บันทึกประวัติศาสตร์ชุมชนอีสานโบราณ

ภาคอีสานและแอ่งโคราชมีชุมชนโบราณอายุ 3,000 ปีมาแล้ว มีประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์ เช่น (1) กลุ่มโนนชัย กลุ่มทุ่งสัมฤทธิ์ และกลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้ (2) พวกกวยหรือกุย (3) พวกจาม (4) พวกขอม (5) พวกลาว (6) ชาวกัมพู คนพวกนี้มีชุมชนหมู่บ้านหนาแน่นอยู่รอบๆ ทุ่งกุลาร้องไห้    ซึ่งเป็นเขตที่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก และเกลือ ชุมชนหลากหลายเผ่าพันธุ์บริเวณนี้ก็กระจายออกไปถึงเขตอุบลราชธานี, ยโสธร, และอำนาจเจริญ แล้วค่อยๆ ก่อรูปก่อร่างขึ้นเป็นบ้านเมือง มีตระกูลเสนะเป็นผู้นำ   ต่อมาจิตรเสน (พ.ศ 1100-1200 )  ผู้เป็นนักรบของตระกูลเสนะออกปราบปรามชุมชนบ้านเมืองในละแวกนี้ไว้ในอำนาจจนขยับขยายกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ รัฐนี้มีศูนย์กลางอยู่บริเวณปากแม่น้ำมูล (อุบลราชธานี) มีจารึกของจิตรเสนอยู่หนาแน่นเป็นพิเศษ อาจารย์ ดร. ธิดาเชื่อว่า ที่นี่คือศูนย์กลางการขยายตัวของจิตรเสน หรือ มเหนทรวรรมัน

ปราสาทพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ  ตามหลักจารึกที่ค้บพบ 3 หลักคือ จารึกศิวะศักติ จารึกหมายเลข K380 และ K381 เชื่อว่าเริ่มก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2  และเป็นรูปร่างเมื่อในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งสถาปนาศรีศิขเรศวร ในปี พ.ศ. 1436 แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1  มีพระนามจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า "สูรยวรรมเทวะ" และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ       พ.ศ. 1581 สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2  จากจารึก สด๊อก ก๊อก ธม หลักฐานสำคัญที่บันทึก ประวัติศาสตร์ศาสนา และเหตุการณ์ของกัมพูชา จากจารึกบอกว่า พระเจ้าชัยวรมันที่2 เสด็จกลับจากแผ่นดินที่เรียกว่า ชวา ในขณะนั้นอายุได้ ๒๐ พรรษา และได้ประทับอยู่ที่พนมกุเลน   พระราชกรณียกิจแรก ที่พระองค์ทรงกระทำคือ พระองค์ได้ทรงประกอบราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ “ทำให้ชวาไม่สามารถควบคุม กัมพูชาได้อีก “   ประมาณ พ.ศ 1348 มีหลักฐานยืนยันถึงอำนาจของชุมชนแถบเขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ ว่าตระกูล นางพิณสวรรค์ครามวตี ทีเป็นผู้ปกครองดินแดนแถบนี้มีธิดาชื่อว่าปาวิตราหรือ ฮยางปาวิตรา เป็นมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่2 (ชัยวรมันที2เมื่อกลับจากชวานั้นได้ควบรวมอำนาจผ่านการแต่งงานกับชุมชนที่ เข้มแข็ง-มั่งคั่งและอาศัยกองกำลังจากเขาพระวิหารปลดปล่อยอาณาจักรขอมจากการ ยึดครองของศรีวิชัยและจามปา )มีพระนามว่าพระนางกัมพูชาลักษมี และแต่งตั้งพระเชษฐาพระนาง คือ วิษณุวาล เป็น ลักษมินทรา ดูแลพระคลังส่วนพระองค์ จารึกศิวะศักติกล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่2 ใด้กำหนดพื้นที่หลายแห่งบริเวณพระวิหารและใกล้เคียงเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ เรียกชื่อต่างๆกัน ไตรโลกนาถ บ้าง ภวาลัยบ้าง

ปราสาทปักษีจำกรง
• ปีที่สร้าง :  (พ.ศ. 1471)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 และบูรณะในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2
• ปราสาทปักษีจำกรง มีรูปทรงปิรามิด ความเป็นมามีนิทานพื้นบ้านเล่าขานเรื่องของพญานกได้นำเอาโอรสของพระราชา ซึ่งตกอยู่ในอันตรายระหว่างรแย่งชิงราชสมบัติมาเลี้ยงจนเติบใหญ่จึงกลับมาชิงราชบัลลังก์คืนได้ในภายหลัง และเมื่อปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์จึงได้ทรงสร้างปราสาทนี้เป็นการทดแทนบุญคุณของพญานก (จากตำนาน สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพ่อ-แม่ บุญธรรม หรือ มหาฤษี ที่บำเพ็ญตบะอยู่ แถบปราสาทเขาพระวิหาร ที่มีอิทธิพลและอำนาจในยุคนั้น )




Create Date : 10 กันยายน 2555
Last Update : 10 กันยายน 2555 22:29:43 น.
Counter : 3608 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog