คาถาไล่ผี-ทุกข์เพราะคิดผิด ???
 กลัวผี...อยู่กลางป่าช้า... พอตะวันตกดินเท่านั้นมันก็บอกให้เข้าอยู่แต่ในกลดท่าเดียว เดินก็ไม่อยากเดิน มันบอกให้อยู่แต่ในกลด จะเดินออกไปหาหลุมศพ ก็เหมือนมีอะไรมาดึงรั้งเอาไว้ไม่อยากให้เดิน ความรู้สึกกล้ากับกลัวมันฉุดรั้งกันอยู่

  ที่มันกลัวมากกลัวมายนัก มันกลัวอะไร_ ใจมันถาม

  กลัวตาย_ อีกใจหนึ่งตอบ

  แล้วตายมันอยู่ตรงไหน ทำไมจึงกลัวเกินบ้านเกินเมืองเขานักล่ะ หาที่ตายมันดูซิ ตายมันอยู่ที่ไหน

  เอ้า ตายเลย อยู่กับตัวเอง_ อยู่กับตัวเองแล้วจะหนีไปไหนจึงจะพ้นมันล่ะ วิ่งหนีมันก็ตาย นั่งอยู่มันก็ตาย เพราะมันอยู่กับเรา ไปไหนมันก็ไปด้วยนั่นแหละ เพราะความตายมันอยู่กับตัวเรา... พอบอกไปอย่างนี้เท่านั้น สัญญาก็เลยพลิกกลับทันที เปลี่ยนขึ้นมาทันที ความกลัวทั้งหลายเลยหายออกไป

 

มีเณรองค์น้อยที่ไปอยู่ป่าช้าน่ะ อยู่กลางป่าช้าองค์เดียว 6 – 7 วัน มีแต่หลุมศพทั้งนั้นรอบข้าง เณรก็นอนอยู่องค์เดียวตลอด ผมไปถามดู ท่าทางอยู่สบาย ไปถามว่า

  “เอ! ไม่กลัวเหรอ”

  เณรบอกว่า “ไม่กลัว”

  “ทำไม ถึง ไม่กลัวนี่”

  “คิดว่ามันคงไม่มีอะไร”

  เท่านั้นเองมันก็หยุด ไม่ได้ไปคิดอย่างอื่นให้ยุ่งยาก นี่หายเลย หายกลัว

  (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

กรณีตัวอย่าง : วันหนึ่งเราได้แก้ว แหวน เงิน ทอง มามากมาย

 เราคิดว่าเป็นสิ่งดี ว่าเป็นสมบัติของเรา มีความสุข เพราะเราคิด

ว่า สุข ร่างกายและสมองหลั่ง “สารความสุข” ออกมา หน้าตาสด

ชื่น จิตแจ่มใส วันต่อมาเราได้สูญเสียมันไปทั้งหมด เราเสียใจ

มาก เพราะมันเป็น “ตัวกู ของกู” ไปแล้ว หน้าตาเศร้าหมอง จิต

ใจห่อเหี่ยว เพราะร่างกายและสมองหลั่ง “สารทุกข์” ถ้าเราคิด

ใหม่ว่า ของที่เราสูญเสียไป เราไม่ได้เสียอะไร เพราะมันเป็น

สมบัติของโลก ผลัดกันชม ดีเสียอีกที่ได้สละมันไป ไม่ต้องเฝ้า

ระวังขโมย  และอุ้มมันไว้ในใจตลอดเวลา ถ้าเรา “ดีใจ” ที่สูญ

เสียมันไป ร่างกายและสมองก็หลั่งสารสุขออกมา ดังนั้น ทุกข์ สุข

ไม่ได้มีอะไรต่างกัน เพียงแต่เราตีความและคิดเอาเองครับ

 

กฎแห่งเหตุแลผล : ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท  ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม

  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็น ปฏิจจสมุปบาท

  ธรรมสายเกิด – เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

          เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด

  ธรรมสายดับ –  เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

          เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

 

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ กองทุกข์ทั้งมวลดับลง ด้วยอาการอย่างนี้...

  ปฏิจจสมุปบาท แปลว่าธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งดับ หรือถูกทำลายลง ส่วนที่เหลือก็ดับตามกันลงไป

  พระพุทธเจ้าทรงทบทวนพิจารณามากที่สุด คือ ปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณานานถึง 7 วัน กล่าวคือ สัปดาห์แรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ยังคงประทับอยู่ที่บริเวณ โพธิมณฑลนั่นเอง และทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยตลอดทั้งสายเกิด (สมุทัยวาร) และสายดับ (นิโรธวาร) ... ความสงสัยของพระองค์หมดสิ้นไป ทรงกำจัดมารและเสนามารเสียได้ เพราะทรงรู้กฎแห่งเหตุผล หรือกฎแห่งความเป็นเหตุผลของกันและกัน (วศิน อินทสระ)




Create Date : 05 สิงหาคม 2555
Last Update : 15 มกราคม 2556 10:29:48 น.
Counter : 2100 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2555

 
 
 
2
9
14
19
21
26
31
 
 
All Blog