กษานติบารมี ธรรมที่เป็นชัยชนะต่อโทสะและพยาบาท
 
“พระองค์ผู้เจริญ อย่าอยู่เลยที่นี่ คนเขาด่ามากเหลือเกิน”
“จะไปไหน อานนท์” พระศาสดาตรัส
“ไปเมืองอื่นเถิดพระเจ้าข้า สาวัตถี ราชคฤห์ สาเกต หรือเมืองไหนๆ ก็ได้ ที่ไม่ใช่โกสัมพี”
“ถ้าเขาด่าเราที่นั่นอีก? ”
“ก็ไปเมืองอื่นอีก พระเจ้าข้า”
“ถ้าที่เมืองนั้นเขาด่าเราอีก? ”
“ไปต่อไป พระเจ้าข้า”
“อย่าเลย อานนท์ เธออย่าพอใจให้ตถาคตทำอย่างนั้นถ้าจะต้องทำอย่างเธอว่า เราจะไม่มีแผ่นดินอยู่
มนุษย์เราอยู่ที่ไหนจะไม่ให้มีคนรักคนชังนั้น เห็นจะไม่ได้เรื่องเกิดขึ้นที่ใดควรให้ระงับลง ที่นั่นเสียก่อนแล้วจึงค่อยไป อานนท์ เรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตถาคตนั้นจะไม่ยืดยาวเกิน วัน คือจะต้องระงับลงภายใน วันเท่านั้น..."
 
“ดูก่อน อานนท์ ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกัน เพราะเห็นว่าพอสู้กันได้(ยังถือว่าธรรมดาๆ) แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตน เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด
ผู้มีความอดทน มีเมตตา ยอมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถขุดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีล สมาธิ เป็นต้น ยอมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น”
 
ครั้งหนึ่ง แคว้นปัญจาละที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศล มีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง เมื่อพระพุทธองค์เข้าไปในเมือง ทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าประจานเฉพาะพระพักตร์(ต่อหน้า) ด้วยถ้อยคำชั้นต่ำ หยาบช้า ไม่ใช่ผู้ดีในทุกที่ทุกแห่งที่เสด็จไป จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสีย
มูลเหตุที่นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า เกิดจากเมื่อตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดแสดงธรรมแก่บิดาและมารดาของนางมาคันทิยา(ตอนนั้นยังเป็นเด็กรุ่น) เมื่อบิดามารดาของนางคันทิยาเห็นพระสิริโฉมอันหล่อเหลางดงามที่สุดของพระพุทธเจ้า ก็ถูกอกถูกใจนักหนา จึงประสงค์จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของพระพุทธองค์ แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสตอบว่า
 
“พราหมณ์....เมื่อได้เห็นนางตัณหา นางราคา และนางอรดี ซึ่งทรงความงามเหนือสามโลก เราก็หาพอใจแต่น้อยไม่ ก็ทำไมเล่าเราจะพอใจในสรีระแห่งธิดาของท่านซึ่งเต็มไปด้วยมูตรและคูถ พราหมณ์เอย อย่าว่าแต่จะให้แตะต้องด้วยมือเลย เราไม่ปรารถนาจะแตะต้องธิดาของท่านแม้ด้วยเท้าหรอกนะ”
http://board.palungjit.com
 
 
กษานติบารมี   บารมีธรรมข้อที่ 3  คือ กษานติบารมี  กษานติ  แปลว่า อดทน  เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อโทสะและความพยาบาท  พระธรรมบทขุททกนิกาย กล่าวว่า “ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่งยวด”    ศึกษาสมุจจัย  แบ่งความอดทนออกเป็น  3  ชนิดคือ  1)  อดทนต่อความทุกข์   2)   อดทนต่อคำสอน  และ  3)   อดทนต่อความเจ็บปวดและการดูถูกเหยียดหยาม  ความทุกข์มีอยู่ในสังสารวัฏ  ควรที่ทุกคนจะเผชิญหน้ากับมันด้วยความกล้าหาญ  นอกจากนั้น  ความทุกข์ยังช่วยให้เจริญก้าวหน้าในธรรมหลายประการ เช่น  ทำให้ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต ทำให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น และเพิ่มพูนศรัทธาในพระพุทธเจ้า เป็นต้น  อนัตตา เป็นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา สำหรับสามัญชนที่มีปกติยึดถือในตัวตนแล้วยากที่จะเข้าใจได้  จะต้องอาศัยการศึกษาอบรมและพอกพูนเพาะบ่มอุปนิสัยด้วยความอดทนจึงจะเข้าใจได้  ส่วนความอดทนข้อที่สามหมายถึงความอดกลั้นต่อคำด่าว่า และการทำร้ายทุบตีของผู้อื่น  ไม่ถือโทษโกรธตอบและพร้อมที่จะให้อภัย เป็นการแสดงความรักและความเมตตาตอบแทน  ทั้งนี้เพราะพิจารณาเห็นว่า  ผู้ที่กำลังด่าว่าทำร้ายตนนั้น ในอดีตชาติ อาจเป็นมิตรสหาย ญาติพี่น้องหรือครูอาจารย์กันมาก่อน  จริง แล้ว ไม่มีผู้ด่าและผู้ถูกด่า  ทุกอย่างสักว่าแต่เป็นธาตุ จึงไม่มีประโยชน์อะไรจะต้องโกรธ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน  เพราะต่างร่วมชะตากรรมเดียวกันทั้งหมด
อ่านเพิ่มเติม :
http://philos-reli.hum.ku.ac.th/research/bodhisattava_ideal.doc



Create Date : 06 สิงหาคม 2555
Last Update : 6 สิงหาคม 2555 14:52:18 น.
Counter : 2134 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2555

 
 
 
2
9
14
19
21
26
31
 
 
All Blog