ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดีและการหลอกตัวเองทางศีลธรรมกับปัญหาการเมืองและศาสนาในสังคมไทย

สุรพศ ทวีศักดิ์


ชื่อบทความเดิม:วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดีและการหลอกตัวเองทางศีลธรรม กับปัญหาการเมืองและศาสนาในสังคมไทย


(ปรับจากบทความชื่อเดียวกัน เสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 วันที่ 25 ต.ค.55 ณ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร นครปฐม)

...............................

วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดี หมายถึง การส่งเสริมความดี/คนดีในความหมายเชิงจารีตประเพณี โดยการปลูกฝังอบรมผ่านระบบการศึกษา กลไกรัฐ ศาสนา กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ฯลฯ บทความนี้ต้องการสำรวจว่า วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีสะท้อนภาวะ “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” อย่างไร และส่งผลกระทบต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนาในสังคมไทยอย่างไร


1.ศูนย์กลางของวัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดี คือสถาบันกษัตริย์ และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์


1.1 สถาบันกษัตริย์ถูกนิยามว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นไทย ความรุ่งเรืองทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเกียรติยศของชาติ พระมหากษัตริย์เป็นทั้งผู้ปกครอง และเป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณ” จึงถูกอ้างอิงเป็น “ศูนย์กลางทางศีลธรรมแห่งรัฐ” ในความหมายสำคัญ คือ 1) เป็นผู้มีบุญคุณต่อพสกนิกร หรือเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ที่พสกนิกรต้องกตัญญูรู้บุญคุณ 2) เป็นสมมติเทพผู้ทรงทศพิธราชธรรมที่พสกนิกรต้องจงรักภักดี 3) เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดีของพสกนิกร ดังกระแสค่านิยม “ทำดีเพื่อพ่อ” และ 4) เป็นผู้สอนศีลธรรม ดังพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ เป็นต้น


แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์ใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” นั้น กษัตริย์ถูกกำหนดให้ “อยู่เหนือการเมือง” โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ในความหมายว่า พ้นไปจากการบริหารบ้านเมืองและความเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง จึงเป็นที่ “เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้” เพราะกษัตริย์ทำอะไรไม่ผิด (the king can do no wrong) ในความหมายว่า ไม่ได้ทรงทำอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องการบริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง เพราะมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้กระทำและรับผิดชอบการกระทำนั้นๆ แทน ตามกฎหมายบัญญัติ [1]


ปัญหาคือ “อยู่เหนือการเมือง” ขอบเขตอยู่ตรงไหน การเมืองมีความหมายแคบๆ แค่การลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันเพื่อมีอำนาจรัฐเท่านั้นหรือ เรื่องอื่นๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐ ใช้กลไกรัฐในการขับเคลื่อน และกระทบต่อประโยชน์สาธารณะเป็นการเมืองหรือไม่ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นนโยบายแห่งรัฐ โครงการพระราชดำริต่างๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐจำนวนมาก อำนาจเหนือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งรับผิดชอบทรัพยากรแผ่นดินมูลค่ามหาศาล ฯลฯ  เรื่องต่างๆ เหล่านี้ถูกตั้งคำถามว่าเป็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือไม่ ถ้าเป็นการเมืองและเป็นเรื่องที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ก็ควรถูกวิจารณ์ตรวจสอบความสุจริต โปร่งใส ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ความรับผิดชอบ (เป็นต้น) ได้ใน “มาตรฐานเดียว” กับที่วิจารณ์ตรวจสอบนักการเมือง และบุคคลสาธารณะอื่นๆ ไม่ใช่หรือ แต่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ไม่มีการจำแนกให้ชัดเจนระหว่างอะไรคือหมิ่นประมาท กับอะไรคือการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะทำให้สถานะของสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการตรวจสอบ ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบเรื่องต่างๆ เหล่านี้ (เป็นต้น) ได้เลย


1.2 พุทธศาสนาตามที่เป็นอยู่จริงในบ้านเราคือ พุทธศาสนาที่ธงชัย วินิจจะกูล เรียกว่า “พุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” [2]  รูปธรรมของพุทธที่ว่านี้คือ “พุทธราชาชาตินิยม + พุทธพราหมณ์” หมายถึง พุทธเถรวาทไทยที่ถูกตีความสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยมว่า กษัตริย์เป็นสมมติเทพ ทรงทศพิธราชธรรม เป็นศาสนาที่ขึ้นต่อรัฐ โดยรัฐออกกฎหมายสถาปนาองค์กรปกครองสงฆ์ เรียกว่า “มหาเถรสมาคม” ที่ขึ้นต่อระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์ โดยระบบสมณศักดิ์ขึ้นต่อ “พระราชอำนาจ” ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับสถาบันกษัตริย์เนื่องด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐตามอุดมการณ์ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” วัดมีบทบาทส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ผ่านการเทศนาอวยคุณงามความดีของสถาบันกษัตริย์ และผ่านพิธีกรรมต่างๆ ในวันสำคัญของสถาบันกษัตริย์ วันสำคัญทางศาสนา และอื่นๆ


มายาคติของพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ การที่พุทธศาสนาถูกตีความสนับสนุนราชาธิปไตยมาเป็นพันๆ ปี พระสงฆ์ปัจจุบันเทศนาอวยสถาบันกษัตริย์ วัดต่างๆ ทำกิจกรรมส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ หรือการที่พระสงฆ์ต้องรับสมณศักดิ์ ซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์อย่างหนึ่งโดยการสถาปนาของกษัตริย์ การบริหารคณะสงฆ์ต้องขึ้นต่ออำนาจรัฐซึ่งมีผลกระทบต่อหลักการสำคัญของพุทธศาสนาที่ถือว่า “สังฆะ” ไม่มีระบบชนชั้น ไม่มีฐานันดรศักดิ์ หรือไม่มีอำนาจรัฐในมือ เป็นต้น อะไรต่างๆ เหล่านี้ไม่ถูกมองว่า “พุทธศาสนายุ่งเกี่ยวการเมือง”


แต่ถ้ามีการตีความหลักการของพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย และการเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค จะถูกมองว่าดึงพุทธศาสนามายุ่งเกี่ยวการเมืองทันที อีกประการหนึ่งการอ้างทศพิธราชธรรมยกย่องเจ้า แต่ยอมรับเงื่อนไข “อยู่เหนือการตรวจสอบ” ของสถาบันกษัตริย์ ย่อมขัดแย้งกับหลักการพุทธศาสนาเอง เช่น หลักกาลามสูตรที่ถือว่า “เราจะยอมรับว่าอะไรจริง ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” และตามหลักอริยสัจนั้น เราจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ จำเป็นต้องรู้ความจริงของปัญหานั้นๆ ก่อน ทว่าความจริงของสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นความจริงด้านบวกหรือลบ ไม่มีทางที่ประชาชนจะ “รู้” ได้ด้วยการพิสูจน์/ตรวจสอบเลย


ฉะนั้น ศูนย์กลางของวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดี คือสถาบันกษัตริย์และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อย่างแรกอยู่เหนือการวิจารณ์ตรวจสอบ และอย่างหลังสนับสนุนค้ำจุนสถานะเหนือการตรวจสอบ จึงถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าคือรากฐานของ “วัฒนธรรมหลอกตัวเองทางศีลธรรม” หรือไม่ และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนาในบ้านเราอย่างไรบ้าง


2.ชุดความดีและคุณค่าของความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์


2.1 ชุดความดี/คนดีตามนิยามของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือตัวอย่างของ “ชุดความดี/คนดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม” ดังที่เขาได้ให้ความหมายของความดี/คนดีไว้ ว่า จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละและจงรักภักดี ยึดถือ และปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำรงวัฒนธรรมไทย เป็นต้น ชุดความดีดังกล่าวผูกโยงกับ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” อย่างมีนัยสำคัญ ดังที่พลเอกเปรมสรุปว่า "..ผมเชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และจะปกป้องคนดี และสาปแช่งคนไม่ดี คนทรยศต่อชาติบ้านเมืองให้พินาศไป นั่นคือความเชื่อของผม ส่วนบุคคลอื่นจะเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับจริยธรรมและคุณธรรมของแต่ละคน" [3]


จากนิยามความดี/คนดีดังกล่าวนี้ เกษียร เตชะพีระ วิจารณ์ว่า

การผูกโยง "พระสยามเทวาธิราช" อันเป็นเทพารักษ์ของราชาชาตินิยม (royal-nationalistpalladium ในหลวงรัชกาลที่4 ทรงสร้างขึ้น) เข้ากับจริยธรรม-คุณธรรม ของพลเอกเปรมข้างต้น มีนัยชวนคิดต่อ 2 ประการ คือ1) มันยกปัญหาจริยธรรม-คุณธรรมให้หลุดลอยไปจากกรอบขอบข่ายการคิด การเชื่อของปัจเจกบุคคล แล้วเอาไปผูกโยงกับชาติ กลายเป็นว่าการทำดี คิดดี มีจิตใจดี ไม่ใช่เป็นความดีระดับปัจเจกต่อไป แต่จะเกิดได้ มีได้ ก็แต่ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนราชาชาตินิยมเท่านั้น  2) มันชวนให้ตั้งคำถามว่า บรรดาจริยธรรม-คุณธรรมประดามีล้วนแล้วแต่สอดคล้องต้องกันกับผลประโยชน์ของชาติทั้งนั้น ทั้งสิ้นหรือ?...


พูดอีกอย่างก็คือ พลเอกเปรมเสนอให้บุคคล (ที่เป็นคนไทย) อิงพลังราชาชาตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ (ชาตินิยมเป็นศาสนาทางโลกชนิดหนึ่ง secular religion) มากำกับกดข่มกิเลสในตัวปัจเจกบุคคล แล้วจึงจะกลายเป็นคนดีได้...บุคคลดีด้วยตัวเองไม่ได้ หากแยกออกจากสมมุติเทพแห่งราชาชาตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ... [4]


ตามข้อวิจารณ์ของเกษียร ภายใต้ระบบการปลูกฝังชุดความดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ประชาชนเป็นคนดีไม่ใช่เพราะว่าเขาเป็นปัจเจกที่มีเสรีภาพในตัวเองที่จะนิยามความหมายของความดี และเลือกหลักการที่ถูกต้องทางจริยธรรมด้วยเหตุผลของตนเอง แต่เขาเป็นคนดีเพราะเขาทำตัวเป็น “เครื่องมือที่ดี” ตามกรอบหรือลู่ทางแห่งความกตัญญู ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อชนชั้นปกครองเท่านั้น ทำให้ผมนึกถึง A Clockwork Orange หรือ “คนไขลาน” ที่เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ (แต่ไม่ใช่มนุษย์) ทำหน้าที่เพียงไขลานเพื่อให้กลไกต่างๆ ในนาฬิกาทำงานได้อย่างปกติ ไม่มีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตมากกว่านั้น ในบทความชื่อ “A Clockwork Orange: ความเป็นมนุษย์และการสูญสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์” ของอาทิตย์ ศรีจันทร์ เขาเขียนทิ้งท้ายอย่างน่าคิดว่า


ถ้าสิทธิในการเลือกใช้ชีวิต คือสิทธิของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะการเลือกเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีชีวิต มีจิตใจ มีเจตจำนง และมีเสรีภาพ เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเลือกอะไรได้ในชีวิต มนุษย์จะเรียกตัวเองว่ามนุษย์ได้อย่างไร หรือแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานและสิ่งไร้ชีวิตได้อย่างไร หรือเป็นได้แค่เพียง “คนไขลาน” ที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง โดยปราศจากอารมณ์และความรู้สึก...กระนั้นหรือ? [5]


ตามการปลูกฝังชุดความดีข้างต้น ประชาชนคือ “คนไขลาน” ให้นาฬิกาแห่งอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเดินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ใช่ “เสรีชน” หรือ “คน” ที่มีเหตุผล เสรีภาพและศักดิ์ศรีในตัวเองตามความหมายของการเป็นประชาชน หรือเป็นคนตาม Concept ของประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนดังที่เราหลอกตนเองว่าสังคมเรายึดหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค ตามระบอบประชาธิปไตย และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด


2.2 ชุดความดีทางศาสนาที่สนับสนุนความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม+สุขนิยมส่วนตัว (individual hedonism/egoism) เป็นชุดความดีที่โปรฯความดี/คนดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่มี “ตราประทับความจงรักภักดี” มากกว่าที่จะสนับสนุนความดีที่วางอยู่บนรากฐานทางจริยศาสตร์ที่สนับสนุน “ความเป็นมนุษย์” ที่เสรีภาพ เสมอภาคตามหลักประชาธิปไตย ดังเช่น คำเทศนาพระสงฆ์ทั่วไปและพระที่มีชื่อเสียงแห่งยุคอย่าง ว.วชิรเมธี


อาตมาเพิ่งกลับจากยุโรปเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ฝรั่งที่มานั่งกรรมฐานกับอาตมาบอกว่า...ในหลวงของคนไทยเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ฝรั่งอิจฉา ฝรั่งเขารู้ว่าในหลวงเป็นพระราชาที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก การที่เรามีพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของประเทศด้อยพัฒนา แต่เป็นเครื่องหมายของความเป็นอารยประเทศที่มีสดมภ์หลักในทางจิตวิญญาณ ต่างชาติเขามีเพียงเสรีภาพเป็นที่พึ่ง ในขณะที่เรามีพระองค์ท่านเป็นประจักษ์พยานที่มีชีวิตชีวา แล้วเราตระหนักในคุณค่าแห่งคำสอนของพระองค์หรือเปล่า? คนไทยนั้นแปลก เรามีของดีที่สุดอยู่ในแผ่นดินแต่ต้องรอให้ฝรั่งเขามายกย่อง เราจึงจะเห็นคุณค่า ประการแรก เพราะเราตกเป็นอาณานิคมทางปัญญาของฝรั่ง ประการต่อมา เพราะเราคิดน้อย เราไม่ชอบคิดในเชิงวิเคราะห์ แต่เราชอบสะเดาะเคราะห์  [6]


ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีการอ้างอิงหลักพุทธศาสนาเพื่อขจัดฝ่ายที่ถูกล่าวหาว่าเป็นศัตรูของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดังวาทะอันลือลั่นของ กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19 ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” [7] หรือในยุคสมัยของเรา ก็คือวาทะอันโด่งดังของพระเซเลบอย่าง พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ที่ว่า “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” ดังที่ทราบกันทั่วไป เป็นต้น


3.การหลอกตัวเองทางศีลธรรม


การหลอกตัวเองคืออะไร ข้อโต้แย้งของฌอง ปอล ซาร์ต ข้างล่างนี้บอกเราได้ชัดเจนดี

ผมในฐานะผู้หลอกลวง ต้องรู้ความจริงที่ตัวเองปิดบังไว้จากตัวผมเองในฐานะผู้ถูกหลอกลวง และที่ดียิ่งกว่านั้นอีกคือ ผมต้องรู้ความจริงนั้นอย่างถ่องแท้ด้วย เพื่อที่จะปิดบังมันไว้อย่างรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น และนี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในสองช่วงขณะที่ห่างจากกันพอที่จะทำให้เราคิดถึงอะไรบางอย่างที่คล้ายกับทวิลักษณ์ได้ แต่มันอยู่ในโครงสร้างเพียงหนึ่งเดียวของกิจกรรมเดียวกันนั้น [8]


มีปรากฏการณ์ในโซเชียลมีเดียที่ถูกตั้งคำถามว่า เป็นการหลอกตัวเองทางศีลธรรมหรือไม่ เช่นข้อโต้แย้ง (arguments) เรื่อง “freedom of speech” ของบรรดาคนรักเจ้า [9] ที่อ้างว่า พวกเขาย่อมมีเสรีภาพที่จะรัก มีเสรีภาพที่จะพูดสรรเสริญคุณความดีของสถาบันกษัตริย์ แต่ปัญหาคือ ข้อโต้แย้งนี้เป็นข้อโต้แย้งที่มีฉากหลัง (background) หลักๆ 2 อย่างคือ 1) เป็นข้อโต้แย้งต่อฝ่ายที่เรียกร้องให้มีระบบกฎหมายเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่แฟร์ในตัวของมันเอง เพราะการยืนยันเสรีภาพที่จะพูดถึงความดีงามของสถาบันกษัตริย์เพื่อโต้อีกฝ่ายที่เขาไม่มีเสรีภาพที่จะพูดด้านตรงข้ามได้ 2) “freedom of speech” ที่ยืนยันนั้น จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ “freedom of speech” เลย เพราะฝ่ายที่ยืนยันนั้นเอง ก็ไม่มีเสรีภาพในการเลือกที่จะพูดด้านตรงกันข้ามกับการสรรเสริญ ฉะนั้น “freedom of speech” ของบรรดาคนรักเจ้าจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของการหลอกตัวเอง คือพวกเขารู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเองไม่มี “freedom of speech” เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เพราะกฎหมายไม่เปิดให้ แต่ก็ยังพยายามจะยืนยันว่าตนมี


ประเด็นคือ “freedom of speech” เป็นศีลธรรมขั้นพื้นฐานที่แสดงคุณค่า “ความเป็นมนุษย์” ที่สำคัญยิ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน ดังปรากฏในตอนต้นของคำปรารภและข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองไว้ว่า การดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (freedom of speech) คือปณิธานสูงสุดของสามัญชน และ “บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในความคิดเห็น และการแสดงออก สิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง ไปจนถึงการแสวงหา รับเอา ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูล และความคิดเห็นผ่านสื่อใดๆ โดยปราศจากพรมแดน” [10] ฉะนั้น ทั้งที่รู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเองไม่มี “freedom of speech” เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เพราะกฎหมายไม่เปิดให้ แต่ก็ยังพยายามยืนยันว่าตนมี จึงเป็น “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ในระดับพื้นฐานเลยทีเดียว


เราจะเข้าใจปัญหานี้ชัดขึ้นจากคำอธิบายของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ต่อคำถามที่ว่าทำไมเราจึงควรคิดว่า การเคารพในอิสรภาพส่วนบุคคล และสิทธิที่จะคิดต่างจะสร้างสวัสดิการแก่สังคมได้ในระยะยาว? มิลล์ให้เหตุผลว่า


ความเห็นต่างอาจปรากฏว่าเป็นความจริง หรือมีส่วนจริง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงแก้ไขความเห็นกระแสหลักได้ และต่อให้มันไม่เป็นจริง การนำความเห็นกระแสหลักมาสู่การปะทะสังสรรค์ทางความคิดจะช่วยป้องกันไม่ให้มันแข็งตัวเป็นลัทธิกดขี่และอคติ สุดท้าย สังคมที่บังคับสมาชิกให้ทำตามธรรมเนียมและจารีตต่างๆ สุ่มเสี่ยงว่าจะตกอยู่ในภาวะทำตามๆ กันไปอย่างโง่เขลา ขาดพลัง และความมีชีวิตชีวาซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม [11]


ฉะนั้น วัฒนธรรมโปรฯความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็น “วัฒนธรรมหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ที่ทำให้สังคมมีค่านิยมไม่ให้ความสำคัญกับความจริง ความถูกต้องที่ตรวจสอบได้ตามหลักการประชาธิปไตย และความมีเหตุเป็นวิทยาศาสตร์ กระทั่งยอมละทิ้งหลักการพุทธแบบดั้งเดิม เช่น ไม่ให้ความสำคัญกับการปรับใช้หลักกาลามสูตร และหลักอริยสัจในการตรวจสอบความจริง หรือ “ทุกขสัจจะ” ทางสังคมการเมืองเป็นต้น


4.การท้าทายโต้แย้งชุดความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์จากจุดยืนเสรีประชาธิปไตย


พร้อมๆ กับการโปรฯความดี/คนดีดังกล่าวอย่างเข้มข้น ก็เกิดการท้าทายมากขึ้น ดังการท้าทายอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” อย่างถึงรากของมุกหอม วงศ์เทศ บนจุดยืนการปกป้อง “ความเป็นมนุษย์” ตามอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยที่ว่า “เมืองไทยเป็นประเทศที่เต็มใจอยู่กับความฝันแบบแฟนตาซี เทพนิยายโกหก แบบเด็กไม่ยอมโต ทาสที่ปล่อยไม่ยอมไป หลอกทั้งตัวเอง หลอกทั้งคนอื่น แถมยังคิดว่าคนอื่นต้องเชื่อเรื่องโกหกแบบเราด้วย อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นอุดมการณ์ที่ทำลายความเป็นมนุษย์มากๆ ส่วนที่ทำลายมากที่สุดคือการใช้ปัญญาและเหตุผล” [12]

ขณะเดียวกันการโปรฯความดี/คนดีของพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบพระเซเล็บ ก็ถูกตั้งคำถามมากขึ้น ดังข้อวิจารณ์ของ วิจักขณ์ พานิช


ตราบใดที่การสื่อสารธรรมะทางเดียวยังคงดำเนินต่อไปในลักษณะเพิกเฉยต่อบริบทความทุกข์ที่หลากหลายของผู้คนในสังคม อีกทั้งโครงสร้างพุทธศาสนาแบบไทยๆ ยังวางตัวอิงแอบอยู่กับอำนาจรัฐด้วยภาพลักษณ์วาทกรรม “ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” จนบ่อยครั้งกลายเป็นอำนาจมืดที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้  คำคมอย่าง “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” หรือความคิดเห็นแปลกๆ ที่ขาดการเข้าใจบริบททางสังคมอย่างรอบคอบ ก็จะยังคงปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ เรื่อยไป  และแน่นอนว่าคำสอนเหล่านั้น เมื่อปรากฏต่อสาธารณชน ย่อมหนีไม่พ้นการถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์  ส่วนการพยายามอธิบายเหตุผลที่มาของข้อความเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยการยกสถานะอันเป็นที่สักการะของพระสงฆ์ หรือความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากการเมืองของคำสอน ก็ยิ่งจะแสดงถึงอวิชชา ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอันซับซ้อน และการพยายามปัดความรับผิดชอบที่ข้อความอันมักง่ายเหล่านั้นมีผลกระทบต่อคนเล็กคนน้อยในทางสังคม...ปฏิกิริยาทั้งหมดยิ่งสะท้อนถึงแนวโน้มเผด็จการ “อำนาจนิยม” ของพุทธศาสนาในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการร่วมรักษาความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ไว้โดยรู้ตัวก็ดีหรือไม่รู้ตัวก็ดี  [13]


กระทั่งเสนอให้ “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” โดยให้แปรรูปองค์กรทางศาสนาอยู่ในรูปองค์กรเอกชนทั้งหมด โดยที่รัฐไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง ยกเว้นว่าการดำเนินกิจการทางศาสนาจะเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย [14]


5. ผลกระทบต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนา


วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังที่อภิปรายมา ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญตามมา เช่น


5.1 การปลูกฝังชุดความดีดังกล่าวนั้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว ผ่านระบบการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรศาสนา กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชน ฯลฯ ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเบลอๆ (มีการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบสังคมการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ได้ แม้แต่จะแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ตามข้อเสนอของนักวิชาการและประชาชนก็ทำไม่ได้ เพราะเกรงกลัวกองทัพและอำนาจนอกระบบ) มีเสรีภาพเบลอๆ (คือเสรีภาพที่ถูกจำกัดด้วย ม.112 ไม่ใช่เสรีภาพสมบูรณ์ตามหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน) มีความยุติธรรมเบลอๆ เพราะไม่มีความเสมอภาค (ใช้สองมาตรฐานในการวิจารณ์ตรวจสอบ เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมาย และศีลธรรมกับบุคคลสาธารณะ) เป็นพุทธเบลอๆ ที่สนับสนุนศีลธรรมเครื่องมือเพื่อครอบงำประชาชนให้กลายเป็น “มนุษย์เครื่องมือ” ค้ำจุนสถานะ อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นปกครอง


5.2 เพราะความเป็นประชาธิปไตยเบลอๆ เป็นพุทธเบลอๆ สังคมเราจึงมีการอ้างสถาบันกษัตริย์ อ้างศีลธรรมทางศาสนาต่อสู้ทางการเมือง แบ่งแยกคนในชาติเป็นฝ่ายคนดีที่มีตราประทับ “ความจงรักภักดี” กับฝ่ายคนเลวที่มีตราประทับ “ความไม่จงรักภักดี” และจบลงด้วยรัฐประหาร การล้อมปราบนักศึกษาประชาชนบาดเจ็บล้มตายซ้ำซาก จนกระทั่งบัดนี้สังคมยังไม่สามารถอ้างอิงหลักการประชาธิปไตยในการแยกแยะถูก-ผิดทางการเมืองได้อย่างมีวุฒิภาวะ เพราะรากฐานทางจริยศาสตร์แห่งวัฒนธรรมโปรฯความดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นจริยศาสตร์แห่ง “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ที่มีผลให้วิธีคิดและการตัดสินถูก-ผิดทางศีลธรรมของสังคมเบลอๆ อยู่กับสภาพกึ่งจริงกึ่งเท็จ จึงเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาสัจจะ การถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันว่าอะไรคือหลักการ อุดมการณ์ที่ถูกต้องที่สังคมควรยึดถือร่วมกัน


5.3 สังคมติดกับดักของ “ศีลธรรมทางการเมืองตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม” การที่สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดี ทำให้ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย แทนที่สังคมจะส่งเสริม “ความรัก” ในเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ แต่กลับเน้นการส่งเสริมความรักสถาบันกษัตริย์ในฐานะ “ตัวบุคคล” มากว่า จนกลายเป็นกับดักปัญหาทางศีลธรรมตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเรื่อง “ความจงรักภักดี-ไม่จงรักภักดี” อันเป็นเหตุให้สถาบันกษัตริย์ดำรงสถานะ อำนาจ บทบาทที่ถูกอ้างอิงในการต่อสู้ทางการเมือง และการทำรัฐประหารได้ไม่สิ้นสุด


5.4 ความดีทางศาสนาถูกทำให้เป็น “ยากล่อมประสาท” มอมเมาผู้คนให้ตกอยู่ในสภาพเบลอทางศีลธรรมที่คลุมเครือในเรื่องจริง-เท็จ ถูก-ผิด คนดีทางศาสนากลายเป็นคนแปลกแยกจากสังคม หมกมุ่นกับความทุกข์ ความสุขส่วนตัว มองปัญหาสังคมการเมืองเป็นเรื่องทางโลก วุ่นวาย เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา ไม่ใช่ความดี เพราะความดีคือการทำบุญ ศีล ทาน ตามคำสอนของพุทธศาสนา เป็นความดีที่มีอานิสงส์ดลบันดาลให้เกิดสุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ความดีดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม การปกป้องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย ประกอบกับโครงสร้างอำนาจของสังคมสงฆ์ที่ขึ้นต่ออุดมการณ์ราชาชาตินิยม บทบาทขององค์กรทางศาสนาจึงอยู่ข้างชนชั้นปกครองมากกว่าจะยึดโยงกับประชาชน และประชาธิปไตย


5.5 เกิดกระแสท้าทายโต้แย้งวัฒนธรรมโปรฯความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บนจุดยืนเสรีประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เช่น กระแสต่อต้านรัฐประหารโดยคนดีมีคุณธรรม การเรียกร้องให้แก้ไขยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯมาตรา 112 การปฏิรูปกองทัพ สถาบันกษัตริย์ การตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองโดยอ้างธรรมะอ้างศาสนาสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม การเรียกร้อง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” หรือรัฐฆราวาส (secular state) ที่รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา การแปรรูปองค์กรศาสนาให้เป็นกิจกรรมของเอกชนโดยสิ้นเชิง เป็นต้น


บทสรุป : เราไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” อีกต่อไป (?)


ไม่ต้องสงสัยเลยว่า วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับวันจะถูกท้าทายโต้แย้งด้วยหลักการ เหตุผล บนจุดยืนของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้นๆ สังคมเราไม่อาจอยู่กับความจริงที่ว่า “เราถูกปลูกฝังให้หลอกตัวเองทางศีลธรรม” เช่นนี้ตลอดไป เราผู้ซึ่งเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพจะเลือกชีวิตทางสังคมการเมืองที่ดีกว่า เป็นอารยะกว่า ไม่สมควรจะ “ถูกกด” ถูกมอมเมาให้กลายเป็นเพียง “มนุษย์เครื่องมือ” หรือ “คนไขลาน” อีกต่อไป


กลิ่นไอของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพ มีคุณค่ามีศักดิ์ศรีในตัวเองในโลกปัจจุบันและอนาคต ดูจะมีเสน่ห์ยั่วยวนชวนปรารถนาเกินกว่ามนต์สะกดแห่งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะตรึงผู้คนให้ติดอยู่กับความไม่มีเหตุผลของศีลธรรมหลอกตัวเองอีกต่อไป


คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่า สังคมจะเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีบนฐานศีลธรรมหลอกตัวเอง ไปสู่การสร้างระบบสังคมการเมืองที่ยุติธรรมบนฐานของศีลธรรมเหตุผลเป็นสากล คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพอย่างสันติได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่าไม่มีทางเป็นไปอย่างสันติได้เลย หากสังคมไม่สามารถถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างเป็นสาธารณะ และอย่างถึงที่สุด เพื่อหา “ฉันทามติ” ร่วมกันว่า ต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้อยู่ภายใต้หลักเสรีภาพ และความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตยอย่างอารยประเทศ 


เชิงอรรถ

  1. “ในระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่มี the king ที่ can do wrong เพราะในระบอบประชาธิปไตย มีแต่ the king ที่ can do nothing เนื่องจากผู้รับสนองพระบรมราชโองการต่างหากที่เป็นผู้กระทำและผู้รับผิดชอบ” ดู ปิยบุตร แสงกนกกุล “องค์กษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้คืออะไร?” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) หน้า 49
  2. ดู ธงชัย วินิจจะกูล. มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน.//prachatai.com/journal/2011/05/34433
  3. มติชน 3 เม.ย.55 //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333427789
  4. เกษียร เตชะพีระ เรื่องจริยธรรม-คุณธรรม ชาตินิยมและพระสยามเทวาธิราช.//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333553868...
  5. อาทิตย์ ศรีจันทร์. A Clockwork Orange: ความเป็นมนุษย์และการสูญสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์. อ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม 2554-มีนาคม 2555) หน้า 187
  6. LIPS ปักษ์หลัง ธันวาคม 2552, หน้า 87
  7. จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 (29 มิถุนายน 2519)
  8. แบล็กเบิร์น, ไซมอน.อ้างแล้ว, หน้า 103
  9. ปัญหา freedom of speech เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และ ม.112 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิเคราะห์ไว้หลายที่ เช่น https://www.youtube.com/watch?v=ifr8jolc5F8 เขากล่าวว่าปัจจุบันเสรีภาพวิจารณ์สถาบันกษัตริย์แย่กว่าสมัย ร.6 ร.7
  10. ดูอาทิตย์ พุธิพงษ์. เรื่องของอากง: Freedom of Speech และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม. //www.prachatai.com/journal/2011/12/38254
  11. อ้างใน  Sandel, Michael J. ความยุติธรรม= What’s the Right Thing to Do?. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล.กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2554 หน้า 71-72
  12. อ้างใน วรพจนน์ พันธุ์พงศ์/ธิติ มีแต้ม.ความมืดกลางแสงแดด.(กรุงเทพฯ: หอนาฬิกา 2555), หน้า 236
  13. วิจักขณ์ พานิช “ความคมของฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” บทเรียนของพุทธศาสนาในสังคมประชาธิปไตย //blogazine.in.th/blogs/budddhistcitizen/post/3465
  14. ดูเก่งกิจ กิติเรียงลาภ. ปัญหาธรรมกาย-พระไพศาล-มหาเถรสมาคม-สุรพศ และบททดลองเสนอเกี่ยวกับสถานะของสถาบันศาสนาในสังคมไทย. //www.prachatai.com/journal/2012/08/42403  และสุรพศ ทวีศักดิ์.ปัญหาการอ้าง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” กับ “ความชอบธรรม” ในการดำเนินการทางพระธรรมวินัย //prachatai.com/journal/2012/09/42410

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2012/10/43329




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:24:46 น.
Counter : 2293 Pageviews.  

‘คนดี’ ตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมกับความรับผิดชอบต่อ ‘รัฐประหาร’

สุรพศ ทวีศักดิ์


"คนดีก็มีที่ยืนเยอะ คนไม่ดีก็ยังมีที่ยืนอยู่ หน้าที่ของเราก็คือสร้างคนดี

เบียดคนไม่ดีให้ไม่มีที่ยืน ในชาติบ้านเมืองของเรา"


นี่คือ “วรรคทอง” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวให้โอวาทในพิธีมอบทุน "มูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์” เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า “..สาเหตุที่กระผมต้องนำเรื่องนี้มาพูด เนื่องจากต้องการให้ผู้ที่เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนของชาติ ได้ตระหนักและหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างคนดี หากเราที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยกันพยายามสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ บังเกิดความเข้าใจคุณธรรมจริยธรรมอย่างถ่องแท้ ชาติบ้านเมืองของเราจะไม่มีคนโกง...” (คม ชัด ลึก 16 ก.ย.55)


แม้จะเป็นไปได้ว่าผู้พูดมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง (ไม่มีวาระทางการเมืองแอบแฝง?) แต่ในทางข้อเท็จจริงและเหตุผล เราก็ควรตั้งคำถามกับ “วาทกรรมสร้างคนดี-ขจัดคนเลว” อย่างยิ่งว่า ในที่สุดแล้วมันเป็นวาทกรรมที่สร้างปัญหา หรือแก้ปัญหาของระบบสังคมการเมืองตามที่เป็นอยู่กันแน่


ประการแรก พลเอกเปรมถูกยกย่องว่าเป็น “เสาหลักทางจริยธรรม” ของชาติ แต่ “จริยธรรมของชาติ” ตามนิยามของเขาเป็นจริยธรรมตาม “อุดมการณ์ราชาชาตินิยม” ที่ถือว่า “ความดี/การเป็นคนดี หมายถึงการซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ชาติตามนิยามนี้ คือภาวะนามธรรมบางอย่างที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ (ดังที่พลเอกเปรมมักพูดเสมอๆ ว่า “ชาติบ้านเมืองเป็นของศักดิ์สิทธิ์”) ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์นั้นอิงอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ที่อยู่เหนือการตรวจสอบ ไม่ใช่ชาติตามนิยามของรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ถือว่า “ชาติคือประชาชน” ที่มาร่วมกันทำข้อตกลงแบ่งปันสิทธิประโยชน์ต่างๆ ภายใต้กติกาที่สร้างขึ้นบน “หลักความยุติธรรม” ที่ถือว่าทุกคนมีเสรีภาพและมีความเป็นคนเท่ากัน


ฉะนั้น “จริยธรรมของชาติ” ตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมจึงเรียกร้อง “ความจงรักภักดี” ต่อชนชั้นปกครองที่อยู่เหนือการตรวจสอบ ซึ่งตรงกันข้ามกับจริยธรรมของชาติตาม “อุดมการณ์ประชาธิปไตย” ที่เรียกร้อง “การตรวจสอบ” บุคคลที่มีบทบาทสาธารณะทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตามหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค จริยธรรมแห่งสังคมประชาธิปไตยจึงหมายถึงการมีจิตสำนึกและความกล้าหาญในการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ ซึ่งเป็นจริยธรรมที่ “เสาหลักทางจริยธรรม” ของประเทศนี้ไม่เคยพูดถึงเลย


ประการที่สอง  ฉะนั้นเมื่อพลเอกเปรมพูดถึง “ความซื่อสัตย์ ไม่โกง”  เขาจึงเน้นไปที่ความซื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ใช่ซื่อสัตย์ต่อ “อำนาจของประชาชน” และ “คนโกง” ก็มักจะหมายเฉพาะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เครือข่ายอำมาตย์ที่เป็นคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานจริยธรรมที่ยึดอุดมการณ์ราชาชาตินิยม


เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีการตั้งคำถามว่า พลเอกเปรมและบรรดาเครือข่ายอำมาตย์ที่เป็นคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานดังกล่าวซื่อสัตย์ต่อประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อรัฐธรรมนูญห้ามทหารเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ผู้นำกองทัพกลับให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นทางการเมืองผ่านสื่อมวลชนอย่างเป็นปกติ เมื่อรัฐธรรมนูญห้ามองคมนตรีเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประธานองคมนตรีกลับสนับสนุนให้องคมนตรีมาเป็นนายกฯ ของคณะรัฐประหาร 19 กันยา 49 (สุรยุทธ์เป็นคนดีที่สุด) และกล่าวสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นนายกฯ ของรัฐบาลที่ตั้งในค่ายทหาร (ประเทศไทยโชคดีที่ได้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ) เหล่านี้เป็นต้น ล้วนแสดงให้เห็น ปัญหา “ความไม่ซื่อสัตย์” ต่อ “รัฐธรรมนูญ” และ “ประชาธิปไตย”


จริงอยู่ การที่นักการเมืองโกงงบประมาณแผ่นดินหรือโกงอะไรต่างๆ นั้น ก็เป็นการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรมทางการเมือง ผิดหลักการประชาธิปไตย และผิดกฎหมาย แต่การกระทำผิดกฎหมายดังกล่าวนี้ก็เหมือนกับการทำผิดกฎหมายในกรณีอื่นๆ เช่น ทำผิดกฎจราจร ปล้นทรัพย์ ฆ่าคน ฯลฯ ซึ่งด้องแก้ไขด้วยการเอาผิดทางกฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย


ไม่ใช่เรื่องที่บรรดาคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานอุดมการณ์ราชาชาตินิยมจะถืออภิสิทธิ์เข้ามาทำรัฐประหารเพื่อปราบคนโกง เพราะ 1) ประชาชนไม่ได้มีฉันทามติให้ทำเช่นนั้น 2) รัฐประหารเป็นการปล้นอำนาจประชาชน เป็นความไม่ซื่อสัตย์ คดโกงฉ้อฉลอำนาจ สิทธิ เสรีภาพของประชาชน เท่ากับอกตัญญูต่อชาติคือ “ประชาชน” และ 3) ไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าบรรดาคนดีมีคุณธรรมที่รวมหัวกันทำรัฐประหารจะไม่โกง เพราะตรวจสอบไม่ได้


ประการสุดท้าย เมื่อมาตรฐานจริยธรรมแห่งชาติตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมขัดแย้งกับมาตรฐานจริยธรรมประชาธิปไตยใน “ระดับรากฐาน” จึงทำให้บรรดาคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานดังกล่าวอ้างคุณธรรมความดีละเมิดหลักการประชาธิปไตย เช่น รัฐธรรมนูญห้ามยุ่งการเมือง ก็แสดงความเห็นทางการเมือง สนับสนุนฝ่ายการเมืองอย่างเปิดเผย (และไม่เปิดเผย?) กระทั่งทำรัฐประหารในนามของการอ้าง “คุณธรรมความดี” เพื่อชาติบ้านเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้ “ที่ยืน” ของ “บรรดาคนดี” อยู่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยเสมอ เช่น


- ที่ยืนในตำแหน่งนายกฯ แห่งคณะรัฐประหาร 19 กันยา และบนเขายายเที่ยง (ตามวาทะว่า “สุรยุทธ์เป็นคนดีที่สุด”)

- ที่ยืนในตำแหน่งนายกฯ อำมาตย์อุ้ม และบนกองศพประชาชน (ตามวาทะว่า “ประเทศไทยโชคดีที่ได้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ”)

ฯลฯ


แน่นอนว่า ความเสียหายของชาติบ้านเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากนักการเมืองโกงงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นจะต้องถูกตรวจสอบ และถูกดำเนินการตามกฎหมายด้วยกระบวนการยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย


แต่คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ แล้วบรรดาคนดีมีคุณธรรมที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อรัฐธรรมนูญ ปล้นอำนาจของประชาชน ทำรัฐประหารล้มล้างประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่าล่ะ จะต้องรับผิดชอบทางกฎหมายอย่างไร? สังคมควรยอมรับการอ้างความเป็นคนดีมีคุณธรรมเพื่ออยู่เหนือ/ละเมิดรัฐธรรมนูญ และฉีกรัฐธรรม ล้มประชาธิปไตยซ้ำซากเช่นนี้ ตลอดไปหรือ?


ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2012/09/42783




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2555    
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2555 14:24:45 น.
Counter : 656 Pageviews.  

ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ

โดย ทัศนะ กระจ่างจิต


เมื่อสังคมพัฒนาก้าวหน้าไปก็มัก จะเกิดคำศัพท์ใหม่ๆ เพื่อรองรับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยเช่น คำว่า ทุนสามานย์ นิเวศวิทยา บูรณาการ ประชาสังคม โลกาภิวัตน์ อารยะขัดขืน เป็นต้น แม้ว่าศัพท์บางคำเหล่านี้จะมีการใช้มานานแล้วแต่ก็ใช้กันเฉพาะในวงการแคบๆ จึงกลายเป็นศัพท์ใหม่ในสังคมวงกว้าง หรือศัพท์บางคำที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไปแต่ต่อมาได้นำมาใช้ในอีกความหมาย หนึ่งเช่น เอื้ออาทร หน้าเหลี่ยม ฯลฯ ก็กลายเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใหม่ นี่ยังไม่นับคำศัพท์ตามวัยของผู้คนบางกลุ่มในสังคมร่วมสมัยเช่น สุโค่ย โดน จี๊ด ใจ เป๊ะ จัดเต็ม เป็นต้น


ดังนั้นศัพท์ใหม่ๆ ในทางการเมือง เช่น “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” แม้จะไม่เคยใช้มาก่อนแต่ก็เป็นศัพท์ที่ให้ความหมายและสื่อให้ผู้คนเข้าใจถึง ศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน ทำให้เริ่มใช้ศัพท์คำนี้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสอดคล้องกับลักษณะพิเศษของสังคมไทยที่โครงสร้างสังคมพื้นฐานทาง ด้านเศรษฐกิจได้พัฒนาจนกลายเป็น “ทุนนิยม” ไปแล้ว แต่โครงสร้างชั้นบนซึ่งก็คือโครงสร้างทางการเมืองและโครงสร้างทางด้าน รูปการจิตสำนึก ยังคงยึดกุมโดย “ศักดินา” ไว้อย่างแน่นหนา


อนึ่ง “กลุ่มทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” อาจไม่มีตัวตน เพราะอำนาจตัดสินใจอยู่ที่คนๆเดียวไม่ได้เป็นกลุ่ม โดยเขียนระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 อย่างชัดแจ้ง แต่“ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” มีตัวตนจริงๆ


แน่นอน เพราะประชาชนทั่วประเทศยังถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วงอยู่ทุกวี่วัน มวลชนเรือนล้านก็ยังรู้สึกรับรู้ได้ และมองเห็นแล้วว่าใครคือศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริงของตนเอง นับประสาอะไรกับนักลัทธิมาร์กซตัวจริงเสียงจริง


คำว่า “ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ” นี้ ตั้งชื่อเรียงตามหลักการตั้งชื่อของลัทธิมาร์กซ คือ

- เริ่มด้วยระบบเศรษฐกิจ

- ตามด้วยการเมืองการปกครอง

- ลงท้ายด้วยวัฒนธรรมความคิด


จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ


ทุนผูกขาด (ตั้งตามระบบเศรษฐกิจ) คือ นายทุนใหญ่ที่ลงทุนทำการค้ากอบโกยขูดรีดในธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยวิธี “ผูกขาด” ซึ่งมักจะได้จากสัมปทาน ฮั้วประมูล ทำาธุรกิจมาก่อน หรือทำมานาน จนสามารถขายสินค้าได้มากมายโดยไม่มีคู่แข่ง หรือคู่แข่งมีขนาดเล็กกว่ามาก การผูกขาดนี้อาจร่วมมือกับกลุ่มทุนอื่นๆ หรือไม่ก็ได้ คำว่า “ทุนผูกขาด” เป็นศัพท์เฉพาะของลัทธิมาร์กซ ในระบบทุนนิยมใช้คำว่า “การรวมศูนย์ทุน”


ผูกขาด คือ สามารถรวมศูนย์ ควบคุมทั้งกลไกการลงทุน การผลิต การตลาดและราคา ในธุรกิจนั้นๆได้ตามต้องการ รวมทั้งมีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง การบริหารจัดการต่างๆ เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง ไม่มีการแข่งขัน หรือมีการแข่งขันน้อยราย


ในธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็น “บริษัทมหาชน” มีซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเกินครึ่ง แค่ถือหุ้นให้มากพอที่จะเข้าไปบริหาร (เช่น 20–25%) รวมทั้งถือหุ้นโดยใช้ชื่อบุคคลหรือองค์กรอื่น เพื่ออำพรางมิให้ทราบว่าใครคือเจ้าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (นอมินี) ดังนั้นในตลาดหลักทรัพย์จึงมีการขายหุ้นจริงๆให้นักลงทุนทั่วไปเพียงคนละไม่ กี่หุ้น แต่ที่เรียกว่าบริษัทมหาชนนั้นก็เพื่อ“หลอกลวง” ให้ดูเหมือนไม่ได้ผูกขาด ทั้งที่ในความจริงผู้ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ล้วนเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กราย น้อยที่ไม่สามารถกำหนดนโยบาย ทิศทางและการบริหารจัดการใดๆ ยิ่งกระจายขายหุ้นให้รายเล็กรายย่อยซื้อไปมากๆ ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็สามารถถือหุ้นน้อยลง แต่ยังกำหนดนโยบาย ทิศทางและการบริหารจัดการใดๆได้เหมือนเดิม


ในระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยมที่ สลับซับซ้อน การผูกขาดจึงมิได้มีความหมายแคบๆว่า ต้องผูกขาดโดยคนไม่กี่คนเท่านั้น แม้ในรายชื่อผู้ถือหุ้นจะมีคนอีกหมื่นคนถือหุ้นร่วมอยู่ แต่ถ้าคนทั้งหมื่นคนนั้นถือหุ้นรวมกันแค่ 5-10% เท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่มากพอที่จะกำหนดทิศทางนโยบายของบริษัทได้ ก็ถือว่าผูกขาด แม้จะ (ยอมให้) ซื้อขายหุ้น (เล็กน้อยบางส่วน) ในตลาดหลักทรัพย์ก็ตาม


ศักดินา (ตั้งตามระบอบการเมืองการปกครอง) คือ ระบอบที่ยอมให้มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นในสังคมทั้ง หมด (มิได้เท่าเทียมกันเหมือนระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง) โดยกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์เหล่านี้จะสร้างอิทธิพลด้วยการทำให้ผู้คนต้องมา พึ่งพา ขอความช่วยเหลือ หรือขอความอุปถัมภ์เป็นต้น ทำให้ต้องตอบแทนด้วยการยอมให้กดขี่ ขูดรีด รีดไถ หรือนำผลผลิตในรูปแบบต่างๆมาถวาย หรือสร้างช่องทางพิเศษในการเอื้ออำนวยให้กลุ่มอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้ กดขี่ ขูดรีด รีดไถ ได้สะดวก


ในที่นี้หมายถึง ระบบการเมืองไทยที่ยังคงเหลือเศษเดนของระบบศักดินา เพราะเศรษฐกิจเพื่อกินเพื่อใช้ ระบบเกณฑ์แรงงานและระบบค่าเช่าแบบศักดินาไม่ดำรงอยู่แล้ว แต่ระบบอภิสิทธิ์แม้จะไม่เท่าเดิม แต่ความไม่เสมอภาคในการแข่งขันหรือไม่ให้มีการแข่งขันยังดำรงอยู่ เช่น การเข้าไปยึดครองป่าสงวนทำการเกษตรภูเขาสูงหรือที่ใดก็ได้ การประมูลสัมปทาน การมีอำนาจเหนืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ สร้างวัฒนธรรมความคิดเรื่องความแตกต่างกันในชาติกำเนิดที่ยังคงมีอยู่อย่าง หนาแน่น ทั้งที่ได้ยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

ศักดินา ใน สังคมไทยจึงยังใช้อภิสิทธิ์ อิทธิพล บารมีและอำนาจได้อย่างกว้างขวาง กอบโกยกดขี่ขูดรีดรีดไถ ครอบงำทางความคิด จิตสำนึก ให้หลงงมงายและหลงเชื่อว่าบุญญาวาสนาของพวกเขาจะคุ้มภัยและช่วยเหลือแก้ ปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนได้ ฯลฯ โดยไม่มีใครกล้าคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ (ไม่ว่าจะเขียนไว้เป็นกฎหมาย เช่น ม. 112 หรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย)


เหนือรัฐ (ตั้งตามระบบความคิดวัฒนธรรม) หมายถึง อำนาจและกลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กับทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐได้ ตรงกันข้าม ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐกลับใช้อิทธิพลบารมีไปสร้างอำนาจและครอบงำกลไก อำนาจรัฐต่างๆ ให้ยอมทำตามความต้องการแต่โดยดี อย่างไม่มีข้อแม้และมิอาจขัดขืน โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำ และ/หรือ บงการให้อำนาจรัฐทำตามความต้องการและรับใช้ผลประโยชน์ของตนทั้งที่รู้ตัวและ ไม่รู้ตัว ทั้งที่เขียนหรือไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย รวมทั้งใช้อำนาจเหนือรัฐนี้มาเอื้ออำนวยและค้ำจุนให้ตนอยู่ในสถานภาพที่ เหนือกว่า จนกลายเป็นจารีตประเพณีปลูกฝังอยู่ในจิตสำนึกทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ


จึง หมายถึง นายทุนใหญ่ที่ลงทุนทำการค้ากอบโกยขูดรีดในธุรกิจขนาดใหญ่หลายๆอย่าง โดยใช้อำานาจพิเศษของ “ศักดินา” ที่ตนมีอยู่ ไปสร้างอำนาจเหนือรัฐ ครอบงำกลไกอำนาจรัฐให้ยอมทำตามความต้องการแต่โดยดี โดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำ และ/หรือ บงการให้อำนาจรัฐทำตามความต้องการและรับใช้ผลประโยชน์ของตนทั้งที่รู้ตัวและ ไม่รู้ตัว รวมทั้งใช้อำนาจเหนือรัฐนี้มาเอื้ออำนวยและค้ำจุนให้ตนอยู่ในสถานภาพที่ เหนือกว่า เพื่อกอบโกยขูดรีดและผูกขาดการแสวงหาผลประโยชน์ในธุรกิจต่างๆ โดยที่นายทุนอื่นหรือกลุ่มทุนอื่นๆ ไม่สามารถกระทำอย่างเดียวกันนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อ


1. เข้าไปกอบโกย ขูดรีด รีดไถ ผูกขาด แสวงหาผลประโยชน์ หรือให้ได้มา ครอบครองและใช้ประโยชน์ต่างๆ (เช่น ใช้ที่ป่าสงวนต้นน้ำมาทำไร่ สัมปทานภูเขาเอามาระเบิดหินทำปูนซิเมนต์ ตัดถนนเข้าไปในที่ดินของตน หรือผูกขาดดังกรณีบริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย บริษัทในเครือของปูนซิเมนต์ไทย ที่ผูกขาดค้ากระดาษแพงมากว่า 40 ปี ฯลฯ)


2. กีดกั้น ทำลายคู่แข่ง (เช่น ทำลายบริษัทปูนทีพีไอ)


3. บั่นทอน กีดขวางพลังการผลิตที่ก้าวหน้าในสังคมทุนนิยม (เช่น การเผยแพร่คติ-ความคิดงมงาย-พึ่งพาหาผู้อุปถัมภ์-เส้นสาย เผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ)


4. ทำให้ต้นทุนของตนเองต่ำกว่ากลุ่มทุนอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงความเสมอภาคในการแข่งขัน ทำตัวเป็นมาเฟียเรียกเก็บค่าบรรณาการหรือส่วยเมื่อใครจะมาลงทุน หรือเปิด “บ้านดูดทรัพย์” ให้กลุ่มทุนอื่นๆ ผลัดกันนำเงินมาถวาย ซึ่งดูได้ทุกวันในข่าวภาคค่ำ 20.00 น. ทางโทรทัศน์ทุกช่อง ทำให้ต้นทุนการผลิต การค้า การบริการสูงกว่าของทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ


ด้วย เหตุนี้ จึงทำให้ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐสามารถผูกขาดในธุรกิจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและมากมาย ครอบคลุมธุรกิจที่สำคัญๆไว้เกือบทั้งหมด สร้างความมั่งคั่งร่ำารวยอย่างมหาศาลจนเป็นศักดินาที่ครองความร่ำรวยอันดับ หนึ่งของโลกติดต่อกันหลายปี ซึ่งกลุ่มทุนอื่นไม่สามารถทำเช่นนี้ได้เพราะไม่มีสถานะ “ศักดินา”


การ แข่งขันอย่างเท่าเทียมกันตามแนวคิดเศรษฐกิจเสรีประชาธิปไตยแบบฉบับของพวก กลุ่มทุนตะวันตก จึงมีอุปสรรคขัดขวางและไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในประเทศไทยซึ่งมีระบอบการ ปกครองแบบพิเศษ “ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มิใช่ระบอบ “ประชาธิปไตย” ปกติ ที่เหมือนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีทั้ง “มือที่มองไม่เห็น-อำนาจพิเศษ-ผู้คุมเกมส์อำนาจ-อภิสิทธิ์-อิทธิพล-บารมีและ อำนาจลึกลับทางการเมือง เข้ามามีอำนาจครอบงำหรือบงการได้ทั้งรัฐบาล สภาฯ ศาล องค์กรอิสระ ข้าราชการระดับสูง ฯลฯ


โดยไม่มีใครกล้า คัดค้าน กล่าวหา หรือวิพากษ์วิจารณ์ และเป็นที่มาของปัญหาโครงสร้างชั้นบนของสังคมไทย นำมาซึ่งความขัดแย้งหลักๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงทศวรรษนี้ เพราะแนวคิดประชาธิปไตยแบบทุนนิยมตะวันตกนั้น ต้องการการแข่งขันหรือบริหารจัดการที่เสมอภาคเท่าเทียมและไม่มีอภิสิทธิ์ อิทธิพล บารมี หรืออำนาจพิเศษที่บุคคลหนึ่งๆ จะมีอยู่เหนือบุคคลอื่น

การมองเห็นศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) หรือไม่


การเข้าใจปรากฏการณ์และธาตุแท้ของศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) หรือไม่


การกำหนดท่าทีต่อศัตรูทางชนชั้นที่แท้จริง (ในขั้นตอนปฏิวัติเฉพาะหน้านี้) ถูกต้องหรือไม่


อยู่ที่วิเคราะห์สังคมได้อย่างถูกต้อง หรือไม่


อยู่ที่แยกมิตร แยกศัตรูได้อย่างถูกต้อง หรือไม่


ปัญหานี้เป็นปัญหาชี้เป็นชี้ตายของการปฏิวัติอย่าทำเป็นเล่นไป!


+++++++++++++++++++++


ที่มา : Fanpageทุนผูกขาดฯ




 

Create Date : 27 กันยายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:20:13 น.
Counter : 1944 Pageviews.  

สสส. – องค์กรที่เข้มแข็งขึ้นทุกปีจากภาษีเหล้า-บุหรี่

ปีศาจสุรา


เมื่อถามถึงชาวบ้านทั่วไปแล้ว คงเข้าใจว่า สสส. คือองค์กรที่รณรงค์งดสูบบุหรี่และงดเหล้า เพราะด้วยผลงานที่โดดเด่นชัดเจนจากการรณรงค์ผ่านทั้งสปอตโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ หรือการเปิดให้ทุนเปิดให้รางวัลการแข่งขันต่างๆเพื่อรณรงค์งดบุหรี่และเหล้า ผู้เขียนอยากทราบองค์การ สสส. มากขึ้นเลยเข้าไปหารายละเอียดเปิดในเวปไซต์ทางการของ สสส //www.thaihealth.or.th/about/get-to-know ซึ่งเขียนไว้ว่า “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 อยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วไป (ภาคี สร้างเสริมสุขภาพ) โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพดีครบสี่ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม เพื่อร่วมสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทาง ปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิด สร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมติของ สมัชชาสุขภาพโลก ด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ”


ผู้เขียนมาชะงักตรงที่ว่าแหล่งเงินทุนของ สสส. มาจาก ภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีนี่แหละ เอ ตกลง สสส. นี่มีเพื่อสนับสนุนหรือรณรงค์การงดเหล้างดบุหรี่กันแน่?


หน้าที่ขององค์กรขัดกับแหล่งเงินทุน


แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้ง จะพบว่านโยบายงดเหล้างดบุหรี่นั้นขัดกับแหล่งเงินทุน สสส. เอง ถ้านโยบายการลดเหล้าลดบุหรี่ได้ผลแล้ว การเก็บภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ย่อมลดลงๆในแต่ละปี และย่อมส่งผลให้แหล่งเงินทุนของ สสส. ลดลงเป็นเงาตามตัว เมื่อไม่มีเงินทุนแล้วก็ไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่พนักงานในองค์กร และจำเป็นต้องไล่ออก และขนาดองค์กรเล็กลงๆตามลำดับ และถ้าการรณรงค์งดเหล้าบุหรีสำเร็จจนเหลือศูนย์เมื่อไร แสดงว่า สสส. จะไม่มีเงินทุนและองค์กรต้องถูกยุบไปในที่สุด แลละถ้าผู้อ่านเป็นพนักงาน สสส ก็เตรียมตัวหางานใหม่ได้เลย ตรงกันข้ามถ้านโยบายงดเหล้างดบุหรี่ไม่สำเร็จ เงินสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ก็เพิ่มขึ้นทุกปี เงินทุนองค์กรก็เพิ่มขึ้นทุกปี กิจการขององค์กรรุ่งเรืองทุกปี พนักงานก็อาจได้โบนัสทะลุเป้า หน้าที่การงานพนักงานก็มั่นคง ถ้าผู้อ่านเป็นพนักงานขององค์กร ผู้อ่านจะเลือกให้นโยบายงดเหล้างดบุหรี่สำเร็จหรือล้มเหลว

แต่กิจการขององค์กรกลับรุ่งเรืองขึ้น สสส. เกิดขึ้นมาใน ปี 2544 จนถึงปัจจุบันก็ศิริรวมเวลาเกือบสิบปีแล้ว เมื่อพิเคราะห์ในฐานะองค์กรหนึ่งนับว่ามีอนาคตสดใส สามารถดำรงอยู่ผ่านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยในประเทศโดยไม่มีการลดขนาดองค์กร หรือ เลย์เอาท์พนักงาน ตลอดจนไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน เมื่อพิเคราะห์ด้านผลงานนโยบายขององค์กรแล้ว ใน thaipublica (//thaipublica.org/2012/05/hsri-researched-thaihealth/ ) ระบุว่า “พบว่าคนไทยเกือบครึ่งประเทศรู้จัก สสส. ในฐานะองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคมด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน” “ในสายตาของประชาชน สังคมได้กำไรจากการมีองค์กรเช่น สสส.” และจากข้อมูลจากเว็บไซท์เดียวกันปรากฎว่า ภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่เพิ่มขึ้นทุกปี และเรายได้จาก สสส. ก็เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นเงาตามตัว


ถ้าเปรียบ สสส. เป็น บริษัทแล้ว คนกินเหล้าสูบบุหรีก็คือลูกค้าขององค์กรที่มีพระคุณในการสนับสนุนสินค้าและด้านการเงินให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนในองค์กร ถ้าบังเอิญบรรดาผู้มีส่วนได้กับ สสส. เดินผ่านบนถนนพบปะคนกินเหล้าสูบบุหรี่ละก็อย่าลืม ไหว้พี่เขาสิครับ


ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 27 กันยายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:22:03 น.
Counter : 686 Pageviews.  

ระบอบอำมาตย์ชราธิปไตย

สมชาย ปรีชาศิลปกุล


อำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีในการครอบงำสังคมการเมืองไทยของพลังฝ่ายอำมาตย์ในห้วงระยะเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยปรากฏเป็นรูปแบบและโครงสร้างในทางการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสำคัญ


สังคมการเมืองไทยกำลังอยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองประเภทหนึ่ง ซึ่งควรจะมีชื่อเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า “อำมาตย์ชราธิปไตย”

อำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีในการครอบงำสังคมการเมืองไทยของพลังฝ่ายอำมาตย์ในห้วงระยะเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยปรากฏเป็นรูปแบบและโครงสร้างในทางการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสำคัญ


ในอดีตที่ผ่านมา การครอบงำทางการเมืองของฝ่ายอำมาตย์ในสังคมการเมืองจะดำเนินไปโดยผ่านพลังของสถาบันทหาร ในด้านหนึ่งจะเป็นการใช้กำลังอำนาจในการเข้าแทรกแซงระบบการเมืองด้วยการรัฐประหารที่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง และในสภาวะ “ปกติ” ก็ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองผ่านการแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ซึ่งจะมีอำนาจมากไปถึงมากที่สุดผันแปรไปตามแต่ละยุคสมัย

แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและการขยายอิทธิพลของระบอบประชาธิปไตยในระดับโลก ทำให้การครอบงำของพลังฝ่ายอำมาตย์ไม่อาจจะดำเนินไปในรูปแบบเดิมอีกต่อไป เนื่องอาจต้องเผชิญหน้ากับแรงต่อต้านจากภายในและแรงกดดันจากนานาอารยะประเทศ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะของการครอบงำมาสู่รูปแบบอำมาตย์ชราธิปไตย


โดยอำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการแทรกตัวเข้ามาในการขยายตัวของพลังประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษ 2540 อันปรากฏขึ้นพร้อมกับความตกต่ำทางด้านความชอบธรรมของนักการเมืองจากการเลือกตั้งที่ยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง แม้จะสามารถสร้างอำนาจนำทางการเมืองในระบบได้ จึงเป็นการเปิดทางให้กับพลังอำมาตย์เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ของระบบการเมืองอย่างเป็นทางการในตำแหน่งขององค์กรอิสระที่ได้ถูกริเริ่มจัดตั้งขึ้นนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา


อำมาตย์ชราธิปไตย มีลักษณะสำคัญที่ผันแปรไปจากอำมาตยาธิปไตย ดังนี้


ประการแรก บุคคลที่จะมาทำหน้าที่จะมิใช่มาจากแวดวงทหารซึ่งเป็นผู้ยึดกุมอาวุธยุทโธปกรณ์ในการสงครามเช่นเดิม หากจะมาจากแวดวงตุลาการเป็นสำคัญ แม้จะมีได้มีปืน รถถัง กำลังพล แต่อาวุธยุทโธปกรณ์ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมาจากการอ้างความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย ซึ่งสามารถจะตีความ/ให้ความหมายต่อกฎหมาย และสามารถทำให้บางฝักบางฝ่ายต้องสูญอำนาจในทางการเมืองไปได้ หากพิจารณาในแง่มุมดังกล่าวนี้ก็อาจไม่มีความแตกต่างไปจากการใช้รถถังในการยึดอำนาจรัฐในเชิงเนื้อหาแต่อย่างใด


อนึ่ง ก่อนที่จะสามารถเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระได้แทบทั้งหมดต้องดำรงตำแหน่งหน้าที่ในระดับสูงของระบบราชการ ดังนั้น จึงทำให้บุคคลต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีอายุที่สูงหรืออยู่ในวัยชราอันเป็นบั้นปลายของชีวิต หากเปรียบเทียบกับข้าราชการในฝ่ายอื่นๆ ก็เป็นช่วงชีวิตขาลงที่เตรียมตัวเกษียณอายุราชการไปเลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน แต่สำหรับคนกลุ่มนี้อาจเป็นจุดเริ่มในการป่ายปีนเข้าสู่แวดวงอำนาจทางการเมือง 


ประการที่สอง การใช้อำนาจจะเข้ามาโดยผ่านองค์กรอิสระอันเป็นองค์กรที่ได้รับการรับรองไว้ด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการชี้เป็นชี้ตายในการแข่งขันทางการเมืองระหว่างกลุ่มต่างๆ


รูปแบบของอำมาตย์ชราธิปไตยจึงมิใช่การใช้อำนาจแบบดิบๆ ในทางการเมืองเฉกเช่นเดียวกับการรัฐประหารที่ปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองรองรับ แต่อำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการใช้อำนาจที่มีรัฐธรรมนูญรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมือง และในกรณีที่ถูกโต้แย้งว่าไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับก็ต้องพยายามยืนยันว่าเป็นการใช้อำนาจตีความตามบทบัญญัติ (โดยหากไม่เชื่อก็สามารถเปิดอ่านรัฐธรรมนูญภาษาอังกฤษได้)


ประการที่สาม นอกจากการอ้างอิงถึงอำนาจตามกฎหมายแล้ว บรรดาบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบอำมาตย์ชราธิปไตยมักอ้างอิงถึงคุณลักษณะความดีความชั่วของบุคคล โดยเน้นย้ำถึงการสนับสนุนต่อการทำความดีและประณามการกระทำความชั่ว แน่นอนว่าการให้คำอธิบายเช่นนี้ย่อมก็สามารถกระทำได้ แต่ปัญหาก็คือว่าบุคคลที่เป็นคนดีก็มักอยู่แค่ในแวดวงของอำมาตย์ชรา และคนชั่วอยู่คือบรรดานักการเมืองเห็นแก่ตัว


สิ่งที่ติดตามมาก็คือหากบุคคลใดเป็นคนชั่วในทรรศนะของอำมาตย์แล้วก็จะต้องถูกกำจัดไป ไม่ว่าจะด้วยวิถีใดๆ ก็ตาม จะโดยชอบรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่สำคัญ ขอให้เพียงเป้าหมายดี วิธีการจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ เพราะฉะนั้น หากถึงที่สุดแล้วถ้าจำเป็นต้องฉีกรัฐธรรมนูญก็ย่อมกระทำได้เพื่อปราบหมู่มารในสังคม


พร้อมกันไปก็มีการสร้างระบบการตรวจสอบแบบเข้มข้นกับนักการเมือง ขณะที่กับบรรดาอำมาตย์ด้วยกันแล้วไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเกิดขึ้นแต่ประการใด ถึงจะมีเรื่องฉาวโฉ่นานัปการเกิดขึ้น ไม่ว่าการใช้เส้นสายฝากงาน การวินิจคดีแบบไร้หลักวิชา แต่นั่นก็เป็นการใส่ร้ายจากฝ่ายตรงกันข้าม คนดีๆ อย่างพวกเราจะกระทำความชั่วได้อย่างไร คนดีย่อมดีวันยังค่ำไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบแม้แต่น้อย


แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของระบอบอำมาตย์ชราธิปไตยก็เช่นเดียวกันกับระบอบอำมาตยาธิปไตยในรูปแบบเดิมคือ เป็นการแทรกตัวเข้ามาครอบงำสังคมการเมืองไทยโดยที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือจุดยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใด ทั้งในด้านที่มา การตรวจสอบ การควบคุม อำมาตย์ชราสามารถดำเนินการในเรื่องด้านได้ตามแต่ใจต้องการ


อันเป็นปมประเด็นถกเถียงสำคัญว่าสถาบันที่ใช้อำนาจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจะสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนแม้แต่น้อยได้หรือไม่ หรือลำพังเพียงการเป็น “คนดี” ก็สามารถดำรงสถานะอยู่ได้ในสังคมการเมืองไทยได้โดยไม่ต้องถูกแตะต้องแต่อย่างใด


เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์กฎเมืองกฎหมาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 21 มิถุนายน 2555


ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2555    
Last Update : 29 มิถุนายน 2555 14:58:39 น.
Counter : 655 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.