สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

โรคปวดศรีษะ

ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่เคยปวดศรีษะมาแล้วไม่มากก็น้อย หากเป็นมากจะมีผลกระทบต่อการทำงาน ต้องหยุดงานเพื่อเข้าโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจอาการที่ตรวจพบก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการที่เป็น สำหรับผู้หญิงมักจะปวดศีรษะก่อนมีประจำเดือน หรืออาจจะปวดไปพร้อมกับการมีประจำเดือน อาการที่ปวดศรีษะจะปวดข้างเดียวหรืออาจจะปวดทั้งสองข้างก็ได้การปวดศรีษะมีหลายชนิดชนิดที่พบบ่อย คือ

1. ปวดแบบเทนชั่น (tension headaches)

เกิดจากกล้ามเนื้อหนังศรีษะและกล้ามเนื้อโดยรอบมีอาการเกร็ง การปวดนี้จะปวดอยู่รอบนอก ไม่ปวดไปถึงภายในสมองร้อยละ 90 ของการปวด tension headaches จะปวด 2ข้าง ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 2-3 นาที
บางรายอาจปวดเป็นสัปดาห์ และมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น ทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน สาเหตุ อาจมาจากหลายปัจจัย ส่วนมากจะมีปัจจัยมาจากความเครียด กังวลเรื่องงาน และความแปรปรวนทางอารมณ์ต่างๆ คนไข้จะรู้สึกว่าปวดแบบสม่ำเสมอ 2 ข้างของศรีษะ อาจมีการปวดต้นคอร่วมด้วยก็ได้อาการที่ปวดจะเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ และสัปดาห์หนึ่งอาจเกิดหลายครั้งได้

2. ปวดศรีษะเนื่องจากหลอดเลือด

มีคนไข้จำนวนหนึ่งมีอาการปวดศรีษะที่เป็นผลมาจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงสมองหรือประสาทส่วนกลางไม่เพียงพอ

2.1 ปวดศรีษะแบบไมเกรน (migraines) จะปวดรุนแรง ปวดแบบตุ๊บๆ
(throbbing pain) ของศรีษะข้างใดข้างหนึ่ง คนไข้บางคนมีอาการคลื่นไส้
และมีความรู้สึกไวต่อแสง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดแบบไมเกรนนี้จะปวดนาน
เป็นชั่วโมงหรือนานเป็นหลายวันปวดแบบไมเกรนมักจะมีอาการนำก่อน
คือจะมีอาการปวดเตือนก่อนล่วงหน้าก่อนที่จะมีการปวดศรีษะจริง เช่น
มีอาการร้อนแปล๊บๆ ที่หน้าผาก มีอาการแปล๊บๆ ที่ตาคล้ายฟ้าแลบ ปัจจัย
ที่ทำให้เป็นไมเกรน คือ พักผ่อนน้อย นอนดึก น้ำตาลในเลือดต่ำ รับประ
ทานอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก อารมณ์
หงุดหงิดบ่อยหรือร่างกายอ่อนเพลียหลัวจากตรากตรำทำงานมาก
ปวดแบบไมเกรนมักเกิดกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ มักปวดในขณะที่มี
ประจำเดือนหรือก่อนมีประจำเดือน และมักจะมาตามสายพันธุ์
(กรรมพันธุ์)

2.2 ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ (cluster headaches) ปวดศรีษะข้างเดียว
และปวดตุ๊บๆ เช่นเดียวกับปวดแบบไมเกรน แตกต่างจากไมเกรนตรงที่
คนไข้จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและมีอาการผิดปกติต่อสายตา
ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์อาจจะมีร้อนแปล๊บๆ ที่หน้าผาก น้ำตาไหล
หรือมีคัดจมูก ม่านตาแคบลง บางคนมีเหงื่อออกมากตรงใบหน้าข้างกับ
ที่ปวด การปวดแต่ละครั้งอาจนานถึง 10 นาที หรือ อาจจะเป็นชั่วโมงปวด
รุนแรง ปวดตรงเวลากันทุกวัน วันหนึ่งอาจปวด 3 เวลา และยาวนานเป็น
สัปดาห์หรือเป็นเดือน

2.3 ปวดศรีษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง (hypertensive headaches)
จะเกิดในนักบริหารที่มีความเครียด แล้วความดันโลหิตจะสูงขึ้นทันที
ทำให้ปวดศรีษะการปวดศรีษะนี้เนื่องจากความดันโลหิตของเส้นเลือด
ของศรีษะสูงขึ้นทำให้ปวดแบบตื้อๆ (dull) และปวดทั่วบริเวณศรีษะ
การเคลื่อนไหวใบหน้า คอ ทำให้ปวดศรีษะมากขึ้น ปวดตอนเช้า เมื่อ
สายอาการก็จะดีขึ้น

2.4 ปวดศรีษะจากท๊อกสิค (toxic headaches) มักเกิดจากจากแพ้
อากาศ แพ้สารเคมี และควัน บางครั้งอากาศเปลี่ยนแปลงก็เป็นเหตุ
ให้ปวดศรีษะแบบท็อกสิคได้

3. สาเหตุอื่นๆ

อาการปวดศรีษะอาจเป็นสิ่งแสดงออกของการได้ยาในการรักษาโรค และโรคบางโรคอาจมีอาการปวดศรีษะร่วมด้วย แพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้บอกให้คนไข้ทราบสัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบแพทย์

1. เมื่อมีอาการปวดศรีษะอย่างเฉียบพลันและรุนแรง
2. ปวดศรีษะพร้อมกับมีอาการชักกระตุก
3. ปวดศรีษะพร้อมกับสับสน และความรู้สึก (consciousness) เสียไป
4. ปวดศรีษะพร้อมกับปวดตาและหู
5. ปวดศรีษะติดต่อกันนานๆ (persistent headache) ในคนไข้ที่ไม่เคยมีการปวดศรีษะมาก่อน
6. ปวดศรีษะพร้อมกับมีไข้ การที่แพทย์สรุปว่าปวดศรีษะมีต้นเหตุมาจากอะไรนั้น มักจะเกิดซักประวัติ เช่น ไม่ได้รับประทานอาหารแล้วปวดศรีษะ อาจเป็น เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถามประวัติต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกับประวัติเกี่ยวกับการบาดเจ็บของศรีษะ การตรวจทางรังสีเอกซเรย์จะช่วยดูว่า มีมะเร็งในสมอง หรือมีเลือดจับเป็นก้อนภายในสมองหรือไม่ บางครั้งอาจจะต้องตรวจคลื่นสมองด้วยไฟฟ้า (electroencephalogram-EEG) ซึ่งจะบอกความผิดปกติของคลื่นสมอง แต่ไม่อาจจะไปสรุปได้ว่าปวดศรีษะมีสาเหตุมาจากอะไร เพราะคลื่นสมองจะบอกแค่หน้าที่ของเซลล์เท่านั้น
ในสถาบันการแพทย์ที่มีผู้เชี่ยวชาญจะมีการตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ (computer tomographic scan) ซึ่งจะบอกข้อแตกต่างของมะเร็งหรือเลือดออกในสมองได้ การตรวจตาโดยละเอียดจะบอกอะไรได้มาก เช่น ดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตาม่านตาเท่ากันหรือไม่ จอรับภาพมีเส้นเลือดโปร่งหรือเส้นเลือดขอดหรือไม่ ถ้ามีจะต้องไปตรวจขั้นต่อไป เช่น ฉีดสี หากมีเส้นเลือดโป่งพองในสมอง จะต้องผ่าตัดแก้ไข เป็นต้น

การรักษา

การปวดศรีษะจากไมเกรน มักพบ 2-7% ของการปวดศรีษะทั้งหมด เวลาปวดจะปวดมาก นอกจากจะได้ยารักษาแล้ว ควรให้คนไข้ได้พักในห้องที่เงียบและแสงสว่างน้อยจะทำให้อาการดีขึ้นโดยเร็ว
ปวดศรีษะไมเกรนส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัยทำงาน จะหายได้เองเมื่ออายุ 50 ปี ยารักษาไมเกรนนอกจากจะมียาแก้ปวดทั่วไปแล้ว มักจะต้องใช้ยาพวกเออร์กอต (ergot derivatives) ร่วมด้วยจึงจะหายปวด หากรับประทานยาเออร์กอตภายใน 2 ชั่วโมงที่เริ่มเป็น มักจะหายปวดได้เร็ว สำหรับคนที่เป็นบ่อย จะใช้ยา " flunarizine" รับประทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการปวดได้


โรคปวดศีรษะจากความเครียด


โรคปวดศีรษะจากความเครียด เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ มักจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเป็นวันๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน โดยจะปวดพอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย และจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรกๆ ที่ปวด จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง

ชื่อภาษาไทย โรคปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด
ชื่อภาษาอังกฤษ Tension-type headache (TTH), Tension headache, Muscle contraction headache, Psychogenic headachen


สาเหตุ

อาการปวดศีรษะของผู้ป่วยโรคนี้เป็นผลมาจากมีการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากมีสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทขึ้นตรงประสาท ส่วนกลาง (อาจเป็นบางส่วนของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและใบหน้า) แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี (เช่น เอนดอร์ฟิน ซีโรโทนิน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
ส่วนใหญ่มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความ เครียด หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา อดนอน ตาล้าตาเพลีย (จากใช้สายตามากเกิน)
นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรควิตกกังวล ซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือการปรับตัว บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคปวดศีรษะไมเกรน

การแยกโรค

อาการปวดศีรษะที่เป็นต่อเนื่องกันเป็นวันๆ ขึ้นไป ควรแยกออกจากสาเหตุอื่น เช่น

1. ไมเกรน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับข้างเดียว (ส่วนน้อยเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า นาน 4-72 ชั่วโมง มักจะเป็นๆ หายๆ ทุกครั้งที่มีอาการกำเริบ มักจะเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง กลิ่น อดนอน อดข้าว อากาศร้อนหรือเย็นจัด อาหารบางชนิด เหล้า ผงชูรส โดยมากจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดร่วมด้วย

2. เนื้องอกสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดทั่วศีรษะ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสายๆ ก็ทุเลาไป ไม่ปวดต่อเนื่องทั้งวัน อาการดังกล่าวจะเป็นแรงขึ้นทุกวันจนผู้ป่วยต้องสะดุ้งตื่นตอนเช้ามืดเพราะรู้สึกปวด และจะปวดนานขึ้นทุกวัน จนในที่สุดจะปวดตลอดเวลา ซึ่งกินยาแก้ปวดไม่ทุเลา ในระยะต่อมาอาจมีอาการอาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชัก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไป จากเดิม

3. โรคทางสมองอื่นๆ
เช่น เลือดออกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วย จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและอาเจียน ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ปวด บางคนอาจมีไข้สูง ซึม ชัก ร่วมด้วย

4. ต้อหินชนิดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่าง รุนแรงและฉับพลันทันที ตาพร่ามัว แสบตาข้างที่ปวด จะมีสิ่งรบกวน ตาแดงๆ ตรงบริเวณตาขาว (รอบๆ ตาดำ) อาการปวดจะเป็นต่อเนื่องเป็นวันๆ ซึ่งกินยาแก้ปวดก็ไม่ทุเลา


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากลักษณะอาการ และประวัติเกี่ยวกับความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ การคร่ำเคร่งกับงาน
นอกจากมีอาการไม่ชัดเจนและสงสัยเป็นโรคเกี่ยว กับสมอง จึงจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพ สมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ผู้ป่วยและญาติจึงควรบอกเล่าประวัติ และอาการ เจ็บป่วยอย่างละเอียด เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีมีภรรยาน้อย เล่นการพนัน การทะเลาะกัน) ปัญหาการงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้อง และไม่หลงไปส่งตรวจพิเศษให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น


การรักษา

แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยาบรรเทาปวดร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาท
ถ้าพบว่ามีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาภาวะเหล่านี้ไปพร้อมกัน และอาจให้การ รักษาด้วยวิธีอื่นร่วมไปด้วย เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม เป็นต้น
ในรายที่มีอาการกำเริบมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจให้ ผู้ป่วยกินยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน หรือฟลูออกซีทีน ทุกวันติดต่อกันนาน 1-3 เดือน


ภาวะแทรกซ้อน

โรคนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้วิตกกังวล ไม่สุขสบาย และอาจสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาในการแสวงหาบริการ ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง จึงย้ายโรงพยาบาลที่รักษาไปเรื่อยๆ


การดำเนินโรค

อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมงๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการรักษา และ มีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย


ความชุก

โรคนี้พบได้บ่อย คือประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ปวดศีรษะจะมีสาเหตุจากโรคนี้พบได้ในคนทุกวัย เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมากที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-2 เท่า


อาการ

ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องกันนานครั้งละ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือนโดยที่อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรกๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อๆ หนักๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวันผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหว ของร่างกายอาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้าๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอน บ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมาก หรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ


การดูแลตนเอง

เมื่อมีอาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ควรกินยาพาราเซตามอลบรรเทา
1-2 เม็ด นั่งพัก นอนพัก ใช้นิ้วบีบนวดควรไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะ
ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง
- มีอาการปวดมากตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้น
ทุกวัน
- มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือ ชักกระตุก
- มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย
- มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
- มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง


การป้องกัน

ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้กำเริบ โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้หิว อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ออกกำลังเป็นประจำ หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ ถ้าจำเป็นควรกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน
//www.thailabonline.com






 

Create Date : 22 เมษายน 2552
4 comments
Last Update : 23 เมษายน 2552 8:17:14 น.
Counter : 7436 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

 

โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ 22 เมษายน 2552 23:09:00 น.  

 

ตอนนี้เหมี่ยวกำลังปวดหัวเพราะสายตาค่ะคุณกบ

ขอบคุณสำหรับบทความนี้ค่ะ


Photobucket

 

โดย: fleuri 23 เมษายน 2552 5:06:55 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณกบ









 

โดย: กะว่าก๋า 23 เมษายน 2552 8:17:55 น.  

 

แวะมาเยี่ยม ขอบคุณที่แวะไป

 

โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) 24 เมษายน 2552 0:24:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
22 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.