All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
23 มีนาคม 2565
 
All Blogs
 
*** The Batman *** มรดกที่ต้องจัดการ “กำจัดคนพาล” หรือ “อภิบาลคนดี”

*** The Batman ***






The Batman ของผู้กำกับ Matt Reeves เล่าเรื่องราวการคดีฆาตกรรมบรรดาชนชั้นปกครองใน Gotham โดย The Riddler (Paul Dano) ซึ่ง The Riddler ทิ้งชิ้นส่วนปริศนาไว้โดยตรงถึง Batman (Robert Pattinson) นักปราบอาชญากรสวมหน้ากากนอกกฎหมาย (ซึ่งอีกตัวตนหนึ่งก็คือทายาทมหาเศรษฐีชื่อ Bruce Wayne) ได้ตามสืบ

ร้อยโท James Gordon (Jeffrey Wright) ผู้รับผิดชอบคดีนี้จึงต้องดึงตัว Batman เข้ามาไขปริศนา



คดีนี้ไม่ใช่คดีธรรมดา เพราะมันโยงใยลึกลงไปถึงองค์กรอาชญากรรมใต้ดินที่มีการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปกครองชั้นสูงของเมือง แถมยังโยงกลับไปยังอดีตของครอบครัวตระกูล Wayne อีกด้วย


สุดท้ายคดีนี้ทำให้ Bruce ที่เพิ่งเป็น Batman ได้ไม่นาน ได้รู้ว่าแนวทางที่ Batman ควรจะทำเพื่อฟื้นฟูเมือง Gotham คือแนวทางใด



(จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)





ประเด็นหลักที่น่าสนใจของหนังแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นดังนี้



1. การกำจัดคนชั่ว หรือ การทำความดีช่วยเหลือผู้คน วิธีไหนที่จะช่วยให้สังคมดีขึ้นมากกว่ากัน

ประเด็นนี้ให้พิจารณาผ่าน 2 ตัวละครนั่นก็คือ The Riddler กับ The Batman ซึ่งมีความเหมือนกันบางประการ



ทั้งคู่ต่างก็เป็นเด็กกำพร้าเหมือนกัน

ทั้งคู่ต่างก็ต้องการกำจัดคนชั่วเหมือนกัน

ทั้งคู่ต่างก็เป็น “ความแค้น” เหมือนกัน (จน The Riddler คิดว่า Batman เข้าใจตัวเขา และมีอุดมการณ์เดียวกันถึงขั้นพยายามส่งข้อความปริศนาให้ Batman ได้ร่วมมือกับเขา)



ในขณะที่ Batman เล่นงานแต่อาชญากรปลายแถว The Riddler เล่นใหญ่กว่า ด้วยการจัดการพวกชนชั้นปกครองที่คอยหาผลประโยชน์กับเมืองนี้

แต่วิธีการที่ทั้งคู่ทำนั้นไม่ได้ทำให้เมืองนี้ดีขึ้นมา เมื่ออาชญากรรุ่นเก่าตายไป รุ่นใหม่ก็เข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อไปไม่สิ้นสุด (เหมือนในยุคพ่อแม่ของ Batman เมื่อกลุ่มอาชญากรของเมืองถูกตำรวจโค่นลงได้ กลุ่มชนชั้นปกครองไม่ว่าจะเป็น ตำรวจ อัยการ นายกเทศมนตรี และอาชญากรกลุ่มอื่นต่างก็เข้ามาแบ่งผลประโยชน์สืบทอดธุรกิจผิดกฎหมายต่อไป)



การกระทำของ Batman กับ The Riddler เป็นเหมือนศาลเตี้ยที่คอยล้างแค้นมากกว่าจะช่วยทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น





แต่องก์สุดท้ายของหนังที่ Batman เปลี่ยนจาก “การล้างแค้น” มาเป็น “การช่วยเหลือคน” หลังจากที่เขาเสี่ยงชีวิตตัวเองช่วยกลุ่มคนที่กำลังจะถูกไฟฟ้าช๊อต กลายเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของ Batman และเป็นพลังบวกให้ทุกคนเข้าใจว่าสังคมจะดีได้ต้องมาจากการทำความดี

บรรยากาศอึมครึมที่ฝนตกตลอดเวลาจึงถูกแทนที่ด้วยแสงอาทิตย์และความสว่างในองก์สุดท้ายของหนัง เพื่อรับใช้ประเด็นนี้

(ต้องบอกก่อนว่า เข้าใจในประเด็นที่หนังต้องการนำเสนอว่า การล้างแค้นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา การเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำให้สังคมดีขึ้นต่างหากที่เป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งท้ายที่สุด Batman ก็ได้พบเป้าหมายในการเป็น Batman ที่เหมาะสม แต่การนำเสนอของหนังขาดซึ่งความเชื่อมโยงและการโน้มน้าวให้ผู้ชมเข้าใจได้มากพอ องก์สุดท้ายของหนังจึงดูแปลกแยกออกมาจากหนังทั้งเรื่อง เมื่อ Batman ผู้หม่นมืดที่เอาแต่กำจัดอาชญากร กลายเป็นฮีโร่ช่วยเหลือผู้คนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ)





อันที่จริง Batman ก็ฉลาดพอที่คิดออกว่า ตัวเขาเองเพียงคนเดียวไม่สามารถไปอยู่พร้อมๆกันในทุกที่ได้ การอาศัยสัญลักษณ์ (ทั้งสัญญาณไฟเรียกรูปค้างคาว และการปรากฏตัวในเงาเงามืด) เพื่อสร้างความหวาดกลัว จึงได้ผลมากกว่า

เช่นกันเมื่อ Batman ทำความดีช่วยเหลือผู้คน สังคมก็มีความหวังได้มากขึ้น เขาอาจไม่สามารถช่วยทุกคนได้พร้อมกัน แต่การกระทำของเขาเป็นตัวอย่างและแรงกระตุ้นให้สังคมทำตามได้



นี่เป็นคำตอบของสิ่งที่ Batman พยายามทำมาตลอดในการสร้างผลกระทบอันยิ่งใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม





2. มรดกตกทอด

ประเด็นนี้ให้มองไปที่ 2 ตัวละคร ซึ่งก็คือ Bruce Wayne/Batman และ Selina Kyle/Catwoman (Zoe Kravitz)



ทั้งคู่ต่างเป็นเด็กกำพร้าเหมือนกัน

พ่อของทั้งคู่ต่างก็เป็นผู้มีอิทธิพลของเมืองเหมือนกัน

พ่อของทั้งคู่ต่างก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้พวกเขากลายเป็นกำพร้าเหมือนกัน (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)



ความผิดพลาดของครอบครัว คือ “มรดก” ที่ทั้งคู่ต้องรับมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



Batman รับมรดกความมั่งคั่ง และ ความปรารถนาในการฟื้นฟูเมืองมาจากพ่อของเขาก่อนที่จะรู้ตัวว่า พ่อเขาก็เคยทำผิดพลาดจนกลายเป็นว่าเขาเองต้องแก้ไขปัญหานั้นด้วย



คำถามก็คือพวกเขาจำเป็นต้องแก้ไขความผิดพลาดที่คนรุ่นก่อนหน้าก่อไว้หรือไม่ ?





ทั้ง Batman และ Catwoman ต่างก็เป็นภาพแทนของคนรุ่นใหม่ที่ต้องรับกรรมที่คนรุ่นเก่าทิ้งไว้

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเหล่าอาชญากรและบรรดาชนชั้นปกครองที่คอรัปชั่นต่างก็เป็น “คนรุ่นพ่อรุ่นแม่” หรือ “คนรุ่นพี่” ของ Batman



บางทีนี่อาจเป็นสาเหตุให้ The Batman โดนใจผู้ชมยุคนี้ เพราะตัวละครนี้เป็นเหมือนตัวแทนของพวกเขาที่อยู่ในโลกที่ถูกทำลายอย่างหนักจากคนยุคก่อนหน้า ทั้งปัญหาโลกร้อน ความเสื่อมโทรมของสังคม รวมถึงโอกาสที่ดีในชีวิตและสิทธิต่างๆที่ถูกผูกขาดและกดทับจากคนรุ่นเก่า



แม้จะไม่สามารถปฏิเสธมรดกหรือผลกรรมเหล่านี้ได้ แต่ในตอนจบทางเลือกของทั้งคู่แตกต่างกัน

Batman ยังคงอยู่รับมรดกเหล่านี้และหาวิธี “จัดการมรดก”

Catwoman ตัดขาดตัวเองจากมรดก แล้วเอาตัวรอดโดยไปเริ่มต้นใหม่ในสังคมอื่น








The Batman ของผู้กำกับ Matt Reeves โดดเด่นในการคุมโทนหนังอันหม่นมืดผ่านงานภาพของหนังโดย Greig Fraser

แต่ในแง่ของการพยายามเป็นหนังสืบสวนยังถือว่าแค่พอไปได้ แต่ไม่น่าประทับใจ



ดนตรีประกอบของ Michael Giacchino โดดเด่นน่าจดจำ แต่ไม่แย่งความเด่นไปจากเนื้อเรื่องและภาพบนจอ



ทีมนักแสดงทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี

แต่การที่หนังโฟกัสอยู่ที่ตัวละคร Batman เป็นหลักจนตัวละครอื่นไม่ค่อยมีพื้นที่ให้ได้แสดงมิติความลึกเท่าที่ควร นั่นทำให้ความสัมพันธ์เชิงโรมานซ์ของ Batman กับ Catwoman ดูยัดเยียดเกินไป





แม้จะถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างบ่อยจนนับไม่ถ้วน แต่ The Batman เวอร์ชั่นนี้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร

ตัวหนังอาจมีร่องรอยของความไม่ลงตัวอยู่บ้าง และหลายส่วนน่าจะทำได้ดีกว่านี้

แต่เท่าที่เป็นอยู่ The Batman จัดเป็นหนังที่มีดีในตัวจนไม่น่าพลาดด้วยประการทั้งปวง









8 / 10





Create Date : 23 มีนาคม 2565
Last Update : 23 มีนาคม 2565 0:46:08 น. 4 comments
Counter : 1140 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณnewyorknurse, คุณThe Kop Civil, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณLittleMissLuna


 
เริ่ด
วิจารณ์ได้ยอดเยี่ยมค่ะ
คุ้มค่ากับการรอคอยอ่าน
เจิมเสร็จก็ไปนอน


โดย: อุ้มสี วันที่: 23 มีนาคม 2565 เวลา:2:08:09 น.  

 
ละเอียดและข้อมูลแน่นเช่นเคยนะคะ ชอบมาก ๆ เลย


โดย: ลูกไม้ (LittleMissLuna ) วันที่: 24 มีนาคม 2565 เวลา:17:48:24 น.  

 
ขอบคุณคุณอุ้มสี และ คุณลูกไม้มากครับ


โดย: navagan วันที่: 25 มีนาคม 2565 เวลา:0:47:44 น.  

 
อยากดูเลยค่ะ
อยากไปจกข้าวโพดคั่ว
กินไปดูแบทแมนไป


โดย: อุ้มสี วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:16:24:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.