สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

โรคหลอดเลือดหัวใจ







โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคในกลุ่มโรคหัวใจที่มีอัตราความชุกสูง เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศตะวันตกหรือในประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับในประเทศไทย ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี2544 ระบุว่าโรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับที่สามรองจากกลุ่มโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ คร่าชีวิตคนไทยไปประมาณ 25,000-30,000 คน หรือคนไทย 1 ใน 5 จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ


อาการเช่นไรที่ให้สงสัยได้ว่าเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด

1. เจ็บ แน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ อาการเจ็บอาจร้าวไปที่แขน คอ หลัง หรือขากรรไกร อาจเกิดอาการขณะออกกำลังกาย หรือตื่นเต้น และหายไปเมื่อพัก

2. เหงื่อแตก คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือหายใจไม่อิ่ม, เหนื่อย อาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาอมใต้ลิ้นเพื่อขยายหลอดเลือด 1 เม็ดทุก ๆ 5 นาที แต่หากได้รับยาอมใต้ลิ้น 1 เม็ด อาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที เพราะหากไม่มีเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นตายไป อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้





สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจาก

1. อายุ เส้นเลือดแข็งจะค่อยเป็นค่อยไปตามการเจริญเติบโตของร่างกาย และจะแข็งเร็วขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปจะเกิดอาการเมื่ออายุ 40 ปี ในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงจะช้ากว่า 10 ปี

2. เพศ ก่อนอายุ 50 ปี ผู้ชายจะเป็นมากกว่าผู้หญิง ในช่วงหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นมากกว่า พอหลังอายุ 60 ปี สถิติการเป็นโรคพอๆ กัน
3. กรรมพันธุ์ ผู้ที่บุพการีเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่บุพการีไม่ได้เป็นโรคนี้เลย

4. ไขมันในเส้นเลือด ไม่ว่าจะเป็นไขมันรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์หรือไขมันแอลดีแอล ถ้าสูงกว่าปกติก็จะทำให้เส้นเลือดแข็ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดตีบตัน

5. ความดันโลหิตสูง

6. เบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานมักจะเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดตีบตันด้วย เพราะโรคเบาหวานทำให้การเผาผลาญไขมันสับสน เมื่อไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจแข็ง โรคหัวใจก็ตามมา

7. ความอ้วน ความอ้วนกับโรคหัวใจหลอดเลือดตีบตัน มักจะเกิดขึ้นด้วยกันเสมอ โดยเฉพาะคนที่อ้วนที่พุง หรือเรียกว่าพุงเบียร์ มักจะมีไขมันในเลือดสูงจนเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดตีบตันด้วย

8. วัยหมดประจำเดือน เนื่องมาจากฮอร์โมนเพศหญิงน้อยลง สับสน เทียนขุยหมด เลือดลมปรวนแปร ความเสื่อมต่างๆ มาเยือน เส้นเลือดก็ขาดความยืดหยุ่น จนเกิดเป็นโรคนี้ได้

9. ออกกำลังกายน้อยหรือขาดการออกกำลังกาย การไหลเวียนเลือดไม่คล่องพอ การ เผาผลาญพลังงานน้อย ทำให้สะสมไขมัน จนกลายเป็นโรค

10. ความเครียด ผู้ที่ทำงานทางสมอง ใช้แรงงานทางกายน้อย เครียดและมีความกดดันจากงานมาก จนทำให้ประสาทสับสน เกิดเป็นโรคนี้ง่ายเช่นกัน

11. การสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ พบว่าโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันลดลงราว ร้อยละ 20-30 อัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 30 อาการที่เกิดจากโรคหัวใจลดลงร้อยละ 40 หลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะตีบอาจจะตีบน้อยลง และต้องป้องกันและควบคุมภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดที่มีความผิดปกติให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายราว 1.5 เท่า





จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

1. การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ

การเดินสายพานและวัดการเปลี่ยนแปลงของกราฟไฟฟ้าหัวใจ การฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดใดตีบตีบมากหรือน้อยซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษา การกระตุ้นให้หัวใจทำงานมากขึ้น: การขี่จักรยาน การฉีดยา การฉีดสารกัมมันตรังสี และ การทำอัลตร้าซาวนด์ (Ultrasound)
การตรวจ X-ray computer : CT และ MRI

2. การตรวจไขมันในเลือด

การวัดระดับคอเลสเตอรอล (C) ทั้งหมด
ไตรกลีเซอไรด์ (TG)
อนุภาคเชิงซ้อนของไขมันกับโปรตีนชนิด HDL (ไขมันชนิดดี) และ LDL (ไขมันชนิดเลว)


ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ คือ

1.1 ภาวะไขมันในเลือดสูง
1.2 โรคอ้วนและการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
1.3 ความเครียด
1.4 ภาวะขาดการออกกำลังกาย
1.5 โรคเบาหวาน
1.6 ความดันเลือดสูง
1.7 การสูบบุหรี่


2 .ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

2.1 กรรมพันธุ์-ถ้าในครอบครัวมี พ่อ-แม่ หรือญาติสายตรงมีประวัติป่วยด้วยโรคนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคพันธุกรรมที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง จะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน
2.2 เพศ: เพศชาย มีอัตราเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง
2.3 อายุ: เพศชายส่วนใหญ่อายุ >45 ปี, เพศหญิงอายุ >55 ปี


การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมาก ดังนั้น คนที่มีอายุมาก หรือผู้ป่วย จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงหรือหยุดปัจจัยเสี่ยง เพื่อลดอัตราเสี่ยง หรือ
ชลอการดำเนินของโรค





การตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

1. ภาวะที่มีการเพิ่มของคอเลสเตอรอล (cholesterol) โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลในอนุภาคเชิงซ้อนของไขมันและโปรตีนที่เรียกว่า ลิโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ที่รู้จักดีในชื่อ LDL (low density lipoprotein) หรือบางคนเรียกว่า ไขมันชนิดเลว ทำให้เกิดการสะสมของกลุ่มไขมัน แคลเซียม และเซลล์ต่าง ๆ ที่ผนังของหลอดเลือดส่งผลให้โครงสร้างของผนังด้านในของหลอดเลือดบาดเจ็บ

2. ในสภาวะที่ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระ (free radical) หรืออนุพันธ์ของออกซิเจนที่ว่องไว (reactive oxygen species, ROS) เพิ่มมากขึ้น แต่มีสารต้านลดลง อนุพันธ์เหล่านี้จะออกซิไดส์ LDL ทำให้โมเลกุลเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็น oxidized LDL ซึ่งจะยิ่งเข้ามาสะสมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดที่บาดเจ็บได้ดีขึ้น มากขึ้น

3. การสะสมของ oxidized LDL จะกระตุ้นให้ เม็ดเลือดขาวชนิดแมโครเฟจ (macrophage) พัฒนาและเคลื่อนที่เข้ามาจับกิน LDL ได้โดยไม่จำกัดจำนวน กลายเป็นเซลล์ที่มีไขมันสะสมอยู่เต็มเซลล์เรียกว่า โฟมเซลล์ (foam cell) เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้าง ROS เพิ่มขึ้น ซึ่งยิ่งทำให้มี oxidized LDL มากขึ้น

4.โฟมเซลล์และไขมันจากเซลล์ที่แตกจะสะสมรวมกลุ่มในผนังหลอดเลือด และมีกระบวนการเหมือนการอักเสบตามมา เกิดการสร้างเส้นใยเพื่อการสมานต่าง ๆ จนเกิดเป็นคราบไขมันทับถมที่เรียกว่า พลาก ทำให้รูหลอดเลือดแคบลง และเกิดหลอดเลือดตีบตามมาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพลากนั้นแตกออกและเกิดการกระตุ้นการสร้างลิ่มเลือด

มีการวิจัยศึกษาพบว่า ในภาวะที่มี ความเครียด โกรธ ความดันเลือดสูง หรือการได้รับอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ จะทำให้มี ROS เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับ LDL และ oxidized LDL เพิ่มขึ้น ผนังหลอดเลือดบาดเจ็บง่ายขึ้น จึงเกิดพลากในผนังหลอดเลือดตามมาได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันการลดความเครียด การเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และดื่มไวน์เล็กน้อย จะช่วยให้มีระดับอนุภาคเชิงซ้อนของไขมันและโปรตีนชนิดความหนาแน่นสูง หรือที่เรียกว่า HDL (high density lipoprotein) เพิ่มขึ้น ซึ่งจัดเป็นไขมันชนิดดี ถูกออกซิไดส์ได้ยากกว่า LDL หากมีระดับ HDL ในเลือดสูงพบว่าจะลด หรือช่วยป้องกันการเกิดพลากได้





อาหารที่ควรรับประทาน

อาหารและสมดุลของสารอาหารหลัก อันได้แก่ ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีทั้งสารอาหารทั้งที่ดี และไม่ดีต่อร่างกาย มีทั้งคุณและโทษ และมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนี้

ไขมันมีหน้าที่หลักในการให้พลังงานและเป็นส่วนประกอบของเยื่อเซลล์ คอเลสเตอรอล มีบทบาทช่วยให้เยื่อหุ้มเซลล์เสถียร โดยปกติร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอลได้เองที่ตับและลำไส้เล็ก ในผู้ใหญ่จึงไม่ควรจะรับประทานเกินวันละ 300 มก. ซึ่งจะมีมากในอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ และไข่แดง พบว่าไข่ไก่ 1 ฟองมีคอเลสเตอรอลประมาณ 400 มก.

ในขณะที่อาหารจากพืชจะไม่มีคอเลสเตอรอลกรดไขมัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ กรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันอิ่มตัวจัดเป็นไขมันที่ไม่ดี พบมากในน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว เนื้อสัตว์ที่ติดมันมาก สำหรับกรดไขมันที่ดีนั้นในอดีตนักโภชนาการจะแนะนำให้รับประทาน กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดพอลี เนื่องจากช่วยลดคอเลสเตอรอล แต่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบควรหลีกเลียงการใช้น้ำมันในการทำอาหาร และหากจำเป็นต้องใช้ ควรเลือกใช้น้ำมันที่เหมาะสม

คาร์โบไฮเดรตทำหน้าที่สำคัญในการให้พลังงาน แต่หากได้รับมากเกินความต้องการ ร่างกายคนเราก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปเป็นสารจำพวกไขมันได้ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีดัชนีค่าน้ำตาลสูงได้แก่ ขนมปังขาว ข้าวเหนียว พาสต้า หรือผลไม้จำพวก ทุเรียน ลำไย เป็นต้น





ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีดัชนีค่าน้ำตาลต่ำ เช่น วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ต่างๆ สปาเกตตี้ มักกะโรนี ส้ม กล้วย มะละกอ พุทรา น้อยหน่า

หรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตแบบเส้นใยสูงที่จะช่วยลดการดูดซึมไขมัน ได้แก่ ข้าวโพดอ่อน ถั่วฝักยาว แครอท ถั่วแระ ถั่วเขียว แอปเปิ้ล ฝรั่ง องุ่น อาหารซีรีลชนิดแบรน ข้าวโพดต้ม ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านี้อาหารเหล่านี้ยังอุดมไปด้วยสารต้านการออกซิไดส์ทั้งวิตามินอี วิตามินซี แคโรทีน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น

โปรตีน คนปกติควรได้รับโปรตีนจากอาหารไม่ต่ำกว่า 0.6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วันจึงจะไม่ทำให้ขาดโปรตีน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ติดมันเพราะมีไขมันอิ่มตัวสูงแต่ควรรับประทานโปรตีนจากปลาซึ่งจัดว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพแทน โดยเฉพาะปลาทะเลซึ่งจะมีกรดไขมัน omega-3 ที่จำเป็น และโปรตีนจากพืชผักต่างๆ ข้อที่ควรคำนึงคือโปรตีนจากพืชจะมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารโปรตีนจากแหล่งต่างๆ กัน เพื่อให้ได้กรดอะมิโนครบถ้วน

สัดส่วนของสารอาหารหลักที่เหมาะสมที่แนะนำในปัจจุบัน คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีดัชนีค่าน้ำตาลต่ำร้อยละ 50 โปรตีนชนิดดีร้อยละ 20-25 และไขมันชนิดดีร้อยละ 20-25 ชนิดของอาหารที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยงดังแสดงสรุป





การรักษา การป้องกัน และการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

วิธีการรักษาและป้องกัน

ในปัจจุบันศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยมีวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับ และสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ2วิธีที่สำคัญคือการใช้ยาเพื่อผลการรักษาดังต่อไปนี้

-การป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือด
-การละลายลิ่มเลือด
-การลดระดับไขมัน
การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาได้แก่
-การใช้บอลลูนเพื่อขยายจุดตีบ
-การใส่โครงตาข่ายหรือตระแกรง(stent)ที่เคลือบยาเพื่อถ่างขยายหลอดเลือด
-การใช้เครื่องมือกรอส่วนที่ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ
- การผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการ และช่วยเหลือให้พ้น ระยะที่คุกคามชีวิต

โปรแกรมการฟื้นฟูและรักษาผู้ป่วยโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต

ถึงแม้ว่าวิธีการรักษาดังกล่าวข้างต้นจะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน แต่หาก ผู้ป่วยไม่ควบคุมดูแลตนเองให้ถูกต้องหรือไม่ผ่อนคลายความเครียด หลอดเลือดอาจกลับมาตีบซ้ำใหม่ จากปัญหาดังกล่าวทำให้ Dr Deam Ornish จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการวิจัยศึกษาถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของผู้ป่วยอย่างเข้มงวด 5 วิธี คือ

1) การรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยเฉพาะคอเลสเตอรอล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้สด

2) การหยุดสูบบุหรี่

3) การผ่อนคลายความเครียด

4) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

5) การจัดกลุ่มให้ความช่วยเหลือและกำลังใจ

จากการศึกษาติดตามเป็นเวลา 1 และ 5 ปี พบว่า กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมสามารถลดระดับไขมันในเลือด และลดอัตราการตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่ต้องรับประทานยาลดไขมัน การรักษาแบบอื่น







 

Create Date : 17 ธันวาคม 2551
10 comments
Last Update : 17 ธันวาคม 2551 8:44:30 น.
Counter : 1934 Pageviews.

 

>
สวัสดีค่คะคุณกบ...วันนี้อากาศเย็นจัง ..เลยบรื๋ออออ
แจนแวะมาทักทายตอนเช้า ก่อนเริ่มงานค่ะ
มีความสุขกับวันพุธสีเขียวนะคะ

 

โดย: นู๋แจน (JJ&TheGang ) 17 ธันวาคม 2551 9:18:39 น.  

 

สวัสดีตอนสายๆค่า ปีใหม่ไปเที่ยวไหนรึป่าวคะ

 

โดย: UnderSunShine* 17 ธันวาคม 2551 11:34:10 น.  

 



คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...









 

โดย: นู๋หญิงจ๋า 17 ธันวาคม 2551 12:21:09 น.  

 

สวัสดอนเช้าจร้า เป็นข้อมูลที่ดีมากเลย

 

โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ 17 ธันวาคม 2551 12:46:30 น.  

 

ขอบคุณที่แวะทักทายกันนะคะ แล้วก็ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

มีความสุขมากๆ นะคะ

 

โดย: tuktikmatt 17 ธันวาคม 2551 20:26:44 น.  

 

โชคดีที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

 

โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง 18 ธันวาคม 2551 0:04:49 น.  

 

สวัสดีค่ะอ้อยแวะมาพร้อมทั้งนำความรุ้กลับไปด้วย อ้อยค่อนข้างแข็งแรงเนื่องจากว่าออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพทุกปี แต่ห่วงคนรอบข้างมากกว่าเพราะว่าไม่ชอบออกกำลัง พุงเบียร์เหมือนข้างบนเลยค่ะ กลุ้มใจแทน ไปตรวจเลือดหมอบอกมีไขมันในเส้นเลือดนิดหน่อย เขาไม่ใช่คนอ้วนนะค่ะมีแต่พุงอ้วนอย่างเดียว ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาฝากเรานะค่ะ เดี๋ยวอ้อยหลังไมล์นะค่ะ

 

โดย: Hawaii_Havaii 18 ธันวาคม 2551 9:33:39 น.  

 



สวัสดีค่ะคุณกบ ... แจนมาทักทายยามบ่ายค่ะ
ทำอารายอยู่คะ ...^___^
Have A Nice Day ... naka :)

 

โดย: นู๋แจน (JJ&TheGang ) 18 ธันวาคม 2551 15:27:55 น.  

 

หวัดดีค่ะ...นุชแวะมาทักทายยามเย็นค่ะ

หม่ำอะไรหรือยังเอ่ย

Photobucket

 

โดย: Vannessa 18 ธันวาคม 2551 20:02:37 น.  

 

...แวะมาอ่านซ้ำค่ะ...มาบ้านนี้ทีไรได้ความรู้

กลับไปทุกที

Photobucket

 

โดย: Vannessa 19 ธันวาคม 2551 9:40:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
17 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.