จามปา อาณาจักรที่สูญหายจากอุษาคเนย์

//www.twcenter.net/forums/showthread.php?t=218026&page=2

รัฐต่างๆ ในแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์ระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 มีรัฐน่านเจ้า ปะยุ เจนละบก เจนละน้ำ ทวารวดี จามปา

อาณาจักรจามปาก่อกำเนิดขึ้นมาราวพุทธศตวรรษที่ 7 อันเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับการก่อตัวขึ้นของอาณาจักรฟูนัน (อาณาจักรของพวกขอม/ขแมร์ในยุคเริ่มต้น ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองออกแก้ว ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้สุดของประเทศเวียตนาม) จากหลักฐานบันทึกของชาวจีนระบุว่า อาณาจักรจามตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของเวียดนาม ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ เว้ กว่างนาม ถัวเถียน แผนรัง และ ญาจาง อาณาจักรจามปาประกอบด้วย 4 แคว้นใหญ่ คือ 1) Amarvati (อมราวดี) อยู่ทางตอนเหนือ ปัจจุบันอยู่บริเวณ Binh Tri Thien ถึง Quang Nam 2) Vijaya (วิชัย) อยู่บริเวณ Nghian Binh 3) Kanthara (กัณฑระ) อยู่บริเวณที่ราบ Phu Khanh 4) Panduranga (พันธุรังคะ) อยู่ที่ Thuan hai ช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ศูนย์กลางของอาณาจักรจามปา คือ สิงหปุระ (Sinhapura) ตั้งอยู่ที่ กว่างนาม (Quang Nam - เมืองดานังในปัจจุบัน) ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ Panduranga ทางตอนใต้ ระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายกลับมาที่เดิมอีกในตอนปลายศตวรรษที่ 13 และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเดิมจาก สิงหปุระ เป็น อินทรปุระ หลังจากนั้นจึงย้ายราชธานีไปอยู่ที่ กรุงวิชัย (บิญดิ่ญ) จนถึงแก่กาลล่มสลายลงไปเมื่อราว พ.ศ. 2263

จุดแข็ง-จุดอ่อนของอาณาจามปา อาณาจักรจามปามีอาณาเขตที่รายล้อมด้วยรัฐคู่ปรับทางการเมืองที่เข้มแข็งอย่างขอมและไดเวียด หากว่าสามารถประคับประคองให้อาณาจักรมีอายุยืนนานกว่า 1400 ปี แสดงว่าต้องมีจุดแข็งที่ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน จุดแข็งอย่างแรกคือลัทธิความเชื่อแบบพราหมณ์ อันนำมาซึ่งรูปแบบการปกครองแบบเทวราช ที่รวมศูนย์อำนาจเอาไว้ที่ชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว ตราบใดที่โครงสร้างอำนาจทางารเมืองยังเหนียวแน่นและไม่เกิดการแตกแยกจากภายในเสียก่อน ระบอบการปกครองนี้สามารถสืบทอดอำนาจกันไปได้ระยะยาว จุดแข็งประการที่สอง คงเป็นความสามารถพิเศษของชาวจามที่เป็นนักรบและเชี่ยวชาญในการเดินเรือ ซึ่งครั้งหนึ่งสามารถยกทัพมายึดครองอาณาจักรขอมเอาไว้นานเกือบสี่ปี จุดแข็งประการที่สาม น่าจะเป็นทำเลที่ตั้งของอาณาจักรจามปาที่มีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวและอยู่บนเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ทำให้มีการติดต่อค้าขายกับ จีน อินเดีย และรัฐอื่นได้สะดวก อันส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของจามปามีความเข้มแข็ง จุดอ่อนของจามปา ประการแรกน่าจะเป็นทำเลที่ตั้งของอาณาจักรที่มีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด และต้องเผชิญกับพายุขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอยู่เป็นระยะๆ ประการที่สอง คือ จำนวนชนชั้นไพร่ทาสที่มีค่อนข้างน้อย ซึ่งชนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นกำลังการผลิตที่สำคัญสำหรับการสร้างความเข้มแข็งให้กับอาณาจักร ทำให้จามปาเป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็ก เมือ่เทียบกับจักรวรรดิขแมร์ ประการที่สาม เป็นจุดอ่อนของระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ “ลัทธิเทวราช” พอเกิดความแตกแยกภายในที่ไม่สามารถรอมชอมกันได้ มักส่งผลให้อาณาจักรเกิดความอ่อนแอ อันเป็นโอกาสให้รัฐคู่แข่ง (ไดเวียด) เข้ามาโจมตี จนล่มสลายในที่สุด

อ่านประวัติศาสตร์จามปาที่เกิดสงครามภายใน-นอกประเทศแล้วเป็นห่วงประเทศไทยจังอยู่ดีๆพี่น้องก็มาแตกความสามัคคีกัน ดีว่าพี่น้องรอบๆบ้านเขาออ่นแอกว่า...สามัคคีประเทศไทยครับ.

อ่านเพิ่มเติม :

//www.teak-teca.com/wp-content/uploads/2012/07/CHAMPA-KINGDOM-2012.pdf





Create Date : 28 กรกฎาคม 2555
Last Update : 28 กรกฎาคม 2555 16:27:14 น.
Counter : 7693 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog