All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
*** Inception *** "ความฝัน" คือ "ภาพยนตร์"

*** Inception ***






หลังจากประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในด้านของรายได้ และคำวิจารณ์ในแง่ดีมากๆทั้งจากผู้ชมและนักวิจารณ์จาก The Dark Knight จนเป็นที่เชื่อมั่นในฝีมือทั้งจาก Studio และผู้ชมในวงกว้างแล้ว

Christopher Nolan จึงมีโอกาสสร้าง “Project ในฝัน” ให้เป็นจริงเสียที และ Project ที่ว่านั้นก็คือ Inception





Inception เล่าเรื่องราวของ Dom Cobb (Leonardo DiCaprio) และพรรคพวก เหล่าจารชนผู้เชี่ยวชาญในการเข้าไปจารกรรม “ความลับ” ในขณะที่เป้าหมายกำลังฝัน


มาในคราวนี้ Cobb และพรรคพวก กลับต้องทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามนั่นก็คือ การฝังข้อมูล เพื่อ “จุดประกายความคิด (Inception)” ลงในจิตใต้สำนึกของเป้าหมาย เพื่อปลูกฝังให้เป้าหมายมีความคิดในแบบที่ต้องการ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากมากๆ


ที่สำคัญงานนี้ยังเป็นการเดิมพันอิสรภาพของ Cobb อีกด้วย







จริงอย่างที่ Cobb บอกกับ Ariadne (หรือ Nolan บอกกับ ผู้ชม) ว่า Idea นั้น มีศักยภาพที่ร้ายกาจมากมายมหาศาล


เพราะถึงแม้ Inception จะเป็นหนังที่ดูสดใหม่มากแค่ไหนก็ตาม แต่ผู้ชมคงสัมผัสได้ว่า Idea เริ่มต้นที่สร้างสรรค์ของหนังนั้น ตัว Nolan เองก็อาจโดน Inception (ทั้งที่ยังตื่น) จากหนังหลายๆเรื่องมาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น



Waking Life (ฝันซ้อนฝัน, การถูกจองจำในความฝัน)

Eternal Sunshine of the Spotless Mind (การเข้าไปโลดแล่นในจิตใจ)

Open Your Eyes (ความเรือนลางระหว่าง ความจริง กับ ความฝัน)

The Cell (การแชร์ความฝัน)



และที่ขาดไม่ได้ก็คือ The Matrix ที่ Nolan ออกปากเองว่า นี่คือแรงบันดาลใจหลักของงานนี้





นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ว่าด้วยการจารกรรมและการปฏิบัติการณ์นั้น เราจะพบเห็นความละม้ายคล้ายคลึงกับหนังสายลับอังกฤษอย่าง James Bond ไม่ว่าจะเป็น



- การที่หนังใช้ Location ในหลายประเทศทั่วโลก

- การที่หนังมีสองสาวสวย มารับบทเด่น โดยที่คนหนึ่งดี คนหนึ่งร้าย ไม่ต่างจากสาวๆในหนัง Bond ทั้งหลาย

- ฉาก Action ใน Location หิมะตอนท้ายเรื่อง ที่สัมผัสได้ถึงอารมณ์หนัง Bond




ไม่แปลกใจเลยที่ Nolan เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาโตมากับ หนังสายลับ 007







และหากพิจารณา “เงื่อนไข” ของโลกแห่งความฝัน โดยเฉพาะในข้อที่ว่า “เวลาในความฝัน จะเดินเร็วกว่าปกติ” เราจะพบว่า เงื่อนไขนี้มันมีความคล้ายคลึงกับลักษณะอันโดดเด่นอย่างหนึ่งของหนัง นั่นก็คือ



เวลาในหนังส่วนใหญ่นั้น กินเวลามากกว่าเวลาที่ฉายจริง

(น่าจะเกิน 99 % จากหนังทั้งหมดที่เคยสร้างกันมาในโลก ที่เป็นแบบนี้)



ตัวอย่างง่ายๆก็คือ Forrest Gump เล่าเรื่องราวที่ยาวนานกว่า 20 ปี ได้ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง


จึงอาจเปรียบได้ว่า หนัง ก็คือ ความฝัน หรือพูดให้สวยหรูได้ว่า



"ความฝัน" คือ "ภาพยนตร์"



และถ้ามองในแง่ของ “ที่มาที่ไป” ของหนังเรื่องนี้ ประโยคข้างบนก็ยังคงใช้ได้ เนื่องจาก Inception คือ ภาพยนตร์ในฝัน ที่ Nolan อยากทำมานานแล้ว นั่นเอง


ซึ่งเหมือนเป็นการ “แชร์ความฝัน” กับผู้ชม ด้วยการเชื้อเชิญผู้ชมให้เข้ามาโลดแล่นในความฝันของเขาอีกด้วย







ด้วยธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันระหว่าง ความฝัน กับ หนัง

ตัวละครใน Inception อาจเปรียบได้กับ เหล่าบุคลากรหลากหลายหน้าที่ในกระบวนการสร้างหนังได้เช่นกัน





Cobb, The Extractor (ผู้สกัด, ผู้คัดแยก) = ผู้กำกับ หรือ ผู้ตัดต่อ ที่ต้องเลือกเรื่องราว ควบคุมองค์ประกอบทั้งหมด เพื่อนำเสนอ



Arthur, The Point Man (คนชี้จุด, กำหนดเป้า) = ผู้เขียนบท ที่ต้องค้นคว้าหาวัตถุดิบ กำหนดเรื่องราว หรือแก่นสำคัญ



Ariadne, The Architect (สถาปนิก) = คนออกแบบงานสร้าง ควบคุมองค์ประกอบ สภาพแวดล้อม หรือสถานที่ถ่ายทำ ซึ่งอาจหมายถึง ผู้กำกับภาพ ได้อีกด้วย



Eames, The Forger (นักปลอมแปลง) = เหล่านักแสดง ที่ต้องสวมบทบาทต่างๆในหนัง



Yusuf, The Chemist (นักเคมี) = ช่างเทคนิค หรือเทคนิคพิเศษทั้งหลายในหนัง ที่คอยอำนวยความสะดวกให้การทำงานราบรื่น หรือเติมเต็มความสมบูรณ์ของหนัง



Saito, The Tourist (ผู้เที่ยวชม) = ผู้อำนวยการสร้าง ที่จัดสรร บริหารเงินทุนสำหรับงานสร้าง และแน่นอนว่านี่ต้องถือเป็น ผู้เที่ยวชม หรือตรวจเยี่ยมกองถ่ายหนัง และมีอิทธิพลต่อการสร้างมากๆ







แน่นอนว่า Nolan อาจไม่ได้คิดลึกซึ้งอะไรมากนัก และอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

แต่ก็เห็นได้ชัดว่า โลก “ความฝัน” ใน Inception ก็คือ โลก “ภาพยนตร์” ที่เขาประสบพบเจออยู่เป็นประจำนั่นเอง



ก็อย่างที่บอก Nolan ถูกหนังและชีวิตการทำหนัง Inception เข้าให้แล้ว





อาจมีคำถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว Fischer, Jr., The Mark กับ Mal, The Shade คืออะไร?

สำหรับสองตัวละครนี้อาจมีความหมายเป็นนามธรรมสักนิด





Fischer, Jr., The Mark (เป้าหมาย) = เป้าหมายของตัวหนัง หรืออาจหมายถึง สาระสำคัญที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอ หรืออาจเป็น “ตัวจุดประกายความคิด” ให้ผู้ชม ก็ได้



Mal, The Shade (เงา) = ปัญหาลึกๆของตัวผู้กำกับ (หรือผู้กำหนดทิศทางของหนัง) ที่เจ้าตัวไม่กล้าบอกทีมงาน ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อตัวหนังได้ หรืออาจหมายถึง อิทธิพลมืดที่คอยควบคุมการสร้างหนัง ก็เป็นได้

หรือไม่ก็แปลว่า “เมียผู้กำกับ” กันตรงๆนั่นแหล่ะ







เอาหล่ะ กลับมาสู่การวิจารณ์กันบ้าง


Inception เป็นความบันเทิงที่เข้าถึงไม่ยากนัก แต่ก็ไม่ง่ายเกินไปจนดูถูกสมองของผู้ชม ซึ่งนอกเหนือจากความประทับใจในตัวหนังแล้ว ก็ไม่ได้มีประเด็นหนักสมองให้เก็บไปคิดมากนัก

นอกเสียจากว่าใครจะสนใจในรายละเอียดต่างๆของเนื้อเรื่อง, รายละเอียดของกฎเกณฑ์ต่างๆ ในความฝัน หรือกลวิธีในการ Inception ก็คงมีอะไรให้ติดหัวออกไปคิดกันเล่นๆ เนื่องจากหนังเดินเรื่องเร็วพอสมควร



Nolan ยังคงถนัดกับการเล่าเรื่องราว "ตัวละครที่มีความรู้สึกผิดบาปในใจ" ไม่ต่างจากผลงานอื่นๆของเขา เพียงแต่ใน Inception หนังลดระดับความหดหู่ และความตึงเครียดของตัวละครลงไปเยอะทีเดียวเมื่อเทียบกับงานก่อนหน้านี้ทั้งหลาย

หนังไม่ได้ลงลึกในแง่ของการสำรวจจิตใจของมนุษย์ หรือในแง่ของปรัชญาเรื่องจิตใจ หรือความฝัน มากนัก


แต่ก็เป็นผลดีต่อตัวหนังมากกว่าผลเสีย เมื่อพิจารณาว่าเป้าหมายของหนังคือการเป็น หนังขายความบันเทิงประจำ Summer มากกว่าจะวางตัวเป็น หนังดราม่าขายการแสดง หรือ หนัง Sci-fi ขายปรัชญาล้ำลึก







ฉาก Action และ “ฉากโชว์ของ” หลายๆฉากนั้นทำออกมาได้ดีมีระดับ แม้จะไม่ได้สดใหม่ แต่ก็สร้างความตื่นตาตื่นใจได้ดีเยี่ยม


ที่โดดเด่นมากๆ คงหนีไม่พ้น “ฉากเมืองพับได้” กับฉาก “ไร้แรงโน้มถ่วง” ที่ต้องกลายเป็น “ภาพจำ” ของหนังแน่นอน



แต่ฉาก Action ใน Location หิมะขาวโพลนในช่วงท้ายนั้น ดูซ้ำซาก และขาดความสร้างสรรค์ไปหน่อย อีกทั้งตัวละครฝ่ายตัวเอกนั้นก็เก่งกาจมากเกินพอดีจนแทบจะไม่บาดเจ็บเลยซักนัด แม้กลุ่มผู้ร้ายจะยกโขยงมาเป็นกองทัพ (อารมณ์เดียวกับหนัง Bond นั่นแหล่ะ) ซึ่งทำให้อารมณ์ลุ้นเอาใจช่วยตัวละครนั้นมีน้อยเกินไป


แต่หนังก็ชดเชยด้วยการสร้างความลุ้นระทึกให้ผู้ชมโดยอาศัยเนื้อเรื่องที่เน้นไปที่ “การทำงานแข่งกับเวลาที่เหลือน้อยลงทุกที” ซึ่งต้องถือว่าเป็นการชดเชยที่ได้ผลมากๆ







แม้ Inception จะขนทีมนักแสดงมาเยอะมาก แต่หนังก็แชร์ความเด่นให้กับตัวละครทั้งหลายได้อย่างเหมาะสม



DiCaprio ยอดเยี่ยมในบท Cobb หัวหน้าทีม ที่ถือเป็นบทนำของหนัง ซึ่ง DiCaprio สามารถพาหนังไปตลอดรอดฝั่งได้สบายๆ อย่างไรก็ตามบทนี้ไม่ได้เรียกร้องการแสดงที่ลึกซึ้งหรือซับซ้อนมากนัก นี่จึงไม่ใช่ผลงานที่ชื่อของ DiCaprio จะถูกจดจำในฐานะหัวใจหลักของหนัง


Ellen Page เยี่ยมในบท Ariadne ที่เปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ชมที่เริ่มเข้าสู่โลกความฝันไปพร้อมๆกัน แต่ก็ทำหน้าที่เป็น Guide นำเที่ยว (ตัวละครที่สร้างเหตุให้มีการอธิบายเรื่องราวต่างๆ) ไปในตัวอีกด้วย



สำหรับนักแสดงคนอื่น ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองได้ดีและมีเสน่ห์ โดยเฉพาะ Joseph Gordon-Levitt ในบท Arthur และ Tom Hardy ในบท Eames


แต่ที่น่าเสียดายก็คือ ความสามารถของ Cillian Murphy ในบท Fischer, Jr. ที่หนังไม่เปิดโอกาสให้แสดงอะไรมากนัก







Inception ยังไม่ใช่งานที่ลุ่มลึกในระดับเดียวกับงานเก่าๆของ Nolan แต่ก็ถือเป็นงานขายความบันเทิงที่ซับซ้อน และสร้างสรรค์ จนยากที่จะเลียนแบบได้


หนังไม่มีประเด็นหนักๆอย่าง The Dark Knight แต่ก็มีความซับซ้อนและเต็มไปด้วยรายละเอียด แบบเดียวกับ The Prestige

ซึ่งทำให้หนังดูสนุก เข้าถึงไม่ยากนัก แถมยังสร้างความประทับใจ และเป็นความบันเทิงได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้



แน่นอนว่าตอนจบของหนังที่เป็น "ปลายเปิด" ให้ผู้ชมไปคิดต่อเอาเองนั้น จะสร้างกระแสความสงสัย ที่อาจส่งผลไปถึงการดูซ้ำ ย่อมเป็นผลดีต่อรายได้ของหนังอีกด้วย





สรุปว่า



Inception คืองานที่ Nolan ต้องการ Incept ผู้ชม

อย่างที่หนังหลายๆเรื่องเคย Incept ตัวเขามาแล้วนั่นเอง






ในช่วงต้นเรื่อง หนังบอกเอาไว้ว่า “ส่วนใหญ่แล้วความคิดแง่บวก ย่อมเติบโตได้ดีกว่าความคิดแง่ลบ”


ซึ่งนี่อาจตอบข้อสงสัยในตอนจบของหนังที่คลุมเครือได้ว่า สรุปแล้วมันจบแบบ “แง่บวก” หรือ “แง่ลบ” กันแน่



เพียงแต่ผู้ชมคงต้องพิจารณาเอาเองว่า “แง่บวก” หรือ “แง่ลบ” ของตัวเอง (หรือของ Cobb) คืออะไร





9 / 10 ครับ








Incept แปลว่า ริเริ่ม หรือ จุดประกาย (กริยา)

Inception แปลว่า การริเริ่ม (นาม)







Create Date : 20 กรกฎาคม 2553
Last Update : 20 กรกฎาคม 2553 4:50:53 น. 33 comments
Counter : 20757 Pageviews.

 
เข้ามาอ่านตามคำเชิญครับ (แต่ถึงไม่เืิชิญผมก็มา 555)

ขอให้ดาวบทวิเคราะห์นี้ครับ ชอบมาก ขอนำไปแปะในบล็อคนะครับให้คนได้อ่านกัน

ถ้าหนังเรื่องนี้สามารถให้อารมณ์ได้เหมือน Eternal Sunshine of the Spotless Mind ก็คงดีนะครับ แต่ก็เข้าใจว่า "ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง"

ในแง่นี้ผมมองว่า Fischer, Jr ที่เป็นเป้าหมายนั้นอาจเป็นผู้ชมก้ได้มั๊งครับ โนแลนเข้าไปสร้าง(ฝัง)ความบันเทิงแก่ผู้ชม (ฮา)

ผมติดเหมือนกับคุณนวกานต์เรื่องฝันชั้นที่สามที่เป็นหิมะเหมือนกันครับเพราะมันดูโดดมากและไม่เข้าพวกเอาเสียเลย แต่พอมาลองพิจารณาดีๆถึงเรื่องสีของภาพในแต่ละฝันแล้วผมคิดว่ามันน่าจะมีความหมายอะไรบ้างอย่างเหมือนกับที่ผมได้เขียนไว้ในบล็อคครับ

คุณนวการต์ลืมพูดถึง มาริญง โกติญาร์ด ไปหรือเปล่าครับ???? 555

ผมว่าตอนจบแบบนี้แหละที่มันเป็นสเน่ห์และเหนือชั้นที่สุดแล้วและสำหรับผมมันคือ "แง่ลบ" ครับ


โดย: Seam - C IP: 58.9.184.243 วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:24:24 น.  

 



ขอบคุณกับความคิดเห็นที่นำมาเสนอครับ


โดย: forever movie วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:57:15 น.  

 
เป็นบทวิจารณ์อีกมุมสำหรับความฝันคือภาพยนตร์ ตั้งแต่อ่านมา
ยังไม่มีใครตีความตามที่คุณเขียนนะ น่าสนใจดี

ผมจะบอกว่า ผมกลับชอบในส่วนการแสดงของ ซีเลียน เมอร์ฟีย์
เพราะเขาสามารถทำให้คนดูรู้สึกว่านี่แหละคือโลกความจริงนะ (โลกความจริงคือการที่เรานั่งดูหนังที่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งพาเข้าไปในฝัน) หรือจะพูดก็คือ ซีเลียนเปรียบเสมือน" โทเท็ม" ของคนดู ที่ทำให้เราไม่หลงทางเข้าไปในความอ้างว้าง ตระการตา และ ทับซ้อนของหนัง โนแลนนั้นได้ ยัดโทเท็ม(ซีเลียน)ให้คนดูตั้งแต่ฝันชั้นcrate ยัน ชั้นห้วงนรก และทันทีที่ตัวโทเท็มตัวนี้ตื่นขึ้น คนดูจึงได้รู้สึกว่า "เฮ้อ" โล่งอกหลังจากที่วิ่งเข้าไปในนั้น 2ชั่วโมงครึ่ง ... ซีเลี่ยนแสดงเป็นโทเท็มได้สมบูรณ์แบบมาก เป็นโทเท็มที่หมุนตลอดเวลา วิงๆอึงๆวนๆ "นี่มันอะไรวะเนี้ย" ผ่านสายตาตลอด ในขณะที่คนอื่นๆ เข้าใจดีว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องทำอย่างไรถึงจะผ่านไปได้ ...และโทเท็มนี้ก็หยุดหมุนพร้อมๆกับการตื่นของเขา(และคนดู)

โนแลนฉกาจมาก Incept ตั้งแต่ตัวหนังยันคนดู
แต่ที่ร้ายกาจกว่านั้นคือ Incept ตัว Inception เองด้วย!!

เราถึงมานั่งดีความกันอยู่นี่ไง!!!


โดย: จวงจื้อ IP: 110.164.164.157 วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:35:45 น.  

 
เป็นหนังที่ทรงพลังเรื่องแรกของปี 2010


โดย: Roundshady วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:36:43 น.  

 
อ่านการวิเคราะห์ของท่านก็ยัง งงๆ
อยู๋
ดังนั้น คงต้องกลับไปซ้ำอีกครั้งในรายละเอียด
เงื่อนไขที่เล่าเร็วเสียจน
ตามไล่คิดเงื่อนไขเหล่านั้นไม่ทัน


โดย: Mr.Chanpanakrit วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:50:17 น.  

 
ชอบความคิดที่ว่าไม่ควรฝืนธรรมชาติ เคยอยู่กันจนแก่เฒ่าแล้วหนึ่งรอบก็น่าจะพอ
ไม่ต้องมาวนหลายรอบจนเป็นปัญหา ผมว่าเชิงพุทธเลยครับ ปล่อยวาง เข้าใจธรรมชาติ

คุณว่าฉากจบเป็นเรื่องจริงหรือความฝันครับ?


โดย: คนขับช้า วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:6:27:27 น.  

 
คารวะเ้ม้นต์คุณจวงจื้อ 3 จอกครับ


โดย: Seam - C IP: 58.9.220.150 วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:49:25 น.  

 
เล่นเฟสบุคใหมท่าน ถ้าเล่นก็รบกวนแอ่ดมาหน่อยเน้อ

//www.facebook.com/ayuwat.angkhawut?ref=profile


โดย: Job IP: 125.25.246.225 วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:20:01 น.  

 
กำลังไล่หาความกระจ่างในการหลุดจากฝันขั้นที่4ครับ
ถ้าฆ่าตัวตายแล้วสามารถหลุดพ้นได้ แล้วถ้าอยู่จนแก่ตายหล่ะครับ คือดอมเล่าว่าอยู่กับมอลจนแก่ แต่ก็มีฉากที่รอรถไฟทับตายที่ยังเป็นหนุ่มกันอยู่เลยไม่เข้าใจว่าพวกเขากลับมาได้ยังไง

รบกวนแลกเปลี่ยนความเข้าใจด้วยครับ


โดย: 623 IP: 124.121.117.87 วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:42:49 น.  

 
ผมมีคำถามสำหรับใครที่ไปดูมาแล้วช่วยออกความคิดเห็นหน่อย ผมดูมาแล้ว2รอบ ยังเก็บได้ไม่หมด
1. คอปบอกแอเรียลว่าอยู่ในห้วงนรกราว50ปี แต่กลับดูไม่แก่เลย เพราะอะไร(สังเกตจากก่อนโดนรถไฟทับหัว)
2. ห้วงนรกคือฝันเบื้องลึกแล้วถ้าเราฝันอีกในห้วงนรกละจะไปไหน?
3. ถ้าตายในห้วงนรกเราจะตื้นจากฝัน(จากที่คอปและมอลล์ให้รถไฟทับ) แล้วในกรณีที่ใช้ยานอนหลับที่แรงมาก เราจะตื่นรึเปล่าแล้วถ้าไม่ตื่นละจะไปไหน
4. ห้วงนรกคือ ฝัน4ระดับใช่เปล่าหรือว่าลึกกว่านั้น
ผมดูแล้วรู้สีกมีคำถามไม่กระจ่างอะ เพื่อนๆช่วยลงความคิดเห็นหน่อยนะ ปล. ขออภัยสำหรับท่านที่ยังไม่ได้ดู เพราะมีสปอยหน่อยๆ


โดย: leonscott IP: 182.52.187.107 วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:40:34 น.  

 
ตอบคุณ Seam-C

ผมโดนน้อง Page ครอบงำไปแล้วครับ




ตอบคุณ forever movie, Roundshady, Mr.Chanpanakrit







ตอบคุณ จวงจื้อ

ซีเลียนเปรียบเสมือน" โทเท็ม" ของคนดู

แต่อาจเป็นโทเทมลวงก็ได้นะครับ





ตอบคุณ Job

ผมสมัครทิ้งไว้น่ะครับ แต่ไม่เคยเข้าไปดูแลเลย

แต่เดี๋ยวจะเข้าไป Add นะครับ





ตอบคุณ คนขับช้า

ผมไม่มีความเห็นน่ะครับ ดูจบแล้วก็ผ่าน ไม่ได้เก็บไปคิด


โดย: navagan วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:26:01 น.  

 
ขอตอบคุณ 623 กับ leonscott พร้อมกัน นะครับ


ผมดูไปแค่รอบเดียว และยังจำบางรายละเอียดไม่ได้อีกด้วย หวังว่าการตอบมั่วๆของผม คงช่วยได้บ้าง


ถ้าเงื่อนไขต่างๆในหนังถูกต้องสมบูรณ์ ไม่แย้งกันเองนะครับ




1. คอปบอกแอเรียลว่าอยู่ในห้วงนรกราว50ปี แต่กลับดูไม่แก่เลย เพราะอะไร(สังเกตจากก่อนโดนรถไฟทับหัว)

ตอบ ฝันชั้นที่ว่าอาจจะไม่ใช่ "นรก" ก็ได้นะครับ จำไม่ได้เหมือนกัน


2. ห้วงนรกคือฝันเบื้องลึกแล้วถ้าเราฝันอีกในห้วงนรกละจะไปไหน?

ตอบ "ห้วงนรกกว่า"

คิดว่าห้วงนรกคงหมายถึงชั้นที่ลึกมากๆ น่ะครับ แต่คงลงไปได้เรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด
(นึกถึงฉากกระจกสองบานสะท้อนกันจนไม่มีที่สิ้นสุดในหนังสิครับ)


3. ถ้าตายในห้วงนรกเราจะตื้นจากฝัน(จากที่คอปและมอลล์ให้รถไฟทับ) แล้วในกรณีที่ใช้ยานอนหลับที่แรงมาก เราจะตื่นรึเปล่าแล้วถ้าไม่ตื่นละจะไปไหน

ตอบ เราโดนรถไฟทับ แต่จะไม่ตายครับ และคงจะคิดว่า "เฮ้ย กรูเป็นอมตะนี่หว่า" หรือไม่ก็ "รึกรูกำลังฝันไป" (ก็แหง)


4. ห้วงนรกคือ ฝัน4ระดับใช่เปล่าหรือว่าลึกกว่านั้น

ตอบ ไม่ใช่ครับ คงหมายถึงชั้นลึกมากๆมากกว่า




ปล. ทุกคำตอบเติมคำว่า "คิดว่า" ก่อนหน้าเสมอ


โดย: navagan วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:03:15 น.  

 
ไม่ฝันแล้วครับตอนท้าย
ได้เห็นหน้าลูก

คุณ Seam-C@exteen เขียนเรื่องสีในฝันแต่ละขั้นน่าสนใจมากครับ


โดย: คนขับช้า วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:17:49 น.  

 
บทความน่าสนใจมากครับ ขยันและตั้งใจกับมันจริงๆ เยี่ยมเลย


โดย: phaley13 IP: 115.87.150.247 วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:26:52 น.  

 
ชอบprestigeมากกว่าครับ หนังยังกลมกล่อมไม่พอ


โดย: ซอยดอกรักษ์ IP: 119.31.40.53 วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:45:52 น.  

 
ถือว่าตอบโจทย์ของหนังได้ครอบคลุมดีครับ แถมยังมีการเหยาะแนวคิดและการตีความในสไตล์ของคุณ navagan อีก เยี่ยมครับ ๆ ;)

สำหรับผมแล้วผมชอบอะไรที่เป็นแง่บวกนะครับ คืออย่างน้อยถ้าจะเป็นแง่ลบ ก็ขอให้หนังมันส่งซิกหรือปูทางว่าจะไปทางนั้น (อย่างเช่น Brazil หรือ Pan's Labyrinth) แต่อย่างเรื่องนี้ที่ยกประโยคตอนท้ายว่า “ส่วนใหญ่แล้วความคิดแง่บวก ย่อมเติบโตได้ดีกว่าความคิดแง่ลบ” ผมว่ามันก็เหมือนเป็นการบอกใบ้กับคนดูเหมือนอย่างที่คุณ navagan ว่านะ

สำหรับตอนจบของเรื่องนี้ตามความคิดของผม เจ้าลูกข่างนั้นไม่ใช่สิ่งที่กำหนดชะตากรรมของพระเอกด้วยซ้ำนะครับ แต่เป็น "อำนาจ" ในการทำให้ลูก ๆ หันหน้ามาต่างหาก ที่ถูกโอนเปลี่ยนมือจากจิตใต้สำนึกสู่ความเป็นจริง แค่นั้นผมก็เข้าใจ (ในความคิดของตัวเอง) แล้วว่ามันลงเอยยังไง ;)


โดย: BloodyMonday IP: 124.122.81.220 วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:17:11 น.  

 
@navagan

แน่นอนว่าการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีของฟรอยด์ของผม คงจะลงลึกไม่ได้มากนักครับ เพราะศึกษาแบบมือสมัครเล่นผ่าน pocket book ไม่กี่เล่มน่ะครับ
แล้วก็ไม่ได้อ้างอิงแบบเปิดหนังสือด้วยครับ ซัดเอาจากความทรงจำล้วนๆ และเป็นบทความที่เรียนตามตรงว่าค่อนข้างลวกๆ
(ไม่ค่อยชำนาญการใช้ pantip เลยต้องแก้ไขวรรคตอนกับศัพท์ที่ใช้อยู่หลายครั้ง แหะ แหะ........)

จริงๆ มันจะมีทฤษฎีการตีความฝัน และการลบล้างจิตใต้สำนึก ด้วยการพูดคุยกับคนไข้บนเตียง (คนไข้อยู่ในสภาพกึ่งหลับกึ่งตื่น)
แล้วปล่อยให้คนไข้ได้ปลดปล่อยความรู้สึกในจิตใต้สำนึกตัวเองออกมา โดยจิตแพทย์จะค่อยๆตีความคิด ณ ตอนนั้น ว่าด้วยสาเหตุใดทำให้คนไข้แสดงพฤติกรรมผิดปกติ
แล้วจึงรักษาด้วยการให้คลี่คลายจากจุดนั้น (ฟรอยด์เขียน case study ไว้หลากหลาย - โดยเฉพาะคนไข้ที่มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปกติ เช่น สำส่อน - เป็นฮิสทีเรีย - sadomosochism-พวกกามวิปริต)

ตรงนี้ผมว่าเป็นวิธีการที่ INCEPTION ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างโครงสร้างหนังขึ้นมาชัดเจน
แต่ใส่ SPECIAL EFFECT เข้าไปในมันสนุก เกิด di caprio ไปเปิด clinic รับวิเคราะห์จิต แล้วรักษาฟิชเชอร์คงน่าเบื่อตาย

ส่วนเรื่องเข้าไปได้รับแรงบันดาลใจจาก blog ผมไม่เคยเข้าไปใน blog ของใคร เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เลยครับ
และนี่ก็เป็นการวิจารณ์หนังครั้งแรกของผม ที่พยายามเรียบเรียงขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอัน

ส่วนตัว อ่านงานวิจารณ์หนังมาบ้าง (แต่ไม่ได้เรียนสายนี้โดยตรง - โตขึ้นมามีความเสียดายเล็กน้อย)
ชอบหลายสไตล์ทั้งแบบ drama หน่อย อย่างคุณนราและอีแร้ง, แบบในเชิงวิเคราะห์โครงสร้างอย่างลึกซึ้งอย่างคุณประชา สุวีรานนท์,
แบบปรัชญาหนักๆ ของคุณเสรี พงศ์พิศ, หรือแม้กระทั่งวิเคราะห์หนังด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา.....
ชอบและสนุกกับทุก approach ส่วนตัวคิดว่าแต่ละคนก็จะมี tools และ ทัศนคติในการมองโลกที่แตกต่างกันไป ทำให้การตีความหนังออกมาไม่เหมือนกัน

ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบตัวละครในบริบทอื่นๆ พอดีผมเป็นสถาปนิกมั้งครับ เลยอยากลองเปรีบบเทียบดูว่าในโลกแห่งความเป็นจริงทางวิชาชีพ
ใครแต่ละคนควรจะเป็นอย่างไร จริงๆ การทดลองเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งในบริบทที่แตกต่างกันออกไป ก็ไม่ได้เป็นความคิดใหม่อะไรนะครับ
คนเราก็ชอบคิดเพื่อทดสอบตรรกะในแง่มุมต่างๆ ในเรื่องทั่วไปอยู่เสมอๆ ครับ

ว่าแต่ว่า คุณ navagan ศึกษาแล้วตีความหนังด้วยวิธีนั้นอย่างไรบ้างล่ะครับ?


โดย: imaginarium@เฉลิมไทย IP: 183.89.43.144 วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:19:02 น.  

 
^
^
^
^

ขอบคุณครับ imaginarium



สำหรับผมแล้วเรื่อง "ปมปิตุฆาต" นั้น ผมว่าที่วิเคราะห์มาก็โอเคนะครับ

แต่มันไม่ใช่ประเด็นที่หนังเน้นย้ำน่ะครับ เลยเลือกที่จะไม่พูดถึง


โดย: navagan วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:37:33 น.  

 
จากที่ดูมาวันนี้ เข้าใจว่า
1.คอปกับมอลนอนให้รถไฟทับเป็นระดับ 2 เลยดูไม่แก่ (หลักเดือน) ส่วนที่เขาอยู่กันจนแก่เป็นระดับ 3 (ช่วงเวลานาน 50 ปี)
2.คอปน่าจะติดอยู่ในฝันระดับ 5 ที่ไปหาไซโตะ และอยู่ในนั้นว่าตัวเองทำภารกิจสำเร็จ เพราะเหมือนรู้สึกว่าเขาถูกมอลแทงในระดับ 4 และไม่มีใครอยู่ kick ให้เขาตื่น


โดย: นัดคุง (Nileriver ) วันที่: 25 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:33:28 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ


โดย: McMurphy วันที่: 30 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:17:09 น.  

 
อ่านจบแล้ว
ว่าจะไปดูอีกรอบยังมึนๆ งงๆ อยู่เลย

งงกับโทเทม ตอนท้ายนี่แหละ

แอบเห็นด้วยตรงที่ว่า ไม่ค่อยชอบฉากท้ายเรื่องเมืองหิมะซักเท่าไหร่ กลุ่มพระเอกเก่งเว่อร์เกิน


โดย: i love johnny depp IP: 125.25.234.121 วันที่: 2 สิงหาคม 2553 เวลา:2:21:40 น.  

 
ผมขอชื่นชมบทวิจารณ์ของคุณ navagan ในด้านข้อมูลและรายละเอียดประวัติการสร้างหนังของ Nolan ทำให้ได้ทราบแนวคิดของผู้สร้าง Inception ซึ่งขอบอกว่าสุดยอดมากกกกก

ผมดูหนังเรื่องนี้แล้วผมทึ่งในความคิดของ Nolan ที่กล้าเล่นกับจิตของมนุษย์ซึ่งเป็นอะไรที่ลึกซึ้งมาก โดยสามารถนำความคิดซึ่งเป็นนามธรรม(ความฝัน) มานำเสนอให้เห็นเป็นรูปธรรม
ความตอนหนึ่งของหนังที่อธิบายถึงช่วงเวลาของความฝันในแต่ละระดับ (ผมจำตัวเลขไม่ได้แน่ชัดเพราะดูแค่รอบเดียว) Cobb บอกว่าความฝันในระดับที่ 2 กินช่วงระยะนานกว่าฝันระดับที่ 1 และฝันในระดับที่ 3 กินช่วงระยะนานกว่าฝันระดับที่ 2 หลายเท่า ดังนั้นเมื่อฝันลึกลงไปในระดับที่ 3 คุณจะติดอยู่ในนั้นนานนับ 10 ปี ใครที่เคยอ่านหนังสือ ‘ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” จะเข้าใจแนวคิดนี้ได้เป็นอย่างดี ในหนังสือเล่มนี้เปรียบเทียบให้เห็นว่าเวลาในนรกภูมิเดินเร็วกว่าเวลาบนโลกมนุษย์หลายเท่านัก (ต่างกันเป็นหมื่นปี) เวลาในโลกมนุษย์ 1 วัน เท่ากับเวลาในนรกภูมิเป็นหมื่นปี ดังที่เราชาวพุทธเคยได้ยินมาว่า ใครที่ทำความชั่วจะตกนรกและจะชดใช้กรรมในนรกชั่วกัปชั่วกัลป์นั่นคือเป็นหมื่นๆปีในนรกภูมิซึ่งเมื่อเทียบกับเวลาในโลกมนุษย์อาจจะไม่กี่ปี แต่ความรู้สึกที่ติดอยู่ในนั้นมันนานในโลกมนุษย์ ในหนัง Inception ตัวละครก็ฝันลงไปลึกใกล้นรกภูมิเต็มทีซึ่ง Ariadne อุทานออกมาหากเธอฝันลึกลงไปถึงระดับที่ 3 จะทำให้ติดอยู่ในนั้นนานเป็นสิบปีเลยหรือ แสดงให้เห็นว่า Nolan มีความรู้(หรืออาจจะไม่รู้ก็ได้)เกี่ยวกับเวลาในแต่ละพบภูมิของพุทธศาสนาเช่นกัน
ใครที่ยังนึกไม่ออกว่าการติดอยู่ในห้วงเวลาในความฝันระดับที่ 3 ทำให้รู้สึกว่าติดอยู่ในนั้นแค่ไหน ลองดูหนังเรื่อง “Narnia” ภาคที่ 1 แล้วจะเข้าในความรู้สึกของการติดอยู่ในความฝันนานๆๆๆๆ

ส่วนตัวละคร” Mal” ซึ่งในเรื่องเป็นเสมือนตัวร้ายของเรื่องนั้น Mal เกิดไปยึดติดและแยกแยะไม่ออกระหว่างความฝันและความจริง เมื่อมองในมุมของพุทธศาสนาก็คือ Mal ไปติดหรือลุ่มหลงกับภาพนิมิต ซึ่งในพุทธศาสนาได้สอนให้เราได้รู้จักการทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ได้จากการทำสมาธิ ซึ่งเมื่อทำสมาธิเมื่อมาถึงระดับหนึ่งแล้วจะเกิดภาพนิมิต พระอาจารย์ทุกท่านที่สอนการทำสมาธิจะเน้นให้ทราบว่าเป็นเพียงนิมิตอย่ายึดติดให้ปล่อยวาง และรับรู้ก็พอ หากยึดติด ไปลุ่มหลงในนิมิตก็จะทำให้จิตเพี้ยนไปได้ เช่นเดียวกันกับ Mal ที่ไปยึดติดและไม่ปล่อยวาง

สรุปว่าหนังเรื่อง Inception หากดูให้ลึกซึ้งแล้วมีคติธรรมแฝงอยู่ไม่น้อยขึ้นอยู่กับผู้ชมจะมองในมุมใด


โดย: ปันปัน IP: 222.123.215.162 วันที่: 4 สิงหาคม 2553 เวลา:23:54:22 น.  

 
เก่งครับ


โดย: .. IP: 124.122.198.195 วันที่: 20 กันยายน 2553 เวลา:23:04:01 น.  

 
ขออนุญาติ นำบทความในส่วนของ "ตัวละครใน Inception เป็น บุคลากรหลากหลายหน้าที่ในกระบวนการสร้างหนัง"

เอาไปประกอบรายงานหน่อยนะครับ จะเอาไปไว้กะส่วนเกร็คเล็กเกร็ดน้อย


โดย: นายนัท IP: 124.121.35.126 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:18:37:40 น.  

 
^
^
^

เอาไปก็อย่าลืมให้เครดิต และอ้างถึงที่มาที่ไปนะครับ


และถ้าเป็นไปได้ขอดูรายงานด้วยครับ


โดย: navagan วันที่: 1 มีนาคม 2554 เวลา:1:04:01 น.  

 
^
^
^
ไม่ไห้เครดิตคงไม่ได้อยู่แล้วครับ ฮ่าๆ
เพราะอาจารย์ คงไม่เชื่อแน่ๆว่าผมคิดเอง
สุดยอดจริงๆ ผมยังคิคไม่ถึงเลยนะครับเรื่องนี้อ่ะ

ส่วนตัวรายงาน เดี๋ยวผมจะเอามาไห้ครับ (รอส่งอาจารย์ก่อน)


โดย: นายนัท IP: 110.168.20.206 วันที่: 4 มีนาคม 2554 เวลา:21:06:29 น.  

 
^
^
^

รออ่านนะครับ

ขอบคุณมากๆ


โดย: navagan วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:1:28:29 น.  

 
คุณปันปัน อธิบายเรื่องเวลา กับ เรื่องนรกภูมิ ได้ดีมากครับ
กลัวทำบาปขึ้นมาทันใด


โดย: คุณพอล IP: 58.9.143.130 วันที่: 27 มีนาคม 2554 เวลา:6:24:28 น.  

 
บอกได้คำเดียวว่า ..นี่แหละสุดยอด เกิดมายี่สิบกว่าปีเพิ่งจะเจอ ต้องขอบคุณคริสโตเฟอร์ โนแลนมากเลยล่ะค่ะ


หรือ...คุณไม่เคยฝันซ้อนฝัน


โดย: tookkatun_mooaon@hotmail.com IP: 49.229.83.85 วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:22:21:21 น.  

 
มาขอบคุณค่าที่แนะนำเรื่อง Inception ให้

แหะๆ
เข้าใจขึ้นเยอะเลย


โดย: DaRaDoRa วันที่: 16 มิถุนายน 2555 เวลา:1:43:25 น.  

 
หลายคนอาจคิดว่าผมวิเคราะห์หนังเกินจริงไปบ้าง คิดลึกเกินไปบ้าง
แต่อย่างน้อยกระทู้นี้ //pantip.com/topic/31584972 ก็ทำให้ผมรู้ว่าผมไม่ได้วิเคราะห์หนังเกินจริง
เพราะสิ่งที่ผมคิด คือแนวคิดเดียวกับ Christopher Nolan

จากข้อ 2 “คริสโตเฟอร์ โนแลนด์อธิบายบทบาทของตัวละครโดยเปรียบเสมือนเป็นกองถ่าย “คอบบ์คือผู้กำกับ, อาร์เธอร์คือโปรดิวเซอร์, แอดเรียนเน่คือดีไซเนอร์โปรดักชั่น, อีมส์คือนักแสดง, ไซโตะคือสตูดิโอ และฟิชเชอร์คือผู้รับชม”

ซึ่งผมไล่เช็คถึงที่มาที่ไปก็คือ ข้อมูลนี้มาจากบทความที่เขียนลงในหนังสือ Entertainment Weekly ฉบับ July 2010 ซึ่งวางแผงวันที่ 23 กรกฏาคม 2010


หนังสือที่มาของบทความ
//popwatch.ew.com/2010/07/22/this-weeks-cover-inception-di-caprio/


เนื้อหาที่ถูกเผยแพร่
//popwatch.ew.com/2010/07/24/behind-the-scenes-of-inception-a-movie-about-movies%E2%80%94and-the-mind-of-its-maker/

ส่วนบทวิเคราะห์ของผมเขียนเสร็จวันที่ 20 กรกฎาคม 2010 ดังนั้นรับประกันได้ว่าผมไม่ได้ลอกแนวคิดนี้มาจากใคร


โดย: navagan วันที่: 29 มกราคม 2557 เวลา:21:12:31 น.  

 
ปล. จะต่างกันนิดคือ Nolan เขามองว่า Fischer คือ ผู้ชม

ส่วนผมมองว่า Fischer คือ Theme ของหนัง


โดย: navagan วันที่: 29 มกราคม 2557 เวลา:21:56:30 น.  

 
วันนี้คือ วันที่ 14 ตุลาคม 2562

วันหยุดราชการในปีนี้ เลยมีเวลาได้ดูหนังจาก Netflix หนังดีมาก เราส่วนตัวตีความเรื่องของสมอง อยากเข้าใจความคิดว่าเขาคิดยังไงกับสมอง แต่ดันมาได้อ่านบทวิเคราะวิจารณ์ในแนวนี้ แปลกดี อ่านสนุก

ขอถาม สรุปตอนสุดท้ายนี่เค้าออกจากความฝันและกลับบ้านได้จริงๆ หรือฝันต่อลงไปอีก เพราะลูกข่างมันหมุนต่อเรื่อย

เฉลยหน่อยนะค่ะ


โดย: mamasoupthefreelancer IP: 184.22.242.48 วันที่: 14 ตุลาคม 2562 เวลา:12:58:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.