สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคไข้ "ชิคุน กุนยา"

พอย่างเข้าฤดูฝนโรคระบาดต่างๆ ก็ตามมามากมาย โรคระบาดที่กำลัง
ระบาดอยู่ทางภาคใต้ของไทยซึ่งเกิดจากยุงลาย


จากสถานการณ์การระบาดของโรคชิคุนกุนย่าในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2551 มีผู้ป่วยจำนวน 82 ราย จนถึงขณะนี้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน 13 อำเภอทั้งจังหวัดนราธิวาสและได้กระจายไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร นนทบุรีและฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. 2551 มีผู้ป่วยจำนวน 2,433 ราย และกลางเดือนมกราคม 2552 มีผู้ป่วยจำนวน 536 ราย และคาดว่าการระบาดของโรคยังจะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากช่วงดังกล่าวมีนักศึกษาและประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น ๆ จึงมีความเสี่ยงที่การระบาดจะขยายไปพื้นที่จังหวัดอื่น


ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงขอความร่วมมือ โดยเมื่อพบผู้ป่วยตั้งแต่สงสัยหรือเป็นโรคไข้ชิคุนกุนย่าเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลขอให้มีการรายงานตามแบบ รง.506 กรณีพบผู้ป่วยตามเกณฑ์เฝ้าระวังทั้งเกณฑ์ทางคลินิกและเกณฑ์ทั่วไปทางห้องปฏิบัติการสามารถประสานกับฝ่ายระบาดวิทยา กองควบคุมโรค สำนักอนามัยในการส่งตรวจจำเพาะหาแอนติบอดีหรือจีโนมของไวรัสชิคุนกุนย่าตามระบบเฝ้าระวังโรค เพื่อยืนยันการพบโรคดังกล่าวที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2354-1836,0-2245-8106


ลักษณะโรค

โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก


สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นจึงมักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเพาะพันธุ์ของยุงลาย


การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา

การติดต่อของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาได้

ทั้งนี้โรคชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกันได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ


อาการของโรคชิคุนกุนยา

ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับโรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน แต่จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมากเช่นโรคไข้เลือดออก

อย่างไรก็ตามโรคชิคุนกุนยาสามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือมักจะมีอาการปวดข้อทั้งข้อมือ ข้อเท้า และเป็นข้ออักเสบตามมาด้วย ซึ่งมักจะเปลี่ยนตำแหน่งที่ปวดไปเรื่อยๆ บางครั้งมีอาการรุนแรงมากจนขยับข้อไม่ได้ แต่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ หรือบางคนอาจจะปวดเรื้อรังอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้


การรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา

ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น หากเป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ หรือหากปวดข้อก็ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น แต่ล่าสุดได้มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยาได้ผลดีเช่นกัน

ทั้งนี้วิธีที่จะสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ดีที่สุดก็คือ การกำจัดยุงลายอันเป็นตัวพาหะนำโรค โดยต้องหมั่นตรวจดูแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น บ่อ กะละมัง ชาม โอ่งน้ำ ตุ่ม ฯลฯ ควรหาฝาปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ หรือให้ใส่ทรายอะเบทในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ลงไปในน้ำก็จะสามารถป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารบ้านเรือนที่มีแหล่งน้ำขังอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

นอกจากนี้ตัวเราเองก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง หรือใช้สารไล่ยุง และสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด รวมทั้งยังต้องเฝ้าสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีอาการใกล้เคียงกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีอาการคล้ายเคียงหรือต้องสงสัยให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

จะเห็นว่าแม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้คนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจจากอาการปวดได้เช่นกัน


การรักษา

ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน


1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case Definition for Surveillance)

1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria) มีไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยสองอาการ ดังนี้

· ปวดข้อ/ข้อบวม/ข้ออักเสบ
· มีผื่น
· ปวดกล้ามเนื้อ
· ปวดศีรษะ
· ปวดกระบอกตา

1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Criteria)

· ทั่วไป
-Complete blood Count (CBC)
มีเม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดผิดปกติ
- จำเพาะ
-ตรวจพบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อไวรัสชิคุนกุนย่าในน้ำเหลืองคู่(Paired serum)ด้วยวิธี Haemagglutination Inhibition ≥4 เท่า หรือถ้าน้ำเหลืองเดียวกัน (Single serum)พบแอนติบอดี ≥1:2,560 เท่า หรือ
-ตรวจพบแอนติบอดีชนิด IgM ต่อเชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(≥4 Units)โดยวิธี ELISAหรือ
-ตรวจพบไวรัสจีโนมของไวรัสชิคุนกุนยาได้จากเลือด โดยวิธีPCRหรือ
-แยกเชื้อพบไวรัสชิคุนกุนย่าได้จากเลือด(Viral Isolation)

2. ประเภทผู้ป่วย (Classification)

2.1 ผู้ป่วยที่สงสัย(Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก

2.2 ผู้ป่วยที่เข้าข่าย(Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิกและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

· มีผลการตรวจเลือดทั่วไป

· มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่นๆที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

2.3 ผู้ป่วยที่ยืนยันผล(Confirm case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีผลตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค รง.506 (Reporting Criteria)

ให้รายงานผู้ป่วยตั้งแต่สงสัย(Suspected case) โดยรายงานเป็นโรคในลำดับที่ 84 ของ

รายการโรคในบัตรรายงาน 506 รวมทั้งรายงานผู้ป่วยที่ค้นพบในชุมชน

4. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)

4.1 สอบสวนเฉพาะราย(Individual Case Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรคChikungunya โดยเกิดโรคเป็นกลุ่ม(Cluster)ให้สอบสวน ยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาแหล่งติดเชื้อและควบคุมโรค

4.2 สอบสวนการระบาด(Outbreak Investigation)เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรคChikungunya โดยเกิดโรคเป็นกลุ่ม(Cluster)ให้สอบสวน ยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด หาสาเหตุและระบาดวิทยาของการระบาดและควบคุมโรค


ระบาดวิทยาของโรค

การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร

ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ

ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย






ขอบคุณข้อมูลจาก รพ.วิภาวดี
//gotoknow.org/blog/know/260935
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สนุกพิเดีย



Create Date : 14 พฤษภาคม 2552
Last Update : 14 พฤษภาคม 2552 8:57:03 น. 22 comments
Counter : 2457 Pageviews.

 
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมบล็อกนะคะ


โดย: i-pinkberriiz วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:44:58 น.  

 
Web Hosting เว็บโฮสติ้ง


โดย: mlmboy วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:37:19 น.  

 
โรคภัยไข้เจ็บเยอะเหลือเกิน
และมีแบบแปลก ๆ เพิมขึ้นมาตลอด
ต้องรักษาเนื้อรักษาตัวกันดี ๆ ค่ะ


โดย: โสดในซอย วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:15:41 น.  

 



สวัสดีครับคุณกบ

หมิงหมิงบรื๋นๆมาทักทายครับ อิอิอิ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:10:43:24 น.  

 
ขอบคุณสำหรับสาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคชื่อแปลก ๆ นี้ครับ

เคยได้ยินแต่ทางทีวี กำลังสงสัยอยู่พอดีเลย

วันนี้อัพบล็อกครับ

พอคิดจะหยุดพักเรื่องกลอนไว้ก่อน ก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องประสพการณ์ในป่าเขาที่เคยไปเจอมา ทิ้งไว้นานกลัวว่าจะลืมเหมือนกัน

ครั้นจะเขียนเป็นจริงเป็นจัง คนอื่นเขาก็เขียนกันเยอะแล้ว ก็เลยเขียนเรื่องฮา ๆ จี้ ๆ ดูบ้าง ไม่รู้ว่าจะมีคนชอบอ่านหรือเปล่า

ว่าง ๆ ก็ลองแวะไปอ่านนะครับ...


โดย: ลุงแว่น วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:12:40:38 น.  

 
เข้ามาอ่านเรื่องโรคภัยแปลกๆค่ะ

บล็อคสวยหวานจังเลยค่ะ


โดย: ดาวไร้ตะวัน วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:00:34 น.  

 
สว้สดีค่ะ
เข้ามาอ่านรายละเอียดของโรคใหม่นี่ค่ะ
ข้อมูลคุณกบนี่มีประโยชน์จริงๆเลยค่ะ
พึ่งรู้จักโรคนี้จากทีวีเมื่อ2-3วันนี่เองแต่ไม่รู้รายละเอียด
ขอบคุณมากค่ะ



โดย: busabap วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:31:20 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: สติแตก วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:10:58:06 น.  

 
สวัสดีวันเสาร์ที่อากาศเย็นสบายกาย แต่ใจเหงาๆค่ะคุณกบ



ทรนง กับชีวิต ต่อไปเถิด
ใช่เลือกเกิด ได้ง่าย ดังวาดหวัง
มีพลัง สาดสาป อย่ารั้งยั้ง
อย่าให้คลั่ง คลุมครวญ อวลอบใจ

เกิดได้ยาก ภักดิ์พร้อม มีที่ไหน
รวยจนล้น หล่นไหล ใช่รั้งไหล
จินต์ยังขัง พังขอบ ละโมบไกล
สอยร้อยรวย ตวงไต่ ก่ายไม่พอ

น้าวโน้มนำ คำพจน์ บทใสหวาน
แค่สำราญ ชื่นบาน ใช่หยุดจ่อ
จิตคนคลุม ชุ่มช่ำ เชี่ยวชาญยอ
เรื่องจะย่อ ก่อกลัว เมินเฉยเลย

ต่อวันตาย กรายกลบ หลบไม่รอด
จำสวมสอด ตอดตรม อมเอื้อนเอ่ย
ที่ผ่านไป ใครผลัก ให้ปรอยเปรย
จึ่งเฉลย เกยชั่ว เพราะตนตาม..


............ญามี่///...


โดย: ญามี่ วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:04:54 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: maxpal วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:36:36 น.  

 
ชื่อโรคฟังดูคล้ายภาษาญี่ปุ่นจังค่ะ

เดี๊ยวนี้มีโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย พวกไวรัสคงจะอัพเดทตัวเองให้ทันสมัยขึ้นนะคะ

ไม่งั้นเดี๊ยวสู้กับตัวยาที่รักษาไม่ได้

รักษาสุขภาพค่ะคุณกบ


โดย: fleuri วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:22:14 น.  

 
เอาความคิดถึงมาส่งตอนเช้าค่ะ สุขสันต์วันอาทิตย์นะคะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ดาวไร้ตะวัน วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:5:35:06 น.  

 

มาแจ้งข่าวคุณกบว่าหนังฉายแล้วครับ...

วันนี้เสนอตอน "เสียงแห่งภราดรภาพ" เชิญติดตามชมครับ.



โดย: ลุงแว่น วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:30:13 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับคุณกบ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:55:41 น.  

 
โรคนี้เพิ่งจะเคยได้ยินล่ะครับ แต่อันตรายจากยุงลายนี่ก็ยังไงก็ควรป้องกันไว้ก่อนล่ะครับ


โดย: ถปรร วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:04:21 น.  

 
เมืองไทยกับยุงนี่ของคู่กันอยู่แล้วเนาะ แล้วใครจะห้ามไม่ให้ยุงกัดได้ แล้วแต่ดวง

สวัสดีค่ะคุณกบ สบายดีนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:10:25:36 น.  

 
มาทักทายรอบค่ำอีกรอบครับคุณกบ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:18:19 น.  

 
ขอบคุณค่ะ..สำหรับกำลังใจ... และเรื่องราวดี ๆ ที่เอามาฝากค่ะ


โดย: จิ๊บ (คุณนายเยอรมัน ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:18:02 น.  

 
สวัสดีตอนดึก ๆ จ้า
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เล่นบอล ฝนตกสนามเปียก เลยได้แต่วิ่งอย่างเดียว อิอิ

ฝันดีจ้า


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:50:29 น.  

 
เพิ่งเคยได้ยินโรคแบบนี้ อิอิ แปลก แต่ไม่เป็นโรคอะไรอะดีที่สุดแล้วเนาะ


โดย: ความเจ็บปวด วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:5:33:22 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ปิ่น (สติแตก ) วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:56:08 น.  

 
สวัสดียามสายครับคุณกบ

จะแก้ไขปัญหารถติดของกรุงเทพ
สงสัยเปลี่ยนกรุงเทพดูจะง่ายกว่าเปลี่ยนผู้ว่านะครับ หุหุหุ

ผมได้รับหนังสือจากคุณลุงแว่น
ผมก็อ่านรวดเดียวจบเลยครับ












โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:30:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.