All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
9 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

หนังทดลอง (Experimental film) และ วิดีโออาร์ต (Video Art) คืออะไร ?

.


คิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “หนังทดลอง” และ “วิดีโออาร์ต” กันมาบ้าง หลายคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร และกับคนที่คุ้นเคยกับทั้งสองคำนี้มาพอประมาณ ก็อาจจะสับสนว่า



อะไรคือ “หนังทดลอง” อะไรคือ “วิดีโออาร์ต” และมันแตกต่างกันตรงไหน



ในฐานะที่ผมเป็นคนหนึ่ง ที่เรียกผลงานหนังสั้นของตัวเอง ว่า “หนังทดลอง” (แต่ก็ไม่กล้าเรียกตัวเองว่า “คนทำหนังทดลอง” นะครับ) ซึ่งตอนที่ผมสร้างงานและใช้คำนี้อธิบายผลงานตัวเองแบบคร่าวๆ ผมก็ไม่ได้มานั่งศึกษาจริงจังหรอกว่า “หนังทดลอง” คืออะไร

เพียงแต่คิดว่า งานที่ผมทำ มันเป็นการ “ทดลอง” อย่างหนึ่งของผม (ทดลองแบบมี “ทฤษฎี” และ “สมมติฐาน” นะครับ ไม่ใช่ ทดลองทำ) ผมก็เลยเรียกมันว่า “หนังทดลอง”



วันหนึ่ง ผมได้เข้าไปอ่านกระทู้หนึ่ง ซึ่งมีคนสงสัยว่า “หนังทดลอง” กับ “วิดีโออาร์ต” มันต่างกันอย่างไร


ผมก็เลยลองค้นคว้าหาคำตอบดูครับ








ก่อนอื่น ผมลองให้คำจำกัดความตามความเข้าใจของผมก่อน




“หนังทดลอง” คือ

หนังที่สร้างขึ้น เพื่อที่จะทำ “การทดลอง” (Experimental) อะไรบางอย่าง เช่น ทดลองการตัดต่อ ทดลองเทคนิค ทดลองวิธีการเล่าเรื่อง แต่ไม่ใช่หนังที่ “ทดลองทำ” ( Try to ) เช่น นายแดง ทดลองทำหนังดูสักเรื่อง ว่ามันมีขั้นตอนอย่างไร หรือ นายดำ ทดลองทำหนังเล่น ๆ (ซึ่งเท่าที่ทราบ รู้สึกจะมีบางคนเข้าใจผิดว่า “หนังทดลอง” คือ หนังที่ผู้สร้างแค่ “ทดลองสร้างหนัง”)




“วิดีโออาร์ต” คือ

วิดีโอ ศิลปะ (แปลกันตรงๆนี่แหล่ะ เพราะไม่รู้จริงๆ )







เอาหล่ะ ทีนี้มาหาคำตอบกันครับ

ขั้นแรก คำจำกัดความจาก wikipedia (ซึ่งไม่มีภาษาไทย ผมเลยแปลเท่าที่สามารถนะครับ ใครเก่งๆ ช่วยเช็คที) สรุป ได้ก็คือ





“หนังทดลอง”

หนังที่ผู้สร้าง ได้ทำอะไรบางอย่าง ที่แตกต่างจากรูปแบบของหนังโดยทั่วไป บ่อยครั้งมักจะแตกต่างจากหนังเชิงพาณิชย์ และ สารคดี ทั่วๆไป และบางทีอาจซ่อนนัยยะอะไรบางอย่างไว้ แต่บางครั้งเราก็จะพบว่า หนังทดลอง ก็มีรูปแบบที่ซ้ำๆกัน ซึ่งลักษณะที่พบบ่อยๆ ที่บ่งบอกว่า นี่เป็นหนังทดลอง คือ การเล่าเรื่องแบบไม่เรียงลำดับ, การใช้เทคนิคต่างๆหลากหลายแบบ เช่น ขูดขีด หรือ เขียนลงบนแผ่นฟิล์ม การบรรยายเรื่อง หรือ ใช้เสียงที่ไม่สอดคล้องกับภาพ และบ่อยครั้งที่ ต้องให้คนดูครุ่นคิด และ มีส่วนร่วมไปกับมันมากกว่าปกติ

หนังทดลอง อยู่มาถึงปี 1960 และเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น ส่วนใหญ่หนังทดลองมักจะใช้ทุนสร้างต่ำ และใช้ทีมงานน้อย

ปัจจุบัน หนังทดลอง หลายเรื่อง เริ่มจะไม่ได้มีความหมายแค่ “การทดลอง” อีกต่อไปแล้ว แต่กลายมาเป็น “ประเภทของหนัง” (Film Genre) ประเภทหนึ่ง ที่มีรูปแบบ และลักษณะที่ชัดเจน เช่น มีโครงสร้างที่ไม่เล่าเรื่อง หรือ มีลักษณะ คล้ายบทกวี เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นคำอธิบายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ


//en.wikipedia.org/wiki/Experimental_film




“วิดีโออาร์ต”

ศิลปะที่ใช้ ภาพเคลื่อนไหว หรือประกอบด้วยข้อมูล ภาพเคลื่อนไหว และ/หรือ เสียง เป็นสื่อในการแสดงผลงาน

//en.wikipedia.org/wiki/Video_art







ต่อมา หากเราพิจารณาความหมายตามชื่อของมัน



เริ่มที่ “หนังทดลอง”



หนัง (Film) ในที่นี้หมายถึง ภาพที่เคลื่อนไหวได้

ทดลอง (Experimental) หมายถึง การกระทำเพื่อทดสอบสมมติฐาน


แปลกันตรงๆได้ว่า “ภาพเคลื่อนไหวที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบสมมติฐาน”






มาดู “วิดีโออาร์ต” กันบ้าง



วิดีโอ (Video) หมายถึง “ภาพเคลื่อนไหว หรือ รูปแบบหนึ่งของภาพเคลื่อนไหวที่ถูกบันทึกไว้”

อาร์ต (Art) หมายถึง ศิลปะ
(ขอแปลกันกว้างๆ แต่ไม่ลึก อย่างนี้ก่อนแล้วกัน เพราะ ถ้าถามต่อว่าศิลปะคืออะไร อันนี้ท่าจะยาว)

แปลกันตรงๆ ได้ว่า “ภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นงานศิลปะ”



บอกแล้วครับ เจอคำว่า “ศิลปะ” เข้าไปนี่แย่เลยครับ

เพราะคำว่า “ศิลปะ” มันมีความหมายที่กว้างมากๆ โดยรวมๆ ก็คือ การสร้างสรรค์ ขนาด ศิลปะในการชงชา ยังมีเลย

เลยขอจำกัดความ คำว่า "ศิลปะ" ให้แคบลงมาหน่อยดีกว่า

ศิลปะ ในที่นี้ หมายถึง “งานศิลปะ” ที่เขาแบ่งเอาไว้ 7 แขนง (อ่านในหมายเหตุ)

ทีนี้จะต้องมีคนถามว่า แล้วภาพยนตร์ทั่วๆไป ไม่ใช่งานศิลปะหรอกหรือ ?

นั่นสิ ภาพยนตร์ ก็ถือว่าเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งอยู่แล้วนี่นา เพราะ ภาพยนตร์ คือ ศิลปะแขนงที่ 7 (อ่านตรงหมายเหตุ นะครับ)


ขอเสริมเอาเองว่า เอาเป็นว่า ศิลปะในที่นี้ ไม่ใช่ ภาพยนตร์แล้วกัน


ดังนั้น ศิลปะ ในที่นี้ คืองานที่มีความเป็นศิลปะแขนงอื่น ที่ ไม่ใช่ภาพยนตร์



เพราะฉะนั้น “วิดีโออาร์ต” คือ “งานศิลปะที่เป็น ภาพเคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่ภาพยนตร์”







เอาหล่ะ ได้คำนิยาม ที่(ค่อนข้าง)น่าเชื่อถือ มาแล้ว ผมก็ตะลุยของจริงด้วยการตระเวนหางานที่ (เขาบอกว่า) เป็น “หนังทดลอง” และ “วิดีโออาร์ต” ของจริงมาดู ทั้งจากใน Internet และ ข้อมูลจากหนังสือ

และสิ่งที่พบคือ งานบางชิ้นที่เรียกตัวเองว่า “วิดีโออาร์ต” กลับดูคล้าย “หนังทดลอง” มากกว่า หรือ บางงาน ที่บอกตัวเองว่า เป็น “หนังทดลอง” กลับเข้าข่าย “วิดีโออาร์ต” มากกว่า บางงานก็ดูตรงกับคำนิยาม ในขณะที่บางงานก็แยกไม่ออกว่าไรกันแน่มันคืออะไรกันแน่





จากการศึกษามาพอประมาณ ผมขอให้คำจำกัดความของผมเองบ้างก็แล้วกัน



ขอพูดเรื่อง "หนังทดลอง" ก่อน เราจะพบว่า ปัจจุบัน "หนังทดลอง" กลายเป็น “ประเภทของหนัง” ประเภทหนึ่งไปแล้ว ซึ่งผมไม่ขอมองในแง่นี้ เพราะมันมีรูปแบบที่ชัดเจนเกินไป และไม่ค่อยจะได้ “ทดลอง” อะไรใหม่ๆกัน เท่าไรนัก

อย่างถ้า ปัจจุบันยังมีคนมาขีดเขียนลงบนแผ่นฟิล์มอยู่ ผมคิดว่าจุดประสงค์ของผู้สร้างคงไม่ได้จะทดลองอะไรใหม่แล้วหล่ะครับ เพราะมีคนทำแบบนี้มาแล้ว (นอกเสียจากว่าจากเขาไม่รู้) หากแต่ผู้สร้างอาจจะต้องการสื่ออะไรบางอย่างออกมาด้วยวิธีนี้ก็เท่านั้น แต่มันบังเอิญไปตรงกับคำจำกัดความ ของประเภท "หนังทดลอง" งานชิ้นนั้นจึงถูกเรียกว่า "หนังทดลอง" ซึ่งจริงๆแล้วผู้สร้างงานอาจจะไม่ได้ต้องการทดลองอะไรใหม่เลยก็ได้ ผมอยากจะเรียกงานประเภทนี้ว่า “วิดีโออาร์ต” เสียมากกว่า เพราะเป็นการ เขียนภาพ (จิตรกรรม) ลงบนแผ่นฟิล์ม







เอาหล่ะ ทีนี้คือ คำจำกัดความของผม หลังจากที่ ศึกษาค้นคว้าบ้าง





หนังทดลอง คือ

“ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์ (ที่ถูกจัดเป็นศิลปะแขนงที่ 7) ที่สร้างขึ้นมา เพื่อพิสูจน์ สมมติฐานที่ ผู้สร้างตั้งไว้ โดยที่ สมมติฐานนั้น ยังไม่ได้ถูกตรวจสอบ จนกลายเป็นความรู้พื้นฐานที่รับทราบกันทั่วไป”



ส่วน



วิดีโออาร์ต คือ

“งานศิลปะแขนงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ แต่ใช้ภาพเคลื่อนไหว เป็น สื่อในการถ่ายทอดตัวงาน หรือ ภาพเคลื่อนไหว ที่ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของงานศิลปะที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ โดยที่ผลงานนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการทดลอง หรือทำเพื่อพิสูจน์สมมติฐานใดๆ”







ทีนี้ลองมาจัดประเภท “หนังทดลอง” และ “วิดีโออาร์ต” ตาม คำจำกัดความของผม กันครับ


สมมติ

- ผมสร้างงาน เป็นการวาดภาพ Abstract ลงบนฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง Titanic

อันนี้จะถือว่าเป็น “วิดีโออาร์ต” ครับ เพราะเจตนาคือ สร้างงานจิตรกรรม เพื่อสื่อสารอะไรบางอย่าง โดยมีภาพเคลื่อนไหว เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด แม้จะดูเป็นการทดลอง แต่ไม่ใช่การทดลองสำหรับภาพยนตร์ และ เป็นการทดลองที่เคยทำมาบ่อยแล้วสำหรับภาพยนตร์



- ผมสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่ถ่ายเฉพาะใบหน้าของตัวละคร เท่านั้น ในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป

อันนี้จะถือว่าเป็น “หนังทดลอง” ครับ เพราะผมสร้างภาพยนตร์ ที่ทดลองเล่าเรื่องในรูปแบบที่แตกต่างจากภาพยนตร์ส่วนใหญ่โดยทั่วไป (แม้อาจมีคนเคยทำมาแล้ว แต่ผู้สร้างยังไม่รู้ หรือ ยังไม่มีผลการทดลองที่แพร่หลาย)



- ผมวาดรูปสุนัขไม่มีหัว บนผนัง แล้วสร้าง วิดีโอ เป็นภาพหน้านักการเมืองบางคน เวียนสลับกันไป แล้วฉาย มันลงไปตรงตำแหน่งที่เป็นหัวสุนัข วนเวียนไปมาหลายๆรอบ (นอกเรื่อง สุนัขนี่มีทั้งด้านดี และ เลวนะครับ )

สำหรับภาพเคลื่อนไหวนี้ ผมถือว่ามันเป็น “วิดีโออาร์ต” เพราะเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เป็นส่วนประกอบของงานศิลปะอื่นๆ (แบบนี้ น่าจะเรียกว่างาน installation หรือเปล่า) และไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อทดลอง แต่มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาบางอย่าง



เอาหล่ะ คราวนี้น่าสนใจ

- ถ้าผมสร้างภาพเคลื่อนไหวประกอบดนตรี

(แต่ไม่ได้เจตนา สร้างเรื่องขึ้นมาเหมือน MV (Music Video) ส่วนใหญ่ ที่เรื่องราวของมัน แม้เอาดนตรีออก ก็ยังมีใจความเหมือนเดิม คือ สามารถสื่อสารออกมาได้อยู่ดี แม้ไม่มีดนตรีประกอบ

ซึ่งแบบนั้นเป็นลักษณะของภาพยนตร์ ที่รวมกับ ดนตรี มันมีความเป็น "เอกเทศ" ที่สามาถแยกออกจากกันได้)


ผมจะเรียกงานนี้ว่า Video Art ก็ได้ จากคำนิยามของผม หรือ จะเรียกว่า MV ก็ได้ ตามเจตนาของตัวงาน (เพื่อประกอบ หรือ ส่งเสริม งานดนตรี)







ครับ อันนี้ก็เป็นคำจำกัดความแบบคร่าวๆของผมนะครับ มันยังมีข้อที่คลุมเครือ ในบางส่วน เช่น แค่ไหน ที่สามารถเรียกได้ว่า “เป็นความรู้พื้นฐานที่รับทราบกันทั่วไปแล้ว”

ซึ่งคำจำกัดความครั้งนี้ มันก็ไม่ตายตัวแน่นอน หากผมศึกษางานมากๆ จน ตกผลึก ทางความคิด แล้ว คำจำกัดความเหล่านี้อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปก็ได้ (ก่อนเขียนบทความ ผมใช้เวลาหาข้อมูล แค่ไม่กี่วัน)




อีกอย่าง การจัด หรือ แบ่ง ประเภทผลงานต่างๆนั้น ไม่ใช่สาระที่สำคัญเท่าไหร่นัก เพราะงานบางชิ้นก็มีลักษณะ ที่คลุมเครือ หรือ ครอบคลุม หลายประเภท


ประโยชน์ของการแบ่งประเภท ก็เพื่อเอาไว้อธิบายตัวงาน แบบคร่าวๆ ก็เท่านั้น




แต่อย่างน้อย นี่ก็เป็นคำจำกัดความที่เอาไว้ บอกความแตกต่างระหว่าง “หนังทดลอง” และ “วิดีโออาร์ต” ของผมครับ



ทีนี้ใครมีข้อเสนอแนะ หรือ ข้อโต้งแย้ง ก็คุยกันได้ครับ แล้ว ความหมายของทั้งสองคำนี้ของคุณคืออะไร ก็มาแชร์กันได้









หมายเหตุ



ศิลปะทั้ง 7 แขนง ได้แก่

1. คีตศิลป์ การร้อง เพลงดนตรี เสียงเพลง
2. จิตรกรรม ภาพเขียน เทคนิคการใช้สีสันต่างๆ
3. ประติมากรรม งานปั้น รูปสลัก
4. สถาปัตยกรรม งานออกแบบฉาก การสร้างฉาก
5. นาฎกรรม การร่ายรำ ฟ้อนรำ การแสดง
6. วรรณกรรม งานเขียน บทกลอน โครง ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การเขียนบท
7. ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ศิลปะที่ว่าด้วยสุทรียะศาสตร์


แบ่ง เป็น 3 แบบคือ


1. ศิลปะว่าด้วยพื้นที่ (Space) คือ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นั่นคือ ตัวงานต้องการ "พื้นที่ในการแสดง" แต่ไม่ขึ้นกับเวลา (คือไม่จำเป็นต้องมีเวลามาเป็นตัวกำหนด เพราะงานเหมือนเดิมทุกเวลา)


2. ศิลปะว่าด้วยเวลา (Time) คือ คีตศิลป์ นาฎกรรม วรรณกรรม นั่นคือ ตัวงานต้องการ เวลาในการแสดงงาน (คือ มีเวลาเป็นตัวกำหนด เช่น เวลานี้ ต้องเสียงสูง ถัดไป ต้องเสียงต่ำลง )


3. ศิลปะว่าด้วยพื้นที่ และ เวลา (Space-Time) คือ ภาพยนตร์ ซึ่งเป็นผสมผสานศิลปะทั้ง 2 แบบ เข้าด้วยกัน คือ ต้องใช้พื้นที่แสดงงานโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด ด้วย



ภาพยนตร์ ประกอบด้วย


ดนตรีประกอบ บทพูดหรือ เสียง ต่างๆ ( คีตศิลป์ )

การแสดง (นาฎกรรม)

เนื้อเรื่อง ( วรรณกรรม )


เหล่านี้ เป็น ศิลปะว่าด้วยเวลา (Time)



ภาพของหนัง (จิตรกรรม)

พวก อุปกรณ์ประกอบฉาก ต่างๆ (ประติมากรรม)

ฉากต่างๆ สถานที่ในหนัง ( สถาปัตยกรรม )


เหล่านี้ เป็น ศิลปะว่าด้วยพื้นที่ (Space)



และมองถึงการแสดงตัวงาน ภาพยนตร์ ต้องการที่ฉาย คือ ต้องการพื้นที่ และ ต้องการเวลาในการแสดงผลงาน


นั่นทำให้ ภาพยนตร์ ต้องอาศัย ศิลปะหลายแขนง ในการสร้างสรรค์



ปล.

1. รับชมงานของผมที่ผมเรียกว่า “หนังทดลอง” ตาม Link เลยครับ

Continue
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=navagan&month=04-2008&date=12&group=5&gblog=2

Thaumatrope
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=navagan&month=04-2008&date=12&group=5&gblog=3

Concept เรื่อง Thaumatrope
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=navagan&month=10-2008&date=03&group=5&gblog=4

2. บทความนี้ เป็นความเข้าใจส่วนตัวล้วนๆครับ


โอยยย ยาวมากๆ




 

Create Date : 09 มกราคม 2552
8 comments
Last Update : 9 มกราคม 2552 14:56:50 น.
Counter : 22532 Pageviews.

 

ผมค่อนข้างคุ้นเคยกับงานทั้งสองประเภทดี งานแนวทดลองก็มีไว้ให้ผู้กำกับได้ลองนู้นลองนี้ อันไหนไอเดียแปลก ๆ ก็ต้องปรบมือให้เลยว่าคิดได้อย่างไร

 

โดย: I will see U in the next life. 9 มกราคม 2552 10:26:31 น.  

 

สวัสดีค่ะ เจนนี่แวะมาเยี่ยมทักทายจ้า สบายดีน่ะ ขอบคุณอีกครั้งที่แวะไปอวยพรปีใหม่ให้เจนนี่และครอบครัวที่บล็อคค่ะ ว่างๆอย่าลืมแวะไปชมรูปในคืนเค้าท์ดาวน์ที่บล็อคเจนนี่อีกน่ะคะ เพิ่งอัพรูปเสร็จค่ะ ไว้เจนนี่ว่างเมื่อไหร่ เจนนี่จะแวะมาเยี่ยมทักทายอีกน่ะคะ

 

โดย: สาวอิตาลี 9 มกราคม 2552 12:33:18 น.  

 

พอดีดูรายการหนังพาไป แล้วเค้าพูดถึงหนังอาร์ต หนังทดลอง
เลยเสิรชกูเกิลเจอบล็อคนี้

ได้ความรู้มากๆจริงๆ คืออ่านแล้วเข้าใจเลย
อยากสนับสนุนให้คนไทยอ่านบล็อคดีๆแบบนี้จัง

 

โดย: อีฟฟ IP: 110.168.111.101 14 พฤษภาคม 2554 23:26:01 น.  

 

ขอบคุณครับ ผมเรียนด้านถ่ายภาพและภาพยนตร์ คลอง 6 ช่วงนี้ อ ให้ทำเกี่ยวกับหนังทดลอง ผมเลยอยากมาแนวทางเผื่อจะนำไปใช้ในงานครั้งต่อไป อันที่จริง อ ไม่ได้แนะอะไรมาก แต่เน้นให้เด็กไปค้นหาเอง บล็อกนี้ตอบโจทย์ผมได้ดีทีเดียวครับ อันนี้เข้าใจแจ่มแจ้งเมื่อมันมีลิงค์ให้ดู

 

โดย: Chong-Cheng IP: 27.130.59.57 5 กันยายน 2557 0:32:56 น.  

 

พี่คิดยังไงกับวิดิโอ อาร์ต หรือ แบบทดลอง อยู่ในยุคของศิลปะร่วมสมัย ว่ามี ปัญหาอะไรในการวิจารณ์งานพวกนี้บ้างไหมคะ
ส่งเข้าเมล์ saintpimpimon@gmail.com พอดีหนูทำรายงานเกี่ยวกับการวิจารณ์งานศิลปะแนวนี้อยู่ค่ะ เลยอยากนำไปเป็นแนวคิด เผื่ออาจได้ต่อยอดอะไรบางอย่างได้ ขอบคุณล่วงหน้าค่า :D

 

โดย: saint IP: 125.24.62.254 2 ตุลาคม 2557 12:35:46 น.  

 

พึ่งได้เข้ามาหาข้อมูลเกี่ยวกับหนังทดลองค่ะ เพราะเริ่มได้ยินมาจากหนังพาไปเหมือนกัน และกำลังอยู่ในจช่วงที่จะศึกษามหาลัยด้วย เลยเริ่มอยากจะทำหนังสั้น หนังอารืต หนังทดลองของตัวเองดู ขอบคุณสำหรับบล็อกนี้มากค่ะ ถ้ายังไงอยากได้แนวทางเพิ่มเติมเหมือนกัน รบกวนแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมให้ได้มั้ยคะ

 

โดย: terry IP: 58.8.28.128 16 มีนาคม 2560 17:05:58 น.  

 

ยินดีครับ

 

โดย: navagan 3 เมษายน 2560 0:51:21 น.  

 

Hello there,

My name is Aly and I would like to know if you would have any interest to have your website here at bloggang.com promoted as a resource on our blog alychidesign.com ?

We are in the midst of updating our broken link resources to include current and up to date resources for our readers. Our resource links are manually approved allowing us to mark a link as a do-follow link as well
.
If you may be interested please in being included as a resource on our blog, please let me know.

Thanks,
Aly

 

โดย: Aly Chiman IP: 139.99.104.95 12 ธันวาคม 2561 21:37:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.