ทำไมพระศิวะจึงร่ายรำ !

 

ความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า ชาวชมพูทวีปหรือชาวอินเดียสมัยโบราณส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่แร้นแค้น แม้ในถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ผู้คนก็เอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนกัน ผู้มีอำนาจมากกว่าหรือมีพวกมากกว่า ก็รังแกผู้อ่อนแอหรือมีพวกน้อย ชีวิตในชมพูทวีปหาความสงบสุขได้ยาก คนส่วนใหญ่หมดหวังในชีวิต จึงมีผู้แสวงหาแนวทางปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเชื่อของตน จึงเกิดความเชื่อ หรือลัทธิต่างๆ เกิดนักบวช นักปรัชญา มากมายหลายสาขา พอสรุปได้ดังนี้
    1.
ความเชื่อในธรรมชาติ ตามหลักฐานทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนเป็นอันมากยึดถือภูเขา ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวกต่างๆ เป็นสรณะซึ่งไม่ใช่สรณะที่ถูกต้อง ถึงจะเคารพนับถือเพียงใด ก็ไม่ทำให้หลุดพ้นทุกข์ได้

   2. ความเชื่อในวิญญาณนิยม หรือผีสางเทวดา ใครนับถือผีหรือเทพองค์ใด ก็เซ่นไหว้บวงสรวงบูชาเทพองค์นั้น  

3. ความเชื่อในพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมาจากพระเวท คนวรรณะสูงเท่านั้นที่มีสิทธิเชื่อ และประกอบพิธีกรรม เช่น การบูชายัญ เพราะต้องอาศัยพราหมณ์ประกอบพิธี และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีอย่างสูง เช่น ต้องซื้อสัตว์จำนวนมากมาฆ่าบูชายัญ      4. ความเชื่อในคำสอนแบบปรัชญาของนักบวชประเภทต่างๆ นักบวชที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้แก่ ครูทั้ง 6 (ครู มาจาก ครุ ซึ่งมีความหมายว่า ศาสดา)

 พระศิวะ พวกอินเดียเหนือได้มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าอีกองค์หนึ่ง คือ พระศิวะ หรือ บางทีก็เรียกว่า พระอิศวร สีพระกายขาว (เพราะชาวอินเดียเหนือแถบภูเขาหิมาลัยส่วนมากผิวขาว) แต่ดุดันใช้อำนาจแบบเดียวกับพวกอริยกะหรืออารยัน มีมเหสี คือพระอุมา ซึ่งมีความงามมาก ทั้งสองพระองค์ประทับ ณ ยอดเข้าหิมาลัย เจ้าแม่กาลีที่ดุร้ายก็เป็นปางหนึ่งของพระอุมา

ตำนานโบราณฝ่ายไศวะนิกาย กล่าวไว้ว่า เมื่อพระศิวะทรงตีกลองเป็นจังหวะอันไพเราะ โลกใบนี้ได้เคลื่อนไหวไปตามจังหวะกลองนั้นด้วย และเมื่อพระศิวะทรงร่ายรำเคลื่อนไหวพระองค์และพระกร พลิ้วไป ก็เป็นเหตุให้บังเกิดสุริยจักรวาลขึ้นในบัดนั้นเอง!! นักระบำของอินเดียจะต้องร่ายรำในท่าบูชาพระศิวะก่อนเสมอ แล้วจึงค่อยร่ายรำในท่าอื่นๆต่อไป

 

พระศิวะ ผู้อยู่เหนือโลกจักรวาลและกาลเวลา

 

            ความเชื่อที่ว่าโลกและจักรวาลไม่เที่ยง เกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม โรคระบาด สงคราม ฯล ทำลายเผ่าพันธ์มนุษย์ตลอดเวลาจึงต้องมีเทพเจ้าคอยรักษาความสมดุลย์ของสรรพสิ่ง  รวมทั้งกาลเวลา-กัดกินสรรพสิ่งและตัวมันเอง  โลกนี้คือละครโรงใหญ่ทีต้องแสดงให้ถูกจังหวะและเวลา  การร่ายรำของพระศิวะมีมากถึง 108 ท่ารำเพื่อแสดงหรือจำลองอำนาจของจักรวาลในโลกมนุษย์  ว่ามีอำนาจสูงสุดเหนือจักรวาลและกาลเวลา  แสดงความยิ่งใหญ่อลังการ  มีพลังลึกลับให้เกิดความศรัทธาและยอมรับโดยดุษฎี  ยืนยันระเบียบของโลกและจักรวาลที่จะดลบันดาลให้มนุษย์มีชีวิตอย่างมั่นคง

          พระศิวะ หรือ พระอิศวร     เป็น เทพเจ้าผู้ทำลายและสร้างโลกหมายความว่าก่อนจะเกิดได้ต้องตายเสียก่อน ชาวฮินดูที่นับถือไศวนิกายเชื่อว่าพระศิวะมีหนึ่งเศียร สี่กร สามเนตร โดยเนตรที่สามอยู่กลางหน้าผากเวลาโกรธจะมีตัวเกียรติมุข หรือหน้ากาลออกมากลืนกินความชั่วร้ายจากเนตรที่สามนี้พระศิวะทรงนุ่งหนัง กวางมีงูเป็นสร้อยสังวาลย์ ทรงโคนนทิเป็นหาพนะ เวลาไปเยี่ยมชมปราสาทหากเห็นรูปปั้นโคนนทิอยู่ระหว่างทางเดินเข้าปราสาทนั่น ย่อมแสดงว่าปราสาทแห่งนั้นๆ สร้างอุทิศถวายแก่พระศิวะนั้นเอง พระศิวะสามารถกำหนดโชคชะตามนุษย์ด้วยการร่ายรำอ่อนช้อย มนุษย์โลกจะอยู่เย็นเป็นสุข การร่ายรำนี้เรียกว่า ศิวะนาฏราช เป็นการแสดงพลังที่พระองค์กระทำต่อจักรวาลห้าประการคือ การสร้าง การดูแลรักษา การทำลาย การปิดบัง และการอนุเคราะห์ ชายาของพระศิวะมี 2 บุ คลิคในร่างเดียวกันคือ พระนางปารพดี หรือพระนางอุมาเทวี ในกาลต่อมาและเจ้าแม่กาลีหรือทุรคาซึ่งเกิดจากการที่บรรดาเทพมาช่วยกันชุบ ขึ้นเพื่อปราบอสูร มีโอรสของพระนางอุมาเทวีคือ พระขันธกุมาร เป็นเทพแห่งสงคราม และ พระพิฆเนศวร์ โอรสของนางทุรคาใรเศียรเป็นช้างเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ

                ราวพ.ศ700 บริเวณอุษาคเนย์ ชนชั้นนำของจามปา ที่น่าจะเป็นชาวอินเดียจากอินโดเนเซีย มาตั้งหลักแหล่งบริเวณประเทศเวียตนามกลางปัจจุบัน  นำหลักความเชื่อพราหมณ์ ไศวนิกาย (นับถือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุด) มาใช้เป็นหลักการสำคัญสำหรับการปกครองอาณาจักร อันส่งผลต่อโครงสร้างอำนาจทางการเมือง จารีต ประเพณี ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ ต่อมาได้นำลัทธิความเชื่อพราหมณ์นิกายอื่นๆที่นับถือ พระพรหม และพระวิษณุ เป็นเทพสูงสุด เข้ามาปรับใช้เช่นกัน ส่วนพุทธมหายานนั้นคงเข้ามาในยุคท้ายๆของอาณาจักรจามปา รูปแบบการปกครอง – ภายใต้หลักความเชื่อแบบพราหมณ์ทุกๆนิกาย เช่น ไศวนิกาย (นับถือพระอิศวรเป็นใหญ่) หรือไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่) หรือแม้แต่พุทธมหายาน ล้วนแต่มีสาระสำคัญที่ให้สิทธิพิเศษต่อชนชั้นนำที่เป็นชนกลุ่มน้อยของสังคม (พราหมณ์ และกษัตริย์) เสียทั้งสิ้น หากว่าศาสนาพราหมณ์มีวรรณคดี บทสวด และพิธีกรรม ที่มีความลุ่มลึก นุ่มนวล และสร้างจินตนาการกับผู้คนให้เชื่อถือได้ ดังนั้นรูปแบบการปกครองแบบเทวราชา (God King) จึงใช้ได้ผลตราบเท่าที่ระบบโครงสร้างอำนาจทางการเมือง อันมี กษัตริย์ เสนา อำมาตย์ และทหาร ยังสามารถบังคับชนชั้นล่างของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ วงศ์วรรมัน – อารยธรรมของจามล้วนเป็นผลมาจากลัทธิความเชื่อของพราหมณ์เป็นด้านหลัก น่าเชื่อว่าชนชั้นปกครองของจามเป็นพ่อค้านักเดินเรือแสวงโชคจากชมพูทวีปเช่นเดียวกับอาณาจักรฟูนัน – เจนละ – ขอม ซึ่งพ่อค้าเหล่านี้นำภูมิปัญญาที่เหนือกว่ามาร่วมมือกับชนชั้นนำของชาวพื้นเมืองซาหินห์ก่อตั้งอาณาจักรจามปา ภายใต้หลักการเทวราชา (God King) ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรจามปา ประกอบด้วย 14 ราชวงศ์ (เอกสารบางแห่งระบุว่ามี 12 ราชวงศ์) และมีกษัตริย์ปกครองอยู่ราว 78 พระองค์ ซึ่งกษัตริย์จามทุกๆพระองค์มีคำว่า “วรรมัน” ปรากฎอยู่ในพระนาม นั่นหมายความว่า “ราชวงศ์วรรมัน” ปกครองอาณาจักรจามปามากว่าหนึ่งพันปี อาณาจักรจามปามีอาณาเขตที่รายล้อมด้วยรัฐคู่ปรับทางการเมืองที่เข้มแข็งอย่างขอมและไดเวียด หากว่าสามารถประคับประคองให้อาณาจักรมีอายุยืนนานกว่า 1400 ปี แสดงว่าต้องมีจุดแข็งที่ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน จุดแข็งอย่างแรกคือลัทธิความเชื่อแบบพราหมณ์ อันนำมาซึ่งรูปแบบการปกครองแบบเทวราช ที่รวมศูนย์อำนาจเอาไว้ที่ชนชั้นปกครองเพียงกลุ่มเดียว ตราบใดที่โครงสร้างอำนาจทางารเมืองยังเหนียวแน่นและไม่เกิดการแตกแยกจากภายในเสียก่อน ระบอบการปกครองนี้สามารถสืบทอดอำนาจกันไปได้ระยะยาว จุดแข็งประการที่สอง คงเป็นความสามารถพิเศษของชาวจามที่เป็นนักรบและเชี่ยวชาญในการเดินเรือ ซึ่งครั้งหนึ่งสามารถยกทัพมายึดครองอาณาจักรขอมเอาไว้นานเกือบสี่ปี จุดแข็งประการที่สาม น่าจะเป็นทำเลที่ตั้งของอาณาจักรจามปาที่มีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวและอยู่บนเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ทำให้มีการติดต่อค้าขายกับ จีน อินเดีย และรัฐอื่นได้สะดวก อันส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของจามปามีความเข้มแข็ง จุดอ่อนของจามปา ประการแรกน่าจะเป็นทำเลที่ตั้งของอาณาจักรที่มีพื้นที่เพาะปลูกจำกัด และต้องเผชิญกับพายุขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอยู่เป็นระยะๆ ประการที่สอง คือ จำนวนชนชั้นไพร่ทาสที่มีค่อนข้างน้อย ซึ่งชนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นกำลังการผลิตที่สำคัญสำหรับการสร้างความเข้มแข็งให้กับอาณาจักร ทำให้จามปาเป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็ก เมือ่เทียบกับจักรวรรดิขแมร์ ประการที่สาม เป็นจุดอ่อนของระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ “ลัทธิเทวราช” พอเกิดความแตกแยกภายในที่ไม่สามารถรอมชอมกันได้ มักส่งผลให้อาณาจักรเกิดความอ่อนแอ อันเป็นโอกาสให้รัฐคู่แข่ง (ไดเวียด) เข้ามาโจมตี จนล่มสลายในที่สุด และทำให้พระศิวะเทพต้องร้องไห้ไม่สามารถร่ายรำบนดินแดนจามปาต่อไปดังปรัชญา เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ของสรรพสิ่ง.




Create Date : 21 กรกฎาคม 2555
Last Update : 31 ตุลาคม 2555 17:45:54 น.
Counter : 8085 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog