All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
*** Life of Pi *** เรื่องของเรื่อง

*** Life of Pi ***






Life of Pi คือผลงานเรื่องล่าสุดของผู้กำกับ Ang Lee ที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสัญชาติแคนาดาชื่อเดียวกันของ Yann Martel


หนังเล่าเรื่องของ Pi Patel ชายชาวอินเดีย ที่ต้องเล่าถึงเหตุการณ์สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา ในฐานะของผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวจากเหตุการณ์เรืออับปางกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ให้นักเขียนหนุ่มผู้กำลังมองหาเรื่องราวที่จะนำความศรัทธากลับคืนมา

เรื่องราวชั้นดีของ Martel เปิดโอกาสให้ผู้รับสาร ตีความ ขบคิด วิพากษ์ วิจารณ์ ได้อย่างหลากหลายตามแต่เครื่องมือของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น จิตวิทยา ศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา หรือ จริยธรรม


ซึ่ง Ang Lee ก็ได้บอกเป็นนัย ผ่านตัวละคร Pi ที่บอกกับนักเขียนหนุ่มว่า



“เมื่อคุณรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ของผมแล้ว มันก็จะกลายเป็นเรื่องของคุณ”






กระทั่งกับตัว Lee และ David Magee ผู้ดัดแปลงบท ก็คงตีความและเลือกเน้นประเด็นที่ต้องการนำเสนอตามแบบฉบับของตัวเอง แม้ผมจะไม่เคยอ่านฉบับนิยาย แต่ก็ทราบมาว่าทั้งคู่ เลือกที่จะตัดทอนเนื้อหาบางช่วงบางตอน รวมถึงมีการเพิ่มเนื้อหาบางส่วนเข้าไปเพื่อขับเน้นในประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร


และเมื่อหนังผ่านตาของผู้ชม Life of Pi ก็จะกลายเป็นอีกเรื่องราว ที่ไม่มีถูกหรือผิด จะมีก็แต่เรื่องราวในมุมมองส่วนตัวของแต่ละคน


ซึ่งจำนวนกระทู้หรือบทความที่ถกเถียงหรือแสดงความคิดเห็นถึงหนังเรื่องนี้ในหลากหลายมุมมอง เป็นข้อยืนยันได้อย่างดี



สำหรับบทความนี้คงจะไม่ขอซ้ำกับบทความก่อนหน้านี้ทั้งหลาย ที่ตีความลงลึกไปในรายละเอียดของเนื้อเรื่องในแง่มุมทางศาสนา ปรัชญา จิตวิทยา ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่หนังตั้งใจจะให้ผู้ชมใช้ในการถอดรหัสอยู่แล้ว


แต่ Life of Pi ในบทความนี้จะว่าด้วย “เรื่องของเรื่อง” เพราะนี่คือ หนังที่เป็นเหมือนการสดุดีและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ “เรื่อง” อย่างแท้จริง



นี่คือ Life of Pi ในแบบฉบับของผมเอง







ที่มาของชื่อ Pi นั้นคือชื่อที่ตัวเขาตั้งขึ้นมาเองในวัยเด็ก เนื่องจากชื่อเต็มว่า Piscine นั้น พ้องเสียงกับ Pissing จนถูกเพื่อนที่โรงเรียนล้อเป็นประจำ



จะว่าไปแล้วที่มาของชื่อ Piscine ก็มาจาก “เรื่องเล่า” เหมือนกัน


ชื่อ Piscine มีที่มาจากการที่ Mamaji เพื่อนสนิทของพ่อ ผู้ชื่นชอบการว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ประทับใจในสระว่ายน้ำที่ชื่อ Piscine Molitor ในฝรั่งเศษ Mamaji ชอบเล่าเรื่องนี้ให้พ่อของเขาฟังจนกระทั่งมันกลายมาเป็นชื่อของเขาในที่สุด





เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกล้อเลียน Pi ดัดแปลงชื่อตัวเองจากชื่อเต็ม Piscine ให้เหลือแค่ Pi และแจกแจงที่มาที่ไปว่านี่คือ Pi ที่หมายถึงจำนวนอตรรกยะ ที่แสดงถึงสัดส่วนของเส้นรอบวงต่อรัศมีของวงกลม


อย่างไรก็ตาม Pi ก็ยังคงโดนล้ออยู่เช่นเคย แต่เรื่องเล่าเกี่ยวกับความหมายของมัน และความพากเพียรของ Pi ในการจดจำทศนิยมที่ไม่รู้จบของมันได้กว่าร้อยหลัก ก็สร้างชื่อเสียงให้ Pi เป็นที่โด่งดังไปทั่วโรงเรียน และนั่นทำให้ Pi อยู่ร่วมกับชื่อเดิม (ที่ถูกดัดแปลง) ของเขาได้







จากประเด็นนี้เราจะพบกับความเชื่อมโยงกับเรื่องเล่าของ Pi ถึงเหตุการณ์เรืออับปางกลางมหาสมุทรแปซิฟิกได้อย่างน่าสนใจ





หลังจากรอดชีวิตจากเหตุการณ์เรืออับปาง Pi ยากที่จะทำใจกับเหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นในเรือชูชีพ จนไม่อยากนึกถึงหรือเล่าซ้ำ Pi จึงนำเรื่องราวเหล่านี้มาดัดแปลงเสียใหม่ โดยเปลี่ยนบุคคลในเรื่องราวให้เป็นสัตว์ที่สะท้อนถึงสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ เพื่อลดความรุนแรงเมื่อต้องเล่าหรือระลึกถึงมัน


อย่างไรก็ตาม Pi ก็ยังเสียใจอยู่ลึกๆ แต่เรื่องราวของเขาก็กลายเป็นตำนาน และช่วยให้เขาใช้ชีวิตอยู่กับมันได้อย่างไม่ยากเย็นนัก






จากความคล้ายคลึงเหล่านี้ เราจะพบว่า Pi ใช้วิธีดัดแปลงเรื่องราวเดิมให้เป็นเรื่องราวใหม่ เพื่อเยียวยาจิตใจและใช้ชีวิตร่วมกับอดีตอันขมขื่นได้



เปลี่ยนที่มาที่ไปของชื่อ = เปลี่ยนเรื่องราวในเรือชูชีพ




และน่าสังเกตว่า เรื่องราวแห่งความทุกข์ของ Pi ล้วนแต่มาจาก "น้ำ" ทั้งสิ้น (สระว่ายน้ำ, มหาสมุทรแปซิฟิก)







ในวัยเด็ก Pi คือเด็กที่สนใจในเรื่องเล่าทั้งหลาย



ซึ่งเรื่องราวที่มักจะถูกบอกกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเป็นที่นิยมอยู่เสมอในทุกมุมโลกในทุกยุคทุกสมัย ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องเล่าทางศาสนา โดยเฉพาะเรื่องราวที่มี “พระเจ้า” อยู่ด้วย เพราะมันคือเรื่องราวที่คอยตอบคำถามลึกลับถึงที่มาที่ไปของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล

ดังนั้น อินเดีย จึงเป็น Location ชั้นดีในเรื่องราวของ Martel เพราะอินเดียเป็นแหล่งรวมศาสนา ที่ถือว่าหลากหลายที่สุดในโลกที่หนึ่ง



ด้วยความเป็นนักสังเกตและนักตั้งคำถามของ Pi ทำให้เขาสนใจในทุกศาสนา



แม้จะมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันในแต่ละศาสนา แต่ทุกศาสนาต่างก็มีเป้าหมายที่ดีเหมือนกัน






เฉกเช่นเรื่องเล่าของ Pi ถึงเหตุการณ์บนเรือชูชีพ แม้มันจะมีเรื่องเล่าที่หลากหลาย แต่มันก็สะท้อนถึงเหตุการณ์จริง และเนื้อหาที่แท้จริงเพียงอันเดียว



ไม่ว่าจะเป็นเสือ หรือจะเป็นสัญชาตญาณดิบของตัวเอง

จะเป็นลิง หรือ แม่

จะพ่อครัว หรือ ไฮยีน่า



มันก็คือเนื้อเรื่องที่มีใจความเดียวกัน เพียงแค่เปลี่ยนสรรพนามในการเรียก





ไม่ว่าจะ พยายามจะฆ่าเสือ หรือ พยายามข่มสัญชาตญาณดิบ

จะพยายามฝึกเสือ หรือ พยายามควบคุมสัญชาตญาณดิบ

ไฮยีน่าจะฆ่าลิง หรือ พ่อครัวจะฆ่าแม่



มันก็คือเนื้อหาเดียวกัน ต่างกันที่วิธีเล่าว่าจะเลือกแบบเล่าความจริง หรือ อุปมาอุปไมย







Life of Pi ยังชวนให้เราคิดถึงคำถามอภิปรัชญาอีกด้วย



แล้วความจริงแท้คืออะไร ?



บางทีการเลือกใช้ Pi มาเป็นชื่อตัวละครหลักในเรื่องสามารถให้คำตอบนี้ได้


ในความหมายเชิงคณิตศาสตร์ Pi คือจำนวนอตรรกยะ ที่แสดงถึงอัตราส่วนของเส้นรอบวงของวงกลมต่อรัศมี ที่มีจุดทศนิยมต่อท้ายหลายล้านตำแหน่ง และไม่พบว่ามีรูปแบบที่ซ้ำกันของค่า Pi



ในกรณีนี้ Pi คือค่าคงที่ค่าหนึ่งที่มีอยู่จริงแท้แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเล่ามันอย่างไร


เล่าแบบเศษส่วน มันคือ 22/7 (มันไม่ใช่ค่า Pi แท้จริง แค่เป็นเศษส่วนที่มีค่าใกล้เคียง)

เล่าแบบทศนิยม มันคือ 3.14 (มันไม่ใช่ค่า Pi แท้จริง แค่เป็นจำนวนตรรกยะที่มีค่าใกล้เคียง)







เช่นกัน เหตุการณ์เรืออับปาง และการรอดชีวิตของ Pi มีอยู่จริง ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเล่ามันอย่างไร

การเล่าความจริงแท้อาจไม่ใช่เรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับที่เราไม่จำเป็นต้องแสดงค่า Pi ให้ละเอียดที่สุดด้วยการเขียนอธิบายมันถึงทศนิยมลำดับที่ล้านล้าน





แล้วสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ?



คำถามที่เจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นเฝ้าถาม Pi ก็คือ สาเหตุของการอับปางของเรือ
ซึ่ง Pi เองก็ให้คำตอบไม่ได้เช่นกัน แต่สิ่งเดียวที่เขารู้ก็คือมันได้เกิดขึ้นมาแล้ว และมันก็แค่เกิดขึ้นมาก็เท่านั้น


เช่นกันค่าของ Pi นั้นไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล หรือสมการใดใดมาอธิบาย เพื่อแสดงที่มาของมัน มันเป็นเพียงค่าคงที่ค่าหนึ่งในจักรวาลเท่านั้น







เหล่านี้คือคำถามอภิปรัชญาที่หาคำตอบที่แท้จริงไม่ได้

ซึ่งคำว่า “พระเจ้า” ก็คือ ความหมาย หรือ “ค่าคงที่” ที่ถูกกำหนดให้เป็นคำตอบของทุกคำถามเหล่านี้



อย่างที่ Pi บอกกับนักเขียนว่า ย่อมต้องมีความลับอยู่ในทุกห้องเสมอ เพื่อเป็นการเว้นที่ว่างให้ความหมายของคำว่าพระเจ้า ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละศาสนา แต่ละลัทธิ หรือแต่ละตำนานจะเลือกเล่าเรื่องของ “พระเจ้า” อย่างไร



เมื่อพิจารณาเรื่องศาสนาจะพบว่าทุกศาสนาที่ Pi ศึกษา จะมี "พระเจ้า" เป็นองค์ประกอบสำคัญทั้ง ศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

ส่วน "พุทธศาสนา" ที่ Pi ไม่ได้ศึกษานั้น ไม่มีพระเจ้าเพื่อเป็นคำตอบอันลึกลับทั้งหลาย มีแต่ธรรมชาติ ที่เป็นคำตอบของทุกอย่าง หลักเหตุและผลคือคำอธิบาย ที่บางครั้งก็เข้าใจได้ง่าย บากครั้งก็ยากที่จะเข้าใจ (ส่วนคำถามอภิปรัชญาว่า จักรวาลเกิดได้อย่างไร พุทธศาสนาก็สอนว่าไม่ใช่เรื่องที่ต้องสนใจมากนัก)



ในฐานะ Freethinker ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา คิดว่า แม้ Life of Pi จะไม่ได้พูดถึงพุทธศาสนามากนัก แต่เนื้อเรื่องที่ Pi ต้องเอาชีวิตรอดในเรือชูชีพ ก็สะท้อนแก่นของพุทธศาสนา ในการเรียนรู้ เข้าใจ และใช้ชีวิตเพื่ออยู่กับธรรมชาติ



ถ้าคำว่า “พระเจ้า” คือความหมายของผู้สร้างทุกสรรพสิ่งแล้ว ในพุทธศาสนาพระเจ้าก็คือ “ธรรมชาติ”






Ang Lee ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างน่าประทับใจ ด้วยการไม่พยายามโน้มน้าวอารมณ์เกินจำเป็น แต่ปล่อยให้เรื่องราวที่เกิดขึ้นได้แสดงศักยภาพของตัวมันเอง


บทดัดแปลงของ David Magee กระชับและได้ใจความ โดยที่ไม่สูญเสียประเด็นที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งน่าจะมาจากต้นฉบับอันยอดเยี่ยมของ Yann Martel ด้วย (ซึ่งคงต้องพิสูจน์ด้วยการไปหาฉบับนิยายมาอ่าน)



ทีมนักแสดงทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี โดยเฉพาะ Suraj Sharma ในบท Pi ที่แบกหนังเอาไว้ทั้งเรื่อง

งานด้านภาพเป็นอีกหนึ่งความโดดเด่น ทั้งความสวยงาม (โดยเฉพาะในระบบ 3D) และการสื่อความหมาย







หนังให้อิสระผู้ชมว่าจะเลือกเชื่อในเรื่องไหน หรือเลือกที่จะเชื่อในทุกเรื่อง แบบที่ Pi เชื่อในทุกศาสนา เพราะในทุกเรื่องเล่าล้วนแต่มีความหมายในตัวของมันเอง





Life of Pi คือ เรื่องเล่าที่สร้างแรงบันดาลใจ และชวนให้ขบคิด ตีความได้หลายมิติ ในแบบที่เรื่องเล่าชั้นดีพึงมี


ที่สำคัญที่สุดก็คือ นี่คือเรื่องราวที่แสดงถึงคุณค่าและความสำคัญของ “เรื่องเล่า” และ “การเล่าเรื่อง”





9 / 10 ครับ





Create Date : 10 มกราคม 2556
Last Update : 11 มกราคม 2556 15:41:38 น. 18 comments
Counter : 19136 Pageviews.

 
บทวิเคราะห์มีหลักการมาก ต่างกับที่เราเขียนเลย


โดย: แฟนlinKinPark วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:1:15:14 น.  

 
ตามมาอ่านจาก pantip ค่ะ


โดย: reenjaap IP: 94.209.196.143 วันที่: 11 มกราคม 2556 เวลา:21:00:52 น.  

 
วิเคราะได้ดีมากครับ หลังจากที่ผมได้ไปดูมา อ่านมาหลายๆบทวิเคราะห์แล้วตรงใจบทนี้มากที่สุดครับ


โดย: YODDE IP: 115.31.177.9 วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:13:40:19 น.  

 
ถูกใจให้คลิกที่ลิงค์โฆษณาตรงไหนคะ


โดย: ตาลหวาน IP: 61.90.82.204 วันที่: 12 มกราคม 2556 เวลา:16:04:52 น.  

 
ม้าลาย ทุกขเวทนา จากโรค
หมาไฮยีน่า โลภะ
ลิงอุรังอุตัง ราคะ
เสือ โทสะ
เด็กหนุ่ม จิตที่ประกอบด้วยสติ


โดย: กิเลส IP: 110.168.125.25 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:12:48:37 น.  

 
เป็นหนังที่ผมชอบมากถึงมากที่สุดในปีที่ผ่านมา
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amp-atom&month=12-2012&date=28&group=2&gblog=370


โดย: คนขับช้า วันที่: 19 มกราคม 2556 เวลา:8:20:53 น.  

 
เป็นหนังที่งดงามจริงๆ

ขอบคุณสำหรับคำรวิเคราะห์-วิจารณ์ดีๆครับผม ทำให้ผมเข้าใจหนังขึ้นเยอะเลย


โดย: กมล IP: 125.24.248.9 วันที่: 24 มกราคม 2556 เวลา:12:20:56 น.  

 
ด้วยความยินดีครับ คุณกมล


โดย: navagan วันที่: 27 มกราคม 2556 เวลา:16:41:39 น.  

 
ชอบบทวิเคราะห์และวิจารณ์ของคุณมากคะและขอบคุณ


โดย: เขมิศราสุดสวย IP: 14.207.66.126 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:15:39:28 น.  

 
ชอบมากค่ะ
สงสัยในหลายๆอย่างหลังจากดูหนังจบ
ตอนนี้พอจะเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น


โดย: CuteRabbito IP: 110.168.172.224 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:17:13:07 น.  

 
วิจารณ์ได้ตรงใจผมเหมือนกันครับ ชอบครับ เป็นหนังที่ดีมาก ๆ ผมเองก็ให้ 9.5 / 10 เลยครับ สวยงามทุกอย่าง


โดย: jui IP: 203.144.225.8 วันที่: 12 มีนาคม 2556 เวลา:9:17:56 น.  

 
เขียนได้ดีมากครับ


โดย: Debussy IP: 124.122.172.15 วันที่: 14 เมษายน 2556 เวลา:8:53:41 น.  

 
กระทู้ pantip

//pantip.com/topic/30037729


โดย: navagan วันที่: 23 กรกฎาคม 2556 เวลา:1:01:49 น.  

 
สุดยอดการวิเคราะห์ค่ะ เข้าใจง่ายขึ้นมาก


โดย: ปาริชาติ IP: 27.145.102.16 วันที่: 23 ตุลาคม 2560 เวลา:11:34:08 น.  

 
วิเคราะห์ได้ดีครับ ช่วยให้เข้าใจสารของหนังที่ต้องการสื่อ


โดย: นายชาตินักรบ. พวงสำลร IP: 49.230.83.197 วันที่: 22 ธันวาคม 2562 เวลา:21:33:00 น.  

 
วิเคราะห์ได้ดีครับ ช่วยให้เข้าใจสารของหนังที่ต้องการสื่อ


โดย: นายชาตินักรบ. พวงสำลี IP: 49.230.83.197 วันที่: 22 ธันวาคม 2562 เวลา:21:34:22 น.  

 
ชอบครับ ขออนุญาตเผยแพร่นะครับ


โดย: นายชาตินักรบ. พวงสำลี IP: 49.230.83.197 วันที่: 22 ธันวาคม 2562 เวลา:21:36:08 น.  

 
ตอบคุณ ชาตินักรบ. พวงสำลี

ยินดีครับ เผยแพร่ที่ไหนแจ้งด้วยนะครับ และรบกวนให้เครดิตผมด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ


โดย: navagan วันที่: 26 ธันวาคม 2562 เวลา:1:29:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.