All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
22 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
*** RoboCop *** สำรวจโลกกับ RoboCop

*** RoboCop ***






ในปี 2028 กองกำลังทหารของ America ถูกเปลี่ยนจากมนุษย์มาเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ 100%

แต่ความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามกฏ 100% กลับเป็นข้อบกพร่องในสายตาชาว American โดยเฉพาะ สว. Dreyfus (Zach Grenier) เนื่องจากพวกเขาคิดว่าในบางกรณีการตัดสินใจตามกฏระเบียบอย่างเดียวอาจไม่เหมาะสม เพราะหุ่นยนต์ไม่สามารถตัดสินใจอย่างมีมนุษยธรรมได้



ดังนั้น Raymond Sellars (Michael Keaton) CEO ของ OmniCorp บริษัทที่ทำธุรกิจหุ่นยนต์ให้กองทัพ ต้องหาวิธีในการสร้างหุ่นยนต์ที่มีการตัดสินใจแบบมนุษย์

ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการสร้างหุ่นยนต์ที่มีสมองมนุษย์ควบคุม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเชื่อมระบบประสาทกับเครื่องจักรกลอย่าง Dr. Dennett Norton (Gary Oldman) คือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ Project นี้พบกับความสำเร็จ

โดย Alex Murphy (Joel Kinnaman) นายตำรวจที่โดนระเบิดจนร่างกายไม่เหลือชิ้นดี ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ในการเชื่อมโยงกับเครื่องจักร



RoboCop ปี 2014 เน้นไปที่เรื่องราวในการให้กำเนิด RoboCop และสะท้อนมุมมองต่างๆไปพร้อมๆกัน

(การวิเคราะห์ครั้งนี้ขอตีความเฉพาะเวอร์ชั่นนี้ โดยเป็นการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ ดังนั้นไม่เหมาะกับใครที่ยังไม่ได้ชมครับ )







ในหนังเราแบ่งกลุ่มของสังคมตามลักษณะและอุดมการณ์ได้ 2 แกนหลัก คือ


1. แกนของความมีมนุษยธรรม (Humanity)

2. แกนของการต่อต้านหุ่นยนต์ (Afraid of Robot)



โดยทั้ง 4 กลุ่มสามารถอ้างอิงด้วยตัวละครเหล่านี้


1. สว. Dreyfus: ให้ความสำคัญกับมนุษยธรรม ไม่สนับสนุนการใช้หุ่นยนต์

2. Dr. Dennett Norton: ให้ความสำคัญกับมนุษยธรรม สนับสนุนการใช้หุ่นยนต์

3. Raymond Sellars: ไม่ให้ความสำคัญกับมนุษยธรรม สนับสนุนการใช้หุ่นยนต์

4. กฏหมาย: ไม่สนใจมนุษยธรรม ไม่สนับสนุนการใช้หุ่นยนต์



จากที่ว่ามาทั้งหมดเราสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้







ตัวละคร RoboCop คือตัวละครที่อยู่กึ่งกลางระว่าง 4 กลุ่มนี้ โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ชมในการสำรวจแง่มุมและประเด็นต่างๆ



ด้วยลักษณะสำคัญของตัวละครตัวนี้ที่มีการเคลื่อนย้ายระดับความเป็นมนุษย์และหุ่นยนต์ได้ในตัวเอง (ซึ่งในหนังแสดงให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่ายผ่านระดับ Dopamine ในสมองของ Murphy โดยความเป็นมนุษย์จะมากขึ้นเมื่อปริมาณ Dopamine เพิ่มสูงขึ้น)



นอกจากนี้ RoboCop ยังเป็นตัวละครที่เรียกได้ว่าอยู่กึ่งกลางระหว่างความกลัวและความชื่นชอบเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพราะแม้ Murphy จะปฏิเสธการถูกดัดแปลงเป็นหุ่นยนต์ในตอนแรกแต่เขาก็ต้องทำใจยอมรับในท้ายที่สุด



เพราะการเปลี่ยนเป็น "หุ่นยนต์" ในบางส่วนทำให้เขาสามารถรักษาความเป็น "มนุษย์" ของตัวเองไว้ได้






จากแผนภาพ หากเราใช้สภาวะของ RoboCop ในแต่ละสถานการณ์เป็นเหมือนไกด์นำเที่ยวไปในพื้นที่ต่างๆ เราก็จะสามารถเห็นภาพของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจนมากขึ้น

ซึ่งขออธิบายแต่ละพื้นที่ตาม Timeline ของหนังดังนี้





*** พื้นที่ของ Dreyfus Act. (โลกของมนุษยนิยม) ***



สำหรับพื้นที่ในส่วนนี้ ถ้าจะให้เห็นภาพที่สุด คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนที่ Murphy ยังไม่โดนระเบิด โลกที่ใช้คนคอยรักษากฏระเบียบ ยังไม่มีการใช้หุ่นยนต์ มนุษย์ยังมีอคติแบบมนุษย์ การคอรัปชั่นเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งในกรมตำรวจ

การแก้ไขด้วยมนุษย์ที่มีความอ่อนแอทั้งร่างกายและจิตใจไม่อาจแก้ไขปัญหาได้







*** พื้นที่ของกฏระเบียบ (โลกแห่งกฏเกณฑ์) ***



ทันทีที่ RoboCop ถูกลดระดับ Dopamine จนต่ำสุด สภาพความเป็นคนของเขาหายไป จนกลายเป็นเครื่องจักรที่ไร้ความรู้สึกนึกคิด แน่นอนเขาทำงานได้ดีมาก แต่ขณะเดียวกันเขาก็ได้ทำร้ายความรู้สึกของครอบครัวโดยไม่รู้ตัว



หนังยังแสดงภาพของโลกที่อยู่นอก America ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่ของกฏระเบียบ” อย่างแท้จริง

แม้ทุกอย่างจะดูสงบสุข ภายใต้การคุ้มครองของหุ่นยนต์ แต่อิสระ เสรีภาพ หรือความเห็นที่แตกต่าง กลับถูกริดรอนลงไป และดูเหมือนประชาชนจะอยู่อย่างหวาดกลัวมากกว่ามีความสุข



นี่เป็นสิ่งที่หนังให้ภาพไว้อย่างชัดเจน หากเรายึดกฏระเบียบมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์

จะมีประโยชน์อะไรเมื่อกฏระเบียบสามารถสร้างความสงบ แต่ความหมายของการเป็นมนุษย์ต้องหมดไป







*** พื้นที่ของ Sellars (โลกแห่งทุนนิยม) ***



America ก็เหมือนกับ OmniCorp (โดยเฉพาะผู้นำอย่าง Sellars) ที่เน้นแสวงหาประโยชน์ในฐานะผู้ควบคุมกฏ ในตอนท้ายที่สุด เราจะเห็น Sellars เปลี่ยนแปลงกฏการใช้หุ่นยนต์ได้ตามใจชอบเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง



ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า กฏหมายไม่ได้ถูกต้องและศักดิ์สิทธิ์เสมอไป เพราะผู้มีอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ของตนเอง



RoboCop เองก็เช่นกัน ตอนที่สืบคดีของตัวเอง เขาตามไปชำระโทษกลุ่มผู้ร้าย ซึ่งจะว่าไปแล้วตอนนี้ RoboCop เองก็ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อรับใช้ความต้องการส่วนตัวเช่นกัน



ท้ายที่สุดระบบทุนนิยมคือสิ่งที่เหนือกว่ากฏหมาย

ส่วนอคติในใจมนุษย์อยู่เหนือกฏระเบียบ






*** พื้นที่ของ Dr. Dennett (โลกที่สมดุลระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์) ***



หากเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ มันต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของมนุษยธรรมด้วย นี่คือสิ่งที่หนังให้ภาพของพื้นที่ของ Dr. Dennett

นี่น่าจะเป็นเป้าหมายของหนัง ที่ทั้งตัวละครในเรื่องและตัวหนังเองตั้งเอาไว้ในตอนต้นเรื่อง



ในฉาก Climax สุดท้ายเราจะเห็น RoboCop ฝืนกฏระเบียบที่คอยควบคุมตัวเขาเอาไว้ และสร้างสมดุลระหว่างความคิดแบบมนุษย์และความเป็นหุ่นยนต์ได้ในที่สุด







น่าสนใจที่ RoboCop ภาคแรกทั้งสองครั้ง (ถ้าหากการ Reboot ครั้งนี้จะมีภาคต่อ) คืองานที่กำกับโดยผู้กำกับที่ไม่ใช่ชาว American เพราะผู้กำกับต้นฉบับปี 1987 ก็คือ Paul Verhoeven ชาว Nethersland ส่วนครั้งนี้เป็นหน้าที่ของ Jose Padilha ผู้กำกับชาว Brazil

ดังนั้นความเหมือนของทั้ง 2 เวอร์ชั่น คือ มุมมองที่มีต่อ America ในฐานะคนนอก


แต่ที่ต่างกันก็คือเวอร์ชั่นของ Verhoeven เต็มไปด้วยความรุนแรง เลือดสาด โป๊เปลือย และอารมณ์ขันเสียดสี แต่เวอร์ชั่นของ Padilha กลับจริงจัง ไม่เน้นอารมณ์ขัน และลดความโหดจนกลายเป็นหนังสำหรับเด็กได้เลย



หากไม่ยึดติดภาพลักษณ์ของ RoboCop เวอร์ชั่นต้นฉบับ RoboCop เวอร์ชั่นใหม่ถือว่าเป็นหนังที่ดูสนุกเรื่องหนึ่ง


ประเด็นต่างๆที่หนังนำเสนอถือว่าน่าสนใจ เพียงแต่การนำเสนอยังไม่ชัดเจนและหนักแน่นมากพอ แถมยังเยอะเกินไปจนไม่สามารถเน้นประเด็นเหล่านี้ได้หมดในระยะเวลา 2 ชั่วโมงของหนัง

แต่อย่างน้อยมันก็พอเพียงที่จะจุดประกายให้ผู้ชมไปต่อยอดเอาเอง







การที่หนังใส่รายการ The Novak Element เข้ามา เป็นเหมือนการแสดงให้เห็นภาพของ “สื่อ” ที่พยายามโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นด้วยกับฝ่ายตน จากการบิดเบือน แต่งเติม และชี้นำ



โดยไม่ตั้งใจ นี่อาจเป็นการเสียดสีตัวเองอยู่ในที เพราะพื้นที่ทั้ง 4 ที่หนังพาเราไปสำรวจ ต่างก็เต็มไปด้วยการชี้นำ โดยเลือกพูดถึงในแต่ละพื้นที่ในบางแง่มุมแบบมีอคติ


และแน่นอนว่านี่คือเรื่องของ “หุ่นยนต์ผู้มีมนุษยธรรม” ดังนั้นการนำเสนอย่อมต้องเป็นการโน้มนำผู้ชมให้ยอมรับและพึงพอใจกับพื้นที่ของ Dr. Dennett โลกที่มีการใช้กฏหมายอย่างมีมนุษยธรรมโดยหุ่นยนต์







นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากพิจารณาว่า “หนัง” ก็คือ “สื่อ” ที่เต็มไปด้วยการชี้นำ บิดเบือน และโน้มน้าวใจ


ที่สำคัญมันถูกสร้างโดยมนุษย์ ไม่ใช่หุ่นยนต์





7 / 10 ครับ





Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2557 14:08:38 น. 5 comments
Counter : 6255 Pageviews.

 
กระทู้ที่ตั้งใน Pantip

//pantip.com/topic/31690848


โดย: navagan วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:14:48:09 น.  

 
วิเคราะห์ได้เจ๋งมากเลยครับ ส่วนตัวแล้วผมชอบเวอร์ชั่นใหม่นี้มากกว่าของเดิมนะครับ มันดูจับต้องได้ ดูมีเลือดเนื้อชีวิตจิตใจมากกว่าของเดิมที่แข็งเป๊กพอๆกับเกราะโรโบคอป


โดย: carlitolemic IP: 203.147.10.245 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:20:41:35 น.  

 
ให้ 7 เหมือนกันครับ สนุกกว่าที่คิดมาก สมจริงมากขึ้น แต่มันส์น้อยไปหน่อย แถมมีหลายประเด็นที่โดนใจ โดยรวมแล้วชอบครับ


โดย: ปีศาจความฝัน วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:16:39:48 น.  

 
แวะมาทักทายยามบ่ายวันจันทร์ครับผม


โดย: ปีศาจความฝัน วันที่: 3 มีนาคม 2557 เวลา:14:39:56 น.  

 
I and also my friends were actually taking note of the nice suggestions from the website and then the sudden I had a terrible feeling I had not expressed respect to the web blog owner for those strategies. The ladies were for that reason excited to learn them and now have very much been using those things. I appreciate you for getting really thoughtful as well as for deciding upon these kinds of very good guides most people are really desirous to understand about. My very own honest apologies for not expressing gratitude to you sooner.
Ray Ban Wayfarer //www.artworkboutique.com/


โดย: Ray Ban Wayfarer IP: 94.23.252.21 วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:1:48:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.