พระโพธิสัตว์-โพธิญาณ-โพธิจิต ของพุทธมหายาน ตอน2
oknation.net

พระโพธิสัตว์-โพธิจิต และ การพัฒนาโพธิจิต

การได้เกิดเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะครบถ้วนนั้น เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งนักดังนั้นในเมื่อเวลานี้เราต่างพากันโชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เราควรใช้ชีวิตใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมอย่างคุ้มค่าที่สุดเพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งแนวทางการปลูก-พัฒนาโพธิจิตมีดังนี้

1.การเอาชนะพลังอกุศล : ชีวิตในแต่ละวันของเรา อกุศลนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอจนพลังแห่งคุณธรรมในตัวเรามันออ่นแอจนยากที่จะเกิดพลังแห่งอกุศลกรรมนั้นยิ่งใหญ่จนยากที่เราจะขจัด เพราะตัวเราเองสะสมมันมานานแสนนานขณะที่กุศลกรรมนั้นเรากลับสะสมไว้เพียงให้มีพลังปรากฎ ดุจสายฟ้าแลบที่จะเกิดขึ้นพี่ยงชั่ววินาทีเดียวองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเราถึงวิธีการเอาชนะพลังอกุศลด้วยการสร้างสรรค์โพธิจิตอันสมบูรณ์และพฤกษาแห่งโพธิจิตนั้นจักผลิดอกออกผลไม่รู้จบตลอดไป

2.การสารภาพบาปและการตั้งสัจจะ :การสารภาพและอศุกลกรรมทั้งหลายที่เราได้กระทำไปแล้วที่เหนี่ยวรั้งเราเอาไว้ให้ยังคงเวียบว่ายอยู่ในกองทุกข์แห่งห้วงวัฎสงสารและการตั้งสัจจะที่จะไม่หวนกลับไปกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและเพื่อที่เราจะได้เริ่มต้นกระทำดีต่อไป

3.การน้อมรับโพธิจิต : การตั้งมั่นที่จะน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์โดยยินดีทีจะเสียสละทุกสิ่งเพื่อเป็นทานแก่สรรพสัตว์ (ดังพระเวสสันดร) และตั้งมั่นปฎิบัติตนตามวิถีแห่งโพธิสัตว์เพื่อมุ่งสู่การตรัสรู้อันจะนำประโยชน์มาสู่สรรพสัตว์ทั้งปวง

4.ความมีศรัทธา-ปณิธาน :การใช้ปัญญาของตนศึกษาพิจารณา จนเกิดศรัทธาที่จะน้อมรับโพธิจิตตั้งมั่นในโพธิสัตต์มรรค ไม่คิดหวนคืนกลับจุดนี้เองคือความสำคัญยิ่งของการตั้งมั้นที่ใด้ตัดสินใจที่จะมุ่งสู่การตรัสรู้เพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์

5.ความมีสติ : ในสามโลกนี้ไม่มีสิ่งใดน่ากลัวไปกว่าจิตของเราเองด้วยจิตของเรานี้เองที่สามารถบันดาลได้ทั้งนรกและสวรรค์ หากเปรียบไปแล้ว จิตของเราเป็นได้ดังช้างตกมันนำมาซึ่งอันตรายได้รอบด้าน เว้นเสียแต่ช้างตกมันในจิตใจของเรานั้นถูกล่ามด้วยเชือกแห่งความมีสติรอบด้านนั้นคือเราสามารถฝึกจิตของเราให้กำหราบ ช้างตกมันในใจเราได้ ความทุกข์เร่าร้อนในขุมนรกและเปรตอสุรกายทั้งหลายจริงๆแล้วเกิดที่ใด..ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครเป็นผู้สร้างเลย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำของอกุศลจิตความทุกข์ในนรกนั้นมิใช่สิ่งใดเลยนอกจากความทุกข์ในจิตของเราเองและการรู้แจ้งที่ไม่ได้อยู่แห่งหนใดเลย นอกจากอยู่ภายในจิตเราเองการมีสตินั้นควรมีอยู่ทุกขณะจิตของการกระทำในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจาหรือ ใจ เพราะหากไร้ซึ่งสติแล้วย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ทนรุ่มร้อนต่อตัวเราเองและผู้อื่นโดยง่าย

6.ความอดทน : ความดีงามอันประเสริฐ-ความโอบออ้มอารีทีได้สั่งสมมา สิ่งเหล่านั้นจะถูกทำลายในชั่วขณะแห่งความโกรธและไม่มีกำแพงใดดีเท่าความอดทนจึงควรเพียรพยายามสร้างสมบารมีโดยวิธีต่างๆเพื่อมีสมาธิอยู่กับความอดทนที่จะละวางความทุกข์ทั้งปวงได้

7.ความเพียร : ความเพียรนี้เป็นกำลังสำคัญเพราะหากปราศซึ่งคความเพียรแล้วก็คงเป็นการยากที่เราจะเดินทางไปถึงเส้นทางแห่งธรรมเปรียบได้กับเรือใบที่ไม่อาจแล่นหากไร้ซึ่งลมความเพียรคือความเบิกบานในสิ่งที่ถูกต้อง มีความเบิกบานบนเส้นทางธรรมของตนความเพียรย่อมบังเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องบีบบังคับตนเองแต่ประการใด


8. สมาธิ : จิตที่เป็นสมาธิจะพัฒนาตัวเราให้เป็นผู้มีปัญญาได้ ถ้าเราไร้ซึ่งจิตอันเป็นสมาธิเสียแล้วก็ย่อมเป็นการง่ายต่อการที่จะถูกโจมตีด้วยมโนภาพแห่งความหลงผิดทั้งปวง โลภ โกรธหลง จะครอบงำได้ง่าย สมาธิจะเกิดความรู้ในธรรมชาติที่แท้จริงไม่หลุ่มหลงไปกับมายาภาพที่ฉาบเคลื่อบเอาไว้และที่สำคัญที่สุดการปฏิบัติสมาธินั้นควรเป็นไปเพื่อการตัดสายโซ่แห่งบ่วงแห่งอวิชชา เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสรรพสิ่ง

9. ปัญญา : ธรรมชาติแห่งปัญญาก็คือการได้หยั่งรู้และได้เข้าถึงความจริง 2 ระดับ คือ ระดับ สมมมติสัจ และปรมัตถสัจ โดย สมมติสัจเป็นความจริงที่ตั้งขึ้นจากจุดยืนของจิตที่หลอกลวงปิดบังความจริงแท้ในขณะที่ปรมัตถสัจ เป็นความจริงอันยั่งถึงโดยปัญญาของพระผู้เป็นเลิศซึ่งไม่มีสมมติสัจปรากฎ

ที่มา : รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์กบิลสิงห์ ในโพธิสัตตวจรรยาวตาร โดย ศานติเทวะ




Create Date : 06 ตุลาคม 2555
Last Update : 6 ตุลาคม 2555 18:34:59 น.
Counter : 1897 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog