ยุคมืดของพุทธศาสนาและการกำเนิดมหายาน ในอินเดีย
 

ยุคมืดของพระพุทธศาสนา และการเกิดใหม่ในร่างมหายาน : พระเจ้าอโศกมหาราชครองราชย์อยู่ 41 ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 311เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ผู้สืบสันติวงศ์ของพระองค์ก็เสื่อมอำนาจลงจนแตกกระจัดกระจาย พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อ ๆ มาไม่สามารถจะรักษาอำนาจไว้ได้ การบำรุงพระพุทธศาสนาไม่แข็งแรงเหมือนสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อประมาณ พ.ศ. 359กษัตริย์วงศ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชก็เสื่อมอำนาจลง พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ สมัยนี้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ศุงศ์ ได้ชิงราชสมบัติจากกษัตริย์วงศ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์พระนามว่า ปุษยมิตร กษัตริย์พระองค์นี้เลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์มาก สมัยนี้ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีพระเจ้าปุษยมิตรเป็นราชูปถัมภ์ ก็ได้กระเตื้องขึ้นมามาก พระพุทธศาสนาซบเซาลง วัดวาอารามถูกทำลาย พระภิกษุสามเณรถูกฆ่า มีการตั้งรางวัลเป็นเงินจำนวนมากแก่ผู้ตัดศีรษะพระภิกษุได้ ภิกษุจำนวนมากหวั่นเกรงภัยได้หนีจากแคว้นมคธไปอยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของของอินเดีย ขณะที่พระพุทธศาสนา (พุทธศาสนาเถรวาทหรือหินยาน) ในแคว้นมคธอันเป็นภาคกลางของอินเดียกำลังถูกมรสุมอย่างหนักและกำลังค่อยๆเสื่อมสูญในขณะนั้น พระพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทิน (เริ่มเป็นมหายาน หรือยานที่ใหญ่กว่าในการขนสรรพสัตว์ข้ามทุกข์ภัยจากวัฎสงสาร)กำลังรุ่งโรจน์อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และนิกายมหาสังฆิกะกำลังรุ่งเรืองอยู่ทางอินเดียใต้ (หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พุทธศาสนาได้เบ่งบานและเป็นที่นิยมเหนือศาสนาอื่นทั่วทั้งอินเดียและเผยแพร่ไปทั้ง4ทิศออกนอกอินเดียในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ดังภาพข้างล่าง)

จักรวรรดิโมริยะ ราชวงศือโศก ช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278    ภาพ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

  
 

พุทธศักราช 359 สิ้นยุคราชวงศ์ของพระเจ้าอโศก พราหมณ์ปุษยมิตร อำมาตย์แห่งราชวงศ์โมริยะก่อการกบฏ ปลงพระชนม์กษัตริย์พฤหัทรถ ล้มราชวงศ์โมริยะ ตั้งราชวงศ์ “สุงคะ” ขึ้นใหม่ ครองแคว้นมคธ ได้ดำเนินการกำจัดพระพุทธศาสนาอย่างหนัก เข่นฆ่าพระ เผาวัด กวาดล้างชาวพุทธ อย่างเหี้ยมโหด และออกประกาศ หากใครตัดหัวพระสงฆ์และชาวพุทธได้ จะมีรางวัล ๑๐๐ ทินาร์ นับว่า เป็นยุคมืดยุคแรกของพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่พระพุทธองค์ประกาศพระธรรมคำสั่งสอนมา เป็นอุทาหรณ์เตือนสติให้ชาวพุทธพึงสังวร และเงี่ยโสตลงสดับ ถึงประวัติศาสตร์แห่งการทำลายล้างพระพุทธศาสนาของกษัตริย์และผู้ปกครองต่างศาสนา ซึ่งเคยเกิดขึ้นมา ครั้งแล้วครั้งเล่าในอดีตในยุคนี้ พระพุทธศาสนาต้องเผชิญชะตากรรมแห่งการทำลายล้าง ถึง ๓๔ ปี ตลอดรัชสมัยของกษัตริย์ปุษยมิตรแห่งฮินดู เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาในมคธอ่อนแอลงอย่างมากราชวงศ์สุงคะปกครองมคธอยู่ ๑๑๒ ปี

 

พุทธศักราช 400 พญามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ กษัตริย์กรีก สืบเชื้อสายมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ครอบครองดินแดนตั้งแต่แคว้นโยนกและคันธาระ ได้แก่ อัฟกานิสถานและปากีสถาน ในปัจจุบัน พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ทั้งหมด พญามิลินท์ หันมานับถือพระพุทธศาสนา เพราะการตอบปัญหาอันแหลมคมของพระนาคเสน เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเกิดพระพุทธรูปครั้งแรก พญามิลินท์ทรงริเริ่มสร้างพระพุทธรูปศิลปะคันธาระแบบกรีก ถือว่า เป็นต้นกำเนิดของการสร้างพระพุทธรูป จนถึงปัจจุบัน

 

Voranai blog,2007  บันทึกว่าหลังจากปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ราว 400 ปี ยังไม่มีการสร้างรูปเคารพเหมือนพระองค์หรือที่เรียกว่า "พระพุทธปฏิมา" เพราะเชื่อกันว่าเป็นการดูหมิ่นไม่ให้ความเคารพอย่างรุนแรง แต่เมื่อศิลปวัฒนธรรมกรีโอ – บุดดิสซึ่ม เริ่มได้รับความนิยม จึงเริ่มมีการสร้างรูปเคารพ แต่พุทธศาสนิกชน "ลูกผสม" ส่วนใหญ่ ก็ยังคงใช้ "รูปสมมุติ" ขึ้นแทนรูปเคารพบุคคล เช่นรูปดอกบัว แทนสัญลักษณ์ของการประสูติ รูปม้าที่ไม่มีคนขี่และรอยพระพุทธบาท แทนการเสด็จออกมหาภิเณษกรมณ์ รูปพระแท่น และรูปต้นโพธิ์ แสดงตอนตรัสรู้ รูปกงจักร หมายความถึงวงล้อของการเวียนว่ายตายเกิด รูปกวางหมอบคู่หนึ่งหน้าธรรมจักร หมายถึงสวนกวางของป่ามฤคทายวัน รวมทั้งรูปพระสถูปเป็นสัญลักษณ์แสดงตอนปรินิพาน ในช่วงแรก จนราวปี 450 ช่างปฏิมากรลูกผสมกรีก ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์แรกขึ้น ในรูปของ "นักปรัชญา" ผู้ยิ่งใหญ่ในคตินักคิดของกรีก เจ้าชายเจ้าชายสิทธัตถะของลัทธิหินยาน พระโพธิสัตว์ของลัทธิมหายาน ตามคติมหาบุรุษในคัมภีร์มหาปุริสลักขณะของพราหมณ์

อิทธิพลของวัฒนธรรมกรีก ในสมัยกษัตริย์เมนันเดอร์ ทำให้เกิดการนับถือรูปเคารพแบบบุคคลมากขึ้น ซึ่งเข้ากันได้ดีกับลัทธิพราหมณ์-ฮินดู ที่มีรูปเคารพเทพเจ้าทั้ง พระศิวะ พระวิษณุ ฯลฯ และวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาลัทธิมหายานที่มีความเชื่อในเรื่องมนุษย์กึ่งเทวะ "พระโพธิสัตว์ พระมนุษิพุทธะ" อิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธประวัติ. ลัทธิมหายานจึงกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งของเหล่าชาวกรีกลูกผสม ที่มีความเชื่อดั่งเดิมแบบเทวนิยม ศรัทธาในเหล่าเทพเจ้า "ผู้ครอบครองฟ้า" เช่น มหาเทพซีอุส (Zeus) โพไซดอน (Poseidon) อพอลโล (Apollo) เทวีฮีรา (Hera) เทวีอาเธน่า (Athena) และเหล่าทวยเทพอีกมากมายในความเหมาะเจาะลงตัวของนิกายมหายาน ที่มีคติความเชื่อในเรื่องของกึ่งเทวนิยมกับพระพุทธบัญญัติ การผสมผสานนี้นำไปสู่ ความต้องการในการสร้างรูปเคารพที่แตกต่างออกไปจากเดิมของลูกผสมกรีกในแคว้นคันธาราฐ

            ต่อมาพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดียมายาวนาน จนถึงราวพ.ศ 1600 กองทัพมุสลิมบุกยึดอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ที่เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง รวมทั้งการถูกกลืนจากศาสนาฮินดูโดยให้พระพุทธเจ้าเป็นอวตารองค์หนึ่งของพระนารายณ์ และวงการพุทธไม่มีชาวอินเดียที่เป็นผู้นำและปราชญ์ทีมีความรู้อันสูงส่งเหมือนในอดีต ทำให้พุทธศาสนาสูญหายจากอินเดียจนกระทั่งปัจจุบันทั้งๆที่เป็นแผ่นดินแม่.




Create Date : 10 สิงหาคม 2555
Last Update : 15 สิงหาคม 2555 10:29:32 น.
Counter : 4569 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2555

 
 
 
2
9
14
19
21
26
31
 
 
All Blog