All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 

*** Train to Busan *** ปาก

*** Train to Busan ***






Train to Busan เล่าถึงวิกฤตการณ์ประหลาดในเกาหลีใต้เมื่อผู้คนติดโรคระบาดผ่านการกัดของผู้ติดเชื้อ โดยหนังถ่ายทอดเรื่องราวผ่านคู่พ่อลูกที่กำลังเดินทางจาก Seoul ไป Busan ด้วยรถไฟความเร็วสูง

ซึ่งการเดินทางครั้งนี้เป็นเหมือนการเดินทางเพื่อสำรวจเรื่องราวของมนุษย์ในสังคมทุนนิยม



เช่นเดียวกับหนังตระกูลเดียวกัน ที่ว่าด้วยการเอาชีวิตรอดของมนุษย์กลุ่มหนึ่ง จากการคุกคามของผู้ติดเชื้อทีมีลักษณะอาการคล้าย Zombie (ซึ่งจะขอเรียกว่า Zombie เลยแล้วกัน)


Zombie เหล่านี้ถูกใช้เป็นตัวสร้างสถานการณ์ให้มนุษย์เผยสัญชาตญาณออกมา ขณะเดียวกันตัวมันเองก็ทำหน้าที่สะท้อนประเด็นบางอย่างตามที่หนังต้องการบอกเล่า



และประเด็นของ Train to Busan อยู่ที่ว่า "ทุนนิยมทำให้มนุษย์เป็นอย่างไร"







ตัวเอกของเรื่อง Seok-woo (Gong Yoo) มีอาชีพเป็นผู้จัดการกองทุน ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย "สัญชาตญาณการเอาตัวรอด"



จากเหตุการณ์เล็กน้อยในตอนต้นเรื่องเราจะพบว่า Seok-woo พยายาม “เอาตัวรอด” ด้วยการถอนการลงทุนจากบริษัทแห่งหนึ่งที่กำลังมีปัญหาออกไป ซึ่งแน่นอนว่ามันย่อมมีผลกระทบกับลูกค้าของเขาและบริษัทแห่งนั้น

แต่ไม่ใช่แค่เรื่องงานที่เขาทอดทิ้งผู้อื่นเพื่อความอยู่รอด โดยไม่รู้ตัว Seok-woo ทอดทิ้ง Su-an (Kim Su-an) ลูกสาววัยประถม แม้ว่าพวกเขาจะยังคงอาศัยอยู่ด้วยกันก็ตาม



เราจะพบว่า Seok-woo สนใจแต่ตัวเอง เขาจำวันเกิดลูกไม่ได้ด้วยซ้ำ แถมของขวัญที่ซื้อมาก็ดันซ้ำซ้อนกับที่เคยซื้อมาเมื่อครั้งก่อนหน้า


ดังนั้นเพื่อ “เอาตัวรอด” จากความรู้สึกผิดต่อลูกสาว Seok-woo จำใจพาเธอไปพบแม่ที่ Busan โดยรถไฟ ตามที่เธอต้องการ



จากเนื้อเรื่องเรายังพบว่าการลงทุนของ Seok-woo นี่เอง ที่มีส่วนในการสร้างบรรดา Zombie ขึ้นมา ดังนั้นเราจึงอนุมานได้ว่า



ทุนนิยมนี่เองที่เป็นผู้สร้าง Zombie เหล่านี้ขึ้นมา






ทีนี้หากลองพิจารณาถึงลักษณะของ Zombie ในหนังซึ่งเป็นผลผลิตของระบบทุนนิยม เราก็จะพบว่าทุนนิยมที่หนังให้นิยามนั้นเป็นอย่างไร



1. Zombie แพร่กระจายเชื้อไปอย่างรวดเร็วและง่ายดายผ่านการกัดด้วยปาก

[ทุนนิยมแพร่ไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากลัทธิบริโภคนิยม (ปากคือสัญลักษณ์ของการบริโภค)]



2. Zombie มีนิสัยไล่กัดอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

[ทุนนิยมสร้างความโลภในการบริโภคที่ไม่รู้จักหยุด]



3. Zombie ทุกตัวมีเป้าหมายเดียวกันคือแพร่เชื้อไปที่มนุษย์ แต่ทั้งที่มีเป้าหมายร่วมกัน เราไม่เคยเห็นพวกมันร่วมมือกัน

[ทุนนิยมเปิดโอกาสให้แข่งขันกันอย่างเสรี ส่วนใหญ่เมื่อมีเป้าหมายเดียวกัน จะไม่มีการร่วมมือกัน]



4. เมื่อปริมาณ Zombie เพิ่มมากขึ้น มนุษย์ก็จะน้อยลง Zombie ต้องเบียดเสียดแย่งกันเองจนล้มไม่เป็นท่าอยู่บ่อยครั้ง

[เมื่อความต้องการมากขึ้น ทรัพยากรก็จะน้อยลง สุดท้ายก็แย่งกันเองจนส่งผลเสียในภาพรวม]



5. เมื่อกลายเป็น Zombie จะจำคนรู้จักไม่ได้ และพร้อมที่จะเข้าจู่โจมเพื่อแพร่เชื้อได้ทุกเมื่อ

[เมื่อถูกครอบงำโดยทุนนิยม เราไม่สนว่าใครเป็นมิตร สนแค่ว่าจะใช้ประโยชน์จากพวกเขาเพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร]







จากลักษณะข้างต้น 5 ข้อ Zombie คือนักบริโภคที่เห็นแต่เป้าหมายและความต้องการของตน โดยไม่สนใจผู้อื่น

ส่วนลักษณะของมนุษย์จะอยู่ในทางตรงกันข้าม ซึ่งหนังแสดงให้เห็นถึงการช่วยเหลือและร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของตัวเองหรือกลุ่ม ถึงระดับที่บางคนยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อกลุ่มได้





วกกลับมาที่เนื้อเรื่องอีกครั้ง ในช่วงแรก Seok-woo พยายามสอนลูกสาวให้ “เอาตัวรอด” ด้วยการ “เห็นแก่ตัว”

แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป Seok-woo เริ่มเรียนรู้ว่า “การเห็นแก่ตัว” คงไม่ช่วยให้รอดได้อีกต่อไป
หนำซ้ำหากเห็นแก่ตัวไม่ยอมช่วยผู้อื่นแล้ว ยิ่งเป็นการสร้าง Zombie ให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย



สุดท้าย Seok-woo ก็เข้าใจวิธีเอาตัวรอดที่ง่ายและไม่ซับซ้อน นั่นก็คือ



ถ้ายังไม่อยากกลายเป็น Zombie ก็ควรทำตัวเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ทำตัวเป็น Zombie






ช่วงท้ายหนังแยกกลุ่มตัวละครเป็น 2 กลุ่มให้เห็นอย่างชัดเจน โดยกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่เห็นแก่ตัว กับอีกกลุ่มคือกลุ่มที่คอยช่วยเหลือผู้อื่น และข้อสรุปของหนังคือ



- กลุ่มที่เห็นแก่ตัวต้องพ่ายแพ้และกลายเป็น Zombie ไปในที่สุด

- กลุ่มที่ไม่เห็นแก่ตัว แม้จะไม่รอดพ้นจาก Zombie ทุกคน แต่การตายของพวกเขาบางคน ช่วยให้กลุ่มยังคงอยู่รอดได้





หนังย้ำประเด็นในฉากสุดท้ายในอุโมงค์เมื่อ Su-an ที่กำลังจะถูกยิงโดยทหารที่ไม่แน่ใจว่าเธอเป็นมนุษย์หรือ Zombie

แต่เมื่อเธอร้องเพลงขึ้นมาเธอก็รอดชีวิต เพราะเธอได้แสดงลักษณะความเป็นมนุษย์ที่ Zombie ทำไม่ได้ให้ทหารคนนั้นได้รับรู้



สำหรับ Zombie ปากคือสัญลักษณ์ของการบริโภคโดยไม่รู้จักพอในระบบทุนนิยม

สำหรับมนุษย์ปากไม่ได้มีไว้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่มันมีไว้เปล่งเสียงเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น






เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในหนัง กับระยะทางประมาณ 370 km จาก Seoul ถึง Busan ถือเป็นความบันเทิงในแบบที่หนังระทึกขวัญชั้นดีควรจะเป็น



Train to Busan ทำได้ดีในการใช้ตัวละครเป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดโยงผู้ชมเข้ากับเนื้อเรื่อง และนี่เองที่ทำให้อารมณ์ร่วมและความระทึกขวัญเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ตัวละครสามารถดึงผู้ชมให้มาเป็น “พวกเดียวกัน” ได้แล้ว ผู้ชมก็เอาใจช่วยตัวละครที่เป็น “พวกเดียวกัน” อย่างเต็มที่


แม้ความคมคายในการบอกเล่าประเด็นจะยังน้อยไปนิด แต่การเดินทางครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความหมายของมนุษย์และ Zombie ในฐานะผลผลิตของทุนนิยม




8 / 10 ครับ




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2559
2 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2559 23:01:00 น.
Counter : 4804 Pageviews.

 

กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/35521119

 

โดย: navagan 27 สิงหาคม 2559 11:14:40 น.  

 

สวัสดีตอนเช้า แวะมาทักทายครับ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3392476 4 กันยายน 2559 5:46:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.