สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคสะเก็ดเงิน




เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ เกิดการหนาตัวของชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดเป็นปื้นนูนแดง ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีเทาเงิน ถ้าแกะหรือเกาจะทำให้สะเก็ดหนามากขึ้น

ส่วนใหญ่โรคจะเป็นที่หนังศีรษะ แขน ขา บริเวณข้อศอกหรือเข่า ลำตัว เล็บมือ เล็บเท้า และฝ่ามือ ฝ่าเท้า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด จะเป็นๆ หายๆ โดยมีบางช่วงที่อาจหายดีเหมือนปกติ แต่สักพักอาการก็กลับกำเริบมาใหม่อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีภาวะความเครียดทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ

โรคสะเก็ดเงินพบได้ประมาณร้อยละ 2 ของประชากรทั่วไป พบว่าคนผิวดำเป็นโรคนี้น้อยกว่าคนผิวขาว ชายและหญิงพบได้ในอัตราพอๆกัน พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในสองช่วงอายุ 16-25 ปี และ 55-65 ปี ร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยใหม่เป็นเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วย มักจะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย แต่ถ้าเกิดเป็นโรคในเด็ก จะพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มากถึงร้อยละ 70


สาเหตุของโรค สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด

ปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสะเก็ดเงินอย่างมาก จากการศึกษายีนที่เกี่ยวข้อง พบว่ายีนที่สำคัญที่สุดชื่อ psoriasis susceptibility 1 (PSORS1) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 6 โดยพบมากถึงร้อยละห้าสิบของผู้ป่วยทั้งหมด ล่าสุดพบยีนที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสะเก็ดเงินอีกชนิดหนึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 17 มีชื่อว่า runt-related transcription factor 1 (RUNX1)

จากการศึกษาพบว่าเซลล์ผิวหนังตรงบริเวณที่เป็นโรคมีการแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ และเคลื่อนตัวจากชั้นใต้ผิวหนังมาที่ผิวนอกในเวลาประมาณ 4 วัน ซึ่งในคนปกติจะใช้เวลาประมาณ 26 วัน ทำให้ผิวหนังเกิดการหนาตัวขึ้นเป็นปื้น
ในขณะเดียวกันเซลล์ผิวหนังขาดแรงยึดเหนี่ยวตามปกติ ทำให้สารเคอราตินบนชั้นนอกสุดของผิวหนังหลุดลอกออกเป็นแผ่นๆได้ง่าย

ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell ทำหน้าที่เพิ่มขึ้นที่ผิวหนังและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ





อาการของโรค

อาการผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ผิวหนังส่วนศีรษะ เล็บ และข้อ อาการแบบเป็นๆ หายๆ ที่ผิวหนัง ตอนเริ่มกำเริบใหม่ๆ จะเป็นตุ่มแดง ขอบเขตชัดเจนและมีขุยสีขาวสีเงินอยู่ที่ผิว ต่อมาตุ่มจะค่อยๆขยายออกจนกลายเป็นปื้นใหญ่ๆ หนา และขุยสีขาวที่ผิวจะหนาตัวขึ้น เห็นเป็นเกล็ดสีเงิน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่าโรคเกล็ดเงิน หรือสะเก็ดเงิน

เกล็ดนี้จะร่วงเวลาถอดเสื้อผ้าหรือเวลาเดินไปไหนมาไหน หรือร่วงอยู่ตามเก้าอี้หรือที่นอน ถ้าขูดเอาเกล็ดออกจะมีรอยเลือดออกซิบๆ รอยโรคลักษณะนี้เรียกว่าชนิดปื้นหนา

ความผิดปกติดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ที่ ผิวหนังทุกส่วน แต่มักจะพบที่บริเวณหนังศีรษะ และผิวหนังส่วนที่เป็นปุ่มนูนของกระดูก เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ก้นกบ หน้าแข้ง รอยโรคบริเวณหนังศีรษะพบมากถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนใหญ่จะพบว่ารอยโรคจะมีขนาดต่างๆกัน

นอกจากนี้รอยโรคลักษณะดังกล่าวยังชอบขึ้นตามบริเวณผิวหนังที่เคยได้รับการบาดเจ็บหรือช้ำ เช่น รอยบาดแผล รอยขีดข่วน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีรอยโรคลักษณะดังกล่าว เป็นปื้นหนาๆ ขึ้นๆ ยุบๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่หายขาด บางครั้งพบว่าอาการกำเริบในช่วงฤดูหนาว และอาการลดน้อยลงในช่วงฤดูร้อนผู้ป่วยบางรายอาจมีรอยโรคเป็นลักษณะอื่น เช่น เป็นตุ่มหรือผื่นเล็ก ๆ บางรายอาจขึ้นเป็นรอยแดง มีขอบเขตชัดเจน ไม่ค่อยมีขุย บางรายอาจขึ้นเป็นตุ่มหนองบนผื่นสีแดง เป็นตุ่มหนองชนิดไม่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีผื่นที่ศีรษะนำมาก่อน ก่อนที่จะมีผื่นขึ้นตามลำตัวลักษณะเป็นผื่นแดง ขอบเขตชัดเจนและมีเกล็ดหนา บางครั้งอาจลามมาที่หน้าผาก ผมมักไม่ร่วง

โรคนี้ยังชอบขึ้นที่เล็บ ทำให้เกิดอาการได้หลายลักษณะเช่น เล็บเป็นหลุม ตัวเล็บขรุขระ เล็บแยกตัวออกจากผิวหนัง ผิวใต้เล็บหนา มักมีอาการร่วมกับข้ออักเสบและเนื้อเยื่อขอบเล็บอักเสบ ประมาณร้อยละ 5-20 ของผู้ป่วยจะมีการอักเสบของข้อร่วมด้วย มักพบที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบร่วมด้วยมักมีอาการทางผิวหนังรุนแรงมากกว่าปกติ





การวินิจฉัยโรค

ลักษณะสำคัญคือ เป็นปื้นนูนแดง ปกคลุมด้วยสะเก็ดสีเทาเงิน ปื้นแดงนี้มักพบบริเวณข้อศอก เข่า หลังส่วนล่าง และหนังศีรษะ แต่อาจพบผื่นที่ผิวหนังบริเวณใดของร่างกายก็ได้ รวมทั้งที่เล็บ ในกรณีที่ผื่นสะเก็ดเงินเกิดขึ้นในบริเวณข้อพับต่างๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และใต้ฐานเต้านมในผู้หญิง ก็มักจะมีลักษณะต่างจากลักษณะข้างต้น คือ ผื่นจะมีสะเก็ดค่อนข้างน้อยหรือไม่มีเลย และพื้นผิวค่อนข้างมัน

โดยทั่วไปผื่นสะเก็ดเงินมักไม่พบที่บริเวณใบหน้า นอกจากนี้เมื่อผื่นสะเก็ดเงินหายแล้ว จะไม่มีรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่ และน้อยรายมากที่จะทำให้เกิดผมร่วง อย่างไรก็ดีอาจมีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังในบริเวณที่เคยเป็นผื่นสะเก็ดเงินมาก่อนหลงเหลืออยู่ แต่ก็จะค่อยๆ กลับเป็นปกติเมื่อเวลาผ่านไป

การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินไม่จำเป็นต้องใช้ผลการตรวจเลือด บางครั้งในกรณีที่ไม่แน่ใจแพทย์อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางกล้องจุลทรรศน์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

โรคนี้แม้จะเป็นแบบเรื้อรัง แต่มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แม้จะมีรอยโรคแลดูน่าเกลียดแต่ก็ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ บางคนเรียกโรคนี้ว่าโรคเรื้อนกวาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อน ผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ ไม่ได้เป็นโรคร้ายอะไร ญาติหรือผู้ใกล้ชิดจำเป็นต้องเข้าใจด้วย จะได้ช่วยกันให้การดูแลและกำลังใจแก่ผู้ป่วย

ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการรุนแรงที่แตกต่างกันไป บางรายอาจมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ ไม่ลุกลามออกไป แต่ในบางรายอาจทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยทั่วไปถ้าเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย ก็จะมีโอกาสเกิดความรุนแรงมากขึ้นได้


แนวทางในการรักษาโรค

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด การรักษาต้องวางแผนระยะยาวและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค และผลข้างเคียงจากยา โดยทั่วไปหลักการรักษาโรคสะเก็ดเงินขึ้นกับความรุนแรงของโรค ร้อยละ 70-80 ของผู้ป่วยสามารถให้การรักษาได้ด้วยยาทา

ถ้าเป็นน้อย ๆ การใช้ยาทาก็เพียงพอ แต่พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การแกะเกา และแสงแดด ในปัจจุบันมียาทาที่ได้ผลดีในการรักษาเป็นจำนวนมากให้เลือกใช้ ได้แก่ ยาทาพวกสเตียรอยด์ น้ำมันดิน สารพวกแอนทราลิน และวิตามินดี 3 ในทางปฏิบัติ นิยมใช้ vitamin D3 analogues (calcipotriol and tacalcitol) และ topical retinoid tazarotene มากกว่า anthralin หรือ coal tar เนื่องจากมีฤทธิ์ต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ชนิด keratinocyte และสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากยาส่วนใหญ่ระคายต่อผิวหนังบริเวณที่บอบบาง จึงมีการใช้ยาทาพวกสเตียรอยด์มาผสมด้วย

ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยารับประทานร่วมด้วย ซึ่งยาเหล่านี้มีผลข้างเคียง ไม่ควรซื้อยามาทาหรือรับประทานเอง ถ้าเป็นมากๆ ควรต้องปรึกษาแพทย์ เพราะอาจต้องทานยาและรักษาโดยการให้อาบแสงอุลตราไวโอเล็ตร่วมด้วย การรักษาด้วยยารับประทานและการฉายแสงอัลตร้าไวโอเล็ตชนิดบี ใช้ได้ผลดีกับโรคสะเก็ดเงินที่เป็นมากหรือปานกลาง อาจใช้การฉายแสงอัลตร้าไวโอเล็ตชนิดเอ ร่วมกับยาซอลาเร็น (PUVA) หรือกรดวิตามินเอ บางรายใช้ยาเม็ทโทเทร็กเสด (MTX) หรือไซโคลสปอริน (cyclosporin)

สำหรับรอยโรคที่หนังศีรษะ แพทย์จะให้ผู้ป่วยสระผมด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน สำหรับรอยโรคที่เล็บหรือรอยปื้นหนาที่ผิวหนังที่ดื้อต่อยาทา แพทย์อาจใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในบริเวณรอยโรค

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ควรทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดอาการผิวแห้ง ใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคืองของผิวหนังซึ่งจะทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาด เพราะโรคสะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ อาหารไม่มีผลต่อโรคนี้ การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้โรคกำเริบได้



ขอขอบคุณภาพและข้อมูล นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
และ bangkokhealth.com






Create Date : 04 มีนาคม 2552
Last Update : 4 มีนาคม 2552 20:15:55 น. 6 comments
Counter : 2574 Pageviews.

 
ความไม่มีโรคน่าจะเป็นโชคเช่นกันนะครับคุณกบ แต่ถ้าเป็นแล้วอย่ากังวล รักษากันตามคำแนะนำของแพทย์นะครับ ขอบคุณครับ


โดย: ลุงกล้วย วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:9:54:11 น.  

 
น่ากัว

เอาพลังชีวิตมาฝากก้าบ


โดย: พลังชีวิต วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:10:05:27 น.  

 
น่ากลัวจัง สบายดีหรือเปล่าคะ ไม่ได้แวะมาซะนาน


โดย: maew_kk วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:13:18:18 น.  

 
น่ากลัวจังค่ะ ใครเป็นโรคนี้

น่าสงสารนะคะ


โดย: fleuri วันที่: 6 มีนาคม 2552 เวลา:7:43:36 น.  

 
โอยยย เห้นแล้ว หยึยยย



โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 7 มีนาคม 2552 เวลา:1:52:01 น.  

 
สารสกัดจากมังคุดGM-1ช่วยให้สะเก็ดเงินดีขึ้นจนหายได้ดดยGM-1ไปปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุลย์สเอบถาม 0863156664 0853401586 0863216951


โดย: eatonline999 วันที่: 7 ตุลาคม 2553 เวลา:12:05:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.