สามัคคีชุมนุมชาว ไท-สยาม ก่อนสร้างอาณาจักรสุโขทัย
ร่องรอยของคนไท-สยาม มีปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่น มีจารึกจามที่วิหารโปนาการ์ลงศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๕๙๓ ในสมัยกษัตริย์จามปา พระนามพระเจ้าชัยปรเมศวรวรมะเทวะกล่าวถึงกษัตริย์องค์นี้บูรณะพระรูปปฏิมาเจ้าแม่ภควดีที่เทวสถานนั้นและอุทิศทาสถวายไว้รับใช้พระจำนวน ๕๕ คน ในจำนวนนี้มีทาส ชาวจามพม่า จีน พุกามและชาวสยาม ข้อความนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ อาณาจักรจามปา ของ นายมาสเปโร...มิได้ให้รูปคำสยามในจารึกว่า เขียนเป็นอักษรจามอย่างไรหากแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเลยทีเดียวว่า Siamois ซึ่งหมายถึงคนไทยในเมืองไทยเดี๋ยวนี้

เสียมกุก” (ในจารึกภาษาเขมรประกอบรูปสลักนูนต่ำบนระเบียงประวัติศาสตร์ที่ปราสาทนครวัด มีอายุราว พ.ศ. 1650)อ่านว่า “เสียมก๊ก” หมายถึง พวกเสียม(สยาม) หรือ ชาวสยาม เสียมก๊ก เป็นชื่อที่จีนเรียกพวกสยามรือขาวสยามซึ่งเป็นที่รับรู้กว้างขวางในยุคนั้นหรือก่อนหน้าว่ามีความชำนาญการค้าทางบกบริเวณดินแดนภายใน แล้วใช้ภาษาตระกูลไทย-ลาวเป็นภาษากลางทางการค้า

ขบวนแห่ของชาวสยาม หรือ เสียมก๊กเป็นพวกที่อยู่รัฐและบ้านเมืองบริเวณสองฝั่งโขงที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมของกษัตริย์กัมพูชายุคนั้น ฉะนั้นไม่ใช่“กองทัพเมืองขึ้นของขอม”ตามคำอธิบายของนักวิชาการเจ้าอาณานิคมตะวันตก,

ชาวสยาม ยุคนั้นมีศูนย์กลางอยู่สองฝั่งโขงบริเวณที่เป็นเวียงจันในสมัยหลัง สืบจนปัจจุบัน(เสียมก๊ก ไม่ใช่พวกสยามจากกรุงสุโขทัยตามที่เคยเข้าใจว่าเป็นเมืองขึ้นของกัมพูชา)                         ที่มา ://www.sujitwongthes.com/2011/04/siam29042554


ไทสยามใน“บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ(เจิ้น หล่า ฝงตู้ คี่-Tchen la fong t’ou ki)” เป็นบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวกัมพูชาของโจวต้ากวน(Chou Ta-kuan ) นักเขียนชาวจีนผู้ร่วมทางไปกัมพูชากับคณะทูตซึ่งพระเจ้าเฉวิงจงแห่งราชวงศ์หยวนส่งไปเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักจีนใน พ.ศ.๑๘๓๘โจวต้ากวนเดินทางไปถึงเมืองนครธม พ.ศ.๑๘๓๙แล้วพำนักอยู่ประมาณ๑ปีก่อนกลับและเขียนบันทึกฉบับนี้หลังจากเดินทางถึงจีน แล้ว


บันทึกเรื่องขนบธรรมเนียมของกัมพูชา สรุปความโดย ดร.เสาวนิต รังสิยานนท์

เมืองนี้มีกำแพงล้อมรอบ50 ลี้ มีประตูเมือง 5 ประตู รอบกำแพงเมืองมีคูน้ำเหนือประตูเมืองมีเศียรพระพุทธรูป ข้างประตูมีรูปช้างแกะสลักจากหิน กลางเมืองมีหอคอยทองคำ ข้าง ๆ เป็นหอคอยหิน 20 หอ และห้องเล็ก ๆอีกหลายห้องสร้างด้วยหินทั้งสิ้น ห่างจากหอคอยทองคำไปทางเหนือ 1 ลี้มีหอคอยทองแดง ห่างไปทางเหนืออีก 1ลี้เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนคร และในที่ประทับก็ยังมีหอคอยทองคำ

การแต่งกาย ทุกคนตั้งแต่เจ้านาย ทั้งหญิง ชาย มุ่นมวยผมพันท่อนบนด้วยผ้าพืนเดียว เมื่อออกจากบ้านมีผ้าคลุมไหล่ ผ้าที่ใช้มีคุณภาพต่างกันเจ้านายใช้ผ้าอย่างดี ถึงแม้จะทอผ้ามากแต่ก็ยังซื้อจากสยามและจัมปาผ้าที่นิยมกันมากและมีราคาแพงมาจากแถบทะเลด้านตะวันตกเจ้านายสวมกระบังหน้าทองหรือมีมาลัยดอกไม้หอม เช่นดอกมะลิรอบมวยผม สวมสร้อยไข่มุก สร้อยข้อมือ แหวนกำไลเท้าทำด้วยทอง เดินเท้าเปล่าทาสีแดงที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ เวลาออกจากวังถือดาบทองคำ

ชาวเมืองผิวดำมาก มีนิสัยคล้ายคนป่าเถื่อนทางใต้ (Man) อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลหรือในบ้านที่อยู่เขตชุมชน ทั้งหญิงชายนุ่งผ้าผืนเดียว มุ่นมวยผมและเดินเท้าเปล่าเช่นเดียวกับชายาเจ้าเมือง เจ้าเมืองมีชายา 5 องค์สำหรับที่ประทับ ส่วนพระองค์ 1 องค์ และอีก 4องค์ประทับอยู่ในที่ประทับในทิศทั้งสี่ มีสนม กำนัล 3-5 พันนอกจากนี้มีหญิงรับใช้ในพระราชวังเรียกว่า tch’en-kia-lanชาวเมืองนี้ทั้งหญิงชายชโลมตัวด้วยเครื่องหอมทุกคนนับถือศาสนาพุทธ

ในเมืองนี้มีการซื้อขายทาสเพื่อทำหน้าที่คนรับใช้ในบ้านบางบ้านมีผู้รับใช้มากกว่า 1 ร้อยคน บางบ้านก็อาจมีเพียง 10-20 คนทาสคือคนป่าที่อยู่ในภูเขาห่างไกลเมื่อมาอยู่ในเมืองก็ไม่กล้าออกนอกบ้านคนในเมืองมีภาษาของตนเองต่างหากซึ่งชาวจัมปาหรือชาวสยามไม่เข้าใจ ขุนนาง พระสงฆ์ในพุทธศาสนา และพระในลัทธิเต๋าต่างก็มีภาษาของตนชาวเมืองและผู้คนในหมู่บ้านก็มีภาษาพูดที่ไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับจีนส่วนคนป่าเถื่อนนั้นมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเข้าใจภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันและถูกขายเป็นทาสในเมือง อีกกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับอารยธรรมและไม่เข้าใจภาษาคนเมือง ใช้ชีวิตร่อนเร่อยู่ตามภูเขาล่าสัตว์ ใช้หินจุดไฟ ฆ่ากันเองบ่อย เพิ่งรู้จักเพาะปลูก และทอผ้าเมื่อไม่นานมานี้

ข้าราชการ มีที่ปรึกษา ขุนพล โหรทางดาราศาสตร์ ฯลฯ ข้าราชการชั้นผู้น้อยเจ้านายผู้ชายส่วนมากรับราชการหรือไม่ก็ถวายลูกสาวเป็นบาทบริจาริกาข้าราชการชั้นสูงมีเครื่องประดับยศทำด้วยทอง มีวอทอง ส่วนชั้นรองลงมาเครื่องประดับยศ และวอทำด้วยเงิน


ชาวกัมพูชาไม่รู้จักการเลี้ยงหนอนไหมทอแต่ผ้าฝ้าย และซื้อต้นหม่อนและหนอนไหมจากสยามชาวสยามทอผ้าไหมทำเครื่องนุ่งห่ม หญิงชาวสยามรู้จักเย็บและซ่อมแซมเสื้อผ้าชาวกัมพูชาต้องจ้างชาวสยามซ่อมแซมเสื้อผ้าให้ชาวกัมพูชาใช้เครื่องครัวทำด้วยดินเผา หุงหาอาหารบนก้อนเส้า ใช้กระจ่าที่ทำจากกะลามะพร้าว กินข้าวด้วยมือคนร่ำรวยใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารที่ทำด้วยทองคำหรือเงิน

ทหารในทองทัพมีหอกกับโล่ห์ ท่อนบนเปลือยเท้าเปล่า เวลารบกับสยาม ประชาชนทุกคนถูกบังคับให้ร่วมสู้รบ กองทัพกัมพูชาไม่มีทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
เจ้าผู้ครองนครองค์ใหม่เป็นลูกเขยของกษัตริย์องค์ก่อนเพราะชิงราชสมบัติจากรัชทายาทองค์จริงได้ มีแผ่นเหล็กคาดทับบนตัวจึงออกจากวังไปไหนมาไหนได้สะดวก หากไปในที่ไกลมีขบวนข้าราชบริพารตามเสด็จมีขบวนช้าง ม้า เป็นราชองครักษ์ หากเสด็จใกล้ ๆ ก็ประทับเสลี่ยงทอง มีนางกำนัลหาม4 คน พระองค์เสด็จออกขุนนางเพื่อปรึกษาข้อราชการวันละ 2 ครั้งทุกวันเวลาเสด็จออกมีดนตรีประโคมและมีการเป่าสังข์






Create Date : 08 กันยายน 2555
Last Update : 8 กันยายน 2555 22:17:01 น.
Counter : 1445 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog