All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
*** Gone Girl *** สร้างภาพลักษณ์ สร้างภาพรัก

*** Gone Girl ***






ผลงานล่าสุดของ David Fincher ที่ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อเดี่ยวกันของ Gillian Flynn ซึ่งบทภาพยนตร์ก็ยังเป็นฝีมือ Flynn เช่นกัน


หนังว่าด้วยเรื่องของการหายตัวไปของ Amy Dunne (Rosamund Pike) ในวันครบรอบแต่งงาน 5 ปีกับ Nick Dunne (Ben Affleck)



จากนี้เป็นการวิเคราะห์-วิจารณ์แบบเปิดเผยเนื้อหาสำคัญครับ







Amy คือสาวน้อยมหัศจรรย์ขวัญใจมหาชนที่โด่งดังจากหนังสือกึ่งชีวประวัติของเธอเรื่อง The Amazing Amy ที่เขียนโดยพ่อแม่ของเธอเอง


แต่อย่างที่เธอเล่าให้ Nick ฟัง ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริง Amy มักจะนำหน้าเธอหนึ่งก้าวเสมอ สาวน้อยใน The Amazing Amy มักจะดีและเก่งกว่าตัวจริงของเธอ


อย่างไรก็ตาม Amy ต้องเสแสร้งเป็น หญิงสาวใน The Amazing Amy อยู่ตลอดเวลาตามที่พ่อแม่และสังคมรู้จักเธอ



ลองพิจารณาดูว่าหนังสือชุด The Amazing Amy เป็นหนังสือที่เขียนตั้งแต่เธอยังเด็ก Amy จะคุ้นชินกับการเสแสร้งเป็นคนอื่นดีแค่ไหน



การสร้างภาพลักษณ์เป็นคนอื่น คือ สิ่งที่ Amy ทำตลอดเวลา






แต่สำหรับ Nick เขาไม่รู้จัก The Amazing Amy มาก่อน เขารักเธอในฐานะของ Amy



หนังใส่ตัวละคร Desi Collings (Neil Patrick Harris) อดีตคนรักสมัยเรียนของ Amy เพื่อให้เห็นภาพเปรียบเทียบ

แม้ผ่านมาหลายสิบปี เมื่อ Amy กลับไปหาเขา เขาก็พร่ำบอกว่าคิดถึง Amy คนเดิม เฝ้าพิจารณาเธอและอยากให้เธอเปลี่ยนไปเป็นคนเดิม

Desi ไม่ได้รักตัวตน Amy เขารัก The Amazing Amy ตัวตนอันเสแสร้งของเธอ



ในตอนนี้ Nick คือผู้ชายซื่อๆที่ไม่ได้เสแสร้งอะไรกับ Amy ทุกอย่างยังปกติสุขเมื่อทั้งคู่แต่งงานกัน



Nick คือผู้ชายที่ไม่สร้างภาพกับ Amy






อย่างไรก็ตามเมื่อความทุกข์เข้ามาเยือน ความรักก็เริ่มสั่นคลอน เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ฐานะทางการเงินเริ่มแย่ลง Nick ตกงาน นี่เป็นบททดสอบของชีวิตคู่ดังที่ Amy บันทึกเอาไว้

แถมแม่ของ Nick ยังป่วยหนัก นั่นทำให้ทั่งคู่ต้องย้ายไปที่ Missouri บ้านเกิดของ Nick โดยที่ไม่ถามความคิดเห็นของเธอ ยิ่งทำให้วิกฤติชีวิตคู่แย่ลงไปอีก



แต่เดี่ยวก่อน อาการจืดจางในความรัก อาจเป็นสาเหตุของการล่มสลายของชีวิตคู่ แต่กับ Amy ที่เตรียมตัวจะ Work Hard กับชีวิตแต่งงานอยู่แล้วคงจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่


สิ่งที่น่าจะทำให้ Amy เจ็บมากที่สุด คือการที่ Nick เสแสร้งและโกหกเธอ

Nick ที่นอกจากจะหมดรักเธอแล้ว ยังนอกใจเธอด้วย เธอเห็น Nick ทำกับผู้หญิงคนใหม่ในแบบเดียวกับที่เคยทำกับเธอ



Nick คนซื่อที่ไม่สร้างภาพได้เปลี่ยนไปเป็น Nick จอมเสแสร้งไปแล้ว






หลังจาก Amy หายตัวไป Nick กลายเป็นจำเลยของสังคม ในฐานะผู้ต้องสงสัยในข้อหาฆาตกรรมภรรยาตัวเอง

ดังนั้น จากคำแนะนำของ Tanner Bolt (Tyler Perry) ทนายความที่ Nick จ้างมา เพื่อไม่ให้เรื่องบานปลายหนักไปกว่านี้ Nick ต้องชิงพื้นที่สื่อออกแถลงการณ์เรื่องการมีชู้และยอมรับว่าเป็นคนไม่ดี แต่อยากให้ Amy ยกโทษให้แล้วรีบกลับมา



Nick เรียกศรัทธาคืนจากสังคมได้ การเสแสร้งของเขายังทำให้ผู้ชมเชื่อว่า Nick ไม่ได้เป็นคนฆ่าภรรยา
(สร้างภาพให้เห็นว่า เขาเป็นคนไม่ดีทำให้เธอหนีหายไป แสดงให้สังคมเห็นว่าอยากให้เธอกลับมาจริงๆ แสดงให้สังคมรับรู้ว่าเขายังคิดว่าภรรยาไม่ตาย นั่นหมายความว่าเขาไม่ได้เป็นคนฆ่าภรรยา)


แต่ในที่สุด Nick ก็ตกเป็นผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม เนื่องจากหลักฐานที่ Amy ได้จัดฉากไว้อยู่ดี



การสร้างภาพครั้งนี้เรียกคะแนนนิยมจากสังคมได้มาก ไม่แค่เฉพาะสังคมเท่านั้น Amy ที่ได้ชมรายการนี้ถึงกับเปลี่ยนแผน สร้างเรื่องราวใหม่เพื่อกลับมาหา Nick
(อันที่จริง Amy จะทำตามแผนเดิม โดยร่วมมือกับ Desi ก็ได้ เพราะ Desi ยอมตาม Amy อยู่แล้ว)



ใช้วิธีสร้างภาพลักษณ์แบบเดียวกับที่ Amy ทำ คือวิธีแก้ปัญหานี้






ท้ายที่สุด Nick ที่กำลังเตรียมสู้คดีในชั้นศาลก็ต้องประหลาดใจ เมื่อ Amy ที่หายไปกลับคืนมา ข้อกล่าวหาว่าเขาก่อคดีฆาตกรรมภรรยาตัวเองเป็นอันจบลง


อย่างไรก็ตามนี่คงไม่ใช่ความสุขของ Nick อีกต่อไป เพราะถึงจะหลุดจากคดีฆาตกรรม Nick ยังต้องอยู่กับ Amy ที่ตอนนี้เขาเริ่มหวาดกลัวเธอไปอีกสักพัก


Amy หว่านล้อมให้เขาร่วมมือ “รักษาภาพ” ที่สร้างเอาไว้ต่อไป ซึ่งตอนนี้ Nick ติดบ่วงที่ตนเองได้สร้างภาพออกสื่อเอาไว้แล้ว
(เขาไม่สามารถเลิกกับ Amy ได้เพราะจะขัดแย้งกับภาพที่สร้างเอาไว้ และ Nick กำลังจะมีลูกกับ Amy ซึ่งเขาต้องรับผิดชอบ)


เมื่อสร้างภาพต่อสังคมเพื่อเอาตัวรอดแล้ว เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ทันทีเมื่อหลุดพ้นจากปัญหา แต่ยังคงต้องรักษาภาพนี้ต่อไปอีกยาวนาน



การสร้างภาพอาจช่วยให้รอดจากปัญหาได้ แต่ต้องรักษาภาพลักษณ์นั้นไปอีกนาน






ท้ายที่สุด ผู้ชมคงไม่สามารถรับรู้ชะตากรรมต่อไปของทั้งคู่ เพราะหนังเลือกที่จะจบตรงนี้ อย่างไรก็ตามเราก็รับรู้ได้ว่า Nick ได้รับบทเรียนอะไรบ้างจากการกระทำของเขา

Nick นอกใจและหลอกลวง Amy จนโดนเธอลงโทษ แต่ Nick ยังใช้วิธีเดิมเพื่อเอาตัวรอด
(อันที่จริง Nick เคยพูดว่าเรื่องจริงต่างหากจะช่วยให้เขารอด แต่ด้วยการแนะนำของ Tanner ว่าวิธีเอาตัวรอดที่ดีที่สุดคือการหลอกลวงต่อไป)



ฉากแรกและฉากจบของหนังคือฉากเดียวกัน แต่เราจะเข้าใจหัวอกของ Nick ได้มากขึ้นว่าทำไมเขาถึงไม่เข้าใจ Amy อีกต่อไป



แม้ทุกอย่างจะคลี่คลายลงแล้ว แต่สิ่งที่หายไปก็คือตัวตนแท้จริงของพวกเขา

ทั้ง Amy และ Nick ต่างก็ต้องอยู่กับภาพลักษณ์ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาไปอีกนาน






นอกจากประเด็นหลักข้างต้นแล้ว หนังยังนำเสนอภาพของยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ

สื่อมีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากขึ้น นั่นทำให้ “ภาพลักษณ์” ของเรากลายเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องภายในครอบครัวก็อาจกลายเป็นเรื่องสาธารณะในวงกว้าง ไม่ใช่แค่ในระดับหมู่บ้าน แต่อาจกว้างถึงระดับประเทศ

การบิดเบือนของสื่อ การเกาะกระแสเพื่อความดังโดยไม่สนใจผู้อื่น คือจุดเล็กๆน้อยๆที่หนังแสดงให้เห็น



ความสัมพันธ์ระหว่าง Margo (Carrie Coon) น้องสาวฝาแฝดของ Nick แสดงให้เห็นว่าเราสร้างภาพ หลอกลวง หรือปกปิดความจริงได้แม้กระทั่งคนที่หวังดีกับเรา แต่หนังก็แสดงให้เห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการคุยกันแบบเปิดเผย



ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่าง และทำให้นึกไปถึงผลงานเรื่องก่อนของ David Fincher อย่าง The Girl with The Dragon Tattoo ก็คือ



แม้ผู้หญิงจะฉลาดหรือแข็งแกร่งแค่ไหน เธอก็ยังถูกทำร้ายได้โดยผู้ชายอยู่ดี






Gone Girl คืองาน Thriller Drama ที่สะท้อนยุคสมัยได้อย่างน่าสนใจ


การกำกับของ David Fincher ไม่ได้เร่งเร้าอารมณ์โดยใช้ทักษะทางภาพยนตร์จนเกินงาม แต่ปล่อยให้พลังของเนื้อเรื่องพาผู้ชมไปข้างหน้า

งานภาพของ Jeff Cronenweth และดนตรีประกอบของ Trent Reznor และ Atticus Ross ทีมงานขาประจำของ Fincher คือความพอดี ไม่มีโฉ่งฉ่างจนกลบเนื้อหาของหนัง



Rosamund Pike ในบท Amy คือตัวละครที่น่าจดจำที่สุดในหนัง ขณะที่นักแสดงคนอื่นต่างก็ทำหน้าที่ได้ดี



ข้อเสียของหนังคือ บางครั้งบทหนังเล่นง่ายเกินไปในการคลี่คลายสถานการณ์บางอย่างที่เป็นจุดพลิกผันของเรื่อง

ส่วนบทหนังในองก์สุดท้ายอาจมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ เพราะดูจากรูปการณ์แล้ว Amy ไม่น่ารอดไปได้ ด้วยช่องโหว่มากมายขนาดนี้







Gone Girl มีประเด็นที่น่าสนใจ มีเนื้อหาที่น่าติดตาม และเป็นหนังที่มีความน่าจดจำ

แม้ว่านี่อาจจะไม่ใช่หนังที่ดีหรือสมบูรณ์แบบ แต่เนื้อหาและประเด็นก็สะท้อนภาพของสังคมปัจจุบันได้อย่างชันเจน



ความรักสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และความจริงใจก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

เพราะ “ภาพรัก” และ “ภาพลักษณ์” ส่งอิทธิพลต่อชีวิตคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้






8 / 10




Create Date : 26 ตุลาคม 2557
Last Update : 27 ตุลาคม 2557 1:22:51 น. 4 comments
Counter : 5700 Pageviews.

 
กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/32768278


โดย: navagan วันที่: 26 ตุลาคม 2557 เวลา:19:15:38 น.  

 
วิจารณ์และวิเคราะห์ได้ยอดเยี่ยมมากเลยครับผม

เห็นด้วยกับเรื่องสื่ออย่างยิ่งเลยครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสื่อมีอิทธิพล อย่างมากในหนังเรื่องนี้ ทั้งการไร้ความรับผิดชอบของสื่อ ที่เสนอข่าวเกาะกระแส ไม่สนวาาจะถูกต้องหรือไม่ และผลที่ได้รับจากการนำเสนอนั้น


โดย: aeyis IP: 114.109.151.164 วันที่: 29 ตุลาคม 2557 เวลา:11:16:59 น.  

 
ขอบคุณครับคุณ aeyis


โดย: navagan วันที่: 30 ตุลาคม 2557 เวลา:1:12:29 น.  

 
เป็นหนังดราม่าระทึกขวัญชั้นดีของปีนี้เลยครับ เด่นมากที่การเล่าเรื่อง บทหักมุม และการแสดง


โดย: ปีศาจความฝัน วันที่: 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา:12:41:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.