All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
 
13 กุมภาพันธ์ 2563
 
All Blogs
 
*** 1917 *** เรื่องส่วนตัว

*** 1917 ***






1917 คือผลงานเรื่องล่าสุดของผู้กำกับ Sam Mendes (ซึ่งผลงานอย่าง American Beauty คือหนึ่งในหนังที่ผมชื่นชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่ง)


หนังเล่าเรื่องราวในปี ค.ศ. 1917 ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อพลทหารอังกฤษ 2 นาย ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปยังอีกกองพันหนึ่งเพื่อแจ้งให้ยกเลิกการบุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก เพราะนั่นเป็นแผนลวงของฝ่ายข้าศึกที่ทำทีถอยร่นออกจากพื้นที่ แต่ที่จริงแล้วดักซุ่มโจมตีอยู่



(จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)



หนังเล่าเรื่องราวง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนอะไรนัก ซึ่งที่มาของเรื่องนี้ก็มาจากเรื่องเล่าของปู่ของ Mendes เอง ที่เคยไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง


ดังนั้นหนังเรื่องนี้จึงเป็นเหมือนเรื่องราวส่วนตัวของ Mendes ที่ถูกนำมาเล่าให้ผู้ชมฟังอีกต่อหนึ่ง



เช่นเดียวกับเนื้อเรื่องในหนัง เราจะพบว่านี่คือหนังที่มีความเป็น “เรื่องส่วนตัว” มากกว่าจะว่าด้วย “เรื่องส่วนรวม”

นั่นก็เพราะถึงแม้ว่าหนังจะมีเรื่องราวฉากหลังเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่เกี่ยวพันกับมนุษยชาติในวงกว้าง แต่หนังเลือกที่จะเล่าเรื่องไปที่ 2 ตัวละคร ที่เป็นพลทหารชั้นผู้น้อย มากกว่าจะเล่าเรื่องในภาพที่ใหญ่กว่าของสงคราม






อาจมีข้อโต้แย้งว่า หนังจะเจาะจงไปที่ 2 ตัวละครก็จริง แต่ 2 ตัวละครนี้ก็ทำเพื่อภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในสงครามและเป็นภารกิจที่กุมชะตาชีวิตของคนหลายพันคนเอาไว้

แต่หากพิจารณาดีๆแล้วเราจะพบว่า แม้ทั้ง 2 ตัวละครจะต้องไปทำภารกิจเพื่อส่วนร่วม แต่แรงจูงใจหลักของพวกเขานั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น





พลทหาร Blake (Dean-Charles Chapman) มุ่งมันที่จะทำภารกิจนี้ก็ด้วยเหตุผลส่วนตัว นั่นก็คือการช่วยชีวิตพี่ชายของเขาที่อยู่ในกองพันที่กำลังจะบุกเข้าไปในแดนข้าศึก



ขณะที่พลทหาร Schofield (George MacKay) ที่แม้ตอนแรกจะตกกระไดพลอยโจนถูกเลือกมาทำภารกิจแบบไม่เต็มใจนัก

แต่เมื่อการตายของ Blake ที่เป็นเหมือนเพื่อนสนิทระหว่างภารกิจนี้ Schofield ก็มุ่งมั่นที่จะทำภารกิจต่อด้วยแรงจูงใจส่วนตัว นั่นก็คือการรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับ Blake ก่อนตาย





ดังนั้น ฉาก climax ที่ Schofield วิ่งฝ่าอันตรายไปหยุดยั้งการบุกของกองพันทหารจึงไม่ใช่ฉาก climax สุดท้ายของหนัง

แต่ climax สุดท้ายที่แท้จริง คือการหาตัว พี่ชายของ Blake แล้วทำตามคำสั่งเสียสุดท้ายที่เขาได้ให้สัญญาไว้กับ Blake






การที่หนังเลือกที่จะใช้ชื่อว่า 1917 ซึ่งเป็นปี ค.ศ. แทนที่จะใช้ชื่อที่เป็น “สถานที่” หรือ “ชื่อภารกิจ” อย่างที่หนังสงครามนิยมใช้เป็นชื่อหนัง (เช่น Saving Private Ryan, Dunkirk, Pearl Harbor, Black Hawk Down หรือ Midway) นั่นก็เพราะชื่อนี้เป็นเหมือนชื่อแบบกว้าง ราวกับจะบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 1917 ก็เท่านั้น โดยไม่ได้ให้ความสำคัญว่ามันเป็นเรื่องของสงครามแต่อย่างใด



ทั้งในแง่ของที่มาที่ไปของเนื้อเรื่องที่มาจากเรื่องเล่าของคุณปู่, การที่ชื่อหนังที่ไม่ได้มีอะไรบ่งบอกถึงสงคราม และแรงขับดันของตัวละครในเรื่องที่มาจากเรื่องส่วนตัวเป็นหลัก



1917 จึงเป็นหนังที่มีความเป็นเรื่องส่วนตัว มากกว่าเรื่องราวของสงคราม






หนังยังนำเสนอให้เห็นว่า บรรดาทหารชั้นผู้น้อยต่างก็ไม่รู้จุดหมายปลายทางว่าต้องทำอะไร ต้องเดินทางไปทางไหน พวกเขาแค่ต้องทำตามคำสั่งของเบื้องบน

ไม่เว้นแม้แต่นายทหารระดับสูงเองก็ไม่สามารถกำหนดเป้าหมายได้ด้วยตัวเอง ต้องรับคำสั่งจากเบื้องบนไม่ต่างกัน

นี่เองที่หนังต้องการบอกกับผู้ชมว่า สงครามไม่ได้เป็นเรื่องสลักสำคัญอะไร บางทีมันอาจเป็นแค่ความไร้สาระ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้



Schofield ตัวละครหลักของเรื่อง คือตัวละครที่หลงทางอยู่ในสงคราม เขาไม่อยากกลับไปหาครอบครัวด้วยความกลัวบางอย่าง

แต่เมื่อได้ผ่านประสบการณ์ครั้งนี้ เขาได้ตระหนักถึง “เรื่องส่วนตัว” นั่นก็คือชีวิตและครอบครัวของตัวเองมากขึ้น






1917 ถ่ายทำแบบ long take กันอยู่หลายฉาก แล้วนำมาเชื่อมต่อกันอีกทีแบบแนบเนียนจนผู้ชมไม่รู้สึกว่ามีการตัดต่อ (จะมีก็ตอนที่ Schofield สลบไป) ซึ่งเทคนิคนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อโชว์ทักษะของผู้สร้างเพียงเท่านั้น (อันที่จริงเมื่อเวลาผ่านไป เราก็จะไม่สนใจว่ามันไม่มีการตัดฉากอีกต่อไป เพราะเราจดจ่อกับตัวละครแล้ว)

แต่มันถูกนำมารับใช้การเล่าเรื่องอย่างแท้จริง นั่นก็เพราะ Mendes ต้องการให้ผู้ชมตามติดตัวละคร เพื่อเล่าเรื่องราวของตัวละคร โดยไม่ต้องสนใจไปที่บริบทอื่นๆของสงครามหรือการเมือง


การกำกับแบบนี้ต้องอาศัยการซักซ้อม การวางตำแหน่ง และแผนการถ่ายทำให้รัดกุม ซึ่งน่าจะเป็นงานถนัดของ Mendes ที่เคยเป็นผู้กำกับละครเวทีมายาวนาน (เพราะละครเวทีคือการแสดงสดที่ผู้กำกับไม่สามารถทำอะไรได้แล้วเมื่อเริ่มละคร การซ้อมบท การซ้อมตำแหน่ง จึงเป็นหัวใจสำคัญ)



งานกำกับภาพของ Roger Deakins คือความยอดเยี่ยม ทั้งการรับมือกับแสงธรรมชาติ และการจัดแสงโดยเฉพาะฉากกลางคืน



อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดที่หนังบีบตัวเองด้วยการเล่าเรื่องตามติดตัวละครแบบนี้ ทำให้เนื้อเรื่องอาจไม่เข้มข้นและน่าติดตามมากนักในบางช่วง นั่นก็เพราะหนังไม่สามารถอาศัยเทคนิคการตัดต่อ และการใช้มุมภาพที่หลากหลายมาช่วยกำกับอารมณ์ของผู้ชมได้


อีกทั้งบางฉากยังดูขาดความสมจริงไปบ้าง อย่างเช่นฉากตกน้ำ ในขณะที่บางฉากก็ดูจงใจ set ขึ้นมาจนดูไม่เป็นธรรมชาติเพื่อให้สอดรับกับข้อจำกัดของมุมกล้องและการเคลื่อนกล้อง






1917 ถือเป็นหนังที่น่าชื่นชมในความทะเยอทะยาน และผลลัพธ์ที่ได้ก็ค่อนข้างน่าพอใจ

ส่วนประเด็นของหนังแม้ไม่ได้สดใหม่และยังถือว่าเบาบางเกินไป แต่ก็ถือเป็นความน่าสนใจอยู่ดี โดยมันบอกกับเราว่า



"บางทีเรื่องส่วนตัวเล็กๆก็เป็นแรงขับเคลื่อนที่ส่งผลถึงเรื่องราวใหญ่ๆได้เช่นกัน"






8 / 10




Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2563
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2563 1:11:33 น. 1 comments
Counter : 1701 Pageviews.

 
กระทู้ที่ตั้งใน Pantip

https://pantip.com/topic/39635260


โดย: navagan วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา:1:27:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.