สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ทำฟันในเด็ก น่ากลัวจริงหรือ

ไม่ ไม่ ไม่ หนูไม่อยากไปหาหมอฟัน !
อย่าเพิ่งกลัวไปนะคะ หมอฟันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ยิ่งถ้าคุณหนู ๆ รู้จักใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอ รับรองว่าสุขภาพฟันและสุขภาพร่างกายก็จะดีตามไปด้วย แต่ปัจจุบันยังมีเด็กจำนวนมากที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเนื่องจากเป็นโรคฟันผุลุกลาม


โรคฟันผุในเด็ก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากการสำรวจโดยกองทันตสาธารณสุขในปี พ.ศ.2537 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 61.7 เด็กอายุ 6 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 85.1 และมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งโรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่ไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเองหรือใช้ยา antibiotic รักษาได้เหมือนโรคหวัดหรือโรคติดเชื้ออื่น ๆ และยังสามารถส่งผ่านเชื้อโรคไปยังบุคคลอื่นได้


ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุเริ่มต้นและลุกลามของโรคฟันผุ ได้แก่
1. ฟันและสภาวะแวดล้อมในช่องปาก
2. อาหารประเภทแป้ง
3. แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค (Mutans streptococci, lactobacillus)


รู้จัก 3 ระยะ ของโรคฟันผุ
1. ฟันผุในระยะแรก จะพบลักษณะรอยโรคขุ่นขาวบริเวณเคลือบฟันหรือหลุมร่องฟัน ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการ และยังไม่ จำเป็นต้องรักษาโดยการอุดฟัน เพียงแต่ผู้ปกครองควรพาไปพบทันตแพทย์ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ อันเป็นสาเหตุของการลุกลามเสียแต่เนิ่น ๆ
2. ฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน จะมีการแตกหักของเนื้อฟันจนเกิดรอยผุเป็นรูบนตัวฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน ...การรักษา ควรได้รับการอุดฟันหรือครอบฟันในกรณีที่รอยผุมีขนาดใหญ่
3. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน จะมีอาการปวดฟัน ประสาทฟันอักเสบร่วมกับการอักเสบของเหงือกและอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ...การรักษา จะต้องได้รับการรักษาคลองรากฟัน และครอบฟัน หรือถอนฟัน



คุณหนู ๆ คะ โรคฟันผุสามารถป้องกันได้ ส่วนการรักษา มิใช่ว่าอุดฟันเพียงอย่างเดียวก็หายขาด แต่ยังต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
• สภาวะในช่องปากจะต้องสะอาด ปราศจากการเพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถทำได้โดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี
• หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลโดยเฉพาะขนมแป้งกรุบกรอบลูกอมน้ำอัดลม

• ใช้ฟลูออไรด์เสริมเพื่อช่วยป้องกันฟันผุ และหากเราละเลยเรื่องสุขอนามัยในช่องปากแล้ว ฟันที่อุดแล้วก็อาจต้องอุดซ้ำแล้วซ้ำเล่า


ทำอย่างไรถ้าเจ้าตัวน้อยไม่ให้ความร่วมมือ
คงต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก ๆ โดย...
• หาแปรงสีฟันขนนุ่ม ๆ ให้เด็กกัดเล่นในช่วงที่คันเหงือก อยากกัดโน่นกัดนี่
• พยายามให้ดูเวลาที่คุณพ่อคุณแม่แปรงฟัน ซึ่งเด็ก ๆ ก็อาจจะเลียนแบบและอยากทำอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ทำ
• คุณพ่อคุณแม่เล่านิทานสนุก ๆ เกี่ยวกับการแปรงฟันให้ลูกฟังก่อนนอนซึ่งเด็กๆ วัยนี้จินตนาการกำลังบรรเจิดสุดๆ จะทำให้เด็กรู้สึกถึงความสำคัญของการแปรงฟันได้เองโดยไม่ต้องสอนหรือสั่ง ในระหว่างแปรงฟัน ถ้าเด็ก ๆ ไม่ให้ความร่วมมือ ร้องไห้ ก็อย่าเพิ่ง เร่งเร้า ไม่ต้องกังวลใจ ให้พยายามแปรงฟันเด็กต่อไป แต่หาวิธีทำให้สนุกๆ โดยเปิดเพลงหรือร้องเพลงที่เด็กชอบขณะแปรงฟัน หรือจับเวลาแล้วเล่นเกมแข่งแปรงฟันกับลูก ซึ่งจะทำให้เด็กสนุก และไม่เบื่อขณะแปรงฟัน และยอมร่วมมือให้แปรงฟันในที่สุด

ดูแลฟันเสียแต่เนิ่น ๆ โดย
• พาไปพบทันตแพทย์ภายใน 6 เดือน ภายหลังจากฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น หรืออย่างช้าไม่เกิน อายุ 1 ขวบครึ่ง เพื่อตรวจฟันและรับคำแนะนำในการดูแลรักษาฟัน
• พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจประเมินฟันผุ ทำความสะอาดฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยและมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟัน


เตรียมพร้อมก่อนไปพบทันตแพทย์
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะนอกจากจะต้องเตรียมสภาวะทางกายให้พร้อม ยังต้องเตรียมจิตใจของเจ้าตัวน้อยอีกด้วย ซึ่งผู้ปกครองสามารถช่วยได้โดย
• หานิทานที่เกี่ยวกับการไปหาทันตแพทย์มาเล่าให้เด็กฟัง เด็กจะได้จินตนาการได้ว่า จะต้องเจอกับสิ่งใดบ้าง

• เล่นสมมติเกี่ยวกับทันตแพทย์ การทำฟัน ซึ่งจะทำให้เด็กสนุกกับบทบาทสมมตินั้น
• คุณพ่อคุณแม่อย่าเอาเรื่องทันตแพทย์ที่ทำฟัน ถอนฟันมาขู่ให้เด็กกลัวไปก่อน
• คุณพ่อคุณแม่ไม่แสดงความกลัวและกังวลใจที่จะต้องพาลูกไปพบทันตแพทย์ เพราะจะทำให้เด็กกลัว และกังวลใจตามไปด้วย


เมื่อถึงวันที่ต้องไปพบทันตแพทย์ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะคุณหมอมีวิธีที่จะจัดการให้เจ้าตัวน้อยไม่กลัวและสนุกกับการทำฟันมากมายเชียวค่ะ
-----------------------------------------------

เรื่องน่ารู้


ในเด็กทารกที่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้นจะยังไม่พบเชื้อ Mutans streptococci ในช่องปาก แต่เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นก็จะพบว่ามีการติดเชื้อ Mutans streptococci เพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งแหล่งที่มาของเชื้อส่วนใหญ่มาจากทางตรงโดยการสัมผัสใกล้ชิด เช่น กอดจูบ หรือทางอ้อมโดยผ่านภาชนะที่มีการปนเปื้อนน้ำลายที่มีเชื้ออยู่ ดังนั้น คุณแม่หรือผู้ดูแลเด็กควรมีสุขภาพช่องปากที่ดีด้วย เพื่อลดการส่งผ่านเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว


นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดโดยเช็ดช่องปากให้เด็กด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุก วันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้าและก่อนนอน และเริ่มให้แปรงสีฟันขนนุ่มเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น โดยแปรงฟันให้วันละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ควรเลือกนมปราศจากน้ำตาล และป้อนน้ำตามหลังรับประทานอาหารเสริมหรือดูดนมทุกครั้งรวมถึงไม่ควรให้นมลูกเวลานอน เพราะการหลับคาขวดนมมีโอกาสทำให้เกิดฟันผุมากที่สุด นอกจากนี้ควรเลิก “นมมื้อดึก” เมื่อเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน และสามารถเลิกขวดนมได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง และเมื่ออายุประมาณ 2 – 6 ปี ควรเริ่มฝึกให้เด็กแปรงฟันเองวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ โดยมีผู้ปกครองช่วยแปรงซ้ำในบริเวณที่เด็กแปรงไม่ถึง


ในกรณีที่เด็กมีฟันหลังเบียดชิดกัน จำเป็นต้องใช้ไหมขัดฟันหลังการแปรงฟันวันละครั้งก่อนนอน และควรลดความถี่และปริมาณในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มประเภทแป้งและน้ำตาล และที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำอัดลม โดยจำกัดการรับประทานให้อยู่ในมื้ออาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานจุบจิบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ



ขอบคุณข้อมูลจาก//www.si.mahidol.ac.th


Create Date : 11 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2552 10:21:10 น. 2 comments
Counter : 1603 Pageviews.

 
เห็นด้วยเลยครับ ที่ต้องพาเด็กๆ ไปพบหมอฟันตั้งแต่เล็กๆ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกันตั้งแต่เล็กๆ


โดย: ถปรร วันที่: 11 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:50:09 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับคุณกบ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา:8:04:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
11 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.