All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 สิงหาคม 2563
 
All Blogs
 
*** The Lighthouse *** จิตวิทยาบนประภาคาร

*** The Lighthouse ***






ผลงานการกำกับของ Robert Eggers จากบทภาพยนตร์ของเขาเองและ Max Eggers เล่าเรื่องราวของ 2 เจ้าหน้าที่เฝ้าประภาคารบนเกาะแห่งหนึ่งอันประกอบด้วย Thomas Wake (Willem Dafoe) ชายแก่ผู้ทำหน้าที่เฝ้าประภาคารนี้มานาน กับ ชายหนุ่มที่เพิ่งเข้ามาทำงานนี้เป็นครั้งแรก (Robert Pattinson)

ทั้งสองต้องใช้เวลาร่วมกันบนเกาะอันห่างไกลในฐานะผู้เฝ้าประภาคาร ซึ่งพวกเขาต้องเผชิญกับความเลวร้ายของสภาพอากาศ ความกดดัน และ สิ่งชั่วร้ายที่ซุกซ่อนอยู่





*** จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ เหมาะสำหรับผู้ที่รับชมแล้วเท่านั้น ***





แม้ว่า The Lighthouse จะดัดแปลงหลวมๆจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 แต่หนังหยิบยกเรื่องราวของตำนานเทพเจ้าปรัมปราเข้ามาเป็นโครงเรื่อง พร้อมด้วยแง่มุมเชิงจิตวิทยาของอำนาจทางเพศ มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ส่วนใจความสำคัญของหนังว่าด้วยความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อำนาจ” และ “ผู้สนองอำนาจ” ในแบบที่เราได้พบเจออยู่ในเรื่องราวความสัมพันธ์แบบ พ่อกับลูก ที่สามารถอุปมาอุปไมยไปถึง ความสัมพันธ์ของ พระเจ้ากับมนุษย์ ได้อย่างน่าสนใจ


เนื่องจากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านตำนานเทพเจ้า และหลายๆคนก็เขียนบทความในเชิงนี้ออกมามากมายแล้ว จึงขอเขียนบทความนี้ในแง่มุมของจิตวิทยาเป็นหลักก็แล้วกัน :)





หากอ้างอิงตามหลักจิตวิทยาแล้ว นี่คือหนังที่ว่าด้วยปมเกลียดพ่อ (Oedipus complex)


*** ตามทฤษฎีจิตวิทยาของ Sigmund Freud ปมเกลียดพ่อ คือการที่เด็กชายช่วงวัย 3 – 6 ปี (ช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศ) พยายามที่จะครอบครองแม่ของตนเอง ซึ่งเด็กชายจะพบว่าคนที่ครอบครองแม่อยู่ในปัจจุบันก็คือพ่อ ดังนั้นเด็กในช่วงนี้จะเกลียดพ่อและพยายามกำจัดพ่อเพื่อแย่งแม่

สุดท้ายปมนี้จะถูกคลี่คลายลงเมื่อเด็กชายพบว่าตัวเองไม่มีอำนาจที่จะต่อกรกับพ่อ และได้เรียนรู้ว่าการที่จะได้ครอบครองแม่นั้น คือการพยายามเป็นเหมือนพ่อ

ซึ่งพัฒนาการต่อจากนั้นก็คือ เด็กชายพยายามที่จะเลียนแบบพ่อ โดยมองพ่อเป็นต้นแบบ

(เช่นเดียวกัน ในเพศหญิงก็จะมีกลไกนี้นั่นก็คือ ต้องการครอบครองพ่อ แต่ไม่สามารถแย่งพ่อมาจากแม่ได้ จนเรียนรู้ว่าทำไมพ่อชอบแม่ จึงเกิดการเลียนแบบแม่ ซึ่งปมเกลียดแม่นี้มีชื่อว่า Electra complex) ***





กลับมาที่ตัวหนังกันต่อ เนื่องจากทั้ง 2 ตัวละครต่างก็ชื่อ Thomas เหมือนกัน ขออนุญาตเรียกให้เข้าใจง่ายดังนี้



ชายหนุ่มที่เพิ่งเข้ามาทำงานเฝ้าประภาคารเป็นครั้งแรก = Thomas หนุ่ม

ชายแก่ที่เฝ้าประภาคารมานาน = Thomas แก่



ซึ่งเราสามารถแทนค่าสัญลักษณ์ในหนังได้ดังนี้



Thomas แก่ = พ่อ = ผู้ใช้อำนาจ

Thomas หนุ่ม = ลูกชาย = ผู้สนองอำนาจ

ประภาคาร = อวัยวะเพศชาย = สัญลักษณ์ของการครอบครองอำนาจ
(ส่วนบนสุดของประภาคาร คือส่วนหัวของอวัยวะเพศชายที่จะ “เปิด” ได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่พร้อมสืบพันธ์)





จากความสัมพันธ์ในเรื่องก็คือ Thomas หนุ่ม รู้สึกไม่เป็นธรรมที่ต้องโดน Thomas แก่ใช้งานอย่างราวกับคนรับใช้ ทั้งที่ตามคู่มือแล้ว ทั้งคู่ต่างก็มีสิทธิในการเฝ้าประภาคารเหมือนกัน แต่ Thomas แก่กลับใช้อำนาจในการยึดครองประภาคารแต่เพียงผู้เดียว





Thomas หนุ่ม อยากขึ้นไปบนประภาคาร แต่ Thomas แก่ ยึดครองประภาคารไว้แต่เพียงผู้เดียว

[Thomas หนุ่ม อยากมีความสามารถในการมีเพศสัมพันธ์ แต่ Thomas แก่ ครอบครองสิทธิ์นี้ไว้แต่เพียงผู้เดียว]

{เด็กชายอยากครอบครองแม่ แต่โดนพ่อแย่งแม่ไปไว้เพียงคนเดียว}





หนังทำให้เห็นภาพว่า Thomas แก่ น่าจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับบางสิ่งบางอย่างบนประภาคาร ในขณะที่ Thomas หนุ่ม ได้แต่ช่วยตัวเอง

และจากเนื้อเรื่องเราจะพบประวัติคร่าวๆของ Thomas หนุ่ม ว่าเขาเกลียดพ่อของตัวเองด้วย อีกทั้งการที่ Thomas หนุ่ม เคยบอกว่า “เขากลัวพระเจ้า” ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเด็นหนังที่ว่าด้วย “ปมเกลียดพ่อ” พอดี





Thomas หนุ่ม พยายามเล่นตามกฎระเบียบที่คู่มือการทำงานว่าไว้ และตามกฎระเบียบเขาก็มีสิทธิโดยเท่าเทียมที่จะขึ้นไปบนประภาคาร

[Thomas หนุ่ม พยายามอ้างสิทธิในการมีความสัมพันธ์ที่เขาควรจะได้รับ]

{เด็กชายคิดว่าตัวเองมีสิทธิที่จะได้ครอบครองแม่}





แต่ในความจริงแล้ว Thomas แก่ ไม่สนใจความเท่าเทียม ไม่สนใจกฎใดๆ เพราะตัวเองมีอำนาจเหนือกว่า Thomas หนุ่ม เนื่องจาก Thomas แก่ สามารถเขียนประเมินผลการทำงานและพฤติกรรมอันมีผลต่ออนาคตของ Thomas หนุ่มได้

[Thomas แก่ ไม่สนใจความเท่าเทียม แล้วใช้อำนาจที่เหนือกว่าลิดรอนสิทธิของ Thomas หนุ่ม]

{เด็กชายไม่มีอำนาจพอที่จะขัดขืนพ่อได้}





เพื่อโอกาสได้ทำงานต่อ Thomas หนุ่ม จำใจต้องสนองอำนาจของ Thomas แก่

[เพื่อความอยู่รอด Thomas หนุ่ม ต้องยอมให้กับ Thomas แก่]

{เพื่อมีชีวิตรอด เด็กชายต้องเชื่อฟังพ่อ แลกกับปัจจัยในการมีชีวิต}





อย่างไรก็ตามแม้จะไม่มีอำนาจ แต่ความปรารถนาในการขึ้นไปบนประภาคารยังคงมีอยู่





Thomas หนุ่ม จึงเริ่มแหกกฎที่ตัวเองยึดมั่น หันมากินเหล้าและทำตัวแบบ Thomas แก่ เพื่อหวังโอกาสในการได้ขึ้นไปบนประภาคาร

[Thomas หนุ่ม ทำตัวเลียนแบบ Thomas แก่ เพราะคิดว่าวิธีที่จะขึ้นไปบนประภาคารได้นั้น ต้องทำเหมือน Thomas แก่]

{เพื่อที่จะครอบครองแม่ได้แบบเดียวกับพ่อ เด็กชายจึงเลียนแบบพ่อ}





สุดท้าย Thomas หนุ่ม ผู้ที่เคยทำตามกฎ ไม่ดื่มเหล้าในเวลางาน มีความอดทนอดกลั้น ก็ค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นดื่มเหล้า ก้าวร้าว รุนแรง และลุ่มหลงในแบบที่ Thomas แก่ เป็น จนได้ขึ้นไปในประภาคารในที่สุด แต่สิ่งที่เขาได้ค้นพบอาจไม่ใช่ความสุขในแบบที่ Thomas แก่ หวงแหนเอาไว้คนเดียว

[Thomas หนุ่ม ที่เลียนแบบพฤติกรรมของ Thomas แก่ ก็สามารถครอบครองอำนาจทางเพศได้ในที่สุด แต่เขาอาจไม่ได้พบความสุขในแบบที่ Thomas แก่ ลุ่มหลง]

{เมื่อเด็กชายเลียนแบบพ่อ เขาก็จะเติบโตเป็นคนที่มีลักษณะคล้ายกับพ่อ แต่เขาก็ไม่สามารถครอบครองแม่หรือแย่งแม่มาเป็นของตนเพียงคนเดียวได้แบบที่ปรารถนา}





การคลี่คลายปมของหนังก็เหมือนการคลี่คลายปมเกลียดพ่อ ที่ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ปมนี้ก็จะถูกคลี่คลายในท้ายที่สุด ซึ่งถือเป็นกลไกในการพัฒนาเป็นต่อการพัฒนาบทบาทและอัตลักษณ์ทางเพศในวัยผู้ใหญ่

ดังนั้นจากการเปรียบเทียบด้านบน เห็นได้ชัดเจนว่าหนังหยิบเรื่องราวของปมเกลียดพ่อ (Oedipus complex) มาเป็นแก่นของเรื่อง แล้วนำมาขยายในหลายระดับความสัมพันธ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความ





สิ่งที่น่าสนใจคือ ต้นแบบเป็นอย่างไร คนที่เลียนแบบก็จะเป็นแบบนั้น

อย่างที่ในตอนสุดท้าย Thomas หนุ่ม กลายมาเป็นขี้เมา ก้าวร้าวรุนแรง ชอบใช้อำนาจ แบบที่ Thomas แก่ เป็น



เช่นเดียวกับลูกจะเป็นคนเช่นไรก็อยู่ที่พ่อหรือแม่ที่เป็นต้นแบบ

หรือสังคมจะเป็นเช่นไรก็อยู่ที่ผู้มีอำนาจจะใช้อำนาจในการวางระบบระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติอย่างไร





บทหนังที่คมคาย เปิดโอกาสให้ตีความอย่างชัดเจนได้หลายแง่มุม คืออีกหนึ่งความสนุกของหนังนอกจากความสนุกแบบหนัง Drama/Thriller ที่คาดเดาไม่ได้

การถ่ายภาพ การเคลื่อนกล้อง รวมถึงการเลือกใช้เสียงประกอบคือสิ่งที่ช่วยสงเสริมบรรยากาศไม่น่าไว้วางใจได้อย่างดีเยี่ยม

การแสดงของ Pattinson และ Dafoe ที่คอยรับส่งกันอย่างเข้าคู่ และค่อยๆสร้างความตึงเครียด กลายเป็นพลังสำคัญที่ทำให้หนังน่าติดตามตั้งแต่ต้นไปจนจบ





The Lighthouse คือหนังที่น่าจดจำทั้งในแง่ของเทคนิค วิธีการนำเสนอ การแสดงของนักแสดงทั้ง 2 ก็น่าประทับใจ รวมถึงประเด็นการเล่าเรื่องที่เป็นสากล และสามารถตีความได้ในหลายระดับ

ไม่น่าพลาดด้วยประการทั้งปวง






8 / 10






Create Date : 03 สิงหาคม 2563
Last Update : 3 สิงหาคม 2563 1:27:52 น. 0 comments
Counter : 2912 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.