สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ




ใกล้ถึงวันผู้สูงอายุก็เลยอยากแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงอายุ
ที่เป็นโรคสมองเสื่อมมาเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้ที่มีญาติ
ผู้ใหญ่เป็นโรคนี้กันคะ





สมองเสื่อม.... คืออะไร ?

ภาวะสมองเสื่อม จริงๆ แล้ว เป็นแค่อาการแสดงอย่างหนึ่งของโรค ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ความหมายโดยทั่วไปของสมองเสื่อม คือ การด้อยประสิทธิภาพ ในการทำงานของสมองทุกๆ ด้าน แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ การคำนวณ หรือการใช้ความคิดที่สลับซับซ้อน รวมถึงประสิทธิภาพ ทางการสื่อภาษา การแปลความหมาย


จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการสมองเสื่อม ?

ก่อนที่แพทย์จะบอกว่า คุณเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จำเป็นต้องตรวจแยก โรคสมองเสื่อมเทียม ซึ่งพบได้บ่อย อันได้แก่ ภาวะที่เกิดจากความเครียด นอนไม่หลับ ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคจิตประสาทอื่นๆ ซึ่งมีผลทำให้ความคิดอ่าน ของสมองไม่ปกติ ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจริงๆ มักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองเป็น แต่ญาติ หรือคนใกล้ชิดหลายๆ คน จะสังเกตอาการ และให้ข้อมูลแก่แพทย์ ทราบถึงความผิดปกติทางสมอง ที่ค่อยเป็นค่อยไป ตรงกันข้ามกับผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมเทียม ที่มักจะบอกกับแพทย์โดยตรงว่า ตัวเองหลงลืมง่าย และวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม ในการตรวจ แพทย์อาจต้องทดสอบความจำ การคำนวณ สังเกตการแก้ปัญหาง่ายๆ คนที่เป็นโรคสมองเสื่อม มักสูญเสียความจำ ที่เพิ่งเรียนรู้ใหม่ๆ แต่ความจำในอดีต มักจะยังดี ยกเว้นในกรณีที่เป็นมาก หรือเป็นมานานๆ





สาเหตุของสมองเสื่อม

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เกิดจากความเสื่อม ดังนั้น จึงพบได้บ่อยในคนสูงอายุ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นไปตาม กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และสังขาร ส่วนใหญ่ไม่สามารถแก้ไขให้ดีได้ดังเดิม สาเหตุใหญ่ๆ แบ่งได้ดังนี้

1. สมองเสื่อมจากวัยชรา มักพบในคนสูงอายุวัย 65-70 ปีขึ้นไป
2. โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อม ที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร คืออายุไม่เกิน 65 ปี โรคนี้พบบ่อยในประเทศแถบตะวันตก การวินิจฉัยที่แน่นอน ต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อสมอง เราจะพบพยาธิสภาพ ของเซลสมองเสื่อมลง เหมือนคนแก่อายุ 70-80 ปี ในเมืองไทย ยังมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้น้อย จึงดูเหมือนว่าพบอุบัติการณ์โรคนี้ น้อยกว่าความเป็นจริง
3. โรคสมองเสื่อมที่เกิดจาก เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ มักเกิดจากหลอดเลือดเส้นเล็กๆ ทั่วไปอุดตันซ้ำๆ มานาน ทำให้เซลสมองตาย และการทำงานของสมองโดยรวมเสื่อมลง โรคนี้พบอุบัติการณ์ในคนไทย ได้บ่อยกว่าโรคอัลไซเมอร์ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงมานาน โดยไม่ควบคุมให้ดี มักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ง่าย
4. ภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นโรคที่แพทย์ต้องพยายามมองหา เพราะคนไข้ อาจมาด้วยอาการพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง คล้ายภาวะสมองเสื่อม บางรายสามารถรักษาให้หายได้ โดยการผ่าตัด
5. ภาวะขาดวิตามิน บี 12 พบได้น้อย มักพบในคนที่ได้รับการผ่าตัด กระเพาะลำไส้มานานๆ และขาดอาหาร
6. โรคติดเชื้อที่มีผลทางสมอง เช่น ซิฟิลิส ปัจจุบันพบน้อย ไวรัสสมองอักเสบ ซึ่งมีหลายชนิด และโรคยุคใหม่มาแรง คือ ไวรัสเอดส์ ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้
7. สมองเสื่อมจากการติดสุราเรื้อรังนานๆ
8. ภาวะที่เกิดตามหลังการขาดออกซิเจน เช่น มีอาการชักซ้ำติดต่อกันนานๆ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นเวลานานๆ

นอกจากนี้ ยังมีบางโรคทำให้เกิดสมองฝ่อบางส่วน เช่น โรคพาร์กินสัน ซึ่งทำให้เกิดอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าลง เป็นต้น





การรักษา

ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และการวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะแก้ไขให้ดีดังเดิมได้ยาก ยกเว้นภาวะเลือดออกในสมอง บางกรณี สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด แพทย์อาจใช้ยาบำรุงสมอง เพื่อหวังผลชะลอความรุนแรงของโรค ให้เสื่อมช้าลง โดยทั่วไป การป้องกันในสิ่งที่ทำได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เราไม่สามารถหยุดยั้ง ความเสื่อมตามธรรมชาติได้ แต่เราสามารถดูแลสุขภาพของเราให้ดี เช่น ควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า หลีกเลี่ยงสารเสพติด ซึ่งจะมีผลทำลายสุขภาพในระยะยาว ไม่ส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันโรคเอดส์ ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใสอยู่เสมอ มีความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่นในครอบครัว ยอมรับสภาพตามความเป็นจริง ไม่เคร่งเครียดเกินไป เพียงเท่านี้ ก็สามารถทำให้ชีวิต มีความสุขได้ระดับหนึ่ง


อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม

• เล่าเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่วนมากจะเป็นเรื่องของตนเองหรือเรื่องในครอบครัวเล่าให้คนเดิมๆ ฟัง เพราะจำไม่ได้ว่าเคยเล่าแล้ว อาจถามคำถามแบบเดิมซ้ำกับคู่สนทนาคนเดิม
• หาของใช้ในบ้านไม่พบทั้งที่มีที่เก็บประจำ หรือเก็บของผิดที่ เอาไปไว้ในสถานที่แปลกๆ แบบคาดไม่ถึง เช่น เอา กุญแจบ้านไปใส่ไว้ในตู้เย็น เอานาฬิกาไว้ในขวดน้ำตาลทราย หรือเก็บกางเกงชั้นในไว้ในตู้เก็บรองเท้า เป็นต้น
• ลืมสิ่งที่เคยเรียนรู้ ความสามารถที่ทำได้ในช่วงหลังๆ และปฏิเสธว่าไม่เคยทำ ไม่รู้เรื่อง เช่น เรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์จนใช้เครื่องเป็น เล่นอินเตอร์เน็ตได้ แชทกับหลานปู่ที่เมืองนอกได้ แต่ต่อมาเริ่มสับสนทำไม่ค่อยถูก ไปๆ มาๆ ไม่แตะคอมพิวเตอร์อีกเลย พอมีคนถามว่าตอนนี้ไม่แชท กับหลานแล้วหรือ ก็อาจกลบเกลื่อนว่าไม่ว่าง แต่จะสังเกตได้ว่าคนนั้นใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นแล้ว หรืออยู่มาวันหนึ่งก็ส่งแฟกซ์หรือถ่ายเอกสารไม่เป็น ไม่ทราบว่าจะต้องทำขั้นตอนอย่างไรบ้าง
• ขาดไหวพริบ แก้ปัญหาไม่ได้ทั้งที่เป็นเรื่องไม่ยากนัก เช่น ลูกออกจากบ้านไป (คิดว่าจะไปไม่นาน) แล้วล็อกประตูหน้าบ้านจากข้างนอก คุณแม่ที่อยู่ในบ้านก็พยายามเขย่า ดัน และทำท่าจะพังประตูบ้านออกมาให้ได้ ทั้งที่หากเดินออกทางประตูอื่นที่อยู่ไม่ไกลกันก็จะถึงประตูที่ล็อกอยู่ หรือนั่งดูปล่อยให้ฝนสาดเข้ามาในห้องโดยไม่ทำอะไรเลย
• งานที่เคยทำเดิมๆ ก็เริ่มมีปัญหา เช่น ทำกับข้าวแต่ไม่ทราบว่าต้องใส่อะไรก่อนหลัง ตำน้ำพริกแกงไม่ถูก ใส่เครื่องปรุงไม่ครบ ทำกับข้าวรสชาติเพี้ยนไป กวาดบ้านแล้วเอาขยะไปซุกไว้ที่มุมห้อง ซักผ้าไม่ใส่ผงซักฟอก ซักทีเดียวแล้วเอาขึ้นตาก ใส่กางเกงกลับหน้ากลับหลัง เปิดทีวีไม่ได้ ใช้รีโมทไม่เป็น ไม่รู้ว่ารีโมทเอาไว้ทำอะไร เป็นต้น
• หมดความคิดริเริ่ม ไม่ทำอะไรทั้งนั้น นั่งเฉยๆ อยู่ทั้งวัน รวมทั้งแยกตัวไม่เข้าสังคม ชวนไปไหนก็ปฏิเสธ
• เรียกของกินของใช้ไม่ถูก เรียกทีวีว่าตู้ฉายหนัง จะเอากล้องถ่ายรูปโพลารอยด์ ก็บอกว่าจะเอากล่องที่มีกระดาษออกมา
• อารมณ์แปรปรวนโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน โกรธกราดเกรี้ยวรุนแรงในเรื่องเล็กน้อย หรือเฉยเมยไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เวลาโกรธอาจพูดจาหยาบคายมากๆ แบบคาดไม่ถึง หรืออาจมีปฏิกิริยาทำร้ายร่างกาย ทุบตี หรือกัดคนอื่น
• ไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น หรือสถานการณ์ รอบตัวขณะนั้น รถติดไฟแดงก็ไม่เข้าใจว่าจะต้องจอด เร่งให้ไป ตามใจตน อยากได้อะไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น รอไม่ได้ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องนั่งรอ
• เสียความจำในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นาน ทั้งที่เหตุการณ์นั้นใช้เวลานานและไม่น่าลืมได้ เช่น ลืมว่าเดินทางไปต่างจังหวัดหรือ ต่างประเทศ ลืมว่าไปงานแต่งงานของหลาน จำไม่ได้ว่าหลานแต่งงานแล้ว ไปธนาคารเบิกเงินมาแล้วก็จำไม่ได้บอกว่าไม่ได้ไป ในคนที่สมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป แต่อาจพบกะทันหันในคนที่สมองเสื่อมจากปัญหาหลอดเลือดแดงในสมอง และทุกคนไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่าง อาจมีเฉพาะบางอาการก็ได้ และจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ บางทีดูเหมือนคงที่อยู่สักระยะหนึ่งแต่มักจะเลวลงต่อไป





การดูแลสมองของผู้สูงอายุ ให้ยั่งยืนยาวนาน

สุขภาพของร่างกาย จะมีผลต่อสมองอย่างมาก โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ จึงควรดูแลสุขภาพของท่าน ดังนี้

1. อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ผู้สูงอายุมักจะมีน้ำหนักตัวเพิ่ม เพราะเคยชินต่อการรับประทานอาหาร ด้วยปริมาณที่เคยได้รับ วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเผาผลาญในร่างกายน้อย ดังนั้น อาหารที่เพิ่มขึ้น จึงไปพอกพูนเป็นไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนี้ จะมีผลกระทบโดยทางอ้อมอย่างน้อย 3 ประการ คือ
• ทำให้เลือดสูบฉีดไปสมองน้อยลง เพราะหัวใจจะต้องทำงานหนัก มากกว่าปกติ เพื่อไปสูบฉีดเลือดที่เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เพิ่มขึ้น หัวใจที่ทำงานมาหนักตลอดชีวิต จะอ่อนกำลังลง มีลักษณะเหมือนเฆี่ยนม้าที่เหนื่อย
• ผู้สูงอายุที่น้ำหนักตัวเพิ่ม มักจะเป็นเบาหวานด้วย เนื่องจากอินซูลินที่ร่างกายผลิตออกมาไม่พอ ต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เบาหวานเป็นภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง และทำให้เลือดเหนียวข้นคล้ายน้ำเชื่อม ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปสมอง ด้วยความยากลำบาก
• หลอดเลือดคนอ้วน มักจะมีไขมันไปทำให้ผนังหลอดเลือดขรุขระ ทำให้เลือดผ่านไปสมองไม่สะดวก





ด้วยเหตุดังที่กล่าวไว้ ผู้สูงอายุควรจะต้องกำหนดอาหาร ที่บริโภคแต่ละครั้งให้น้อยลง และอย่าตามใจปาก รับประทานอาหารตามชอบ ควรเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังให้สม่ำเสมอที่เหมาะสมกับวัย

2. รักษาความดันโลหิตไว้ให้อยู่ระดับปกติ ถ้าความดันโลหิตสูงเกินไป จะมีโอกาสทำให้หลอดเลือดในสมองแตกได้ ในขณะเดียวกัน ความดันโลหิตที่ต่ำเกินไป ก็ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อย ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ อย่าปล่อยปละละเลย หรืออย่ารักษาตัวเอง โดยซื้อยาลดความดันมารับประทานเอง จะมีอันตรายได้
3. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมและเป็นเวลาพอสมควร ที่นิยมกันมากคือการเดินเร็วๆ วันละครึ่งชั่วโมง ถ้าท่านทำสม่ำเสมอทุกวันให้ตรงเวลา จะทำให้เคยชิน อยากจะเดินเมื่อถึงเวลานั้น ไม่เกิดการเบื่อหน่าย การเดินออกกำลัง จะช่วยรักษาให้น้ำหนักคงที่ และทำให้นอนหลับในกลางคืนได้ดี
4. งดดื่มสุราและสูบบุหรี่รวมทั้งยาเสพติดทั้งหลาย เซลล์ของสมองละเอียดอ่อน ต้องการน้ำตาลและออกซิเจน เพื่อทำให้เกิดพลังงาน สุรา บุหรี่และยาเสพติด จะทำให้ขบวนการเกิดพลังงานเสื่อมถอย มีผลต่อสมองอย่างมาก ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้เซลล์ของสมองมีอายุยาวนาน ผู้ที่เสพสุรา ความคิดสร้างสรรค์ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
5. ระวังในเรื่องการใช้ยาบำรุงทั้งหลาย เพราะยาทุกชนิดเหมือนดาบสองคม ในขณะนี้ตามท้องตลาด มียาบำรุงมากมาย และบางอย่างก็มีคนเชื่อว่าเป็นยากระตุ้นพลังทางเพศ โปรดระวังยาเหล่านี้เป็นพิเศษ ถ้าหากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์ของท่าน ยาอย่างหนึ่งที่กำลังแพร่หลายในต่างประเทศ และมีผู้นำเข้ามาในเมืองไทยบ้างขณะนี้ คือเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สกัดจากพืช ยานี้บางประเทศยังไม่ยอมให้ใช้พร่ำเพรื่อ เพราะถ้าได้รับฮอร์โมนนี้นานๆ อาจมีผลทำให้ต่อมไร้ท่อบางอย่างในร่างกายฝ่อลงได้
6. ได้รับวิตามินที่พอสมควร เซลล์สมองไม่สามารถจะเกิดพลังงานได้ ถ้าขาดวิตามินบีหนึ่ง หากได้รับวิตามินเหมาะสม ก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในทางตรงกันข้ามวิตามินบางอย่าง ถ้าได้รับมากเกินไป อาจจะเกิดโทษได้ วิตามินบางอย่าง จะทำให้สารทริปโทแฟน (tryptophan) ถูกแย่งเข้าไปในตับ ไม่เข้าไปในสมอง และอาจจะทำให้เกิดการนอนไม่หลับ หรือมีอาการสั่นคล้ายโรคพากินสันได้
7. ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ มีโรคหลายอย่าง ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสมองได้ เช่น โรคซิฟิลิส โรคมาเลเรีย โรคโลหิตจางและอื่นๆ อีกมาก อย่าละเลยนิ่งนอนใจ ผู้สูงอายุควรจะได้รับการตรวจร่างกาย จากแพทย์ทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย

ถ้าท่านสามารถดูแลสุขภาพของร่างกาย ได้ครบทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ย่อมส่งผลให้สมองของท่าน ยังคงมีประสิทธิภาพ ในการทำงานต่อไปได้อีกยาวนาน





การดูแลสมอง ด้วยการดูแลสุขภาพของจิตใจ

สมองกับจิตใจ
ถึงแม้ว่าสมองจะเป็นที่ตั้งของความนึกคิด ของสติสัมปชัญญะ และจิตใจก็ตาม ในทางตรงกันข้าม จิตใจก็มีผลต่อสมองด้วยเหมือนกัน ผู้ที่เศร้าโศกหมดกำลังใจ ย่อมทำให้สมองทำงานเชื่องช้าไม่ปกติ การฝึกให้สมองดี มีพลังความคิดดีนั้น นอกจากทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังมีผลส่งให้เกิดความสุขสงบของจิตใจอีกด้วย ความเครียดต่างๆ คือศัตรูของจิตใจ แต่ถ้าเรารู้จักบริหารความเครียดเหล่านั้น จะทำให้ความเครียดหมดลง และมีจิตใจสุขสงบได้

1. อย่าโกรธ ทุกครั้งที่เราโกรธ ผู้ที่ขาดทุนคือตัวเราเอง ความโกรธ คือ ศัตรูที่สำคัญมากต่อสมอง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ขณะที่เราโกรธ จะมีความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรงและเร็ว ร่างกายจะใช้พลังงานมากกว่าธรรมดา จะมีสารแอดดรีนาลินหลั่งออกมาในเลือด ทำให้หลอดเลือดต่างๆ หดตัว ทำให้เลือดไหลไปอวัยวะสำคัญ โดยเฉพาะหัวใจ และสมองน้อยลง และมีน้ำตาลหลั่งออกมาในเลือดมาก ทำให้ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ผู้สูงอายุ ควรจะควบคุมความโกรธไว้ให้ได้ อย่าปล่อยตัวให้เป็นทาสของมัน ให้นึกไว้ในใจอยู่เสมอว่า อย่าโกรธ อย่าโกรธ เพราะเราจะขาดทุนตัวเราเอง

2. อย่าเกลียด ความเกลียด คือ ต้นเหตุของความทุกข์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ถ้าหากเราเข้าใกล้คนที่เราเกลียด เราจะเริ่มมีความเครียดเกิดขึ้นทันที ผู้สูงอายุควรควบคุม อย่าให้เกิดความเครียด โดยเปลี่ยนความเกลียด ให้เป็นความเมตตาสงสาร อยากที่จะช่วยเหลือ และถ้าเราช่วยได้ จะยิ่งทำให้เกิดปีติ และจิตใจสุขสงบมากขึ้น อย่าลืมว่า ความเกลียดกับการไม่ชอบนั้น คนละอย่าง เราอาจจะไม่ชอบได้แต่อย่าเกลียด ความเกลียดใกล้เคียงกับความโกรธ มักจะมีผลร้ายต่อร่างกาย ผู้สูงอายุที่สะสมไว้แต่ความเกลียด มักจะมีสีหน้าที่หม่นหมอง ขี้บ่น และลูกหลานไม่อยากเข้าใกล้

3. อย่าครุ่นคิดกับสิ่งร้ายๆ ซ้ำซาก ผู้สูงอายุที่ไม่มีอะไรจะทำ มักจะครุ่นคิดอยู่คนเดียว เรื่องร้ายๆ จะกลับไปกลับมาอยู่เสมอ ควรเตือนตัวเองว่าจะหยุดคิด และกลับไปคิดเรื่องที่ดี ที่งาม ที่มีประโยชน์ต่อไป การครุ่นคิดกลับไปกลับมา เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ และมีผลร้ายต่อจิตใจอย่างยิ่ง

นักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ชีวิตของท่านเต็มไปด้วย เรื่องที่ร้ายร้ายอย่างมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นเลย แสดงว่าการครุ่นคิดถึงเรื่องร้ายนั้น เป็นการคิดไปเอง ส่วนมากไม่เป็นความจริง ตัวอย่างเช่น คิดว่าคนไม่ชอบเรา เพราะเราหมดความสำคัญ ไม่มีประโยชน์ต่อใคร ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะผู้สูงอายุมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในเรื่องประสบการณ์ต่างๆ ของชีวิต

4. ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีสิทธิพิเศษ สามารถจะเลือกทำสิ่งที่ตัวเองชอบเท่านั้น ไม่ต้องทำอย่างอื่น เหมือนที่ได้ทำมาแล้วในอดีต ไม่ต้องตื่นแต่เช้ามืด เพื่อไปทำงานตามเวลาที่กำหนด ไม่ต้องกลับบ้านในเวลาค่ำมืด ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่น จะเห็นว่าเราไม่มีประโยชน์ เพราะคนทุกคนในโลกมีประโยชน์ทั้งนั้น ผู้สูงอายุเหมือนคอมพิวเตอร์เก่า ที่แม้ว่าไม่ว่องไวเท่าคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ แต่ก็เต็มไปด้วยข้อมูล และประสบการณ์ ที่สามารถจะแนะนำผู้อื่นได้





5. หาความสงบสุขให้กับจิตใจ โดยการศึกษาธรรม การฝึกสมาธิ วิปัสสนา ก็ช่วยให้จิตใจสงบได้ ควรทำพอประมาณ อย่าหลงและทำอย่างมากมาย จนนอนหลับพักผ่อนไม่พอ อันอาจจะทำให้จิตใจผิดปกติได้ การศึกษาธรรม จะทำให้เห็นความจริงในชีวิตหลายอย่าง และทำให้เราหยุดโลภ หยุดหลง และหยุดอื่นๆ อีกหลายอย่าง ที่เป็นศัตรูต่อจิตใจ

6. อย่ากลัวความตาย ในส่วนลึกของความคิด ของผู้สูงอายุทุกคน จะนึกถึงวาระสุดท้ายของตน ว่าจะเจ็บไหม ทรมานมากไหม จะเกิดขึ้นเมื่อไร ถ้าครุ่นคิดแต่เรื่องนี้ จะเกิดความกลัว และรบกวนความสุขสงบ ของจิตใจอย่างมาก ความตายจะเกิดขึ้นเมื่อไร เราควบคุมมันไม่ได้ ดังนั้น ไม่มีประโยชน์ที่จะคิดถึงมัน ควรให้ความเชื่อมั่น ต่อการแพทย์สมัยนี้ว่า สามารถจะหยุดยั้งความปวด ความทรมานที่มีได้แน่ๆ และควรจะมองเห็นว่า ความตายเหมือนกับการนอนหลับนั่นเอง แต่เป็นการนอนหลับที่ยาวนาน พ้นจากความทุกข์ทรมานทั้งหลาย

7. ฝึกความจำไว้เสมอ อย่ายอมแพ้ต่อการเสื่อม ของร่างกายและสมอง วัยสูงอายุ มักจะมีปัญหาต่อความจำ โดยเฉพาะความจำของเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น หัดฝึกความจำ โดยเพิ่มความสนใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ อย่าทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ฝึกหัดจำหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขใหม่ๆ หมายเลขบ้าน หรืออะไรก็ได้ที่ใหม่ๆ การฝึกเหล่านี้ จะแก้ไขเรื่องความจำไม่ดีได้อย่างมาก


ลับปัญญาของท่านให้คมอยู่เสมอ

ปัญญา คือ ความสามารถ ที่ทำให้เราเลือกทำสิ่งที่ควรทำ และเลือกคิดสิ่งที่ควรคิด ปัญญาเหมือนเลื่อยตัดไม้ ที่เราต้องลับให้คมอยู่เสมอ การศึกษา อ่านหนังสือ แสวงหาความรู้ต่างๆ จะเป็นการทำให้ปัญญาแหลมคมขึ้น
อย่าหยุดเรียน การเรียนเป็นการฝึกเพื่อความรู้ เพื่อทักษะและเพื่อทัศนคติ ทั้งสามอย่างนี้ คือ การทำงานของสมอง สมองที่ไม่ได้ใช้งานจะฝ่อ เหมือนกับกล้ามเนื้อ ที่ไม่ได้ใช้งานนานๆ ก็จะลีบ ถ้าหากท่านชอบเขียนภาพสีน้ำ สีน้ำมัน ท่านอาจจะเริ่มเรียนใหม่ ชอบดนตรีก็หัดเรียนเครื่องดนตรีที่ชอบ สมองจะได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอ ทำให้ไม่เสื่อมตามวัย และรักษาไว้ได้นานแสนนาน








ขอขอบคุณข้อมูล นิตยสาร - HealthToday
//www.ram-hosp.co.th









Create Date : 04 เมษายน 2552
Last Update : 4 เมษายน 2552 19:06:21 น. 8 comments
Counter : 3434 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดีค่ะ ... คุณกบ
ไม่รู้ว่ายังจะจำนู๋แจนคนนี้ได้อีกมั๊ยน๊า....
หายหน้าไปนานเลยค่ะ แต่ตอนนี้กลับมาเข้าบล็อคแระ
ตื่นเต้นมากมาย เหมือนเด็กใหม่เพิ่งเริ่มเล่นเลยค่ะ 555
หยุดยาว 3 วัน ติดต่อกันอย่างนี้
...พักผ่อนให้เต็มที่เลยน๊า...
แล้วนู๋แจนจะแวะมาเที่ยวเล่นอีกนะคะ
บั๊พบาย...คร่า...จุ๊บจุ๊บ!!!




โดย: JJ&TheGang วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:21:35:55 น.  

 
อยากจะมาทักคุณกบบ่อยๆ
แต่บล้อกคุณกบเข้ามายากมากครับ
เฉพาะรอกล่องต้อนรับ
จะต้องรอประมาณ 5-10 นาที
แล้วส่วนใหญ่เครื่องผมจะแฮงค์ไปเลยครับ
5555

ไม่รู้เป็นเพระาคอมผมเก่า และเน็ตผมช้าด้วยรึเปล่า

เว็บที่ตกแต่งบล้อกเยอะๆ
ผมจะเข้ายากมากครับ




โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:00:05 น.  

 
แหมข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลย
ตอนนี้พอคนเข้าวัยชราโรคนี้ก็มักถามหา
ถึงเราไม่เป็นแต่อาจต้องดูแลและเข้าใจคนเหล่านั้น จะได้ไม่เป็นการลำบากต่อการดำเนินชีวิตของเราขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ
สมกับชื่อบ้านแห่งความรู้จริงๆ
บ้านนี้จัดบ้านน่ารักจังค่ะ
มีความสุขมากๆนะคะ



โดย: busabap วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:22:56 น.  

 
ทำไมรูปที่มาฝากไม่ยอมไปจิ๋มส่งใหม่นะ


โดย: busabap วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:28:27 น.  

 
แวะมาทักทายและมาอ่านข้อมูลที่มีสาระเช่นเคยครับ
และขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชมภาพถ่ายที่ blog ด้วยนะครับ


โดย: ถปรร วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:21:57:06 น.  

 

วันนี้แจนมาทักทายช้าไปหน่อย
เพราะไปไหว้พระ 9 วัด ที่สิงห์บุรีมาค่ะ
คืนนี้ก็เลยมาส่งคุณกบเข้านอน พร้อมกับนำบุญมาฝากด้วยน๊า
งั้น...คืนนี้นอนหลับฝันดีฝันหวานๆ นะคะ

Comment Hi5 Glitter


โดย: JJ&TheGang วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:22:34:17 น.  

 
กินปลา และโอเมก้า3 ประจำค่ะ
ขึ้นเลขสาม ก็เริ่มหลงลืมละ อิอิ
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

bg อาหารและสมุดบันทึกกรอบสีแดง เชิญนะคะ


โดย: fleuri วันที่: 6 เมษายน 2552 เวลา:12:54:04 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาทักทายก่อนเริ่มงานค่ะ




โดย: JJ&TheGang วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:8:36:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.