มหัศจรรย์ปราสาท หินเขาพนมรุ้ง ทีมีสถาปัตย์กรรมตามหลักดาราศาสตร์

เนื่องจากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการออกแบบและก่อสร้างของปราสาท
หินเขาพนมรุ้งได้ตรงตามหลักดาราศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์มหัศจรรย์ทาง
ธรรมชาติคือ
"แสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตูทั้ง15บานของปราสาทเขาพนมรุ้ง"
ซึ่ง
เป็นปรากฏการณ์ที่มีความมหัศจรรย์และสวยงามเป็นอย่างมาก โดยปรากฏการณ์นี้

จะเกิดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยดวงอาทิตย์ขึ้น ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง 2ครั้ง
และดวงอาทิตย์ตก ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งอีก 2 ครั้ง โดยปรากฏการณ์นี้
จะเกิดขึ้นทุกๆปี ดังนี้คือ



ครั้งที่ 1 ดวงอาทิตย์ตกทะลุซุ้มประตู 15 ช่องประตู ณปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
      วันที่ 5 -7 มีนาคม ของทุกปีในช่วงเวลาประมาณเวลา 18.15 – 18.23 น.

ครั้งที่ 2 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต15 ช่องประตู ณปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
      วันที่ 3 – 5 เมษายนของทุกปีในช่วงเวลาประมาณ 06.05 0 06.13 น.

ครั้งที่ 3 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต 15 ช่องประตู ณปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
      วันที่ 5– 7กันยายน ของทุกปีในช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 06.08 น.

ครั้งที่ 4 ดวงอาทิตย์ตกทะลซุ้มประตุ 15 ช่องประตู ณปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
      วันที่ 5 – 7ตุลาคม ของทุกปีในช่วงเวลาประมาณ 17.50 – 17.58


credit //www.nangronghotel.com/phanomrung.html


ปี 2554จะจัดให้มีความยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา ภายใต้ชื่องานว่า "หนึ่งมหัศจรรย์สองศักดิ์สิทธิ์แห่งวนัมรุง"
         กิจกรรมสำคัญโดดเด่นที่จัดให้มีขึ้นภายในงาน เช่น การชมแสงอาทิตย์ส่องลอด 15ประตูของปราสาทพนมรุ้ง (ดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3 - 4 - 5 เมษายน 2554 เวลา 06.00น.), พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพนมรุ้งซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย,ชมริ้วขบวนหลวงของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และ นางจริยา


นเรนทราทิตย์เป็นโอรสของพระนางภูปตีนทรลักษมี เป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม มีความสามารถในการรบ ได้เข้าร่วมรบกับกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ในการรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น จากศึกสงครามนเรนทราทิตย์คงได้รับความดีความชอบเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระ


         มีเรื่องเล่าว่าในสมัยที่อาณาจักรขอมมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองยโสธรปุระและมีเมืองหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ในภาคอีสานมีชื่อว่า เมืองมหิธรปุระ ทั้งสองเมืองต่างมีราชวงศ์ปกครองเมืองควบคู่กันเรื่อยมาทางเมืองยโสธรปุระมีชื่อเรียกราชวงศ์ว่า อาทิตยวงศ์ ส่วนทางเมืองมหิธรปุระมีชื่อเรียกว่า จันทรวงศ์ราชวงศ์ทั้งสองเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันการสืบสันตติวงศ์มีการเกี่ยวพันกัน บางครั้งมีการต่อสู้กันบ้าง เมื่อ พระเจ้าสุริยวรมันที1 เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ในช่วงระหว่างการรบพุ่งกันและได้สำเร็จโทษพระปิตุลาตาย ส่วนนางภูปตินทรลักษมีเทวี ชายาของพระปิตุลา และบุตรชายคือ นเรนทราทิตย์ได้รับการไว้ชีวิต แต่กระนั้นเพื่อความปลอดภัย นเรนทราทิตย์ผู้ซึ่งได้รับการจารึกคุณสมบัติไว้ว่า เป็นชายรูปงามเสด็จไปทางไหนก็จะมีสาวๆเดินตาม และมีความสามารถยิงธนูได้โดยที่ไม่ต้องเล็งมีความกล้าหาญโดยเสด็จออกไปล่าช้างป่า แล้วตัดหัวโยนทิ้งน้ำจนกลายเป็นทะเลเลือดต้องเสด็จหนีราชภัยสละเพศพรหมจรรย์ไปบำเพ็ญภาวนาบวชเป็นฤาษีอยู่ในถ้ำบนภูเขาใหญ่ และสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้งขึ้น การ วางผังการก่อสร้างถือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 การก่อสร้างใช้วิธีเล็งแนวจากดวงอาทิตย์ให้ตรงกับประตูทั้ง 15 ช่อง


credit : https://sites.google.com/site/baiborn7417







Create Date : 14 ตุลาคม 2555
Last Update : 14 ตุลาคม 2555 12:45:57 น.
Counter : 2870 Pageviews.

1 comments
  
เพิ่งเคยเห็นรูปค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 15 ตุลาคม 2555 เวลา:19:42:27 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog