สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคข้ออักเสบ



โรคข้ออักเสบ (อาร์ไทรทิส) มีอยู่ด้วยกันกว่า 100 ชนิด และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการและการบำบัดก็แตกต่างกันไป

คุณอาจเป็นโรคข้ออักเสบ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้

• ข้อต่อแห่งหนึ่งบวม หรือข้อต่อหลายแห่งบวมพร้อมกัน
• มีอาการข้อติดเป็นเวลานาน เมื่อตื่นนอนตอนเช้า
• ปวดและกดเจ็บตามข้อต่อต่างๆ เป็นๆ หายๆ และเคลื่อนไหวข้อต่อไม่ได้ตามปกติ
• ข้อต่อบวม แดง และร้อน
• เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด หรืออ่อนเพลียเพราะปวดข้อ

ถ้ามีอาการดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งเป็นครั้งแรก และเป็นนานกว่าสองสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ และควรแยกโรคข้ออักเสบแต่ละชนิดออกจากกัน (เช่น โรครูมาทอยด์) เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคข้ออักเสบ อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติของข้อต่อ (เช่น โรคข้อเสื่อม) หรือจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การติดเชื้อ หรือไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัด อาการข้อต่ออักเสบโดยทั่วไป จะเรียกว่า โรคข้ออักเสบ มาจากคำภาษาอังกฤษ arthritis ที่มีรากศัพท์จากภาษากรีก คือ arthron แปลว่า ข้อต่อ และ itis แปลว่า อักเสบ ในบทนี้จะกล่าวถึงการรักษาโรคข้อเสื่อมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด วิธีการดูแลรักษาตนเองดังที่กล่าวไว้ในที่นี้ อาจประยุกต์ใช้กับอาการ ของโรคข้ออักเสบประเภทอื่นๆ ได้ แต่ทางที่ดี ถ้าเป็นการรักษาโรคข้ออักเสบประเภทอื่นๆ ควรปรึกษามาตรการ การรักษากับแพทย์ก่อนเสมอ การออกกำลังกาย เท่าที่ผ่านมาเราพอประเมินได้ว่า การออกกำลังกายเป็นวิธีการบำบัด โรคข้ออักเสบที่ใช้ได้ผลดีที่สุด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะปรับให้อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและเห็นผล แต่ควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่ออำนวยให้เกิดประโยชน์กับโรคมากที่สุด ผู้ป่วยควรรักษาสุขภาพ ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ให้มีความยืดหยุ่นอยู่สูง และอดทน ต่อแรงกระทำต่างๆ ได้ดี เพื่อสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกัน ไม่ให้ข้อต่อถูกทำลายได้ง่าย และรักษาให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ ลดอาการข้อติด และก่อให้เกิดอาการปวดเจ็บข้อต่อน้อยที่สุด

การออกกำลังกายมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ถ้าต้องการสร้างความยืดหยุ่นให้ข้อต่อ การออกกำลังกาย ควรเป็นในลักษณะการยืดอย่างนุ่มนวล เพื่อยืด ข้อต่อให้มากที่สุด ในรายที่เป็นโรคข้อเสื่อมขั้นรุนแรง การเคลื่อนไหวของข้อต่อ อาจทำให้ปวดเจ็บง่ายขึ้น ทางที่ดีจึงไม่ควรออกกำลังต่อไป ถ้ารู้สึกว่าเจ็บหรือปวดมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าไม่มีแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำและดูแลใกล้ชิด

การออกกำลังโดยการเคลื่อนไหว กลุ่มกล้ามเนื้อใหญ่สัก 15 – 20 นาที เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบื้องต้น เพื่อสร้างความแข็งแรง และเสริมความทนทานให้กล้ามเนื้อ ในที่นี้ได้แก่ การเดิน การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ และการเต้นรำ ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังที่สร้างแรงต้าน ในระดับต่ำถึงปานกลางให้กับข้อต่อ คนที่อ้วนมากๆ อาจเคลื่อนไหวลำบากขึ้น ความอ้วนจะทำให้หลัง สะโพก หัวเข่า และเท้าของคุณ ต้องรับภาระจากน้ำหนักตัวที่เกินอยู่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคข้ออักเสบ ที่อวัยวะเหล่านี้ได้ง่าย แม้จะไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า ความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร แต่ความอ้วนก็ทำให้อาการ รุนแรงขึ้นได้อย่างแน่นอน โรคข้ออักเสบที่พบทั่วไป โรคข้อเสื่อม สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง เกิดจากข้อต่อเสื่อมสภาพตามปกติ ทั้งอาจเนื่องมากจากเอนไซม์ขาดสมดุล พบบ่อยในคนอายุ 50 ปี ขึ้นไป ไม่ค่อยพบในคนหนุ่มสาว ยกเว้นถ้ามีอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อ


อาการเฉพาะโรค

• ปวดข้อต่อเมื่อเลิกใช้งาน
• รู้สึกปวดข้อต่อทุกครั้งช่วงก่อนเปลี่ยนฤดู หรือช่วงที่ฤดูกำลังเปลี่ยน
• ข้อต่อบวมและยืดงอไม่ได้
• มีปุ่มกระดูกงอกที่ข้อนิ้วมือ
• มักมีอาการปวดตามตัว ข้อต่ออาจจะแดงและร้อนหรือไม่ก็ได้

ความรุนแรง : ตามปกติไม่ใช่อาการร้ายแรง แม้ข้อต่อจะยังเสื่อมอยู่เรื่อยๆ แต่อาการปวดเมื่อเป็นแล้ว มักจะหายไป ผลจากโรคข้อเสื่อม อาจทำให้พิการได้ แต่พบน้อยมาก บางรายที่ข้อต่อสะโพก และหัวเข่าเสื่อมมาก อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ





ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อมที่สำคัญที่สุด คือ อายุ

โรครูมาทอยด์

สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง : เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาโรคข้ออักเสบอื่นๆ พบในคนช่วงอายุ 20 – 50 ปี มากที่สุด เชื่อว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อต้านเยื่อบุข้อต่อของตัวเอง

อาการเฉพาะโรค

• ปวดบวมที่ข้อต่อเล็กๆ ที่มือและเท้า
• ปวดข้อต่อหรือข้อติด โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนตอนเช้า หรือนั่งพักติดต่อนานๆ
• ข้อต่อจะปวด บวม และร้อน ในระยะเริ่มต้น กำเริบมากขึ้นเรื่อยๆ

ความรุนแรง : เป็นโรคข้ออักเสบที่บั่นทอนสุขภาพมากที่สุด โรคนี้อาจทำให้ข้อต่อผิดรูปได้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเหงื่อออก เป็นไข้ กล้ามเนื้อที่ยืดติดกับข้อต่อ มีอาการอ่อนแรง อาการจะเป็นๆ หายๆ แต่เรื้อรัง

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ

สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง : สาเหตุเกิดทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส หรือเป็นผลพวงที่เกิดจากการเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดได้กับทุกคน





อาการเฉพาะโรค

• ปวดข้อและมีอาการข้อติด ที่ข้อต่อใดข้อต่อหนึ่ง ที่พบมากคือ ข้อต่อเข่า หัวไหล่ สะโพก ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ หรือข้อมือ - เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่อร้อนและแดงขึ้น - เป็นไข้ หนาวสั่น และอ่อนเปลี้ยเพลียแรง - อาจมีผื่นขึ้น

ความรุนแรง : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในทันที จะหายอย่างรวดเร็ว และไม่กลับมาเป็นอีก

โรคเกาต์

สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง : เกิดจากกรดยูริกตกผลึกในข้อต่อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาย อายุ 40 ปี ขึ้นไป

อาการเฉพาะโรค

• ปวดข้อต่อข้อใดข้อหนึ่งอย่างรุนแรงในทันที ส่วนใหญ่มักเป็นที่ข้อต่อฐานนิ้วหัวแม่เท้า
• ข้อต่อบวมและแดงขึ้น





ความรุนแรง : อาการปวดเฉียบพลัน สามารถบำบัดจนกลับสู่สภาพปกติได้ แต่มักจะกลับมาปวดซ้ำอีก จึงต้องรักษาด้วยการป้องกัน ไม่ให้กรดยูริกในเลือดสูงเกินไป

* โรคข้ออักเสบรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ โรคข้ออักเสบเหตุโรคสะเก็ดเงิน ที่มักเกิดกับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า นอกเหนือจากนี้ คือ กลุ่มอาการเรเตอร์ ซึ่งมักติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอาการเฉพาะคือ ปวดในข้อต่อ มีหนองไหลจากองคชาต ปวดตา ตาอักเสบ และมีผื่นขึ้น โรคข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่ง คือ โรคกระดูกสันหลังอักเสบแบบข้อยึดติด ที่จะเกิดกับข้อต่อกระดูกสันหลัง ในรายที่เป็นมากๆ หลังจะแข็งและก้มตัวไม่ได้


ยาแก้ปวด ยาแก้ปวดโรคข้อเสื่อม ที่แพทย์นิยมจ่ายให้ผู้ป่วยหรือมีจำหน่ายทั่วไป มีดังนี้

• แอสไพริน ขนาดที่ใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แพทย์จะต้องจัดขนาดยา ให้ถูกกับอาการมากที่สุด คุณอาจระงับปวดด้วยการกินแอสไพริน 2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง และอาจต้องกินติดต่อกันอีก 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อลดอาการอักเสบด้วย
• อะเซตามิโนเฟน ใช้ระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับแอสไพริน และแทบไม่มีผล ทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง ทว่าไม่มีผลช่วยลดอาการอักเสบ และเพราะโรคข้อเสื่อมไม่มีอาการข้อต่ออักเสบ ยานี้จึงได้รับความนิยมสูงสุด
• ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ให้ผลดีพอๆ กับแอสไพรินและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก แต่ราคาแพงกว่า ขนาดที่ใช้ต่อวันน้อยกว่าแอสไพริน
• คอร์ติโคสเตอรอยด์ มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของร่างกาย ใช้ลดอาการอักเสบได้ และมีให้เลือกใช้มากถึง 20 ชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่นิยมกันมากคือ เพร็ดนิโซน โดยปกติแพทย์มักจะไม่ให้ คอร์ติโคสเตอรอยด์ชนิดกินกับผู้ป่วยโรค ข้อเสื่อม แต่อาจฉีดยาคอร์ติโซน ไปในข้อต่อที่มีอาการอักเสบรุนแรง และเนื่องจากการใช้ยานี้บ่อยเกินไป อาจทำให้โรคในข้อต่อกำเริบได้ง่ายขึ้น แพทย์จึงมักฉีดยานี้ให้ ในปริมาณที่จำกัด คือ ไม่เกิน 2 – 3 ครั้ง ภายใน 1 ปี





ข้อควรระวัง

ยาระงับปวดและยาแก้อักเสบหลายชนิด หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้ระคายเคือง จนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือดออกรุนแรงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ เพื่อบำบัดอาการปวดข้อนานกว่า 2 สัปดาห์ แต่ขณะนี้มีการผลิตยากลุ่มใหม่ออกมา เรียกว่า ยาปิดกั้นค็อกซ์-2 ซึ่งใช้ได้ดี และมีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร น้อยกว่ายาตัวอื่นๆ

วิธีแก้ปวดอื่นๆ แนวทางการบำบัดรักษาดังจะได้นำเสนอต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดประจำตัวของท่าน ก่อนลงมือปฏิบัติเสมอ

• ประคบร้อน จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อที่ปวด คุณอาจประคบร้อนบริเวณที่ปวด ด้วยน้ำมันพาราฟินอุ่น ผ้าห่มไฟฟ้า กระเป๋าน้ำร้อน โคมไฟให้ความร้อน ซึ่งต้องระวังอย่าให้ผิวไหม้ หรือหากเป็นกรณีที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ต้องการใช้ความร้อนโดยตรง พวกเขาอาจเลือกใช้วิธีอัลตราซาวนด์ หรือวิธีอุณหรังสีบำบัดก็ได้
• ประคบเย็น จะทำหน้าที่เหมือนยาชาเฉพาะที่ ช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ การประคบเย็นจะช่วยคลายปวด เมื่อต้องเกร็งกล้ามเนื้อ อยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานๆ
• การเข้าเฝือก จะช่วยพยุงและป้องกันข้อต่อที่ปวด ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ เมื่อออกกำลังกาย และพยุงให้ข้อต่ออยู่นิ่งๆ ตอนกลางคืนเพื่อให้หลับสบายขึ้น แต่การใส่เฝือกประคองไว้ตลอดเวลา อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และงอข้อต่อได้น้อยลง
• การผ่อนคลาย อาทิ การสะกดจิต การฝึกจินตนาการ การฝึกหายใจ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือวิธีอื่นๆ อาจใช้ลดความเจ็บปวดได้เช่นกัน
• วิธีอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายเบาๆ การควบคุมน้ำหนัก การใช้เครื่องพยุงเท้า เช่นการใช้แผ่นรองในรองเท้า การใช้เครื่องช่วยเดิน (เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน) จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และลดแรงกดดันที่ข้อต่อได้ ส่งผลให้อาการปวดข้อ ทุเลาลง





วิธีปกป้องข้อต่อ

การเคลื่อนไหวร่างกาย ด้วยหลักกลศาสตร์ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เกิดอาการข้อต่อเคล็ดน้อยที่สุด ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดหรือนักอาชีวบำบัด จะช่วยแนะนำวิธีการ และอุปกรณ์ที่จะใช้ ปกป้องกระดูกข้อต่อให้คุณได้ เพื่อลดความเครียดบริเวณข้อต่อ และทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวน้อยที่สุด คุณสามารถปรับใช้วิธีการดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

• อย่าใช้มือกำหรือจับอะไร ที่ทำให้ข้อต่อนิ้วตึง เช่น เลิกใช้กระเป๋าแบบที่ต้องถือด้วยมือ มาใช้กระเป๋าสะพายแทน ใช้น้ำร้อนช่วยคลายฝาขวด และใช้แรงกดจากมือเพื่อเปิดฝาออก หรือใช้เครื่องเปิดกระป๋องแทน ที่สำคัญ อย่าบิดหรือใช้ข้อต่อหนักเกินไป
• พยายามถ่ายน้ำหนักให้ข้อต่อต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถ้าจะยกของหนัก ก็ควรใช้มือทั้งสองข้างยกขึ้นพร้อมกัน หรือใช้ไม้เท้า หรือไม้ค้ำยันช่วยเดิน เป็นต้น
• ในช่วงที่ทำงาน พยายามพักเป็นระยะๆ และยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
• การนั่ง ยืน เดิน แบบผิดๆ จะทำให้การถ่ายน้ำหนักไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่สมดุล และอาจส่งผลให้เอ็นยึดข้อต่อ และกล้ามเนื้อเคล็ดได้ง่าย
• พยายามใช้กล้ามเนื้อส่วนที่แข็งแรงที่สุด และข้อต่อชิ้นใหญ่ให้มากที่สุด อย่าใช้มือผลักเปิดประตูกระจกหนาๆ ถ้าประตูหนักมากๆ ให้ใช้ตัวผลักเข้าไปแทน หรือถ้าต้องหยิบของตก ควรใช้วิธีย่อตัวลงและหยิบของ โดยรักษาหลังให้ตรงอยู่เสมอ
• ปัจจุบันมีผู้คิดผลิตอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เพื่อผู้ป่วยโรคข้อโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ต้องออกแรงกำ หรือบีบมือมากเกินไป เช่น อุปกรณ์ติดกระดุมเสื้อเชิ้ต และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ จากเภสัชกรหรือแพทย์ประจำตัวของท่าน อย่าหลงเชื่อการรักษาที่ยังไม่พิสูจน์





ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ 1 ใน 10 คน บอกถึงผลร้ายจากการใช้วิธีบำบัด ที่ยังไม่ได้พิสูจน์บางอย่าง และคำกล่าวอ้างที่ผิด ซึ่งเรามักได้ยินบ่อยๆ มีดังต่อไปนี้

• น้ำมันตับปลาช่วยหล่อลื่นข้อต่อได้ ฟังดูมีเหตุผล แต่ร่างกายของคุณก็รับน้ำมันตับปลา เหมือนกับไขมันชนิดอื่นๆ และดังนั้นน้ำมันตับปลา จึงไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นใดต่อข้อต่อ การบริโภคน้ำมันตับปลามากๆ กลับจะยิ่งทำให้เกิดอาการเป็นพิษ จากวิตามินเอและดีมากขึ้นด้วยซ้ำ
• การแพ้อาหารบางอย่าง อาจทำให้เป็นโรคข้ออักเสบเหตุภูมิแพ้ ในขณะนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า การแพ้อาหารจะมีผลทำให้ข้อต่ออักเสบ ดังนั้น การหลีกเลี่ยงไม่บริโภคมะเขือเทศ หรืออาหารบางชนิด จึงไม่มีผลต่อการบรรเทา อาการข้อต่ออักเสบแต่อย่างใด
• น้ำมันปลาช่วยลดการอักเสบได้ จากการวิจัยผู้ที่ป่วยด้วยโรครูมาทอยด์ แสดงให้เห็นว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 ในน้ำมันตับปลา สามารถช่วยลดการอักเสบได้ระดับหนึ่ง และชั่วระยะเวลาหนึ่ง จริงอยู่ว่าการค้นพบนี้ สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ แต่เราก็จะยังคงไม่แนะนำให้ผู้ป่วย ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา ด้วยเหตุที่ว่าผู้ป่วยอาจต้องกินผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารน้ำมันปลานี้มากถึงวันละ 15 แคปซูล โดยที่แพทย์เองก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า เป็นปริมาณที่ผู้ป่วยสามารถรับได้ อย่างปลอดภัยหรือไม่ และการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่านี้ ก็จะไม่มีผลทางการรักษาเช่นกัน








ขอขอบคุณข้อมูลจาก น.พ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ประจำ ร.พ.วิภาวดี










Create Date : 07 เมษายน 2552
Last Update : 7 เมษายน 2552 9:07:13 น. 6 comments
Counter : 1598 Pageviews.

 
ปวดข้อบ่อยๆค่ะ แถมยูริคแอซิทสูงเสี่ยงโรคเก๊าท์อีกต่างหาก

เดี๋ยวรอผลตรวจสุขภาพปีนี้ก็ทราบค่ะว่ายังไง อิอิ

วันนี้เปลี่ยนแนว เอาบรรยากาศยามเย็นริมทะเลที่ศรีราชามาฝากจ้า




โดย: มาเรีย ณ ไกลบ้าน วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:11:33:51 น.  

 
เรียนคุณกบ เจ้าของบลอก...

เนื่องจากทางบริษัท mInteraction มีความสนใจต้องการให้คุณช่วยรีวิวสินค้าของทางเราให้
เนื่องจากสินค้าดังกล่าวมีความสอดคล้องกับเนื้อหาในบลอกของคุณ
หากคุณสนใจกรุณาติดต่อที่ melodious_concert@hotmail.com
หรือเบอร 089-692-4969

ขอบคุณครับ


โดย: mInteraction (tseb ) วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:17:02:51 น.  

 
เรียนคุณกบ เจ้าของบลอก...

เนื่องจากทางบริษัท mInteraction มีความสนใจต้องการให้คุณช่วยรีวิวสินค้าของทางเราให้
เนื่องจากสินค้าดังกล่าวมีความสอดคล้องกับเนื้อหาในบลอกของคุณ
หากคุณสนใจกรุณาติดต่อที่ melodious_concert@hotmail.com
หรือเบอร 089-692-4969

ขอบคุณครับ


โดย: mInteraction (tseb ) วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:17:02:55 น.  

 
สวัสดีค่ะ อากาศเย็นๆอีกแล้วค่ะ แต่สักถ้วยก่อนอาหารดีไหมคะคุณกบ อิอิ




โดย: ญามี่ วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:17:43:12 น.  

 
ความรู้ล้วนๆดีจังเลยค่ะ
วันหลังขอมาอ่านใหม่


โดย: praewa cute วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:19:14:33 น.  

 
สวัสดีค่ะ ตอนนี้กุ๊กไก่อาการดีขึ้นแล้วค่ะเลยได้มีเวลามาเล่นคอมและแวะมาหาคุณกบ คุณกบสบายดีนะค่ะ


โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:23:59:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.