FUNAN อาณาจักรที่ถูกกลืนจากชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล-โขง

 

AD 68-550 (Funan Kingdom)

Little is known of the Funan Kingdom, but it was apparently a Chinese name of an ancient state in Indochina, which is today's lower Cambodia.

Funan was known as a powerful trading state and its borders stretched from Malay Peninsula to Burma.

550-800 AD (Chenla Kingdom)

The Kings of Chenla took over the power after the Funans, and they worshipped the God of Shiva.

//www.backpacking-tips-asia.com/cambodia-history.html

หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนานตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธัญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ (Lieo-Yeh) ของแคว้นนี้ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนานอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน เรียกว่า กูรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนาน ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง (วิกิพีเดีย )

 อาณาจักร “เจนฬะ”คือใคร มีความหมายอย่างไรนักประวัติศาสตร์กัมพูชาเองค้นไม่พบจากจารึกไหน

ที่แน่ ๆปรากฏในจดหมายเหตุจีนของ สมณทูต จิว ตัก ก่วง (โจว ต้า กวน) เข้ามาดินแดนนี้เมื่อพ.ศ.๑๘๓๙ เจนฬะ ภาษาจีนแต้จิ๋ว(สมัยโน้น) ออกเสียง จิง - ฬะ จิง คือ แท้, เก่ง,รู้, จริง ฬะ คือ ไขมัน(จากสัตว์) อาจแปลเอาความได้ว่า เมืองแห่งไขมันสัตว์จากพราน
ศาสตราจารย์ลี เธียบเตง ชาวกัมพูชา ซึ่งบันทึกสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า...เมื่อข้าพเจ้าไปประเทศจีนได้พบนักประวัติศาสตร์จีนชื่อ สิ่วเม้งพบเอกสารที่กล่าวถึงเจนละ ตั้งทิศเหนือของฟูนัน มีป่าหนาทึบ และมีผึ้งมากพ่อค้าจีนมักมาหาซื้อขี้ผึ้งแท้นำไปขายจีน เพื่อเอาไปทำเทียนไข มีขี้ผึ้งมากจึงสมมติเรียกชื่อประเทศนี้ว่า เจน หรือ เจง แปลว่า แท้ , จริงแท้ / ลัก(ฬัก)แปลว่า ขี้ผึ้ง หรือ ไขมัน รวมความคือ ประเทศไขมันแท้

นักปราชญ์ฝรั่งเศส เคยบอกว่าจุดเริ่มต้นรัฐเจนละคือการก่อตั้งศูนย์กลางแห่งแรกขึ้นที่เมืองเศรษฐปุระ มีปราสาทวัดภูที่แขวงจำปาสักเป็นศาสนสถานที่สำคัญ เมืองเศรษฐปุระเคยอยู่ในเครือข่ายอิทธิพลของจามปา (เวียดนาม) มาก่อน เพราะพบจารึกเทวนิกา (Devanika) ภาษาสันสกฤตอยู่ใกล้กับปราสาทวัดภู จารึกนี้มีอายุประมาณหลัง พ.ศ. 800 หลังจากนั้นจึงขยายอำนาจเข้าอีสานทางปากแม่น้ำมูล   แต่หลักฐานใหม่ ยืนยันว่าจิตรเสนรวบรวมอำนาจท้องถิ่นขึ้นที่อีสานก่อน แล้วขยายออกจากปากแม่น้ำมูลไปสองฟากแม่น้ำโขงลงทางใต้จนถึงเศรษฐปุระ รัฐเจนละจึงเกิดขึ้นจากการรวมตัวของแคว้นเศรษฐปุระและแว่นแคว้นของจิตรเสน เมื่อตกลงกับเศรษฐปุระได้แล้ว จิตรเสนก็แผ่อิทธิพลจากอีสานผ่านบุรีรัมย์ ช่องเขาพนมดงเร็ก ลงสู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยจนถึงอรัญประเทศ (จ. สระแก้ว) และคงเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าสู่บริเวณรอบทะเลสาบเขมรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง

 

อาณาจักรเจนละ หรือเจิ้นละ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของอาณาจักรหลินยี่(จามปา) ปัจจุบันนี้คือดินแดนภาคอิสาน แถบลุ่มแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นพิ้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์  เดิมนั้นอาณาจักรเจนละเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาได้มีกำลังกล้าแข็งจึงประกาศอิสรภาพในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เจ้าชายจิตรเสน แห่งอาณาจักรเจนละ(ต่อมาครองราชย์เป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน)ได้ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรฟูนัน แถบฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล ในระหว่าง พ.ศ. ๑๑๑๐–๑๑๕๐ ในสมัยนั้นพระโอรสของพระองค์คือพระเจ้าอิศานวรมัน ได้ทำการปราบปรามและครอบครองดินแดนของอาณาจักรฟูนันได้ทั้งหมด ทรงตั้ง เมืองอิศานปุระ ขึ้นทางเหนือของเมืองกัมปงธม โดยมีปราสาทสัมโบร์ไพรกุกเป็นสัญลักษณ์ ชนชาติเจนละ  พลเมืองของอาณาจักรเจนละประกอบด้วยชนเผ่าขอมในเขมร และชุมชนที่อพยพมาตามลำแม่น้ำโขง กับพวกจามจากเมืองจำปาศักดิ์ ชนชาตินี้ได้รับวัฒนธรรมสืบมาจากอาณาจักรฟูนัน เช่น การสร้างวัดบนภูเขา การใช้น้ำเพื่อการเกษตร และลัทธิที่นับกษัตริย์นั้นเป็นผู้แทนอารยธรรมจากอินเดีย

อาณาจักรเจนละ ตั้งศูนย์กลางอยู่ตอนเหนือของทะเลสาปเขมร มีเมืองหลวงอยู่ใกล้เมืองกำปงธมในปัจจุบัน ชนชาติเจนละแบ่งออกเป็นสองพวกคือพวกเจนละบก อยู่ในที่สูง อยู่บริเวณดินแดนลาวตอนใต้ เช่น เมืองโคตรบอง เมืองเศรษฐปุระ(บริเวณปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก) เมืองสุวรรณเขต แขวงท่าแขก ประเทศลาว ลงมาถึงแถบจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ส่วนพวกเจนละน้ำ อยู่บริเวณทะเลสาปเขมรประกอบด้วย เมืองสวายเรียง เมืองกระเตี้ย และเมืองเสียมราฐ เมืองศรีมโหสถ(อยู่ในอำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี)

หลักฐานและสิ่งยืนยันทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ใด้มีการสร้างปราสาทหินขึ้นตามยุคสมัยไว้หลายแห่ง เช่น ปราสาทภูมิโปน ที่ บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (สมัยสัมโบร์ไพรกุก อาณาจักรเจนละ พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๒) ปราสาทสังข์ศิลปชัย ที่ ต.บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเขาน้อยตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (สมัยไพรกะเม็ง อาณาจักรเจนละ พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓) ปราสาทเขาพระวิหาร ใกล้จังหวัดศรีสะเกษ(พุทธศตวรรษที่ ๑๔ ) ปราสาทเมืองต่ำที่จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๖) ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา(ศิลปะปาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒) ปราสาทพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่๒) ปราสาทเมืองสิงห์ที่กาญจนบุรี(พุทธศตวรรษที่ ๑๘) นอกจากนี้ยังมีปรางค์สามยอด ที่ลพบุรี เมืองศรีเทพที่เพชรบูรณ์ และเมืองศรีวัตสะปุระ ที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีอีกด้วย หลักฐานเหล่านี้ใด้แสดงถึงความมีอยู่จริงของชุมชนขนาดใหญ่ทีมีประวัติยาวนานต่อเนื่อง ในภาคอีสานมาแต่โบราณที่ใด้ผลัดเปลี่ยนผู้ปกครองไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปจนถึงปัจจุบัน




Create Date : 28 กรกฎาคม 2555
Last Update : 28 กรกฎาคม 2555 16:26:18 น.
Counter : 3890 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog