สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ความรู้เกี่ยวกับการตรวจภายใน

ช่วงปีสองปีนี้ เป็นอีกช่วงหนึ่ง ที่มีการรณรงค์ให้เช็ค มะเร็งปากมดลูก และก็มีคนมาตรวจกันเป็นระยะๆ และก็เหมือนเคย คือ ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่ง ที่ยังไม่ทราบว่า การตรวจภายในทำกันยังไง ในสภาพการมาตรวจภายใน ที่รพ.ของรัฐ การไม่รู้ไม่เข้าใจ การตรวจภายใน นับเป็นสิ่งที่ ทำให้เกิดปัญหาได้อย่างหนึ่ง





ตรวจภายใน ตรวจไปทำไม

การตรวจภายใน แบ่งได้เป็นสามกลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ในการตรวจ

1. ตรวจเช็คประจำปี

หรือที่จริง ควรจะเรียกว่า ตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก (Pervagina examination and Pap Smear) เป็นการตรวจ ที่มีการสนับสนุน ให้ทำการตรวจ เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ซึ่งคำแนะนำในการตรวจคัดกรอง อยู่ที่ประมาณทุก 1 ปี ซึ่งเนื่องจากว่า การศึกษาพบว่า ก่อนที่จะเกิดมะเร็ง จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ปากมดลูกก่อน เป็นเวลาประมาณ 3 - 5 ปี ก่อนจะมีการลุกลาม การที่ตรวจเป็นประจำ เมื่อพบความผิดปกติ ก็จะสามารถรักษาได้หายขาด

2. ตรวจเพื่อค้นหาโรค

ในผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติ ทางอวัยวะสืบพันธุ์ เช่นมีเลือดออก ตกขาวผิดปกติ พบก้อน หรือเนื้อผิดปกติ นอกจากการตรวจตำแหน่งนั้นๆ แล้ว ยังต้องตรวจ ภายในในบริเวณอื่น เพื่อค้นหาความผิดปกติ ที่อาจจะเกิดในบริเวณอื่นข้างเคียงด้วย

3. ตรวจเพื่อวินิจฉัยแยกโรค

มีโรคหลายโรค ที่อาการที่ตรวจพบทั่วไป แยกได้ยากว่าเป็นโรคใด บางครั้ง การตรวจภายใน จะมีประโยชน์มาก ในการตัดสินใจ ในเลือกแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง





ตรวจภายในคืออะไร ทำอย่างไร

นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่พบว่ายังมีคนที่ไม่รู้อีกมาก หรือบางคนรู้แต่ไม่ครบ และบางที ก็ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจได้

การตรวจแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน

1. ตรวจด้วยตา เริ่มจากเมื่อเปิดผ้าขึ้น ก็จะสังเกตดู อวัยวะเพศจากด้านนอก ใช้มือแหวกดูส่วนต่างๆ จากนั้น ก็จะเอาเครื่องมือสอดเข้าไป เพื่อดูในส่วนของปากมดลูก อาจจะมีการใส่เครื่องมือบางอย่าง เพื่อการตรวจในสิ่งที่สงสัย จากนั้น เมื่อดึงเครื่องมือออก ก็จะมีการมองดูช่องทางภายในอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีอะไรผิดไปหรือไม่

2. ตรวจด้วยมือ จะมีการใช้นิ้วมือสอดเข้าไปภายใน และจะใช้อีกมือหนึ่ง เพื่อตรวจจากทางหน้าท้อง ตรงนี้ บางส่วนแพทย์จะตรวจเอง บางส่วน ก็จะมีการถามคนไข้ว่า รู้สึกอย่างไรในขณะทำการตรวจ (เจ็บ ปวดหรือไม่) ในแพทย์ที่เชี่ยวชาญ การตรวจด้วยมือ สามารถบอกโรค รูปร่าง และขนาด ได้ดีเท่ากับประดุจการใช้เครื่อง ultrasound

จากขั้นตอนดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่า การตรวจภายใน คือ การตรวจผ่านช่องคลอด เพื่อให้ได้ข้อมูล เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ

ปัญหาที่พบได้

1. หมอบอกว่าสงสัยเป็นไส้ติ่ง แล้วมาตรวจภายในทำไม

หลายๆ ครั้ง เมื่อมีผู้หญิงที่ปวดท้องน้อย ทางด้านขวามาสองสามวัน และมีไข้มา เจาะเลือดและตรวจปัสสาวะแล้ว หมอก็ต้องมานั่งปวดหัว เพราะว่าการตรวจหน้าท้อง และผลทางห้องปฏิบัติการ ไม่ได้ให้คำตอบว่า คนไข้เป็นโรคอะไรกันแน่
โรคที่ต้องมานั่งแยกกันบ่อยๆได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และปีกมดลูกอักเสบ ซึ่งในหลายๆ ราย จะมีอาการและผลตรวจเลือด, ปัสสาวะเหมือนกัน ในขณะที่การรักษาไปคนละขั้ว คือผ่ากับไม่ผ่า

การตรวจ ที่จะช่วยในการแยกโรคได้ตัวหนึ่ง ก็คือ การตรวจภายใน ซึ่งแพทย์จะเอานิ้วโยกปากมดลูก เพื่อดูว่าการอักเสบเป็นที่ใดกันแน่ ระหว่างปีกมดลูกอักเสบ (เจ็บเวลาโยก) หรือไส้ติ่ง (เจ็บน้อยหรือไม่เจ็บ เนื่องจากไม่ได้ยึดติดกับมดลูก)





2. ทำไมหมอตรวจไม่เหมือนกัน

เคยได้รับคำถามจากคนไข้ว่า ทำไมผมตรวจภายใน ไม่เหมือนแพทย์อีกคน ที่เคยตรวจไว้เมื่อครั้งก่อนหน้านี้ สอบถามไปก็ได้ความว่า ผมมีการตรวจทางหน้าท้องร่วมด้วย ซึ่งเธอไม่เข้าใจว่า ในเมื่อเรียกว่าตรวจภายใน ทำไมต้องเอามือไปกดหน้าท้อง
เรื่องของเรื่องก็คือ การตรวจภายใน ไม่ค่อยมีใครทำจนครบถ้วนกระบวนความ แต่มักเลือกทำ ในส่วนที่สงสัยเป็นหลัก และจะตรวจครบในกรณีที่มีเวลา

ถ้าคนไข้มาตรวจ เรื่องฝีที่อวัยวะเพศส่วนนอก ก็ไม่ค่อยมีใครอยากตรวจภายใน เข้าไปลึกๆ ให้คนไข้เจ็บตัว

ถ้ามาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกทุกปี ปีนี้มาตรวจอีก บางคนก็ตรวจป้ายแผ่นฟิล์มเท่านั้น

มาตรวจมะเร็งทุกปี ป้ายด้วยไม้แล้วเสร็จ ปีนี้แพทย์เห็นอะไรแปลกๆ ก็อาจจะเอาน้ำยามาป้าย แล้วส่องดู

3. กลัวเจอมะเร็ง เลยไม่อยากไปตรวจภายใน

สมัยก่อนจะเจอคน ที่เป็นจนลุกลามเป็นก้อนขนาดใหญ่ และตายโดยที่รักษาไม่ได้ ปัจจุบันนี้ พบน้อยลงมาก
บางคนบอกว่า จะเป็นก็ปล่อยให้เป็นไปเถอะ... ไม่อยากรู้ก่อน เหตุก็เนื่องมาจาก ความเชื่อผิดๆ ที่เกิดจากการเห็นคนเป็นมะเร็งปากมดลูก ระยะท้ายๆ ในสมัยก่อนมีการตรวจคัดกรอง

ความจริง มะเร็งปากมดลูก จะเริ่มมาจากความผิดปกติ ระดับผิวๆ จากนั้น จะใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะลุกลามเป็นขั้นที่1 นับเป็นหนึ่งในมะเร็งไม่กี่ชนิด ที่รักษาให้หายขาดได้ โดยมีผลแทรกซ้อนน้อยมากๆ (ผ่าแล้วก็หาย) ต่างจากมะเร็งอื่นๆ ที่กว่าจะรู้ ก็มักจะกระจายแล้ว

การตรวจคัดกรองด้วยการป้ายสไลด์ เป็นประจำ จะช่วยให้รู้ตัวได้ล่วงหน้า ประมาณ3-5ปี ระหว่างนี้ จะมีเวลาที่จะตรวจ และทำการรักษาได้

ในรายที่ตรวจพบเร็ว การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว ก็สามารถหายขาดได้ (ผ่าตัดในที่นี้ อาจจะเป็นเพียงการตัด เนื้อผ่านทางช่องคลอด แบบทำเสร็จ วันรุ่งขึ้นกลับบ้านได้เลย)

ในรายที่พบช้าไปนิด อาจจะต้องฉายรังสีเพิ่มอีกเล็กน้อย หรือเลือกผ่าตัดที่ใหญ่ขึ้น
แต่ในรายที่นิ่งนอนใจ รอจนกระทั่งมะเร็งมีอาการชัดเจน เช่น มีก้อนหรือเลือดออก ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการรักษา ที่ทำให้หายขาดได้





4. เจ็บไหม

เวลาตรวจ ผมบอกคนไข้ไว้เสมอว่า "เจ็บแน่นอน" (อาจจะโดนพยาบาลค้อนว่าไปบอกทำไม)
ความเจ็บขึ้นอยู่กับหลายๆ อย่าง

อย่างแรก ก็คือ ฝีมือแพทย์ แต่โดยทั่วไป เวลาตรวจภายใน แพทย์มักเบามือที่สุดอยู่แล้ว ไม่มีใครอยากตรวจแบบคนไข้เจ็บ (เพราะตรวจยากขึ้นเยอะ) ตรงนี้เลือกไม่ได้

อย่างที่สอง การตรวจด้วยเครื่องมือ ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งเจ็บ ซึ่งโดยปกติ จะเลือกขนาดที่เล็กที่สุด เท่าที่จะตรวจได้, ประเมินจากว่า ผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือยัง หรือคลอดลูกมากี่ครั้ง และจะพยายามตรวจครั้งเดียว โดยทั่วไป แพทย์จะไม่เปลี่ยนเอาอันใหม่มาใส่ หากไม่เกิดปัญหาในการตรวจ เช่น ช่องคลอดยาว ,หรือเลือดออกมาก จนมองอะไรไม่เห็น

อย่างที่สาม ความร่วมมือของคนไข้เอง ถ้าเกร็งมาก ก็เจ็บมาก และหากเปล่งเสียงร้องอีก ก็ยิ่งทำให้เกิดการหดรัดเกร็งมากขึ้น ยิ่งเจ็บขึ้นไปอีก

เท่าที่พบมา อย่างที่สามพบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในรายที่ไม่เคยตรวจมาก่อน .... บางคนตอนแรก ที่ไม่ร่วมมือในการตรวจ เจ็บมากจนไม่ยอมให้ตรวจ แต่เมื่อให้ไปต่อคิวตรวจใหม่ สักรอบสองรอบ จนยอมร่วมมือในการตรวจอย่างดี กลับบอกว่าแทบไม่เจ็บเลยก็มี

สรุปว่าเจ็บแน่ๆ แต่ไม่เจ็บเท่าที่คิด

5. เตรียมตัวอย่างไร

• ใส่กางเกงหรือกระโปรง ที่ถอดง่ายใส่ง่าย เวลามาตรวจโรค ที่คุณเองสงสัยว่าจะตรวจภายใน , ไม่ควรใส่ยีนส์มา .... (แต่อย่าลืมว่าบางครั้ง คุณเองก็คิดไม่ถึงว่า โรคที่เป็นจะต้องตรวจภายใน)
• ไม่ต้องไปทำอะไรก่อนมา, บางคนโกนขน บางคนเอาน้ำยา ล้างขัดช่องคลอด ซึ่งความจริงไม่มีความจำเป็น
• ไม่ต้องไปทำอะไร (กับแฟน) ก่อนมา , เพราะบางครั้ง ทำให้ตรวจยาก โดยเฉพาะการตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งต้องป้ายเนื้อเยื่อ ไปตรวจหาความผิดปกติ อาจทำให้การแปลผล ทำได้ยากขึ้น
• เตรียมใจ โดยเฉพาะคนที่รู้ตัวมาจากบ้าน ว่าต้องตรวจ... เคยมีคนที่มาตรวจ แล้วไม่ยอมให้ตรวจ พอเวลาผ่านไป10นาที โดยที่ไม่ยอมเปิดผ้า ผมก็ไล่ให้ไปคิวหลังสุด (>10คน) คาดว่า ในกรณีภาระงานมาก แพทย์หลายๆ คนก็ทำเช่นเดียวกัน





ตรวจภายในไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ตรวจภายใน ประโยคสั้นๆ นี้ที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกไม่สบายใจไปตามๆ กันหากต้องรับการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นหญิงมีบุตรแล้วหรือ
หญิงที่ยังไม่แต่งงานก็ตาม อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า การตรวจภายในเป็นการตรวจทางการแพทย์ที่ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องตรวจตามความเหมาะสม

ผู้หญิงควรจะตรวจภายในเมื่อไร ตรวจแล้วจะบอกอะไรได้บ้าง เวลาตรวจควรเตรียมตัวมาอย่างไร

คำถามเหล่านี้มีคำตอบ....

การตรวจภายใน ทำได้ทุกอายุของผู้หญิงเลย ถ้าเกิดมีตกขาวผิดปกติ มีเลือดออก ช่องคลอดมีกลิ่น ปวดท้องน้อย สงสัยมีก้อนหรือ
มีน้ำในท้อง ในเด็กวัยอนุบาลประถม ก็ตรวจได้ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าว จะมีเครื่องมืออันเล็กเหมือนที่ตรวจรูจมูก บางครั้งสูตินรีแพทย์ใช้นิ้วก้อยตรวจได้ หรือตรวจทางทวารหนักแทน

เด็กผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เร็วตั้งแต่วัยรุ่นก็สามารถตรวจได้ เพื่อรักษาโรคทางเพศสัมพันธ์ ตกขาว เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องน้อย หรือเกิดโชคร้ายท้องนอกมดลูก เป็นถุงน้ำที่รังไข่ ก็สามารถตรวจภายในวินิจฉัยได้

ส่วนผู้หญิงโสด ถ้าประจำเดือนปกติ ตรวจสุขภาพทั่วไปและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกปกติ จะเริ่มตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูกตอนอายุ 30 ปีขึ้นไปก็ได้

ในการตรวจภายใน สิ่งที่ต้องคำนึงด้วยเสมอเพื่อมิให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด คือ

เรื่องประจำเดือน ซึ่งต้องเน้นรายละเอียดและความแม่นยำที่ถูกต้อง ในบางครั้งคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงที่ยังเป็นนางสาว มิได้ยืนยันการไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ถ้าเชื่อตามคำนำหน้าชื่ออาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาดได้ การสอบถามประวัติของแพทย์และการให้ข้อมูลที่เป็นจริงของผู้ได้รับการตรวจเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เคยเจอมาแล้วก็คือ สูตินรีแพทย์บางคนเกรงใจไม่กล้าถามมาก ปรากฏว่าได้ผ่าตัดสิ่งที่คิดว่าเป็นเนื้องอกในมดลูกที่มีขนาดเท่าอายุครรภ์ 4 เดือนออกไป หลังจากตรวจชิ้นเนื้อกลับพบว่าเป็นเด็กทารก เป็นที่น่าเสียใจว่าเธอถูกตัดมดลูกออกไป โดยที่ไม่มีโอกาสมีบุตรอีก เพราะพยายามปิดบังข้อมูลกับแพทย์ และแพทย์ท่านนั้นก็ไม่นึกว่าเธอจะมีเพศสัมพันธ์จนมีบุตร เพราะลักษณะภายนอกเธอเป็นผู้ดีและเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ เพราะฉะนั้นการซักประวัติส่วนตัวอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ การใช้ยาคุม จำนวนบุตร การแท้งธรรมชาติ หรือการทำแท้งจะมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคมาก ขอให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่แพทย์จำเป็นต้องถามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เด็กผู้หญิงบางคนจะใจแข็งมาก บางครั้งอยู่ที่หอพักเดียวกัน พากันมาส่งเพราะมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องป่อง แพทย์ห้องฉุกเฉินนึกว่าปัสสาวะไม่ออกเลยปวด กำลังจะสวนปัสสาวะให้ ปรากฏว่าเบ่งแป็บเดียวเด็กออกมาเลย ก็เคยพบกันบ่อยๆ





นอกจากนี้ยังมีบางคนที่มารดาพามาตรวจ นึกว่าเป็นโรคท้องป่องท้องมาร นึกว่าใครเสกอะไรเข้าท้อง พอหมอตรวจท้อง ฟังแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจอีกดวง ก็ยังไม่ยอมรับ ผู้หญิงเรามักจะใจแข็งจริงๆ แต่พอเอกซเรย์ดูจึงเห็นกระดูกศีรษะ ซี่โครง แขนขา มารดาเข่าอ่อนไปเลยก็มี ส่วนใหญ่มารดาของเด็กสาวมักจะห้ามบอกบิดา เพราะบิดาจะอารมณ์รุนแรงรับไม่ได้ ทั้งที่พ่อแม่ควรให้อภัยแก่ลูกสาว บางเรื่องพลาดแล้วย้อนกลับคืนไม่ได้ แต่โอกาสทำความดีต่อไปของคนเรายังมี อย่าไปด่าว่าหรือทุบตีรุนแรงเลย

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ในบางครั้งระยะที่ขาดประจำเดือนกับขนาดท้องไม่สัมพันธ์กัน เป็นสิ่งที่ต้องเอาใจใส่เสมอ ต้องติดตามดูอาการและได้รับการตรวจครรภ์ตามแพทย์ และใส่ใจประเมินครบกำหนดคลอด

บางคนมีลูกมา 2 – 3 คนแล้ว ท้องลาย ก้นลาย แต่มาบอกหมอสูติว่าท้องแรก เอ้า ท้องแรกก็ท้องแรก แต่เวลาคุณเธอคลอดเราต้องระวัง เพราะท้องแรกจะคลอดช้า ท้องสองและสามจะไวมาก หมอสูติต้องเตรียมพร้อม

เรื่องอาการทางกระเพาะปัสสาวะ มักเกี่ยวข้องกับช่องคลอดและมดลูกเสมอในเรื่องการรักษา เช่น ถ้ากระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ รักษาไม่หาย ควรนึกถึงการอักเสบเรื้อรังในช่องคลอดด้วย บางครั้งปัสสาวะไม่ออก เพราะมดลูกจากผู้หญิงที่เบ่งลูกหลายคน เอ็นที่ยึดมดลูกจะไม่ตึง ทำให้มดลูกหย่อนมาจุกตรงช่องคลอด กดช่องปัสสาวะทำให้ปัสสาวะไม่ออก

1. มดลูก 3. ช่องคลอด
2. ปากมดลูก 4. คีมปากเป็ด





การเก็บตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูกและช่องคลอดนำส่งตรวจหามะเร็งต่อไป





เรื่องควรรู้เพื่อเตรียมตัวรับการการตรวจภายใน

ผู้หญิงสามารถตรวจภายในได้ทุกเวลา ยกเว้นช่วงที่มีประจำเดือน แต่ถ้ามีเลือดออกผิดปกติไม่ใช่ประจำเดือน ก็ตรวจ ได้เลยจะได้ดูจุดที่เลือดออก สีของเลือด ปริมาณมากน้อยแค่ไหน วินิจฉัยได้แม่นยำไม่ต้องรอเลือดหยุด ซึ่งควรเตรียมตัวก่อนรับการตรวจภายในดังนี้

• ควรปัสสาวะทิ้งให้หมดก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้คลำขนาดมดลูกและปีกมดลูกให้ชัดเจน
• ถ้ามีปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสาวะ สูตินรีแพทย์อาจสวนตรวจเพาะเชื้อโรคและให้ยา ปฏิชีวนะตามเชื้อโรคนั้นๆ
• ถ้ามีปัญหาเรื่องตกขาวมีกลิ่น คัน ตกขาวเปลี่ยนสี ไม่ควรสอดยามาเอง ควรรีบมาพบ แพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจเชื้อได้ถูกต้อง ให้ยาได้ทันท่วงที ถ้าสอดยามา จะมียาเต็มในช่องคลอด จะตรวจไม่ได้
• ไม่ควรใช้น้ำยาล้างลึกเข้าไปในช่องคลอดก่อนมาตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือมาตรวจการ เพราะภาวะความเป็นกรดด่างถูกทำลาย เซลล์ที่หลุดลอกออกมาถูกล้างไปหมด
• ไม่ต้องงดอาหารและน้ำดื่มมาในการตรวจภายในมาตรวจได้เลย ทางสูตินรีแพทย์จะ ตรวจคลำเต้านมให้ด้วย ถ้ามีน้ำไหลจากหัวนม จะบีบใส่ slide ไปตรวจเซลล์มะเร็ง
• ในการวินิจฉัยบางโรค เช่น เยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่ อาจตรวจทางทวารหนักร่วมด้วยโดย ใช้นิ้วชี้ตรวจทางช่องคลอด นิ้งกลางตรวจทางทวารหนัก และอีกมือคลำหน้าท้องด้วย
• เวลาตรวจภายในจะเริ่มจาก ดูต่อม Bartholin และต่อม Skene ซึ่งหลั่งสิ่งหล่อลื่นใน ช่องคลอดรวมทั้งกลิ่นด้วย ว่ามามีหนองหรือเป็น cyst ไหม มีการหย่อนด้านหลังของผนังช่องคลอดไหม ตรวจดูว่าหูรูดกระเพาะปัสสาวะหย่อนหรือไม่ ให้เบ่งดูหรือไอดูขณะมีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะอยู่เต็ม ว่าเล็ดกระเด็นออกมาหรือไม่ มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาหรือเปล่า มีหนองอยู่ในที่ปัสสาวะและในช่องคลอดหรือไม่ สังเกตปากมดลูกว่าปลิ้น มีรอยฉีกขาด อักเสบเรื้อรัง หรือมีหนองจากรูมดลูกหรือไม่ จังหวะนี้ก็จะตรวจมะเร็งปากมดลูกจากรูมดลูก รอบคอมดลูก และด้านหลังของช่องคลอด ส่วนลึกต่ำกว่าปากมดลูก นอกจากนี้ก็จะคลำขนาด ตำแหน่ง การเคลื่อนไหวของมดลูก กดแล้วเจ็บหรือไม่ รวมทั้งผิวเรียบหรือไม่ และคลำปีกมดลูก 2 ข้างด้วย เพื่อดูเนื้องอกรังไข่และท่อรังไข่ว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่

การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด แต่จะกลับทำให้ผู้หญิงเรามั่นใจได้ว่าสุขภาพสตรีของตัวเองนั้นปกติดี
หรือ ไม่ หรือหากพบความผิดปกติก็จะได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ง่ายต่อการรักษาและหายได้เร็ว ลดโอกาสการสูญเสียต่างๆ
ได้มากกว่าค่ะ






TOP




ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.pngo.moph.go.th/thaimuang_hos/a4.htm
นิตยสาร - HealthToday




Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 19 เมษายน 2552 17:11:15 น. 9 comments
Counter : 16116 Pageviews.

 
แวะมาอ่านค่ะ
ขอบคุณมากนะคะ


โดย: KwanGZaar วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:12:15:05 น.  

 
มีตะเรื่องน่ารู้มากๆ เลย ขอบคุณมากนะคะ

บล็อคหวานจังค่ะ หว๊าน หวาน


โดย: ถุงก๊อปแก๊ป วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:15:07:39 น.  

 
สวัสดีครับคุณกบ


แวะมาทักทายยามบ่ายครับ
เชียงใหม่อากาศร้อนเหลือใจเลยครับปี้นี้




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:16:18:32 น.  

 
เป็นเรื่องที่เป็นความรู้และประโยชน์กับผู้หญิงมากเลยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
รักษาสุขภาพนะคะ มีความสุขค่ะ


โดย: busabap วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:16:52:58 น.  

 
เป็นบทความที่มีประโยชน์มาก
เลยครับ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะครับ



โดย: หนูหล่อ (nulaw.m ) วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:20:23:03 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ที่อาจทำให้หลาย ๆ คนเปลี่ยนใจไม่กลัวการตรวจภายในนะคะ


โดย: ไม่รู้หนูไม่ได้ทำ วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:20:32:25 น.  

 
กลับมาแล้ว ๆ มาด้วยความอ้วนอืด อิอิ สงกรานต์กลับสุพรรณฯ ไปหลายวัน กิน ๆ ๆ ๆ ขึ้นมาหลายโลเลย

ละ จขบ.ได้ไปเที่ยวสาดน้ำที่ไหนหรือเปล่าครับ


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 20 เมษายน 2552 เวลา:11:02:01 น.  

 

ได้เวลาร่วมลุ้นร่วมเชียร์แล้วค่ะ!!

ขอเชิญชวนร่วมโหวด นางงามวุ้นไทยที่บ้านแพรวานะคะ

ปิดรับการดหวดวันที่ 21 เวลาเที่ยวคืนค่ะ






โดย: praewa cute วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:1:36:30 น.  

 
Monavie


โดย: mlmboy วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:18:36:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.