาร, การใช้ที่ดินป่าสงวนของนายกฯ แม้แต่เรื่อง การจดทะเบียนสมรสซ้อน, การตั้งลูกตัวเองเป็นเลขาฯ พาลูกไปเที่ยวอย่างน่าสงสัยว่าจะใช้เงินหลวง ฯลฯ.. ถ้าเป็นสมัยรัฐบาลเลือกตั้ง ป่านนี้ถูกเล่นงานเปิดเปิงไปแล้ว ...) แต่ธีรยุทธ ยังเห็นว่าไม่พอ คือยังเห็นว่า ที่คณะทหารและรัฐบาลนี้ กำลังกระทำชำเรากฎหมาย กระทำชำเรากระบวนการยุติธรรมนั้น ไม่พอ .. ยังไม่ฟาสซิสต์พอ คำวิจารณ์ของเขา ทั้งครั้งก่อนและครั้งนี้ สรุปแล้ว คือ "เอาแม่ งเลย"

"เอาแม่ งเลย" ทักษิณน่ะ ไม่ต้องคำนึงถึงเปลือกนอก หรือกรอบอะไรของกฎหมายเลย (ซึ่งจริงๆก็ไม่คำนึงอยู่แล้ว แต่เขายังเห็นว่า ไม่พอ) .. "เอาเลย" ไม่ต้องห่วงเรื่องความชอบธรรมพวกนี้ ใช้อำนาจที่มีอยู่ เล่นงาน "แม่ง" เลย...

สมชาย ปรีชาศิลปกุล อัด ธีรยุทธ บุญมี:ตุลาการวิบัติ

เมื่อวันที่3 ส.ค.2551ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และกองทุน จิตร ภูมิศักดิ์ จัดอภิปราย เรื่อง “การเมืองสยามประเทศ (ไทย)-หลังสมัคร IIII และ/หรือ “ตุลาการภิวัตน์-ได้ผลจริงหรือ” ดร.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการทางตุลาการ เหตุใดจึงไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะในต่างประเทศเมื่อศาลมีการตัดสินในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาประชาชนของเขาสามารถวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินของศาลเพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของเขาได้ แต่ในประเทศไทยของเรากลับไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้

อย่างไรก็ตามกระบวนการตุลาการภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้เป็นตุลาการภิวัตน์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองดังนั้นคำตัดสินหรือคำวินิจฉัยใด ๆ ของศาลไม่ควรที่จะอ้างอิงกระแสทางการเมืองข้างใดข้างหนึ่งอย่างชัดเจนและควรมุ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ใช่มุ่งไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองเพราะหากศาลในกระบวนการตุลาการภิวัตน์ตัดสินคดีโดยเลือกข้างทางการเมืองและมุ่งไปสู่การเมืองอย่างชัดเจนเมื่อนั้นประเทศไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายแน่

ดร.สมชาย กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีนักวิชาการหลายคนที่ออกมาให้ความเห็นในเรื่องตุลาการภิวัตน์ในลักษณะที่โหนกระแส โดยเฉพาะกรณีของ นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาแสดงในเชิงสนับสนุนอำนาจของกระบวนการตุลาการภิวัตน์ เราต้องยอมรับว่า นายธีรยุทธ ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับอำนาจตุลาการ ดังนั้นข้อเสนอของนายธีรยุทธที่มีออกมา จึงเป็นการเสนอทางออกมาของบ้านเมืองโดยขาดความรับผิดชอบ และนำบ้านเมืองไปสู่ความยุ่งยาก ข้อเสนอของ นายธรยุทธ นอกจากจะไม่ใช่การพัฒนากระบวนการตุลาภิวัตน์แล้ว ยังจะทำให้กระบวนการตุลาภิวัตน์กลายเป็นกระบวนการตุลาวิบัติด้วยที่นักวิชาการจุดขึ้นมานั้น เป็นนักวิชาการที่โหนกระแส


ธีรยุทธ์ปลื้มการเมืองใหม่นำประเทศสู่วิถีความเจริญแบบเอเชียน

ขณะเดียวกันธีรยุทธยังเดินหน้าถลำลึกต่อไป โดยที่ล่าสุดเขาออกมาแสดงท่าทีสนับสนุน"การเมืองใหม่70:30"ของพันธมิตรอย่างออกนอกหน้า โดยเขากล่าวว่า คำถามว่าประเทศไทยควรปฏิรูป"การเมืองใหม่" ตามแนวของพันธมิตรหรือไม่? แนวคิดนี้มุ่งแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น นำพาประเทศไปสู่วิถีความเจริญ "แบบเอเชีย" โดยอาศัยความมุ่งมั่นหรือเจตนารมณ์ของ"คนดี" ในบ้านเมือง โดยไม่สนใจประชาธิปไตยเลือกตั้งมากนัก โดยอาจใช้การผสมผสานระหว่างการสรรหา การเลือกจากอาชีพ กับการเลือกตั้งทั่วไป (นพ. ประเวศ ก็ได้เสนอการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยประชาชน เป็นการกระจายอำนาจสู่รากหญ้า ชุมชน การมีส่วนร่วม เสรีภาพสื่อ การตรวจสอบ และการเมืองภาคประชาชน แต่ไม่เสนอชัดเจนว่าอำนาจของประชาชนโดยการเลือกตั้งมีฐานะเช่นไร)

เนื่องจากนับวันการเมืองไทยจะยิ่งไม่มีทางเลือก มีโอกาสที่คนจะหันไปสนับสนุนแนวทางนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มีข้ออ่อนคือ เป็นการสวนทางประชาธิปไตยที่ต่อสู้กันมานาน และจากประสบการณ์ของการปฏิวัติทั่วโลก คนดีมักมีความคิดสุดขั้วและอยู่ในกรอบจำกัด ในระยะยาวคนดีก็เสื่อมได้เพราะอำนาจและผลประโยชน์ ประเทศจึงมีความเสี่ยงสูงเช่นกันถ้าจะเดินไปในเส้นทางนี้

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งยกระดับมาเป็นการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนความคิดและโครงสร้างอำนาจการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาวมาก จึงควรปรับวิธีการต่อสู้ของตน คือมีทั้งการเคลื่อนไหวทางความคิด สลับกับการเคลื่อนไหวมวลชน ทั้งผ่อนสลับกับรุก และเนื่องจากพันธมิตรเริ่มต้นจากการเรียกร้องลงโทษนักการเมืองโกงกินบ้านเมือง เป็นพลังทางคุณธรรมและพลังต่อต้านการใช้อำนาจบาตรใหญ่ให้สังคม จึงยิ่งต้องจำแนกวิธีการต่อสู้ให้ชัดเจนว่าเป็นแนวสันติวิธี หลีกเลี่ยงการดึงดันที่อาจดูคล้ายแนวอำนาจนิยม ไม่ควรเป็นการรุกไปข้างหน้าตลอด จนดูคล้ายการตะลุมบอนกับฝ่ายโกงกินบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้คนแยกแยะและเลือกฝ่ายสนับสนุนได้ลำบาก

ที่สำคัญในการเสนอความคิดใหม่ทางการเมือง ไม่ควรสวนทางประชาธิปไตย ควรเคารพประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ต่อสู้กันมานาน ควรหาวิธีเปิดกว้างขวางสร้างเวทีความคิดสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งต้องมีเวลา ขั้นตอน จังหวะก้าวที่เหมาะสม


ในช่วงอย่างน้อย 1 ปีข้างหน้าคนไทยต้องเจริญสติ มองการแก้ปัญหาทีละเปลาะๆ ผู้เขียนเชื่อว่าทางเลือกที่มั่นคง ถาวร และดีที่สุดสำหรับระยะยาวของประเทศ คือการสร้างประชาธิปไตยสมดุล ทั้งยังเป็นหนทางที่เสี่ยงน้อยที่สุด สังคมควรสนับสนุนการทำงานของศาลในการลงโทษนักการเมืองที่คอร์รัปชั่น และสร้างกรอบวินัยทางจริยธรรมให้กับนักการเมือง นักวิชาการ สื่อ คนชั้นกลางและสังคมทั่วไปยังควรต้องขยายพื้นที่ของการถกเถียงวิจารณ์ที่เป็นเหตุเป็นผล และขยายองค์ความรู้ในด้านประชาธิปไตยสมดุลมากขึ้น
(อ่านบทความฉบับเต็ม"ทบทวนทิศทางประเทศไทย" //special.bangkokbiznews.com/detail.p...39&username=mob)

เกษียรชี้การเมืองใหม่เป็นยิ่งกว่าราชาธิปไตย+เผด็จการทหารพม่า
อย่างไรก็ตามดร.เกษียร เตชะพีระ ซึ่งเป็นอดีตผู้นำนักศึกษายุค6ตุลาฯได้เขียนบทความวิจารณ์"การเมืองใหม่"ว่า มันคือ"ระบอบสนธิลิ้ม" ซึ่งจะนำไปสู่การแทรกแซงแทรงการเมืองของทหารตามอย่างเผด็จการพม่า,มีลักษณะเป็นราชาธิปไตยยิ่งกว่าองค์พระราชาธิบดี(Ultra-royalist) และอาจเปลี่ยนแปลง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นผลสำเร็จทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในรัชกาลปัจจุบัน ไปเป็นระบอบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่ใช่ระบอบรัฐธรรมนูญ!(ดูรายละเอียดที่//www.matichon.co.th/news_detail.php?id=42483&catid=1
)

ธีรยุทธก็เช่นเดียวกับบุคคลอันตรายหลายคนที่เราบันทึกลงในประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทยก่อนหน้านี้ คือทั้งศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคำนูณ สิทธิสมาน คือในวัยหนุ่ม ในยุคทศวรรษ2510พวกเขาเคลื่อนไหวทางการเมืองในลักษณะก้าวหน้า นำพาบ้านเมืองไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติประชาชนมาก่อน

แต่ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนสีแปรธาตุไปแบบ360องศา จนเราต้องบันทึกชื่อพวกเขาไว้ในฐานะบุคคลอันตรายฯ!




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2551    
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 18:24:12 น.
Counter : 708 Pageviews.  

ประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทย:เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ 19 สิงหาคม 2551 10:30:00น.

ชำแหละดร.เจิมศักดิ์ ผู้ก้าวลงจากหอคอยงาช้าง นำวิชาการงานวิจัยมารับใช้ชาวนา ก่อนผันตัวเข้าวงการสื่อ ปฏิวัติรายการทอล์กมองต่างมุมจน"สมัคร"ให้ฉายามองแต่มุมมารดา ก่อนถลำสู่ธุรกิจสื่อแอบชวนทักษิณร่วมหุ้น ต่อมาผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ซ้ำยังถูกสนธิลิ้มหยามเสือเจ็บไม่ร้องหมาเจ็บร้องเอ๋ง! เมื่อถึงคราวจนตรอกถือคติศัตรูของศัตรูคือมิตร จับมือลิ้มเขย่าระบอบทักษิณร่วง เปลี่ยนสีแปรธาตุจากจุดยืนต้านเผด็จการมาเป็นกระบอกเสียงให้เหลือบ"สพรั่ง" พายเรือให้โจรนั่งร่างรธน.เผด็จการ50หลอกชาวบ้าน"รับไปก่อนแก้ทีหลัง แก้ง่ายโคตรๆ"มาตอนนี้พลิกลิ้นหากแก้ต้องเจอปฏิวัติ ล่าสุดงานเข้าเจอศูนย์เฝ้าระวังรัฐประหารแห่งชาติแจกกล้วย1เครือ

19 สิงหาคม 2550 หรือครบ1ขวบปีที่แล้ว เป็นวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี50 มาในปีนี้ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้มีบทบาทสำคัญในการร่างและผลักดันให้คนลงประชามติรับร่างรธน.ดังกล่าว โดยที่ตอนนั้นเขายอมรับว่ามีมากกว่า30มาตราที่เขาก็อยากแก้ไข แต่ให้"รับๆไปก่อนค่อยแก้ไขทีหลัง

แต่ดูเหมือนเขาจะลืมเรื่องที่เคยหลอกลวงคนไทยเอาไว้ เพราะล่าสุดเขาเขียนบทความลงในสื่อเครือผู้จัดการ หัวข้อ"19 สิงหาคม - 1 ปี ประชามติ “เห็นชอบ” รัฐธรรมนูญ 2550" โดยเขียนว่า "การพยายามรวบรัด เร่งรีบ กระทำการเพื่อแก้ไขลบล้างรัฐธรรมนูญดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ นอกจากเป็นการย่ำยีมติของมหาชน"

นอกจากนั้นก็ยังทำตัวเหมือนแกนนำพันธมิตรทั่วไปที่ดึงฟ้าลงต่ำ โดยเขียนว่า"ขอให้กลับไปอ่านพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังที่ปรากฏอยู่ในพระราชปรารภของรัฐธรรมนูญ 2550 อีกครั้ง ! พึงตระหนักว่า หลังจากที่ประชาชนมีมติเห็นชอบให้บังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริ ปรากฏในพระราชปรารภในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ความตอนหนึ่งว่า

“...เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป

ทรงพระราชดําริว่า สมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน…”

ดังนั้นเราจึงขอบันทึกชื่อเจิมศักดิ์ลงในประนามานุกรมบุคคลอันตรายสำหรับประชาธิปไตยไทย โดยมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

นักวิชาการที่ลงจากหอคอยงาช้างมารับใช้สังคม&ต่อต้านรสช.
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดอ่างทอง จบการศึกษาจาก เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดีมาก) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ธรรมศาสตร์) และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้เคยรับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาเป็นผู้ค้นคว้า วิจัย เชี่ยวชาญ ด้านการตลาดสินค้าเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ และการพัฒนาชนบท เขาเชี่ยวชาญเรื่องราคาข้าว และนโยบายข้าวชนิดหาตัวจับยาก ประการสำคัญเจิมศักดิ์เป็นคนที่มีมิติทางด้านนำวิชาการมาช่วยเหลือสังคม ลงไปคลุกดินคลุกหญ้ากับชาวไร่ชาวนาอย่างถึงลูกถึงคน

เขาเริ่มผันตัวเข้ามาดำเนินรายการโทรทัศน์ในราวปีพ.ศ.2534 ภายหลังคณะรสช.นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยเจิมศักดิ์ได้แสดงความกล้าหาญคัดค้านการรัฐประหารในครั้งนั้น ด้วยการเคยกล่าวไว้ว่า "ประเทศชาติเหมือนเครื่องบิน การรัฐประหารไม่ใช่แค่การหยุดประเทศ แต่เป็นการทำให้ประเทศย่อยยับ เพราะเครื่องบินตก"

อย่างไรก็ตามคณะรสช.ได้ให้นายอานันท์ ปันยารชุน จัดตั้งรัฐบาลภายหลังรัฐประหารหนนั้น และสบโอกาสดีกับที่ดร.เจิมศักดิ์เองก็อยากจะนำเสนอปัญหาชาวนาชาวไร่สู่รายการโทรทัศน์เพราะยังไม่มีใครเคยทำมาก่อนเลย จึงเริ่มมีรายการ"เวทีชาวบ้าน"ขึ้นทางโทรทัศน์ช่อง11 และต่อมาเขาก็เปิดรายการ"มองต่างมุม"ซึ่งเขากำหนดคอนเซ็ปต์ให้เป็นรายการโทรทัศน์ประเภททอล์กสาระ แบบ ‘ถามสด’ ที่ให้ประชาชนในห้องส่งได้มีส่วนร่วมตั้งประเด็นคำถาม พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เป็น ‘ตลาดความคิดเสรี เวทีประชาชน’ แล้วเชิญ2ฝ่ายที่เห็นขัดแย้งกันมาโต้กันสดๆ

คำนิยมจากสมัครถึงเจิมศักดิ์:มองแต่มุมมารดา!
"มองต่างมุม"จึงเป็นการปฏิวัติรายการโทรทัศน์แบบรายการทอล์กครั้งมโหราฬ เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน อย่างไรก็ตามแม้เจิมศักดิ์จะบอกว่าเป็นตลาดคงามคิดเสรี เวทีประชาชน เปิดทางให้2ฝ่ายโต้กันได้เต็มที่ แต่ตัวพิธีกรคือเจิมศักดิ์เองก็มักจะมีอคติเข้าข้างทางใดทางหนึ่งอย่างเห็นได้ชัดทั้งสีหน้าแววตา และคำถามที่บางครั้งแทบจะ"ฆ่ากันทางหน้าจอ"ได้

มีบางคราวที่นายสมัคร สุนทรเวช ขณะนั้นเป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทย มาออกรายการมองต่างมุม และอาจจะด้วยความที่เจิมศักดิ์เป็นศิษย์ของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เคยถูกพิษการเมือง6ตุลาฯเล่นงานอย่างเจ็บปวด โดยเชื่อกันว่าสมัคร สุนทรเวช มีบทบาทสำคัญในคราวนั้น ทำให้เจิมศักดิ์สวมวิญญาณนักฆ่าหน้าจอต่อสมัครแบบไม่ปรานี ส่งผลให้เมื่อจบรายการนายสมัครถึงกับบริภาษว่ารายการนี้ไม่ควรมี เพราะว่าไม่ได้มองต่างมุม หากแต่"มองแต่มุมมารดามัน"...!

เชื่อหรือไม่ทักษิณกับเจิมศักดิ์เคยเป็นหุ้นส่วนกัน ก่อนจะไม่เผาผีกัน
จากนักวิชาการที่ลงจากหอคอยงาช้างมารับใช้สังคมชาวไร่ชาวนา ขยับไปสนุกกับรายการทอล์กการเมืองแบบ"มองต่างมุม"ก็ทำให้ดร.เจิมศักดิ์รู้ว่าตัวเองเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เขาจึงเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจสื่อเต็มตัว ทั้งทางทีวีและวิทยุ โดยการก่อตั้งบริษัทวอชท์ด็อก หรือ"หมาเฝ้าบ้าน"ขึ้น

นอกจากเจิมศักดิ์แล้ว บริษัทนี้ก็มีดร.เกษมสันต์ วีรกุล พิรุณ ฉัตรวนิชกุล และเถกิง สมทรัพย์ เป็นแกนหลัก โดยเจิมศักดิ์เคยเล่าว่า ดร.เกษมสันต์ได้มาคุบกับเขาว่า ให้ช่วยพาไปหาดร.ทักษิณ ชินวัตรด้วย ตอนนั้นเป็นปี 2536 หลังจากที่เจิมศักดิ์เข้าวงการโทรทัศน์ได้ซัก 2 ปี และเป็นช่วงที่ทักษิณกำลังเป็นนักธุรกิจดาวรุ่งร่ำรวยจากการขายโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสาร ดังนั้ยเกษมสันต์จึงอยากจะไปชวนAISของทักษิณมาลงโฆษณาที่รา้ยการ เจิมศักดิ์ก็พาไป แต่ให้ดร.เกษมสันต์ไปขายเอาเอง

“ไปถึงคุณทักษิณถามว่าถ้าหากจะซื้อรายการทั้งหมดเหมาเลยเท่าไหร่ ผมเนี่ยตัวแข็งเลย ในใจนึกว่ามาเที่ยวนี้คุณทักษิณกลายจะเป็นคนซื้อรายการทั้งหมด กลายเป็นผมจะมาทำรายการให้คุณทักษิณแทนบริษัท วอทช์ด็อก อาจารย์เกษมสันต์ตอบดีมากครับ ตอบว่าผมขอบพระคุณมากครับที่จะเหมาโฆษณาเพียงผู้เดียว แต่ผมเพิ่งหัดทำธุรกิจ ขอให้หัดทำเถอะ ซื้อไปหมดผมก็ไม่สนุก ที่มานี่หวังจะมาขายโฆษณาเพียงแค่ 1-2 นาที”

ซึ่งทักษิณกล่าวตอบว่าถ้าอย่างนั้นก็แล้วไป แต่มีหุ้นให้ซื้อบ้างไหม อยากร่วมทำรกิจด้วย ดร.เกษมสันต์ กล่าวตอบไปว่า พวกตนจดทะเบียนแค่ 2 ล้านบาท ถ้าซื้อไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ก็พอซื้อได้ ดร.ทักษิณก็เลยซื้อ 10% ก็ประมาณ 2 แสนกว่าบาท แล้วบอกว่าอย่าใส่ชื่อตน ให้ใส่ชื่อนายบรรพจน์ ดามาพงศ์ บอกว่าไม่อยากให้คนอื่นรูว่าถือหุ้นบริษัททำสื่อ

สนธิลิ้มสอนเจิมศักดิ์:เสือเจ็บไม่ร้อง แต่ลูกหมาร้อง"เอ๋ง"!
เจิมศักดิ์กลายเป็นคนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ เพราะออกรายการทางสื่อโทรทัศน์ และวิทยุเป็นประจำ รายได้ก็เข้ามาเป็นกอบเป็นกำ แถมเมื่อลงสมัครส.ว.ในปี2543ก็ชนะเลือกตั้งได้เป็นส.ว.อีกต่างหาก

แต่แล้วปัญหาก็เริ่มขึ้นเมื่อหม้อข้าวเขาถูกทุบ เมื่อถูกช่อง 9 ยกเลิกสัญญาเช่ารายการทีวี"ขอคิดด้วยคน"ของเจิมศักดิ์ ซึ่งก็น่าจะทำให้เสียผลประโยชน์ก้อนโตเอาการ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงน้ำขึ้นของเจิมศักดิ์ เทียบไปแล้วก็เหมือนสรยุทธ สุทัศนะจินดา ในปัจจุบันยังไงยังงั้น

เรื่องนี้ทำให้เจิมศักดิ์เข้าใจว่า ทักษิณ ซึ่งเวลานั้นเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ๆคือทักษิณ1น่าจะอยู่เบื้องหลังให้ยกเลิกรายการ เพราะทั้งที่เป็นพวกกัน ถือหุ้นอยู่บริษัทด้วยกัน ช่วยอุดหนุนโฆษณาให้ แต่กลับมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามดร.สรจักร์ เกษมสุวรรณ ผอ.อสมท.ในขณะนั้นได้ออกมาตอบโต้ ระบุว่าเจิมศักดิ์ทำตัวไม่เหมาะสม ผิดสัญญากับทางช่อง 9 เอง จึงจำเป็นต้องยกเลิกสัญญา

อย่างไรก็ตามเจิมศักดิ์ก็ปักใจว่างานนี้ทักษิณเป็นคนเล่นเขาแน่ เขาจึงออกหนังสือ"รู้ทันทักษิณ"ออกมาวิพากษ์ทักษิณ และกลายเป็นหนังสือขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะทักษิณไปงับเหยื่อกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ในรายการ"นายกฯทักษิณพบประชาชน"และการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน

เจิมศักดิ์จึงนับเป็นคนแรกๆที่ออกมาวิจารณ์ทักษิณ ในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังฮันนีมูนอยู่กับรัฐบาลทักษิณ 1 แต่ก็ไม่มีน้ำหนักพอที่จะสั่นคลอนโค่นล้มทักษิณได้..แถมทักษิณได้เปิดทางให้สนธิ ลิ้มทองกุล ค่ายผู้จัดการเข้ามาจัดรายการ"เมืองไทยรายสัปดาห์"ทางช่อง9 และสนธิก็ทำหน้าที่เชียร์ทักษิณยกใหญ่ ยกยอปอปั้นให้เป็น"นายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดที่ประเทศไทยเคยมีมา" แล้วก็หันไปสอนสั่งเจิมศักดิ์ที่หลุดจอและหน้าปัทม์วิทยุว่า"ที่ร้องแรกแหกกระเชิงอยู่นั้น เปรียบได้กับ ‘ลูกหมา’ ที่มีนิสัยร้องเสียงดัง"เอ๋งๆ"เมื่อถูกทำให้เจ็บ ซึ่งไม่อาจเทียบได้กับ ‘ลูกเสือ’ เจ็บแค่ไหนก็ไม่มีใครได้ยินเสียงร้อง"

สนธิย้ำอยู่หลายหนเรื่อง "เสือเจ็บไม่ร้อง แต่หมาเจ็บมันร้องดังเอ๋ง!" แต่ก็เหมือนกงเกวียนกำเกวียน เพราะต่อมาไม่นานสนธิก็มีเรื่องขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กับทักษิณบางกรณี เช่น ขอโทรทัศน์ช่องNEWS1ไม่ได้ ขอให้วิโรจน์ นวลแข เป็นกรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงไทยต่อ (เพื่อช่วยเรื่องหนี้ของสนธิ)ไม่ได้ และสนธิก็หลุดจอช่อง9 ต้องไปจัดเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ก่อนจะกลายเป็นพันธมิตร นำไปสู่รัฐประหาร19กันยา49ในเวลาต่อมา

ศัตรูของศัตรูคือมิตร ใครจะว่าพายเรือให้โจรนั่งชั่งหัวมัน
หลังรัฐประหาร19กันยา49 ขณะที่สนธิลำพองในชัยชนะ เจิมศักดิ์ที่เคยถูกด่าเป็นหมูเป็นหมาก็ไม่ถือโทษอะไร เพราะเขาอาจถือคติว่า"ศัตรูของศัตรูก็คือมิตร" เจิมศักดิ์จึงไปขึ้นเวทีกู้ชาติร่วมกับสนธิตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร และต่อมาก็มามีรายการที่ออกอากาศ เช่น รู้ทันประเทศไทย ทาง ASTV ช่อง NEWS1 ของสนธิ และรายการวิทยุ "พูดตรงใจกับ ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง" ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00 - 17.00 น. ทาง F.M. 92.25 ด้วย

ในยุคหลังรัฐประหาร19กันยา ดร.เจิมศักดิ์ ได้รับการตบรางวัลให้เป็นกรรมการ และโฆษกประจำคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)แน่นอนว่ามีพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธานบอร์ด แต่สุดท้ายบอร์ดชุดนี้ถูกหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์พาดหัวด่าอย่างไม่ไยดีว่าสพรั่งนั้นก็คือ"เหลือบ"หาผลประโยชน์จากรัฐวิสาหกิจเหล่านี้...นี่นับว่าเจิมศักดิ์ไปไกลเกินกว่านักวิชาการที่ลงจากหอคอยงาช้างเพื่อมาช่วยชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาดีไปไกลโขจริงๆ

เจิมศักดิ์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และมีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ให้ประชาชนลงมติรับร่างฉบับนี้ โดยชูคำขวัญว่า"รับไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง" โดยเขาชี้อยู่หลายครั้งว่า“ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ให้ประชาชนเสนอแก้ไขได้ แต่ครั้งนี้ให้ประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อเสนอได้ ทำให้ประชาชนไม่ใช่ผู้นั่งดูการเมืองอีกต่อไป ”

อย่างไรก็ตามภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านเพราะคนหลงเชื่อว่า"รับๆไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง แก้ก็ง่ายเข้าชื่อกันแค่5หมื่นชื่อ"แบบที่เจิมศักดิ์เคยว่าไว้ มาในเวลานี้เมื่อมีความเคลื่อนไหวจะแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตย สลัดคราบไคลเผด็จการทิ้งไป เจิมศักดิ์ก็ไปเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์แนวหน้า เรื่อง"ทุกข์ของประเทศไทย"ชักแม่น้ำทั้งห้า ในแบบเดียวกับสนธิแอนด์เดอะแก๊งค์ว่า "ปรากฏหลักฐานทำให้เชื่อได้ว่า มีกระบวนการจ้องทำลายสถาบันสูงสุด ที่คนไทยเคารพรัก โดยมีการปล่อยข่าว การแสดงออกถึงความไม่เคารพ และถึงขั้นโจมตี ใส่ร้าย ซึ่งหากประมวลเอกสารหลักฐานจากบุคคลหลายบุคคลที่ได้มีพฤติการณ์ร่วมในลักษณะหมิ่นเหม่่ จาบจ้วง ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้"

พร้อมกับสรุปลงท้ายว่า "ว่าน่าหดหู่ใจยิ่งนัก..บ้านเมืองกำลังมีทุกข์ แต่รัฐบาลกลับใช้เวลา ใช้โอกาส ใช้อำนาจที่ได้มาจากประชาชน มุ่งนำไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อให้ตนเองและพรรคพวกพ้องรอดพ้นความผิดจากกระบวนการยุติธรรมที่กำลังทำงานอยู่..บัดนี้ ประชาชนจึงไม่สามารถไว้วางใจให้รัฐบาลชุดนี้อยู่ในอำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้อีกต่
อไป"

ศูนย์เฝ้าระวังการรัฐประหารแห่งชาติมอบกล้วยให้จารย์เจิม

หลังประกาศว่า บัดนี้ ประชาชนจึงไม่สามารถไว้วางใจให้รัฐบาลชุดนี้อยู่ในอำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้อีกต่อไป ดร.เจิมศักดิ์ก็ชี้ทางออกในลักษณะเดียวกับศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช หรือสนธิ ลิ้มทองกุล แอนด์เดอะแก๊งค์ โดยได้กล่าวในรายการวิทยุ FM 92.25 ว่า การรัฐประหารอาจเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยอาจเกิดขึ้นจากฝ่ายทักษิณ ที่อาจมีการรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือ ทหารอีกฝ่ายที่ชิงลงมือก่อนเพราะรู้ว่าอีกฝ่ายจะรัฐประหารตนเอง

การกล่าวของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นไปในทำนองเดียวกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ต้องการปูวิธีคิดให้กับฝ่ายสนับสนุนพันธมิตร ให้ยอมรับการรัฐประหาร หากการรัฐประหารเกิดจากฝ่ายของพันธมิตรเอง โดยมองว่าเป็นเรืองสุดวิสัย และ มีเนื้อหาที่ก้าวหน้ากว่า

ศูนย์เฝ้าระวังการรัฐประหารแห่งชาติเห็นว่าดร.เจิมศักดิ์ มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจในระบอบประชาธิปไตย จึงขอแจกกล้วยให้บุคคลดังกล่าวในโอกาสนี้(คำประกาศจากศูนย์เฝ้าระวังการรัฐประหารแห่งชาติ,17 ส.ค. 2551)

ดร.เจิมศักดิ์สมรสกับ ดร.จิตริยา ปิ่นทอง เอกอัครราชทูตไทยประจำนอร์เวย์ (นามสกุลเดิม ติงศภัทิย์ เป็นบุตรสาวของ ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ อดีตองคมนตรีในรัชกาลปัจจุบัน) มีบุตรสาวหนึ่งคนคือ นางสาวจารีย์ ปิ่นทอง

สถานที่ติดต่อ เลขที่ 6 แยก 3 ซอยอินทามะระ 39 ถนนสุทธิสาร แขวงดินแดง เขตดินแดง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10400




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2551    
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 18:18:12 น.
Counter : 632 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.