All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 ธันวาคม 2556
 
All Blogs
 
*** American Hustle *** เห็นในสิ่งที่เชื่อ

*** American Hustle ***






American Hustle ดัดแปลงมาจากเรื่องจริงที่ถูกเรียกว่า ABSCAM ในช่วงยุค 1970 ที่มีการจับกุมนักการเมืองคอรัปชั่นหลายราย จากการช่วยเหลือของคู่หูนักต้มตุ๋นมืออาชีพ

หนังเล่าเรื่องของ Irving (Christian Bale) และ Sydney (Amy Adams) สองคู่รักนักต้มตุ๋นที่ถูก Richie (Bradley Cooper) เจ้าหน้าที่ FBI ยื่นข้อเสนอให้ช่วยจับนักการเมืองคอรัปชั่นเพื่อแลกกับอิสรภาพของทั้งคู่ โดยเหยื่อล่อสำคัญคือ Carmine (Jeremy Renner) นายกเทศมนตรีผู้ทะเยอทะยาน


(จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญครับ)







American Hustle นำหลักพื้นฐานของการต้มตุ๋นนั่นก็คือ “การสร้างความมั่นใจให้เหยื่อ” ซึ่งเมื่อเหยื่อมั่นใจแล้ว เหยื่อก็จะ “เห็นในสิ่งที่เชื่อ” มาใช้เป็นประเด็นหลักของหนัง



หนังย้ำประเด็นนี้ในฉากที่ Irving อธิบายให้ Richie ฟังว่า ภาพเขียนบนฝาผนังในพิพิธภัณฑ์ที่กำลังดูกันอยู่นั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่ภาพของจริง แต่เป็นภาพเลียนแบบที่ทำได้เหมือน แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นของจริง ก็เพราะผู้ชมเชื่อว่ามันเป็นภาพจริง



ขณะที่เรื่องเล่าของ Stoddard (Louise C.K.) เจ้าหน้าที่ FBI หัวหน้าของ Richie ที่ว่าด้วย “การไปตกปลากับครอบครัวในทะเลสาบที่เป็นน้ำแข็ง” ซึ่งเขาพยายามจะเล่าให้ Richie ฟังหลายครั้ง แต่ทุกครั้งยังไม่ทันเล่าจบ Richie ก็พยายามสรุปประเด็นเองเสมอ จนในที่สุด Richie ก็ไม่รู้ว่าเรื่องราวที่ Stoddard ต้องการเล่านั้นแท้จริงเป็นอย่างไร


นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวที่ถูกใช้เน้นย้ำประเด็นที่ว่า เราเลือกที่จะเห็น (หรือเข้าใจ) ในสิ่งที่เราต้องการเชื่อ







อย่างที่เสียงบรรยายของตัวละครได้บอกเอาไว้ “บางครั้งเราก็หลอกได้แม้กระทั่งตัวเอง” ซึ่งเราจะพบเห็นประเด็นนี้ได้ในตัวละครหลักทั้งสาม ซึ่งน่าสนใจว่า การที่พวกเขาหลอกตัวเองนั้นเป็นเพราะแท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้ชื่นชอบตัวเองในปัจจุบันมากนัก จึงพยายามเปลี่ยนแปลงเป็นคนอื่น



- Irving คือชายหัวล้าน ที่พยายามปกปิดมันเอาไว้ด้วยผมปลอม แม้ว่าถ้าเราจ้องมองมันสักหน่อย ก็จะพบว่านี่คือวิกผม แต่ตามหลักการของการต้มตุ๋นที่ว่า “หากทำให้เหยื่อมั่นใจ เหยื่อก็จะเห็นในสิ่งที่เชื่อ”

นั่นหมายความว่า Irving หลอกตัวเองจนเชื่อว่าตัวเองดูดีทุกครั้งเมื่อใช้วิกผม



- Sydney คือผู้หญิงธรรมดาที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ชีวิตมาตลอด เธอพยายามสร้างตัวตนว่าเป็นหญิงชาวอังกฤษจากสำเนียงอังกฤษที่เธอใช้ แม้เธอจะบอกว่าทำไปเพื่อความอยู่รอด แต่แท้จริงมันคืออาการไม่ชอบตัวเอง จนต้องเปลี่ยนแปลงเป็นบุคคลอื่น ตามหลักการของการต้มตุ๋นที่ว่า “หากทำให้เหยื่อมั่นใจ เขาก็จะเห็นในสิ่งที่เชื่อ”

นั่นทำให้ Sydney หลอกตัวเองว่าตัวเองจะมีความมั่นใจเมื่อได้เป็นชาวอังกฤษผู้สูงศักดิ์และมีรสนิยม







- Richie คือ เจ้าหน้าที่ FBI ที่ยังอาศัยอยู่กับแม่ที่คอยชี้นำและออกคำสั่งกับเขาอยู่เสมอ แต่เมื่ออยู่นอกบ้าน เขาพยายามสร้างภาพความเป็นผู้นำ เพื่อลบปมด้อยจากที่บ้าน เมื่อเข้ามามีบทบาทในภารกิจนี้ เขาพยายามหลอกตัวเองว่าเขาคือผู้คุมเกม ซึ่งตามหลักการของการต้มตุ๋นที่ว่า “หากทำให้เหยื่อมั่นใจ เขาก็จะเห็นในสิ่งที่เชื่อ”

นั่นทำให้ Richie หลอกตัวเองจนคิดว่าตัวเองสามารถคุมเกมทั้งหมดได้ ทั้งที่จริงแล้วนอกจากจะหลอกตัวเองซะสนิท เขายังถูกตุ๋นจนเปื่อยจาก Irving และ Sydney อีกด้วย



- ผิดกับ Rosalyn (Jennifer Lawrence) เมียเก่าของ Irving นี่คือตัวละครที่แม้จะดูไม่ฉลาดนัก และเป็นตัวปัญหาให้กับทุกคน แต่อย่างน้อย Rosalyn คือคนที่ไม่พยายามหลอกตัวเอง เธอต้องการอย่างไรก็จะเอาอย่างนั้น

ตัวละครนี้เหมือนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นขั้วตรงข้ามกับทั้ง 3 ตัวละครหลัก







หนังยังมีแง่มุมความรักที่ถูกนำเสนอได้อย่างกลมกล่อม โดยเฉพาะในส่วนความสัมพันธ์สามเส้าของ Irving, Sydney และ Richie


Irving และ Sydney นั้นเป็นเหมือนคู่แท้เพราะทั้งคู่ต่างก็เห็นและรับได้กับตัวตนที่แท้จริงของกันและกัน ซึ่งต่างจากกรณีของ Richie ที่เขาชอบ Sydney ในฐานะสาวอังกฤษจอมมั่น แต่เมื่อเธอเผยตัวตนที่แท้จริงกลับรับไม่ได้

จะไปโทษ Richie ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะทั้ง Sydney และ Irving ตั้งใจหลอกเขามาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว



ประเด็นนี้ยังน่าสนใจ เพราะหากพิจารณาว่าในฐานะของเหยื่อ Richie ก็ไม่ต่างจาก Carmine ที่ถูกหลอกใช้เหมือนกัน ทั้งคู่ไม่ได้มีเจตนาทำผิด แต่ด้วยความทะเยอทะยานที่จะทำให้ฝันของตัวเองเป็นจริง รวมถึงทั้งคู่ยังมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองทำคือการกระทำที่ถูกต้อง ทั้งคู่จึงถูกล่อลวงเข้าสู่ทางที่ผิด และติดกับในท้ายที่สุด







ซึ่งในแง่มุมที่หนังนำเสนอผ่าน 2 ตัวละครนี้ ทำให้ฉุกคิดได้ว่า เราควรจะ “เห็นในสิ่งที่เชื่อ” หรือ “เชื่อในสิ่งที่เห็น” หรือเราควรจะมองให้กว้างและพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆมากขึ้น



สัญลักษณ์ที่น่าสนใจก็คือ เรื่องราวที่ทั้งหักหลังตลบแตลงและย้อนแย้งในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝ่ายรักษาความถูกต้องกลับใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องในการจับคนผิด หรือนักการเมืองคอรัปชั่นก็เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถมองอะไรที่เป็นขาว-ดำได้อย่างง่ายดาย



แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการตัดสิน หลักฐานที่ถูกนำมาใช้ก็คือเทปบันทึกภาพการรับเงินสินบนที่เป็นขาว-ดำ



นี่เปรียบเสมือนการมองปัญหาที่มีความซับซ้อนหลากหลายเฉดสี ออกมาเป็นแค่ “ถูกกับผิด” เหมือนโลกที่ถูกแบ่งชัดเจนว่ามีแค่ “ขาวกับดำ” เท่านั้น







ถึงแม้ว่าหน้าหนังจะมาในแบบหนังแนวนักต้มตุ๋นฉูดฉาดที่เน้นไปที่ภารกิจ แต่ American Hustle คือหนังดราม่าความสัมพันธ์ ที่ใช้หลักการสำคัญของการต้มตุ๋น มาเป็น theme หลักในการขับเน้นประเด็นของเรื่องได้อย่างลุ่มลึกและมีชั้นเชิงมากกว่า

ซึ่งนี่ทำให้นึกไปถึง The Prestige หนังมายากล ที่ใช้หลักการของ “กลนก” มาเป็นพื้นฐานของโครงเรื่อง และขับเน้นประเด็นที่ต้องการนำเสนอ
(แถมยังมี Christian Bale ออกมาต้มผู้ชมเหมือนๆกัน )



Christian Bale มอบการแสดงที่ยอดเยี่ยมในฐานะตัวเดินเรื่องหลัก และหัวใจของหนัง

แต่ที่เยี่ยมยิ่งกว่าคือการแสดงของ Amy Adams ซึ่งก็ต้องชมไปที่บทหนังที่เปิดโอกาสให้ Adams ได้แสดงความรู้สึกอันซับซ้อน ทั้งเจ้าเล่ห์ มีเสน่ห์ อ่อนไหว และเข้มแข็ง







Jennifer Lawrence ขโมยซีนทุกครั้งที่ปรากฏบนจอ แม้บางครั้งตัวละครของเธอจะดูเหมือนหลุดมาจากคนละโลก แต่ก็เข้าใจได้ว่าเป็นความต้องการของหนัง ที่จะให้ตัวละครนี้เป็นความต่างในโลกแห่งการหลอกลวงนี้

ขณะที่ Jeremy Renner และ Bradley Cooper ก็มอบการแสดงที่ดีในบทสมทบ



บทหนังของ Eric Singer และ David O. Russell มีชั้นเชิงและหนักแน่นในประเด็นที่ต้องการนำเสนอ ขณะที่งานกำกับของ Russell ที่เน้นไปที่ตัวละคร คือการมาถูกทาง เพราะความสัมพันธ์ของตัวละครคือหัวใจสำคัญของเรื่องราวนี้


อย่างไรก็ตามการหักมุมหรือการตลบหลังทั้งหลายในหนังไม่ยากต่อการคาดเดานัก เป็นไปได้ว่าหนังไม่ได้ต้องการที่จะเน้นแง่มุมนี้มากนัก แต่คิดว่าถ้าหนังทำได้ดีในส่วนนี้ด้วย หนังคงครบเครื่องมากกว่านี้







American Hustle คือหนึ่งในหนังยอดเยี่ยมประจำปีนี้อย่างไม่ต้องสงสัย


อย่างไรก็ตามเมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว ให้ย้อนระลึกไปถึงประเด็นสำคัญของหนังอีกครั้ง



เพราะบางทีบทความนี้อาจเป็นแค่การ “เห็นในสิ่งที่เชื่อ” ก็เป็นได้





8 / 10







หมายเหตุ: การต้มตุ๋น หรือเรียกว่า Confidence Trick ในภาษาอังกฤษ มีหลักการง่ายๆที่แปลตรงตัวเลยก็คือ “การทำให้เหยื่อมั่นใจ โดยใช้แผนการ” ซึ่งบรรดานักต้มตุ๋นก็จะมีวิธีการในแต่ละแบบที่คอยหลอกให้เหยื่อมั่นใจ ซึ่งเมื่อเหยื่อมั่นใจก็จะยิ่งหลอกง่ายมากขึ้น


พื้นฐานอัน classic ที่สุดและเป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือ “แก๊งตกทอง” [แก๊งตกทอง จะแกล้งทำสร้อยทองของปลอมตกอยู่ใกล้เหยื่อ แล้วทำเป็นว่าพบสร้อยทองพร้อมกัน แล้วเสนอกับเหยื่อว่าเมื่อพบทองพร้อมกันก็ควรเอาแบ่งกัน ขั้นตอนนี้อาจมีสมาชิกแก๊งอีกคนเข้ามาร่วมวงเพื่อสร้างความมั่นใจให้เหยื่อว่านี่คือทองจริง จากนั้นจะสร้างสถานการณ์ว่าตนไม่สะดวกที่จะนำไปขายได้ จึงขอให้เหยื่อจ่ายเงินหรือแลกกับของมีค่าที่เหยื่อรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะเก็บสร้อยทองไว้ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่านี่คือทองปลอมก็โดนแก๊งตกทองฟันกำไรไปแล้ว]



ปล. เพิ่งสังเกตว่าทุกครั้งที่ Irving กำลังโกหก เขาจะใส่แว่น แต่ถ้าเขาพูดจริงเขาจะไม่ใส่แว่น ใครคิดจะไปดูซ้ำช่วยพิสูจน์สมมติฐานข้อนี้ทีครับ


Create Date : 24 ธันวาคม 2556
Last Update : 24 ธันวาคม 2556 23:02:44 น. 8 comments
Counter : 6465 Pageviews.

 
กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/31430335



โดย: navagan วันที่: 27 ธันวาคม 2556 เวลา:11:31:40 น.  

 




สุขสันต์วันเกิดครับ
๙ ทุก ๙ ให้ชีวิต ๙ กระโดด
๙ วิ่งโลด แล่นหวัง สมดั่งหมาย
๙ ผ่านพ้น เขตขั้น อันตราย
๙ ผ่านร้าย กลายดี ที ๙ เดิน
ต้นจินต์ อินระดา


โดย: ต้นกล้า อาราดิน วันที่: 29 ธันวาคม 2556 เวลา:9:15:14 น.  

 
happy birthday นะคะ ใกล้วันปีใหม่แล้วนะคะ ขอให้มีความสุขค่ะ


โดย: cyberlifenlearn วันที่: 29 ธันวาคม 2556 เวลา:13:13:26 น.  

 
ผมชอบมุมมองต่อหนังของคุณมากเลยยครับ
ผมพยายามทั้งเรื่องเพื่อที่จะเข้าใจมัน
แต่ก็ไม่กระจ่างสักที
ต้องหารีวิวอ่านประจำ - -

ผมชอบเนื้อความที่หนังพยายามจะสื่อถึงเราอะครับแต่ ถอดรหัสไม่ได้ประจำ-*-


โดย: Illidanx IP: 49.48.170.137 วันที่: 16 มิถุนายน 2557 เวลา:19:33:50 น.  

 
_____ _____ 6 ______


โดย: Jaclyn IP: 178.158.16.89 วันที่: 19 กันยายน 2564 เวลา:15:13:24 น.  

 
visit website


โดย: Antoine IP: 195.2.67.223 วันที่: 20 มิถุนายน 2565 เวลา:18:34:39 น.  

 
2169


โดย: Chase IP: 195.2.67.223 วันที่: 16 ตุลาคม 2565 เวลา:21:58:05 น.  

 
445


โดย: Kandice IP: 195.2.67.223 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา:13:03:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.