All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
*** Kick-Ass *** Vol. 2: สงครามระหว่าง โลกจริง และ โลกเสมือน

*** Kick-Ass ***






ต่อจากคราวที่แล้วนะครับ (Vol. 1: What is Superhero?) ขอเริ่มเลยแล้วกัน





สงครามระหว่าง โลกจริง และ โลกเสมือน



อย่างที่ได้บอกไปเมื่อครั้งที่แล้วว่า Kick-Ass สะท้อนภาพของโลกในยุคต้นศตวรรษที่ 21 ได้อย่างน่าสนใจ

ซึ่งในยุคนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง Internet ที่เริ่มมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ และคงจะกลายเป็นสื่อกระแสหลักในระดับเดียวกับ “โทรทัศน์” และ “วิทยุ” ภายใน 10 ปีข้างหน้าแน่นอน



สำหรับบทความนี้จะขอพูดถึงบทบาทของ Internet ในฐานะ “โลกเสมือน” ก็แล้วกัน

ในหนัง Internet ถูกหยิบมาเสียดสีอย่างสนุกสนาน แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลัก (และถึงแม้จะไม่ใช่ความตั้งใจของผู้สร้าง แต่มันก็เผยประเด็นออกมาโดยไม่ตั้งใจ เหมือนเราส่องกระจกเพื่อดูความเรียบร้อยของเสื้อผ้า มันก็สะท้อนรสนิยมในการเลือกเสื้อผ้าของเราโดยอัตโนมัติ)


อย่างที่หนังได้แสดงเอาไว้ ในปัจจุบัน Internet สามารถทำให้ใครก็ได้ กลายมาเป็นคนพิเศษ (หรือ Superhero) ได้ในชั่วข้ามคืน ซึ่งมันก็มีประโยชน์มากมายมหาศาล สำหรับผู้มีความสามารถ หรือ มีความตั้งใจดี แต่ไม่มีโอกาส ไม่มีเงินทุน หรือไม่มีป๋าดันมาคอยสนับสนุน

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ Internet ดังที่เราเห็นในหนัง







ใน Kick-Ass เราจะเห็นพฤติกรรมการใช้ Internet ของตัวละคร และสามารถหยิบมาเปรียบเปรยแบบแสบๆคันๆได้ดังนี้



กำหนดให้เราแบ่งโลกเป็นสองโลกก่อน นั่นคือ



"โลกจริง" และ "โลกเสมือน" (Internet)



และ Dave มีตัวตนสองด้าน นั่นคือ



“ตัวตนที่เป็น Dave เด็กวัยรุ่นธรรมดาๆ” และ “ตัวตนที่เป็น Superhero นาม Kick-Ass”





ในโลกจริง Dave รู้สึกเบื่อหน่าย และรู้สึกไร้คุณค่า นั่นทำให้ Dave พยายามเปลี่ยนตัวเองไปเป็น Kick-Ass

จริงอยู่ที่ Kick-Ass โลดแล่นอยู่ในโลกจริง แต่สิ่งที่ขับดัน Kick-Ass ให้โด่งดัง และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งถือเป็นการกำเนิดขึ้นของ Kick-Ass อย่างเป็นทางการ ก็คือ Internet (ผ่านทาง youtube)


ฉะนั้น



Dave = โลกจริง


Kick-Ass = โลกเสมือน






เราจะพบว่าในโลกจริง Dave มีเพื่อนอยู่แค่ 2 คน และในโลกนี้ไม่น่าจะมีคนรู้จักเขาเกิน 100 คน

แต่ใน Internet มีคนรู้จัก Kick-Ass ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 คน เมื่อพิจารณาจากจำนวนเพื่อนใน MySpace และจำนวนผู้เข้าชม Clip ปราบอธรรมของ Kick-Ass ใน youtube



เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเลยที่ Dave จะชอบตนเองในสภาพของ Kick-Ass มากกว่าตัวตนในโลกจริง แม้การเป็น Kick-Ass จะทำให้เขาเจ็บตัว หรือเสี่ยงแค่ไหนก็ตาม เขารับได้ ขอเพียงแค่ให้รู้สึกมีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับในสังคม (ขอโยงไปประเด็นหลักจาก Vol. 1: What is Superhero? นิดหนึ่ง )


โดยทางอ้อม ถือว่า Internet ช่วย “สร้างแรงบันดาลใจ” ในการเป็น Kick-Ass ของเขาต่อไป


โลกใน Internet ยังทำให้ความฝัน(เปียก) ที่จะมี Sex ของเขาเป็นจริงอีกด้วย เพราะภาพโป๊มากมายที่เขาใช้ “สร้างแรงบันดาลใจ” ในการ “ช่วยตัวเอง” ก็มาจาก Internet เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น



Internet = Kick-Ass = การช่วยตัวเอง



ดังนั้นในโลกจริง เลยกลายเป็นขั้วตรงข้าม ดังนี้



โลกจริง = Dave = การมี Sex






ในช่วงแรก Dave พอใจในตัวตนในโลก Internet มากกว่า เพราะในนาม Dave เขาด้อยค่าในสังคม นั่นทำให้เขาพอใจที่จะเป็น Kick-Ass และการที่เขาไม่สามารถมี Sex จริงกับผู้หญิงได้ ทำให้เขาต้องพึ่งพาการช่วยตัวเอง


แต่เมื่อ Dave เริ่มมีความสัมพันธ์กับ Katie ผู้ชมก็จะพบว่าเขาอยากเลิกเป็น Kick-Ass นั่นก็เพราะ ตอนนี้ตัวตนในโลกจริงทำให้เขาพึงพอใจได้มากกว่า



การที่มีคนรักเราหรือรู้จักเราจริง ย่อมมีค่ามากกว่าการมีชื่อเสียงในหมู่คนที่ไม่รู้จักตัวตนแท้จริงของเรา
และแน่นอน Sex จริง ย่อมดีกว่า การช่วยตัวเอง



(อย่าหาว่าผมทะลึ่งนะครับ นักจิตวิทยาถือว่า แรงขับดันทางเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ และมีอิทธิพลต่อชีวิตมากๆ โดยเฉพาะวัยเจริญพันธุ์อย่างวัยรุ่น)







แม้ Dave จะอยากเลิก แต่ก็เพราะ Internet นี่แหล่ะที่ทำให้เขาเลิกเป็น Kick-Ass ไม่ได้
(แม้จะไม่ได้เป็นเพราะ Internet โดยตรง แต่เป็นในแง่ของสัญลักษณ์)



จากหนังเราจะพบว่า Dave ถูก Red Mist/Chris ล่อลวงผ่านทาง Internet (MySpace) ให้ติดกับดักของ Frank ตัวร้ายของเรื่องผู้เป็นพ่อของ Chris และทำให้ Dave ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในนาม kick-Ass



เมื่อนำเรื่องราวมาเปรียบเทียบ จะอธิบายได้ว่า


ขณะที่ Dave เลือกที่จะละทิ้ง โลก Internet ด้วยการเลิกเป็น Kick-Ass
แต่โลก Internet ไม่ยอม และพยายามดึงเขากลับสู่โลก Internet อีกครั้ง ด้วยการให้ Red Mist ลวงเขาให้ติดกับผ่านทาง MySpace


ดังนั้น



ฝ่ายตัวร้าย = โลก Internet



ฉะนั้นการต่อสู้ในตอนสุดท้าย ก็คือ การต่อสู้เพื่อกลับมาเป็น Dave ด้วยการขจัดปมปัญหาที่ Kick-Ass ต้องรับผิดชอบให้เสร็จสิ้น






(หมายเหตุ: แผนภาพและสมการทั้งหลาย เป็นการนำเสนออย่างคร่าวๆ ให้สอดคล้องกับประเด็นเสียดสีในแง่ร้าย ของพฤติกรรมในโลก Internet ของหนัง, ซึ่งส่วนตัวคิดว่าในชีวิตจริงมีความซับซ้อนกว่านี้ เพราะย่อมมีทั้งด้านดี-ด้านร้าย ทั้งในโลกจริง-โลก Internet อีกทั้งสำหรับบางคนแล้วตัวตนใน Internet กับตัวตนจริง ก็ไม่แตกต่างกันเลย เพียงแต่ไม่ใช่ในกรณีของ Dave ที่แตกต่างกันสุดขั้ว)






เอาหล่ะ การต่อสู้ระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน ยังมีนัยสำคัญในกรณีของ Hit-Girl หรือ Mindy อยู่ด้วย แม้จะไม่ได้ถูกเน้นมากเท่ากับตัวละครหลักอย่าง Dave



ในกรณีของ Hit-Girl โลกเสมือนของเธอ ก็คือ โลกอันรุนแรงที่ถอดแบบมาจาก “โลกของการ์ตูน Superhero” ซึ่ง Big Daddy ผู้เป็นพ่อได้สร้างขึ้นมา
(ที่ว่า “ถอดแบบมา” ขอยืนยันด้วยการที่หนังย้ำประเด็นนี้ ผ่านการนำเสนอเป็นการ์ตูนว่า "ความเป็นมาของ Big Daddy และ Hit-Girl นั้น สามารถสร้างเป็นการ์ตูน Superhero เรื่องหนึ่งได้เลย")



ซึ่งท้ายที่สุดทั้ง Dave และ Mindy ก็เอาชนะโลก Internet และกลับมาสู่โลกจริงได้สำเร็จ
(ทั้งคู่ถอดหน้ากากออกบนยอดตึกหลังจากเสร็จศึก พร้อมทั้งแนะนำตัวตนในโลกจริงซึ่งกันและกัน)



แต่หนังก็ยังทิ้งท้ายเอาไว้ที่ ตัวแทนของโลกเสมือนอย่าง Red Mist ยังคงอยู่ และพร้อมที่จะดึง Dave และ Mindy กลับไปอีกครั้ง


และอาจจะไม่ใช่แค่ Red Mist เท่านั้น ผู้ชมทั้งหลายก็คงอยากเห็น Kick-Ass และ Hit-Girl อีกครั้งเช่นกัน ในโลกเสมือน
(โลกในหนัง จัดว่าเป็น “โลกเสมือน” สำหรับผู้ชมเช่นกัน )







Kick-Ass มอบความบันเทิงได้ดีเยี่ยม แม้โดยรวมแล้วอาจจะไม่กลมกล่อมมากนัก


หนังเริ่มต้นอย่างจริงจัง ด้วยอารมณ์ขันเสียดสีและตลกร้าย ก่อนจะพาผู้ชมหลุดไปสู่โลกของการ์ตูน Superhero อย่างเต็มที่ในตอนสุดท้าย


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หนังออกมายอดเยี่ยม ก็คือ “หนังสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ชมได้อย่างเต็มที่”

ลองนึกถึงตอนที่ Hit-Girl บุกเข้าไปช่วย Big Daddy และ Kick-Ass ที่บีบหัวใจผู้ชมให้ลุ้นเต็มที่ก็แล้วกัน
ซึ่งอีกสาเหตุหนึ่งคงเป็นเพราะหนังสร้างความรู้สึกที่ว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้” และ “ความรุนแรงในหนังก็โหดร้ายอย่างสมจริง” ทำให้ผู้ชมคาดเดาชะตากรรมของตัวละครไม่ถูก และรู้สึกว่าทุกคนพร้อมจะตายได้ทุกเมื่อ



อีกทั้งการปูพื้นตัวละครที่แน่นและการใช้ Voice Over (เสียงบรรยาย) ของ Dave ในการเล่าเรื่อง ยิ่งทำให้ผู้ชมใกล้ชิดและผูกพันกับตัวละครได้ง่ายขึ้น เพราะเหมือน Dave กำลังพูดกับผู้ชมโดยตรง







Kick-Ass ยังมีฉาก “ขายสไตล์” ที่สร้างสรรค์ และสวยงาม หลายฉาก อย่างฉาก Big Daddy บุกเดี่ยวฆ่ากลุ่มผู้ร้ายในโกดัง หรือ ฉากที่ Hit-Girl บุกเข้าไปช่วย Big Daddy และ Kick-Ass ที่ถูกจับเป็นตัวประกัน

อย่างไรก็ตามมันยังไม่ยอดเยี่ยมได้เท่ากับผลงานเก่าของ Vaughn อย่าง "ฉากลอบสังหาร" ใน Layer Cake (ซึ่งเป็นฉากที่ชอบมากเป็นการส่วนตัว )



ขณะที่การล้างแค้นในตอนสุดท้ายนั้น หนังก็มอบความสนุกสะใจให้ผู้ชมเต็มที่ หลังจากสร้างอารมณ์ “แค้น” ให้กับผู้ชมอย่างได้ผล


แม้ฉาก Action ในตอนสุดท้ายจะไม่แปลกใหม่ และดูไม่ตื่นเต้นนัก แต่สิ่งที่เข้ามาทดแทนก็คือ อารมณ์ขันแบบกวนๆ และ โทนของหนังที่เหนือจริงเหมือนหลุดเข้าไปในโลกของการ์ตูน Superhero ซึ่งถือว่าแตกต่างจากการนำเสนอก่อนหน้านี้ของหนังโดยสิ้นเชิง นั่นทำให้ภาพโหดๆทั้งหลาย ดูไม่รุนแรงในความรู้สึกมากนัก เมื่อเทียบกับฉากโหดๆที่เกิดกับ Dave ในช่วงแรกๆ



อีกองค์ประกอบที่โดดเด่นมากๆของหนังก็คือ ดนตรีประกอบ



นอกจากนี้ Kick-Ass ยังแสดงความคารวะ การ์ตูน Superhero เรื่องดังทั้งหลาย ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับหนังอีกด้วย







ในส่วนของนักแสดง Aaron Johnson ในบท Dave/Kick-Ass รับผิดชอบได้ดีในการรับหน้าที่ตัวเดินเรื่องหลัก


แต่ที่ขโมย scene และได้ใจผู้ชมไปเต็มๆก็คือบท Hit-Girl ของ Chloe Moretz ส่วน Nicolas Cage ก็ยอดเยี่ยมในบท Big Daddy ที่ดูโรคจิตนิดๆ ส่วนตัวชอบฉากที่พูดเสียงหลงตอนโดนเผามากๆ ทำให้นึกถึงการแสดงที่ล้นๆแบบแปลกๆ แต่ลงตัวในหนังเรื่องเก่าๆของพี่แก


ส่วนที่น่าเสียดายที่สุดก็คือการใช้งาน Mark Strong ในบท Frank D'Amico อย่างไม่คุ้มค่า สาเหตุเพราะตัวละครนี้แบนราบจนเกินไป อีกทั้งรัศมีความเหี้ยม ก็ยังไม่มากพอ ทำให้ Strong ไม่มีโอกาสได้โชว์ฝีมือและโชว์มาดอันเป็นงานถนัดเท่าที่ควร


ขณะที่นักแสดงคนอื่นก็รับผิดชอบบทบาทที่ได้รับได้ดีพอสมควร



ปล. Claudia Schiffer ภรรยาผู้กำกับ แอบโผล่มาเป็นนักแสดงรับเชิญ ในบทนางแบบบนป้ายโฆษณาอีกด้วย







เมื่อเทียบกับผลงานเก่าที่ถูกดัดแปลงเป็นหนังของ Mark Millar อย่าง Wanted ส่วนตัวถือว่า Kick-Ass ลงตัวมากกว่า เพราะสัดส่วนของประเด็นที่หนังต้องการนำเสนอ กับ ฉาก Action ทั้งหลายนั้น ค่อนข้างเหมาะสม

ในขณะที่ Wanted นั้น น่าเสียดายที่หนังเปิดประเด็นน่าสนใจเอาไว้หลายประเด็น แต่ไม่ได้สานต่อลงลึก กลับไปเน้นที่ฉาก Action แทน


อย่างไรก็ตาม จุดร่วมที่เหมือนกันของทั้งสองเรื่อง ก็คือ ทั้งสองเรื่องเล่าเรื่องของตัวละครประเภท “ขี้แพ้” หรือไม่มีบทบาทในสังคม ที่วันหนึ่งต้องกลายมาเป็น “Superhero” หรือ บุคคลสำคัญในสังคม เหมือนๆกัน



ส่วนผู้กำกับ Vaughn ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าทำหนังได้ทุกแนวจริง แต่ที่ชอบที่สุดยังคงเป็น Layer Cake อยู่ดี


ตอนนี้ชื่อ "Matthew Vaughn" กลายเป็นชื่อที่สามารถเชื่อมือและไว้วางใจได้อีกคนไปแล้ว จะขาดก็แค่ผลงานระดับ Masterpiece สักเรื่อง ที่จะส่งให้ชื่อของเขาอยู่ในระดับยอดฝีมือแนวหน้าของวงการ







Kick-Ass เป็นหนัง Superhero ที่โดดเด่นกว่าหนัง Superhero เรื่องอื่นๆ เพราะหนังมีส่วนผสมของความเป็นหนัง “Coming of age” อยู่สูง


นอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง ความบันเทิงแบบหนัง Superhero และ ประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจ



Kick-Ass ยังเปรียบเสมือน บทบันทึกของวัยรุ่นในยุคต้นศตวรรษที่ 21 อีกด้วย เพราะหนังอิงกับสิ่งที่เป็นกระแสของวัยรุ่นยุคนี้พอสมควร





8 / 10 ครับ





Create Date : 27 พฤษภาคม 2553
Last Update : 27 พฤษภาคม 2553 16:32:52 น. 9 comments
Counter : 4744 Pageviews.

 

ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้เลยค่ะ



โดย: renton_renton วันที่: 27 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:26:04 น.  

 
เหมือนคุณเรนตั้นครับ =='


โดย: Seam - C IP: 58.9.194.246 วันที่: 29 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:06:19 น.  

 
โห วิจารณ์วิเคราะห์ได้ลึกซึ้งเหมือนเดิมนะครับ ผิดกับผมที่เขียนถึงเรื่องนี้ด้วยอารมณ์อย่างเดียว 55

ปล. เห็นด้วยตรงที่เค้าใช้ มาร์ค สตรองค์ ไม่คุ้มเลย (ซึ่งก็ถูกใช่ไม่คุ้มอีกทีตอน Robin Hood) อยากให้นักแสดงคนนี้มีบทบาทกับหนังเรื่องอื่นๆในอนาคตจัง


โดย: BdMd IP: 124.120.61.16 วันที่: 30 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:30:17 น.  

 
เป็นหนังที่ผิดคาดมากๆหลังจากเดินออกมาจากโรงเรื่องนึง

ประทับใจฉากที่ฮิทเกิร์ลเข้าไปช่วยนิโคลัสเคจ กับฉากที่

ย้อนอดีตความหลังครอบครัวของเคจ มากๆ

กลายเป็นหนังที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึงของปีนี้ไปแล้ว

ปล. ฉากลอบสังหารในเลเยอร์เค้กคือฉากไหนครับ
(ใช่ที่เอาไรเฟิลไปซุ่มยิงรึเปล่า)


โดย: hormones IP: 124.120.103.85 วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:14:39:12 น.  

 
^
^
^

ฉาก xxxx ใส่ไอ้โม่งไปยิง Jimmy ที่รดน้ำหญ้าในสวนอยู่ น่ะ


แต่ฉากซุ่มยิงนี่กวนตีนมากๆ


โดย: navagan วันที่: 3 มิถุนายน 2553 เวลา:17:11:16 น.  

 
หลังจากอ่าน บทความนี่แล้วเลยไปหา Layer Cake มาดู

ยอมรับเลยว่า ฉาก xxxx ใส่ไอ้โม่งไปยิง Jimmy ที่รดน้ำหญ้าในสวนอยู่ น่ะ... ธรรมดามากๆ ครับ.... ธรรมดาจริงๆ ก็แค่ฉากๆ หนึ่ง ....ทั้งดนตรี ภาพ ยังไม่น่าจดจำเท่าฉาก แผนโรบิน พิทักษ์แบตแมน ใน kick ass 1


โดย: อืม....คาดหวังมากไป IP: 101.51.26.79 วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:11:49:54 น.  

 
แล้วแต่รสนิยมน่ะครับ

มันโดดเด่นในแง่ Style ทั้งการจัดวาง จังหวะดนตรี ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัว


โดย: navagan วันที่: 6 กันยายน 2556 เวลา:0:42:58 น.  

 
ผมเป็นอีกคนนึงครับที่ไปหาดู Layer Cake หลังจากได้อ่านบทวิจารณ์ของคุณ navagan

คิดดูนะครับ ผมเตรียมคิกแอสภาคสองไว้แล้ว แต่ดูภาคแรกจบแทนที่จะดูภาคสองต่อ ดันดู Layer Cake ก่อนเลย ดูแล้วก็มาหาบทวิจารณ์ของคุณ navagan นี่แหละ หาตั้งนานแน่ะกว่าจะเจอ

ตอนที่ดูหนังน่ะ ไม่ได้สนใจตอนไหนเป็นพิเศษ พอกลับมาอ่านบทวิจารณ์อีกรอบถึงได้รู้ว่าคุณชอบตอนไอ้โม่งนี่เอง

ที่คุณ"คาดหวังมากไป"บอกว่าธรรมดาน่ะ ผมว่ามันไม่ธรรมดานะ ผมก็ชอบเหมือนคุณ navagan เลย ที่บอกว่าชอบเหมือนคือ ชอบเหมือนกันเฉยๆ น่ะครับ ไม่ใช่ว่าชอบตรงจุดเดียวกันหรือเหตุผลเดียวกัน

ที่ผมชอบคือ ปกติเวลามือปืนไปยิง ก็จะเข้าไปยิงเลย หรืออาจจะพูดด้วยนิดหน่อยแล้วยิง แต่เรื่องนี้ที่ผมเห็นคืออย่างนี้ครับ พระเอกไม่ได้ฆ่าคนเป็นอาชีพ รู้สึกเลยว่าไม่ได้อยากฆ่าใคร แต่ความจำเป็นมันบังคับให้ทำ รวมทั้งความแค้นที่สุมอยู่ในอกด้วย ตอนที่รอเวลาเหมาะๆ น่ะแกดูลังเลมาก แล้วตอนเข้าไปยิงรู้สึกจะลังเลสุดๆ จนถึงขนาดลดปืนลงมาข้างตัวเลย จากตอนแรกที่จ่ออยู่ที่หัวจิมมี่ ตอนที่ผมดูอยู่คิดว่าคงไม่กล้ายิงแล้วล่ะ สักพักนึงแกคงทำให้ได้ ก็ยกปืนขึ้นมายิงจนได้ ผมก็ว่าเจ๋งนะ คือมันแสดงความรู้สึกในใจของพระเอกออกมาได้อย่างดี

ว่ากันว่าเรื่องนี้ทำให้แกได้เป็นเจมส์บอนด์เลยแหละ

ปล.นอกเรื่องนิด หลังจากเจมส์บอนด์ภาคสกายฟอลล์ออกมาเนี่ย มีคนเป็นห่วงว่าโวลเดอร์มอร์จะได้บงการเจมส์บอนด์ พอมาดู Layer Cake แล้วทำให้ผมรู้แล้วว่าจริงๆ เจมส์บอนด์เป็นคนของดัมเบอร์ดอร์ต่างหาก ฮ่าๆๆ หวังว่าจะมีคนเข้าใจที่ผมพูดนะ


โดย: หนุ่มสาลิกาฟ้าขาว IP: 157.7.52.183 วันที่: 28 กันยายน 2559 เวลา:12:04:57 น.  

 
ตอบคุณหนุ่มสาลิกาฟ้าขาว

ขอบคุณที่เข้ามาคุยกันครับ

จริงๆใน Layer Cake ผมยังชอบฉากอื่นๆอีกหลายฉากเลยครับ ซึ่งหลายฉากที่ว่าก็ทำให้ Daniel Craig ดูเท่ห์มาก

ผมว่าฉากที่เขาเลือก Craig ไปเป็น James Bond ก็ฉากส่องกระจกกินยา กับฉากลองถือปืนเดินแอ๊คท่าจะไปยิงใครในบ้านน่ะครับ

ปล. เข้าใจ ปล. ครับ


โดย: navagan วันที่: 3 ตุลาคม 2559 เวลา:1:01:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.