All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 พฤษภาคม 2558
 
All Blogs
 

*** Parasyte: Part 1 *** พึ่งพา-ปรสิต

*** Parasyte: Part 1 ***






ในที่สุด Parasyte หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ปรสิตเดรัจฉาน” การ์ตูนญี่ปุ่นระดับรางวัลของ Hitoshi Iwaaki ก็ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงเสียที

เนื่องจากเคยอ่านฉบับการ์ตูนมาก็ไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้ว จึงทำให้จำเรื่องราวแบบลงรายละเอียดไม่ค่อยได้ ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการวิเคราะห์-วิจารณ์โดยอิงเนื้อหาจากฉบับภาพยนตร์เท่านั้น

โดยขอหยิบเอาเรื่องความสัมพันธ์ในระบบนิเวศน์มาเป็นแว่นสายตาในการมองหนังแล้วกัน

(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ เหมาะสำหรับผู้ที่ดูแล้ว)






Shinichi Izumi (Shota Sometani) คือ เด็กมัธยมปลายที่อาศัยอยู่กับแม่ (Kimiko Yo)

คืนหนึ่งสิ่งมีชีวิตประหลาด (ขอเรียกว่า “ปรสิต”) พยายามจะเข้าไปยึดครองสมองของเขา แต่ไม่สำเร็จ มันจึงฝังตัวที่มือขวาของเขาแทน ขณะที่ปรสิตตัวอื่นๆ จะเข้ายึดครองสมองได้สำเร็จ


แม้ปรสิตไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาทำไมและเกิดมาเพื่ออะไร แต่อย่างหนึ่งที่รู้ก็คือ “มนุษย์” เป็นอาหารของพวกมัน



ปรสิต Ryoko (Eri Fukatsu) คือปรสิตที่ยึดสมองได้สำเร็จ แต่แตกต่างจากปรสิตตัวอื่นคือ ปรสิต Ryoko ชอบตั้งคำถาม และเรียนรู้อยู่เสมอ เธอพยายามเข้าใจตัวเอง พยายามเข้าใจมนุษย์ ถึงขั้นที่ทดลองตั้งครรภ์แบบมนุษย์

ปรสิต Ryoko คือเจ้าของเสียงบรรยายตอนเปิดเรื่องและปิดเรื่อง ที่เป็นหนึ่งในสารสำคัญที่หนังต้องการจะนำเสนอ






ปรสิต (Parasite) คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่น หรือเซลล์ชนิดอื่น (โฮสต์, Host) เป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งก็ทำร้ายโฮสต์จนเจ็บป่วยหรือถึงกับชีวิต

ซึ่งความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ หรือไม่ได้ประโยชน์อะไรเรียกว่า “ภาวะปรสิต”



เช่นเดียวกับความหมายของมัน ปรสิตในเรื่องใช้ร่างกายของมนุษย์ที่มันเข้ายึดเพื่อดำรงชีวิต โดยที่เจ้าของร่างสูญเสียตัวตนและการควบคุมไปแล้วเนื่องจากไม่มีสมอง






จากนิยามข้างต้น เราจะพบความสัมพันธ์ 3 แบบนี้ในหนัง



1. ภาวะปรสิต (Parasitism) ได้แก่ความสัมพันธ์ต่อไปนี้



ปรสิตที่ยึดร่างมนุษย์ (ปรสิต) กับ เจ้าของร่างมนุษย์ (โฮสต์)


ปรสิต ยึดสมองของมนุษย์ นั่นทำให้มนุษย์คนนั้นไม่สามารถควบคุมร่างได้ และไร้ซึ่งความรู้สึกเปรียบได้ว่าตายไปแล้ว



มนุษย์ (ปรสิต) กับ สิ่งแวดล้อม (โฮสต์)


โดยภาพรวม มนุษย์อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม หาประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม โดยที่สิ่งแวดล้อมค่อยๆถูกทำลาย



Shinichi (ปรสิต) กับ แม่ (โฮสต์)


Shinichi อาศัยและได้ประโยชน์จากการอาศัยอยู่กับแม่ แม้แม่จะไม่ได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์ตามรูปแบบ “ภาวะอิงอาศัย (Commenselism)” แต่สำหรับในหนังเราจะพบว่า แม่ต้องเสียประโยชน์ และบาดเจ็บจนถึงเสียชีวิตเพราะ Shinichi ดังนั้นนี่จึงเป็นภาวะปรสิต



ลูกในท้อง (ปรสิต) และ ปรสิต Ryoko (โฮสต์)


โดยทั่วไปเราจะไม่ถือว่าเด็กทารกในครรภ์เป็นปรสิต เนื่องจากตามนิยามต้องเป็นสิ่งมีชีวิตคนละ Species และต้องมาจากภายนอก แต่กรณีของ ปรสิต Ryoko เธอเป็นปรสิตส่วนทารกเป็นมนุษย์ ดังนั้น ทารกมนุษย์จึงเป็นปรสิตของเธอ






2. ภาวะล่าเหยื่อ (Predation)



ปรสิต (ผู้ล่า) กับ มนุษย์ (เหยื่อ)



มนุษย์ (ผู้ล่า) กับสัตว์และพืชหลายชนิดที่เป็นอาหาร (เหยื่อ)


ในแง่มุมมนี้หนังเสียดสีและตั้งคำถามให้ผู้ชมได้คิดว่า ใครเลวร้ายกว่ากันระหว่าง ปรสิต ที่กินเฉพาะมนุษย์ หรือ มนุษย์ ที่กินทั้ง หมู ไก่ ปลา และสัตว์อื่นๆอีกหลายชนิด



3. ภาวะพึงพาอาศัย (Mutualism)



Shinichi กับ Micky


เดิมทีเจ้า Micky คิดจะครอบครองสมองแล้วดำรงภาวะปรสิต กับร่างของ Shinichi แต่เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามคาด ภาวะปรสิต จึงเปลี่ยนเป็น ภาวะพึ่งพาอาศัย

Shinichi ต้องพึ่ง Micky เพื่อเอาชีวิตรอดจากอันตราย และบาดแผลจากการถูกทำร้าย ขณะที่ Micky ต้องพึ่งพาอาหารจากเลือดของ Shinichi และ ร่างกายของ Shinichi ในการเคลื่อนไหว






ประเด็นที่โดดเด่นในหนังคือประเด็นเรื่องแม่กับลูก และความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สิ่งมีชีวิตนี้

จากตัวอย่างในย่อหน้าข้างบนในเรื่องของ Shinichi และ ปรสิต Ryoko ดูเหมือนหนังเลือกจะนำเสนอในมุมมองที่ว่า



บางทีลูกก็คือปรสิตของแม่



แม่ของ Shinichi เคยใช้มือขวาป้องกันอันตรายให้เขาในตอนเด็ก จนกลายเป็นแผลเป็นที่ยังเจ็บอยู่ในปัจจุบัน

แต่เมื่อตายไปมือขวาที่คอยปกป้อง Shinichi เปลี่ยนจากแม่ไปเป็น Micky


ที่สำคัญนี่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยน “มือขวา” ที่คอยช่วยเหลือ (หรือเปรียบเหมือนการเปลี่ยนโฮสต์ของปรสิต) แต่ยังเป็นการเปลี่ยนภาวะความสัมพันธ์อีกด้วย นั่นคือ



เปลี่ยนจากภาวะปรสิตเป็นภาวะพึ่งพาอาศัย






ฉากต่อสู้สุดท้ายระหว่าง Shinichi/Micky (ภาวะพึ่งพาอาศัย) กับ ปรสิต Mr. A (ภาวะปรสิต)
คือภาพแทนการต่อสู้ระหว่าง 2 ภาวะ ซึ่งผลการต่อสู้คือบทสรุปที่หนังต้องการบอก



การทำตัวเป็นปรสิตที่คอยเปลี่ยนโฮสต์ไปเรื่อยอาจไม่ใช่ทางรอดที่ดี

การพึ่งพาอาศัยกันต่างหากคือทางรอดที่เหมาะสมที่สุด



สำหรับปรสิต Ryoko เราจะเห็นว่าความคิดเธอค่อยๆเปลี่ยนไป เมื่อเธอเปลี่ยนสถานะจากปรสิตมาเป็นโฮสต์เมื่อเธอตั้งครรภ์

เธอพยายามศึกษามนุษย์ หาวิธีอยู่รอดแบบมนุษย์ กินอาหารแบบมนุษย์

บางทีเธอเข้าใจแล้วว่าหนทางแห่งการอยู่รอด คือการปรับตัวให้เข้ากันกับสิ่งแวดล้อม

เสียงความคิดของเธอในฉากสุดท้าย (เสียงเดียวกับฉากเปิดเรื่อง) คือพัฒนาการและความเข้าใจของเธอเมื่อเปลี่ยนมุมมองความคิด






ผู้กำกับ Takashi Yamazaki เอาการ์ตูนขนาดยาวหลายตอนมาเล่าได้อย่างกระชับ แต่ก็คงไว้ซึ่งประเด็นหลักของต้นฉบับ

แต่ข้อเสียคือ พัฒนาการของตัวละครไม่ค่อยต่อเนื่องนัก อย่าง Shinichi ทำไมอยู่ดีๆก็เก่งขึ้นมาได้ แล้วทำไมทัศนะคติในการมองโลกก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

เข้าใจว่าเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง จะให้เล่าแบบละเอียดคงไม่ได้ แต่ที่จริงก็สามารถทำได้โดยการใส่ฉากที่ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของตัวละครได้อยู่



Shota Sometani ในบท Shinichi สร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชมได้อย่างดี รวมถึงความเข้าขากับตัวละครที่เป็นเทคนิคพิเศษอย่าง Micky ทำให้รู้สึกว่ามันมีชีวิตจริงๆ


Eri Fukatsu ในบท ปรสิต Ryoko แผ่รัศมีความน่ากลัวแต่แฝงไปด้วยความน่าเห็นใจได้ในทุกครั้งที่ปรากฏตัว






แม้จะไม่ยอดเยี่ยมและเข้มข้นเหมือนหนังสือการ์ตูนต้นฉบับ แต่ Parasyte:Part 1 ก็เป็นความบันเทิงที่มาพร้อมประเด็นชวนคิดได้ไม่แพ้กัน


การนำเสนอให้ผู้ชมเห็นทั้ง 2 มุมมองของปรสิตและโฮสต์ ผ่านความซับซ้อนและซ้อนทับของสถานะในหนัง คือภาพสะท้อนที่ชัดเจนของ “มนุษย์” และ “สิ่งมีชีวิตร่วมโลก”






7 / 10





 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2558
3 comments
Last Update : 17 พฤษภาคม 2558 23:28:41 น.
Counter : 5045 Pageviews.

 

เขียนวิเคราะห์ดีมากเลยครับ

 

โดย: carlitolemic IP: 203.147.10.245 18 พฤษภาคม 2558 23:05:39 น.  

 

ขอบคุณมากครับ

 

โดย: navagan 19 พฤษภาคม 2558 21:26:22 น.  

 

กระทู้ที่ตั้งใน pantip

//pantip.com/topic/33666447

 

โดย: navagan 19 พฤษภาคม 2558 21:26:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.