บันทึกประวัติศาสตร์ชุมชนอีสานโบราณ (ตอน2 )

 
               สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงสถาปนาให้เขาพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่เรียกกันว่า กมรเตงชคตศรีศิขเรศวร เพื่อหลอมรวมคนพื้นเมือง ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระบบความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นศูนย์กลางความเชื่อ เป็นศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง มีการอุทิศถวายที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของแด่ปราสาทเขาพระวิหารปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นแหล่งจาริกแสวง บุญของทั้งกษัตริย์ขอมโบราณและกลุ่มคนพื้นเมืองบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเดิมมี ชื่อว่า กุรุเกษตร สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือพื้นที่ อ. กันทรลักษ์ อ. ขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ   

          ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง          

             หลักฐานถึงความเก่าแก่ชุมชนโบราณในภาคอีสาน มีหลักฐานว่าในพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๗ มีการสร้างปราสาทหินขึ้นตามยุคสมัยไว้หลายแห่ง เช่น ปราสาทภูมิโปน ที่ บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ( พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๒) ปราสาทสังข์ศิลปชัย ที่ ต.บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเขาน้อยตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ( พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓)     ปราสาทเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ(พุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑) ปราสาทเมืองต่ำที่จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๖) ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา( พุทธศตวรรษที่ ๑๖ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒) ปราสาทพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ )

 อ่านเพิ่มเติม //www.teak-teca.com/wp-content/uploads/2012/07/PHRA-VIHIAR2012.pdf

 




Create Date : 10 กันยายน 2555
Last Update : 13 กันยายน 2555 14:23:35 น.
Counter : 3446 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog