อาณาจักรแห่งช้างศึกและช้างรูปงามในสุวรรณภูมิ

ช้างรูปงามและมีคุณลักษณ์พิเศษทีประเทศศรีลังกา ใช้ในขบวนแห่พระธาตุเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าที่นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของลังกาเป็นช้างไทย  การนำช้างป่ามาฝึกสอนและใช้งานนั้นเชื้อว่ามีมานานกว่า3000ปี  ช้างอินโดเนเซียและศรีลังกานั้นไม่ค่อยจะมีงายาว และลักษณะงามเหมือนช้างไทย  สงครามในอดีตยุค2000ปีมาแล้วตัดสินสินชัยชนะด้วยความกล้าหาญและชาญฉลาดของช้างศึก ชีวิตของพระมหากษัตริย์นักรบในสมัยโบราณขึ้นกับความฉลาดของช้าง  ช้างศึกเปรียบเสมือนกองทัพรถถังในปัจจุบัน อล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อยกกองทัพบุกอินเดียราว พ.ศ 200 ม้าเปอร์เซียอันฮึกเฮิมตื่นกลัวช้างอินเดียจนเกือบเสียที  เมื่อมองโกลยกทัพบุกพม่าและเวียตนามก็เจอกองทัพช้างจนเกือบเสียรูปขบวนเช่นกัน สยามและสุวรรณภูมินั้นเป็นดินแดนที่มีช้างรูปงามและช้างศึกทีมีงายาว องอาจกล้าหาญในการออกศึกสงครามจำนวนมาก ในดินแดนลาวเคยมีชื่อว่าล้านช้างหรือมีช้างมากมายมหาศาล

 

จารึกหลักที่ สมัยสุโขทัย กล่าวถึงช้างในฐานะสินค้าที่ใครจะใคร่ค้าก็ค้าได้ ทั้งยังเป็นทรัพย์ที่ลูกเจ้าลูกขุนจะได้รับเป็นมรดกตกทอดจากพ่อเจ้าพ่อเชื้อด้วย๑ มูลศาสนาและจามเทวีวงศ์กล่าวถึงสงครามบนหลังช้างระหว่างพระนางจามเทวีกับขุนหลวงมิลังคะกษัตริย์ชาวลัวะก่อนจะมีการสถาปนารัฐหริภุญชัยในภาคเหนือ
 
หนังสือ "สำเภากษัตริย์สุไลมาน" ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทางของคณะทูตอิหร่านที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ กล่าวว่า ช้างเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอย่างหนึ่งของสยาม ทุกปีพระมหากษัตริย์จะทรงจัดให้มีการคล้องช้าง โดยแต่ละครั้งจะจับช้างได้ราว ๒๐๐-๔๐๐ ตัว ช้างส่วนหนึ่งจะถูกฝึกให้เชื่องเพื่อใช้งานและส่งขาย  จากจำนวนช้างที่กล่าวถึงในบันทึกของอิหร่าน แสดงว่าในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์การค้าช้างเป็นกิจการใหญ่ที่ทำรายได้เข้าพระคลังมิใช่น้อย นอกจากราชสำนักจะดำเนินการจับช้างเองแล้ว ยังอนุญาตให้ชาวบ้านจับช้างป่ามาใช้งานได้ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมโดยต้องแจ้งจำนวนของช้างต่อทางราชการ นอกจากนี้ช้างบางเชือกยังถูกส่งมาเป็นค่าภาคหลวงแทนภาษีของราษฎรที่จ่ายให้แก่ราชสำนัก๑๓ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ราชสำนักจะได้ช้างมาไว้ใช้งานและส่งขายต่างประเทศ  ตลาดค้าช้างใหญ่ที่สุดคือบริเวณรอบอ่าวเบงกอล ได้แก่แถบเมืองท่าชายทะเลฝั่งตะวันตกของสยาม และฝั่งตะวันออกของอินเดีย เมืองท่าหลักที่ส่งออกช้างจากสยามมีอยู่ จุด คือ เมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี กับเมืองที่อยู่ในคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตก คือตรัง๑๔ จากเมืองท่าเหล่านี้ช้างจะถูกลำเลียงโดยทางเรือเพื่อไปยังเมืองท่าฝั่งตะวันออกของอินเดียโดยมีตลาดรับซื้อใหญ่ แห่ง ได้แก่เมืองท่าของอาณาจักรเบงกอล และเมืองท่าแถบชายฝั่งโคโรแมนเดล (เอกสารไทยเรียกว่า "โจฬมณฑล" คือบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย) ลงไปจนถึงศรีลังกา (ช้างเป็นสินค้า ค้าช้าง ในสมัยอยุธยา โดย : ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ / มติชน)
 
การรบครั้งสุดท้ายที่มีผู้ต่อกรกับอเล็กซานเดอร์มหาราชอย่างจริงจัง เมื่อพระองค์ยกกองทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี .. 217 โดยเข้าสู่บริเวณลุ่ม แม่น้ำสินธุ แล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย (Nicaea) แคว้นปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าพอรุส (Porus) (หากใช้สำเนียงเอเซียจะเรียกว่าพระเจ้าเปารวะ) พระเจ้าเปารวะเป็นผู้เข้มแข็งในการรบ ซึ่งมีพระสมญาว่า "สิงห์แห่งปัญจาบ" ได้รับแจ้งข่าวกับบรรดามหาราชาแห่งอินเดียว่ามีข้าศึกชาวตะวันตกผมบรอนซ์ตาสีฟ้ายกทัพข้ามภูเขาฮินดูกูชเข้ามา ฝ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ 40,000 ทหารม้า 4,000 รถศึกอีก 500 และกองทัพช้างมหึมาจำนวน 500 เชือกรอรับอยู่ กองทัพกรีกพร้อมทหารตักกศิลาเป็นพันธมิตร ที่มีกำลังพลจำนวน 17,000 โดยมีอเล็กซานเดอร์เป็นแม่ทัพกับกองทัพปัญจาบ ของฝ่ายอินเดียโดยมีพระเจ้าเปารวะเป็นแม่ทัพ โดยพระองค์ได้มองเห็นทัพพระเจ้าเปารวะตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำวิตัสตะ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสินธุ เมื่อถึงตอนกลางคืนทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ปะทะกันที่ฝั่งแม่น้ำ และเริ่มโจมตีอย่างฉับพลัน ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ข้ามแม่น้ำสำเร็จโดยอาศัยธรรมชาติช่วย แต่ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยสู้รบกับช้าง ประกอบกับเกิดความสับสนอลหม่านจึงบังเกิดความแตกตื่นอลหม่านขึ้น ช้างศึกจึงอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนเองและทหารกรีก และ ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็ได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ นี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลา 15 ปีที่กองทหารหอกยาว (Phalanx) อันมีระเบียบวินัยในพระองค์บาดเจ็บจนบ้าเลือดบุกตะลุยไปทั่ว ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารจากฝ่ายใด การรบวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก



Create Date : 17 กันยายน 2555
Last Update : 17 กันยายน 2555 17:41:39 น.
Counter : 3157 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog