สตรีที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อพุทธศาสนาเถรวาท ในดินแดนไทย (ตอน2)
oknation.ne
พระธรรมจักรและกวางหมอบ (สัญลักษณ์ พุทธศาสนา พ.ศ 300-600 ก่อนการสร้างพระพุทธรูป )ตีความได้ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อแห่งธรรมะ  กวางหมอบหมายถึงสัญญลักษณ์ป่าอสิปัตนมฤทายวันหรือป่าอุทยานทีมีกวางอยู่มากและมีชื่อเสียงในยุคนั้น เพราะพวกนักพรต โยคีไปชุมนุมแสวงหาโมกษะอยู่แถวนั้น เป็นสถานที่แห่งแรกทีพระพุทธเจ้าประกาศเผยแพร่พุทธศาสนาครั้งแรกกับกลุ่มปัญจวคี ทีเคยเป็น ญาติธรรมร่วมศึกษาธรรมะและปรัชญาสำนักต่างๆทีโด่งดังในยุคนั้นกับพระองค์   และต่อมาพระองค์ได้แยกตัวมาศึกษาธรรมะด้วยตนเองตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า

สุวรรณจังโกฏิเจดีย์หรือกู่กุด ศิลปศรีลังกา ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระนางจามเทวี (วิกิพีเดีย )

ประมาณปี พ.ศ. 1202 สุกกทันตฤๅษีซึ่งเป็นสหายกับสุเทวฤๅษี (น่าจะมีอาศรมอยู่แถวดอยสุเทพ?)ได้เดินพร้อมกับนายควิยะผู้เป็นทูตของสุเทวฤๅษีมายังกรุงละโว้ เพื่อทูลขอพระนางจามเทวีจากพระเจ้ากรุงละโว้เพื่อไปเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองใหม่ที่สุกทันตฤๅษีกับสุเทวฤๅษีสร้างขึ้นซึ่งก็คือเมืองหริภุญไชยหรือเมืองลำพูนในปัจจุบันนี้เมื่อพระนางจามเทวีปรึกษากับพระราชบิดากับพระสวามีแล้วทั้งพระสวามีกับพระราชบิดาต่างก็อนุญาต พระนางจึงได้เดินทางออกจากเมืองละโว้ตามคำทูลเชิญของพระฤๅษีแต่ในตำนานจามเทวีวงศ์ได้กล่าวความต่างไปอีกอย่าง คือในเวลานั้นเจ้าชายรามราชได้ออกบวชเสียแล้ว พระนางจึงทรงอยู่ในฐานะไร้พระสวามีทางลำพูนจึงได้ส่งสาส์นมาทูลขอดังกล่าวตำนานพื้นบ้านว่าเจ้าหญิงจามเทวีทรงรับที่จะครองเมืองลำพูนเพราะว่าเมืองลำพูนเวลานั้นราษฎรเดือดร้อนด้วยขาดผู้นำและพระนางก็ระลึกถึงพระคุณท่านสุเทวฤๅษีที่เคยชุบเลี้ยงมาแต่ก่อน (ยุคนี้ละโว้น่าจะนับถือศาสนาพราหมณ์ทีมีอิทธิพลจากขอม )

ในการเดินทางจากละโว้ไปสู่เมืองลำพูนนั้น พระนางได้เชิญพระเถระ 500รูป หมู่ปะขาวทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล 500 คน บัณฑิต 500 คน หมู่ช่างแกะสลัก500 คน ช่างแก้วแหวน 500 คน พ่อเลี้ยง 500 คน แม่เลี้ยง 500 คน หมู่หมอโหรา 500 คนหมอยา 500 คน ช่างเงิน 500 คน ช่างทอง 500 คน ช่างเหล็ก 500 คน ช่างเขียน 500 คนหมู่ช่างทั้งหลายต่างๆอีก 500 คน และช่างโยธา 500 คน

ให้ร่วมเดินทางกับพระนางเพื่อไปสร้างบ้านแปงเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น โดยเดินทางด้วยการล่องเรือไปตามแม่น้ำปิง กินระยะเวลานาน 7 เดือนพร้อมกันนี้พระนางยังได้เชิญพระพุทธรูปสำคัญมาด้วย 2 องค์ คือ 1) พระแก้วขาวซึ่งว่ากันว่าเป็นองค์เดียวกับที่ประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน 2)พระรอดหลวง ซึ่งประดิษฐานที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน (พุทธศาสนายุคนี้เป็นสายลังกาวงศ์)

เมื่อพระนางเดินทางมาถึงเมืองหริภุญชัยแล้วสุเทวฤๅษีและสุกทันตฤๅษีจึงกระทำพิธีราชาภิเษกพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งหริภุญชัย ทรงพระนามว่า "พระนางเจ้าจามเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ (วงศ์พระอาทิตย์ ) องค์บดินทร์ปิ่นธานีหริภุญชัย" หลังจากวันราชาภิเษกไปแล้ว 7 วันพระนางจึงประสูติพระราชโอรสซึ่งติดมาในพระครรภ์ตั้งแต่ยังทรงอยู่เมืองละโว้ 2พระองค์ พระโอรสองค์โตมีพระนามว่าพระมหันตยศหรือพระมหายศส่วนองค์รองมีพระนามว่าพระอนันตยศหรือพระอินทวร

( ในยุคนี้พวกพราหมณ์และเจ้านายชั้นสูงทีเป็นผู้ปกครองกรุงละโว้ เกษียณอายุตัวเองออกมาแสวงหาโมกษะ เข้าป่าวนปรัสน์ ตามหลักการอาศรมสี่ ทีเชื่อถือกันมากในยุคนั้นโดยเมื่ออายุ60ปีก็จะพากันละทิ้งสมบัติทางโลกออกแสวงธรรมะอันสูงสุด เป็นฤาษีและนักพรตทั้งสามีแลภรรยากลุ่มนี้น่าจะนับถือพุทธศาสนาตั้งสำนักและอาศรมอยู่ทั่วไปในภาคเหนือในประวัติพระพุทธเจ้าตอนประสูตินั้น ผู้มีฤทธิ์ นักพฤต และพระญาติศากยวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทีเป็นมหาฤาษีที่โด่งดัง บำเพ็ญพรต-ตบะอยู่ไกลถึงเชิงเขาหิมาลัยก็พากันมาอวยชัยให้พรพระพุทธองค์กันมากมาย )


สงครามขยายดินแดนและพุทธศาสนา :ในที่สุดขุนวิลังคะก็นำทัพเข้าล้อมเมืองด้วยทหารจำนวนถึง 80,000 คน (แสดงว่าในยุคนั้นชาวลัวะเป็นชนพื้นเมืองทีล้าหลังด้านอารยะธรรมและองค์ความรู้ครอบครองดินแดนแถวนั้นอยู่หรือว่า อาณาจักรละโว้ นั้นอาจแผลงมาจาก ลวบุรี ? )พระนางจามเทวีทรงมีพระราชโองการให้พระโอรสทั้งสองซึ่งเจริญพระชมมายุได้7 พรรษาแล้วขึ้นประทับเหนือช้างผู้ก่ำงาเขียวนำทัพออกศึกโดยพระมหันตยศประทับคอช้าง พระอนันตยศประทับกลางช้างกองทัพของหริภุญชัยมีจำนวนเพียง 3,000 คน แต่เมื่อกองทัพของทั้งสองฝ่ายประจันหน้ากันพลรบชาวลัวะก็ให้บังเกิดอาการหน้ามืดตามัวหมดกำลังเพราะเผชิญหน้ากับช้างภู่ก่ำงาเขียวในเวลาเที่ยงวันพอดีจนในที่สุดไม่มีผู้ใดทนได้ก็พากันแตกทัพอลหม่านโดยไม่ทันได้สู้รบทิ้งอาวุธและสิ่งของไว้เป็นอันมาก(พระนางทรงขึ้นช้างศึกออกรบเองอย่างกล้าหาญและมีกลศึกทีเหนือกว่าพวกลัวะมาก เวลาเที่ยงวันน่าจะเป็นกลศึกใช้กระจกกระทบแสงส่องเข้าตาทำให้พวกลั้วตกใจหน้ามืดทิ้งอาวุธเหมือนสร้างปาฏิหารเพราะพระนางฯเรียนรู้ตำราอรรถศาสตร์ของอินเดียว่าด้วยสงครามและการปกครอง) พระนางจามเทวีจึงทรงมีรับสั่งให้ชาวพระนครพรากับออกไปรวบรวมสิ่งของเหล่านั้นไปเป็นของตนเองเสีย ทำเลที่ทหารลัวะทิ้งของไว้นั้นจึงมีชื่อว่า ลัวะวางในกาลต่อมา

หลังจากนั้นพระนางจามเทวีจึงเสด็จไปยังระมิงค์นครในฐานะผู้ชนะศึกเพื่อทรงช่วยเหลือบำรุงขวัญประชาชนให้กลับเป็นปกติสุขอีกครั้งจากนั้นจึงพระราชทานเอกราชให้แก่ชาวระมิงค์นครมิให้ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของหริภุญชัยเป็นการแสดงพระกรุณา โดยจารึกไว้ในพระสุพรรณบัฎเมื่อวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน8 ปีจอ พ.ศ. 1230 (ช่วงนี้สิงหนวัติกุมารผู้นำชาวไทกำลังอพยพชุมชนชาวไทจำนวนมากมาจากยูนนานลงมาอยู่แถบแม่น้ำกก-ดอยตุง อาจจะหนีภัยสงครามหรือหนีโรคระบาด หรือภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว  ยังค้นไม่ได้ว่านับถือศาสนาอะไร แต่ตามตำนานเล่าว่านับถือผีแมนและผีฟ้ากันอยู่... ? )


นตำนานจามเทวีวงศ์มีขยายความเรื่องเกี่ยวกับลัวะต่อไปอีกคือภายหลังการสงครามขุนวิลังคะ พระมหันตยศและพระอนันตยศก็ทรงได้พระธิดาขุนวิลังคะเป็นชายาด้วยดังนั้นพระนางจามเทวีจังทรงมีพระสุณิสาลำดับแรกเป็นเจ้าหญิงชาวลัวะ ( แสดงว่าในยุคนั้นผู้คนรู้จักแพ้ ชนะ ให้อภัย สามัคคีกันไม่เหมือนคนปัจจุบันและไม่ได้แบ่งวรรณะเหมือนศาสนาฮินดูอันเคร่งครัดที่จะไม่ยินยอมแต่งงานกันกับคนต่างเผ่าต่างวรรณะต่างกัน)


เรื่องเผชิญพวกลัวะนี้ ตำนานพื้นเมืองอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวไว้พิสดารออกไป คือหลวงมิลังคะ (ไม่ใช่ขุนวิลังคะ)ผู้นำเผ่าลัวะเกิดหลงใหลพระสิริโฉมแห่งพระนางจามเทวีจนไม่เป็นอันกินอันนอนจึงได้แต่งทูตมาสู่ขอ แต่พระนางจามเทวีไม่ทรงสนพระทัยและไม่ให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้นเป็นเหตุให้หลวงมิลังคะยกไพร่พลมาประชิดเมือง พระนางจึงทรงพระดำริว่าถ้าจะรบกับหลวงมิลังคะบ้านเมืองคงย่อยยับแน่ จึงออกอุบายแก่หลวงมิลังคะว่าหากหลวงมิลังคะพุ่งเสน้า (ธนู) จากดอยสุเทพมาตกกลางเมืองลำพูนพระนางก็จะทรงตกลงเป็นพระมเหสีหลวงมิลังคะจึงดีใจถือธนูขึ้นดอยสุเทพบริกรรมคาถาอาคมแล้วพุ่งเสน้าจากดอยสุเทพเพียงครั้งแรกก็มาตกที่นอกเมืองทางทิศตะวันตก ห่างกำแพงเมืองไปเพียงไม่กี่วาเท่านั้น สถานที่เสน้าตกนี้เรียกกันว่าหนองเสน้า เวลาต่อมา

พระนางจามเทวีทรงเห็นเช่นนั้นก็หวั่นพระทัยนักทรงเกรงว่าหากให้มีการพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ 2 และ 3 คงจะมาตกกลางเมืองแน่จึงทรงออกอุบายอีกครั้งหนึ่งให้ข้าราชบริพารนำซิ่นในมาตัดเย็บเป็นหมวกส่งไปให้หลวงมิลังคะสวมข้างหลวงมิลังคะนั้นพอได้รับของฝากจากพระนางก็ดีใจเป็นที่สุดรีบสวมหมวกนั้นแล้วลองพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ 2 และ 3ปรากฏว่าเสน้ากลับลอยไปตกห่างจากตัวเมืองยิ่งกว่าเดิมหลายเท่าจึงได้พบว่าเสียรู้และถูกทำลายคาถาอาคมเสียแล้ว เลยหมดกำลังใจที่จะพุ่งเสน้าต่อไปพระนางจามเทวีจึงมิได้เป็นราชินีของชาวลัวะด้วยเหตุดังกล่าวแต่ต่อมาชาวลัวะกับชาวลำพูนก็ยังได้มีสัมพันธ์ต่อกันบ้างในรุ่นหลังจากนั้น ( จากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี ) ต่อมาราชวงศ์จามเทวีนี้ถูกราขวงศ์มังราย  จากเชียงราย-พะเยา เข้ายึดครองโดยอาศัยกลยุทธอ้ายฟ้าเป็นใส้ศึกให้และขณะนั้นลำพูนอาจจะมีผู้นำที่ออ่นแอและหูเบา หรืออาจเป็นการควบรวมอำนาจระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง สร้างอาณาจักรพุทธศาสนาของคนไทยขึ้นร่วมกับสุโขทัย.







Create Date : 07 ตุลาคม 2555
Last Update : 10 ตุลาคม 2555 12:31:53 น.
Counter : 3067 Pageviews.

1 comments
  
เคยอ่านมาว่าพวกลัวะ เป็นชนพื้นเมือง ตั้งถิ่นฐานอยู่แถวเชิงดอยสุเทพค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 ตุลาคม 2555 เวลา:15:26:47 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog