ธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ และ ธรรมชาติแห่งจิตของมนุษย์

ภูเขา ปิกจู ปิกจูได้รับการเคารพบูชา จากชาวอินคามากที่สุดเนื่องจากได้ให้กำเนิดธารน้ำสำหรับพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่เช่นเดียวกันกับชาวอินเดีย นับถือภูเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ด้านการเกษตรแก่ชาวอินเดีย

ธรรมชาติของมนุษย์นั้นลึกล้ำยากแก่ความเข้าใจ

อานุภาพแห่งรักมักชักพาให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ดีสุดฤทธิ์หรือไม่ดีสุดเดช

อานุภาพแห่งความเกลียดชัง เป็นด้านมืดของมนุษย์จึงมักเกิดสงคราม การปะทะระหว่างความดี และความชั่ว ในทุกยุคสมัยมาจนกระทั่งปัจจุบันแม้จะเป็นยุคคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย และแม้ว่ามนุษย์สามารถไปเยือนดวงจันทร์มาแล้ว


ธรรมชาติแห่งจิต

อัตตา - การเกิดขึ้นแห่ง อัตตานั้นมาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมนำมาซึ่งอันตรายซึ่งร้ายยิ่งกว่าอันตรายที่ศัตรูใจอำมหิตจะพึงกระทำได้ จิตที่ตั้งไว้ถูกจะนำมาซึ่งประโยชน์มาก

การตั้งจิตไว้ให้ถูกจึงเป็นรากฐานแห่งการดับ อัตตาตลอดเวลาที่มีการตั้งจิตไว้ถูก ความดับของตัวเราก็มีอยู่เพียงนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้ใสเป็นประภัสสรแต่ทว่าเศร้าหมองเพราะเกิดกิเลสที่เป็นอาคันตุกะจรมาเป็นคราวๆ

วัฎฏสงสาร ตัณหาจะเกิดขึ้นมาได้เพราะมีเวทนา กล่าวคือความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ ฉะนั้น  เคล็ดอันสำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมทางลัดก็อยู่ตอนที่เมื่อมีความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจขึ้นมาแล้วอย่ายอมให้มันก่อตัวขึ้นมาเป็นความอยากขึ้นมาได้ ผู้ใดตัดโซ่ ห่วงตอนนี้ขาดจากกันได้ ก็ได้ชื่อว่า เป็นการตัดวงกลม ของวัฎฏสงสาร กล่าวคือ การเวียนว่ายตายเกิดของตัณหาอุปาทานอันเป็นเหตุของความทุกข์ใจโดยตรง

(ธรรมชาติของจิต : ตัวกูของกู, พุทธทาสภิกขุ)

 




Create Date : 25 ตุลาคม 2555
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2555 18:24:13 น.
Counter : 1426 Pageviews.

1 comments
  
ที่จริงยังไม่ได้อ่านตรงนี้ก่อนเม้นท์ในบล็อกล่าสุด

แต่ด้วยความรู้สึกก็ว่าไปแล้วค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 31 ตุลาคม 2555 เวลา:22:09:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2555

 
8
10
11
12
18
22
23
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog