อาณาจักร เศรษฐปุระ-ฟูนัน ในสุวรรณภูมิ พ.ศ 600-1200
 
             สุวรรณภูมิคือดินแดนแห่งความรุ่งโรจน์ที่เป็นแหล่งชุมชุม พบปะสังสรรค์ของมวลมนุษยชาติ ไม่สมควรสร้างมายาคติทางเชื้อชาติ    จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชนชาติอุษาคเนย์ เริ่มรวมตัวเป็นอาณาจักรหรือรัฐ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยพัฒนามาจากเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับอินเดีย มีความเจริญภายใต้พื้นฐานของอารยธรรมอินเดีย ใช้ชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (เวียดนามตอนใต้) และแม่น้ำโขงตอนใต้ (กัมพูชา) จนถึงบางส่วนในบริเวณของภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีเมืองออกแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม) เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขาย และมีราชธานีนามว่า“วยาธปุระ” ใกล้เขาบาพนมในประเทศกัมพูชา
อาณาจักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูรางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดนัก ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และนับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลัก พุทธศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนฬา ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูเขาวัดภู และในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาวและทางภาคเหนือของประเทศเขมร และราชธานีของอาณาจักรเจนฬาคือ เมือง “เศรษฐปุระ” อาณาจักรเจนฬามีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย
 
ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและสุวรรณภูมิ ที่อาจเป็นเครือญาติร่วมราชวงศ์เดียวกัน  มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับตำนานการขึ้นครองราชย์ ของกษัตริย์พระองค์หนึ่งในอินเดียใต้ ที่มีพระนามว่า "พระเจ้านันทิวรมัน ปัลลวะมาลา" (Nandivarman Pallavamalla) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงปี ค.ศ.760-800 (พ.ศ.1303-1343)   
       เรื่องมันเริ่มจากจารึกบนฝาผนังวิหารกุนตาเปรุมาล ที่เล่าว่า.. พระเจ้าปรเมศวรวรมันที่ 2 (Paramesvara Varman II) แห่งกัญชีปรุรา อินเดียใต้ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.1248-1253 ได้สิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มีรัชทายาท      
       พวกขุนนางกาติกะ (Ghatika) ได้เดินทางไปทั่วแว่นแคว้นและน่านน้ำ บุกฝ่าป่าหนาทึบ และ ดินแดนที่รกชัด ต้องใช้พาหนะหลากชนิด ทั้งช้าง ม้าและเรือ จนไปถึงอาณาจักรของกษัตริย์หิรวรมัน (Hiravarman) และ ทูลเชิญพระองค์ไปครองเมืองกัญชีปุราม (สัณนิษฐานว่าอาจไปจาก ศรีวิชัย-จามปา-ฟูนัน เพราะเป็นอาณาจักรรุ่นแรก )
 
"วรมัน" หมายถึง "เกราะ" หรือ "ผู้ปกป้องคุ้มครอง"   "อุทัยทิตยวรมัน" หมายถึง "พระราชาผู้มีดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณเป็นผู้ปกป้องคุ้มครอง“ ชื่อนี้มี ต้นกำเนิดมาจากพระนามกษัตริย์ราชวงศ์ปัลลวะ (Pallava) ที่ครองอำนาจในอินเดียใต้ เมื่อพันกว่าปีก่อน พระนามท่านจะลงท้ายว่า "วรมัน" ทั้งนั้น อย่างเช่น พระเจ้านรสิงหวรมัน เป็นต้น....แล้วราชสำนักโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็รับประเพณีนี้สืบมา และไม่ได้มีแต่ขอม  พระราชาแห่งอาณาจักรจามปาในเวียดนาม และอาณาจักรศรีเกษตรในพม่าก็ใช้พระนามต่อท้ายว่า "วรมัน" เช่นกัน



Create Date : 12 กันยายน 2555
Last Update : 12 กันยายน 2555 12:30:34 น.
Counter : 4469 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog