อาณาจักร เศรษฐปุระ-ฟูนัน ในสุวรรณภูมิ (ตอน3)

ศิลาจารึกโบราณปากแม่น้ำมูล

 

 

                ณ บริเวณปากแม่น้ำมูล ใกล้ “แม่น้ำสองสี” หรือจุดบรรจบของแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล พบหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ คือ ศิลาจารึกโบราณ เป็นจารึกที่มีอายุเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งจัดให้อยู่ในกลุ่มจารึกรุ่นแรกๆ ที่พบบนผื่นแผ่นดินไทย

 

                ศิลาจารึกที่พบในบริเวณปากแม่น้ำมูลนี้ เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตพบ ๒ หลัก เป็นจารึกของพระเจ้าจิตรเสน หรือพระเจ้ามเหนทรวรมัน ผู้ก่อตั้งอาณาจักรเจนละร่วมกับพระเจ้าภววรมันที่ ๑ ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ครั้งต่อมาได้สืบพระราชอำนาจเป็นพระมหากษัตริย์ของชาวกัมพูชาแห่งอาณาจักรเจนละต่อจากพระเจ้าภววรมันที่ ๑ โดยมีราชธานีชื่อ ภวปุระ อยู่บนฝั่งเหนือทะเลสาบใหญ่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน

 

                พระเจ้าจิตรเสนซึ่งเมื่อเสวยราชย์แล้วได้เฉลิมพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมันได้ขยายพระราชอำนาจมายังบริเวณกลุ่มแม่น้ำมูลในภาคอีสานของไทยปัจจุบัน ทุกครั้งที่ทรงได้ชัยชนะก็จะสร้างศาสนานุสาวรีย์ พร้อมทั้งจารึกประกาศพระราชประสงค์ที่สร้างรูปเคารพขึ้นประดิษฐานในศาสนสถานเป็นการอุทิศถวายแด่พระศิวะเทพเจ้า เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของปวงชน อีกทั้งเพื่อการเฉลิมฉลองและเป็นที่ระลึกแห่งชัยชนะของพระองค์ด้วย

ศิลาจารึกของพระเจ้าจิตรเสนพบหลายหลักในที่ต่างๆ ทำให้ทราบร่องรอยความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเจนละว่า มีอาณาเขตครอบคุมลำน้ำโขงตั้งแต่เมืองภวปุระซึ่งเป็นราชธานีในประเทศกัมพูชา ผ่านเมืองนครจำปาศักดิ์ เขตประเทศลาว เข้าสู่ดินแดนทิศตะวันตกเขตประเทศไทย ที่ปากแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี ล่องตามลำน้ำเข้ามาถึงลำน้ำชี บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ ขอนแก่น ส่วนตอนใต้นั้นเข้าไปถึงบริเวณเทือกเขาดงรักที่ปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ในกลุ่มน้ำบางประกง และบางที่อาจเลยเข้าไปถึงกลุ่มแม่น้ำป่าสักที่จังหวัดเพชรบูรณ์อีกด้วย

 

                ศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสนที่พบแล้วจำนวน 8 หลักนั้น ครั้งหนึ่งของจารึกทั้งหมดมีอักษรและข้อความเหมือนกัน ได้แก่ จารึกวัดศรีเมืองแอม ขอนแก่น จารึกปากแม่น้ำมูล ๑-๒ และจารึกวัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี ข้อความมีดังนี้

 

                “พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ทรงพระนามว่า จิตรเสน ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมันเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีสารวเคามะ แม้โดยศักดิ์จะเป็นอนุชา แต่ก็เป็นพระเชษฐาของพระเจ้าศรีภววรมัน ผู้มีพระนามปรากฏในด้านคุณธรรมแต่พระเยาว์พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ได้รับพระนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า “พระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน” (หลังจาก) ชนะประเทศ (กัมพูชา) นี้ ทั้งหมดแล้ว ได้สร้างพระศิวลึงค์ อันเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ไว้บนภูเขานี้”

 

 

ทีมาภาพ www.sac.or.th

ในบรรดาจารึกอักษรปัลลวะ ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย มีจารึกกลุ่มหนึ่งจำนวน ๗ หลัก ซึ่งเป็นของพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน มีรูปอักษรเหมือนกัน ข้อความเหมือนกัน ต่างกันเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาเท่านั้น กลุ่มจารึกดังกล่าวประกอบด้วย
๑. จารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) จังหวัดขอนแก่น (สร้างพระศิวะลึงค์)
๒. จารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
๓. จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวะลึงค์)
๔. จารึกวัดสุปัฏนาราม (อบ. ๔) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
๕. จารึกปากโดมน้อย (อบ. ๒๘) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระศิวลึงค์)
๖. จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) จังหวัดอุบลราชธานี (สร้างพระโค)
๗. จารึกสุรินทร์ (วัดชุมพล) จังหวัดสุรินทร์ (สร้างพระโค)

 

 

หลักที่8พบที่ถ้ำเป็ดทอง จ.บุรีรัมย์ และที่ปราจีนบุรี  สัณนิษฐานว่า จิตรเสน (ชื่อไท) น่าจะมีชาติตระกูลและเครือญาติอยู่แถบลุ่มแม่น้ำ ไขง-ชี-มูล ที่เป็นใหญ่ควบคุมเส้นทางค้าขายในยุคโบราณ โดยเฉพาะเกลือนั้นน่าจะเป็นของมีค่าหายากในยุคนั้น กลุ่มชนจากที่ราบสูงได้เคลื่อนย้ายไปปะทะสังสรรค์ กับชนชาติต่างๆในสุวรรณภูมิ  สร้างปฎิสัมพันธ์เกิดเผ่าพันธ์ใหม่ลูกผสม สร้างอารยธรรมใหม่ และอาณาจักรใหม่ขึ้นมาตามยุคสมัย และเส้นทางการค้านานาชาติ.




Create Date : 12 กันยายน 2555
Last Update : 12 กันยายน 2555 16:52:42 น.
Counter : 1772 Pageviews.

1 comments
  
อ่านสนุกมากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 กันยายน 2555 เวลา:17:55:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog