แม่ไม้สักพันธุ์ดีในประเทศไทย ( Teak Plus Trees)

ไม้สักไทยและแหล่งธรรมชาติ

 

ก่อนตั้งกรมป่าไม้ พ.. 2439 (ป่าไม้สักแหล่งใหญ่อยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนคร 5 เมือง)

 

1.  ป่าไม้สักนครเชียงใหม่มี 5 ป่า ได้แก่ 1) ป่าไม้สักไหลรวมลงแม่น้ำปิง 2) ป่าเมืองยวมและขุนยวม 3) ป่าเมืองปายและแม่ฮ่องสอน 4) ป่าแม่เม้ย 5) ป่าแม่สะเกิม, แม่แยะ, แม่ตาฝั่งและแม่แตะ

 

2.  ป่าไม้สักนครลำพูน

 

3.  ป่าไม้สักนครลำปาง

 

4.  ป่าไม้สักเมืองแพร่

 

5.  ป่าไม้สักนครน่าน

 

 

 

ปี พ.. 2496 ป่าไม้สักทั้งหมดทั่วทั้งราชอาณาจักร แบ่งออกเป็น 40 โครงการ (กำหนดให้ทำไม้ 30 ปี และแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30 แปลง) แบ่งตามลุ่มน้ำต่างๆ ดังนี้

 

1.  ลุ่มน้ำแซลวิน                 มีป่าโครงการ            4                 ป่าโครงการ

 

2.  ลุ่มน้ำโขง                     ,,                           2                          ,,

 

3.  ลุ่มน้ำปิง                       ,,                           12                         ,,

 

4.  ลุ่มน้ำวัง                       ,,                           5                          ,,

 

5.  ลุ่มน้ำยม                       ,,                           10                         ,,

 

6.  ลุ่มน้ำน่าน                     ,,                           6                          ,,

 

7.  ลุ่มน้ำแม่กลอง               ,,                           1                          ,,

 

รวม 40 ป่าโครงการ (พื้นที่ประมาณ 38 ล้านไร่)

 

ปี 2506 แบ่งพื้นที่ป่าไม้สักทั่วประเทศ 35 ล้านไร่ เป็นโครงการ 40 หน่วย ป่าโครงการทั้ง 40 หน่วย มีปริมาณไม้สักโตวัดรอบตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 21.8 ล้านตัน จำแนกเป็นป่าไม้สักกลุ่มน้ำดังนี้

 

1.  ป่าสักลุ่มน้ำสาละวินมีประมาณ 3.6 ล้านตัน

 

2.  ป่าสักลุ่มแม่น้ำโขงมีประมาณ   1.4 ล้านตัน

 

3.  ป่าสักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา           16.8 ล้านตัน

 

มูลเหตุที่ป่าไม้สักธรรมชาติลดน้อยถอยลงทั้งเนื้อที่ป่าและปริมาณต้นไม้ในป่า เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้สักมักมีดินที่อุดมสมบูรณ์ดี จึงถูกบุกรุกครอบครองเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัย ในอดีตเมื่อ พ.ศ 2439 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้สักรวม 45 ล้านไร่

super_teak_28_years_old.JPG

กรณีศึกษาการใช้ไม้สักสายพันธุ์ดี

 

Super Teak หรือ ไม้สักสายพันธุ์ดี สำหรับโครงการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจในด้านป่าไม้ ควรจะมีคุณลักษณะของไม้ป่าหรือพันธุ์ที่คัดเลือก เพื่อที่จะนำมาขยายพันธุ์ในโครงการปลกสร้างสวนป่านั้น จะต้องมีคุณลักษณะพิเศษ (Superior tree) เหนือกว่าไม้ป่าเดียวกัน ดังต่อไปนี้ คือ

 

 

1)   ความเหนือกว่า (Superior) ในด้านต่อไปนี้

 

·         ความเหนือกว่าในด้านอัตราการเจริญเติบโตในด้านต่างๆ เช่น

 

-                    ความสูง (height-top and/or commercial height)

 

-                    เส้นผ่าศูนย์กลาง (diameter)

 

-                    ปริมาตรไม้ (volume production)

 

·         ความเหนือกว่าในด้านลำต้นหรือคุณภาพของลำต้น

 

-                    ความตรงเปลา (straight)

 

-                    ตำหนิมีน้อย (no major defect)

 

-                    ความกลมและความเรียว (stem cylindrical or low taper)

 

-                    ความยาวตรงและมีกิ่งที่เล็กหรือมีการลิดกิ่งเอง (clear stem bole or small branch size or high pruning ability)

 

-                    อัตราส่วนการทำสินค้าได้สูง( Comercial wood )

·         ความเหนือกว่าในด้านรูปทรงของเรือนยอด (Superior in Crown Form)

 

-                    เรือนยอดแคบ (narrow crown)

 

-                    ลักษณะแข็งแรง (healthy)

 

·         ความเหนือกว่าเกี่ยวกับเนื้อไม้ (Superior in Wood Properties)

 

-                    สีและเสี้ยนไม้ดี (color and texture)

 

-                    ความหนาแน่นไม้สูง (high density)

 

-                    เส้นใยไฟเบอร์ดี (fiber properties)

 

 

2)   ความเหนือกว่าในเชิงเศรษฐกิจและการลงทุนในด้านต่อไปนี้

 

·         มีมูลค่าสูงในทางเศรษฐกิจ

 

·         มีความง่ายต่อการประเมินมูลค่า

·         สามารถเพิ่มมูลค่าในตัวเองได้สูง

 

·         มีคุณลักษณะดีมากในด้านระบบนิเวศน์

 

แม่ไม้สักพันธุดีที่สุดในโลกกำลังทะยอยสูญหายไปจากประเทศไทย เนื่องจากขาดงบประมาณและองค์กรเฉพาะไม้สักรองรับ ประเทศไทยมีเครื่องมือชนิดเดียวในการปกป้องรักษาป่าไม้คือการใช้กฎหมายป่าไม้ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่ใด้ผล กรณีตัวอย่างไม้ยางพาราพันธุ์ดีที่ปลูกขยายพันธุ์กันขณะนี้พบว่ามีสถาบันและองค์กรรองรับไม่น้อยกว่า 4 หน่วยงาน  น่าสงสารทรัพยากรป่าไม้ประเทศไทยจัง นอกจากป่าธรรมชาติจะหมดแล้ว แม่ไม้สายพันธุ์ดีเกือบทุกชนิดที่เป็นพันธุ์ดั่งเดิมก็ทะยอยหมดไปเรื่อยๆ ล่าสุดก็คือการลักลอบตัดไม้พะยูงพันธุ์ดีและไม้กฤษณาพันธุ์ดี ฯล.




Create Date : 02 กันยายน 2555
Last Update : 2 กันยายน 2555 20:42:02 น.
Counter : 2258 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
7
14
15
22
24
29
30
 
 
All Blog