สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ

พอดีได้ดูข่าวของน้องสองคนที่เป็นโรคหยุดหายใจในขณะนอนหลับ
จึงได้ไปหาข้อมูลเพื่อเป็นความรู้มาเล่าให้ฟังคะ


คนเราถ้ายังมีชีวิตอยู่ต้องมีการหายใจ คนเราต้องหายใจตลอดเวลาทั้งในขณะตื่นและหลับ วันหนึ่ง ๆ เราต้องการนอนหลับโดยเฉลี่ย 7 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละบุคคล ในขณะที่เราหลับนี้อาจมีความผิดปกติทางการหายใจเกิดขึ้นได้ โดยอาจเป็นภาวะหรือโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อมีการนอนหลับ หรือเป็นการแสดงอาการที่มากขึ้น ของโรคระบบหายใจที่เป็นอยู่แล้วขณะตื่น





การหายใจ (Breathing) ที่จะกล่าวถึงทั้งหมดนี้ หมายถึงการนำอากาศเข้าไปในร่างกายจนถึงกระแสเลือด ไม่ใช่การหายใจในระดับเซลล์ (Cellular Respiration) ซึ่งหมายถึงการนำเอาออกซิเจนไปใช้เผาผลาญสารอาหาร


การหายใจสามารถแยกออกได้เป็น 2 กระบวนการ คือ

-การถ่ายเทอากาศ (Ventilation)
-การเติมออกซิเจนให้กระแสเลือด (Oxygenation)


ในคนปกติการถ่ายเทอากาศจะลดลง ตั้งแต่เราเริ่มนอนหลับ ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น เดิมนั้นเข้าใจว่าเกิดจากสมองส่งสัญญาณกระตุ้นให้ร่างกายหายใจน้อยลง แต่ปัจจุบันพบว่า ความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง แท้จริงแล้วเกิดจากความต้านทานการไหลของอากาศผ่านลำคอสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังเป็นความจริงที่ว่าเมื่อสมองถูกกระตุ้นจากคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดที่สูงขึ้นซึ่งสมองควรจะตอบสนองโดยการส่งสัญญาณมากระตุ้นให้ร่างกายหายใจมากขึ้น สมองกลับไม่ตอบสนองมากเท่าที่ควร นอกจากนี้เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งในขณะตื่นนั้น จะมีการกระตุ้นให้เราหายใจมากขึ้น แต่ในขณะหลับ ตัวรับสิ่งกระตุ้นเหล่านี้กลับด้านชากว่าในขณะตื่น โดยจะด้านชามากที่สุดในช่วงหลับฝัน (REM Sleep) ตัวรับสิ่งกระตุ้นให้เกิดการหายใจ ก็ตอบสนองน้อยลงในขณะหลับเช่นกัน

กล่าวโดยสรุปคือ ในภาวะปกติในขณะที่มีการนอนหลับจะมีการหายใจลดลงและร่างกายก็ไม่ตอบสนองต่อภาวะคาร์บอนไดออกไซด์สูงและออกซิเจนต่ำได้ดีเท่ากับในขณะตื่น

ความผิดปกติของการหายใจที่เกี่ยวกับการนอนหลับที่พบบ่อยมี 4 ชนิด คือ การกรน, โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ, โรคแรงต้านทานในทางเดินหายใจสูงและการหายใจแบบชินสโต๊ก


กล่าวโดยสรุปคือ ในภาวะปกติในขณะที่มีการนอนหลับจะมีการหายใจลดลงและร่างกายก็ไม่ตอบสนองต่อภาวะคาร์บอนไดออกไซด์สูงและออกซิเจนต่ำได้ดีเท่ากับในขณะตื่น

ความผิดปกติของการหายใจที่เกี่ยวกับการนอนหลับที่พบบ่อยมี 4 ชนิด คือ การกรน, โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ, โรคแรงต้านทานในทางเดินหายใจสูงและการหายใจแบบชินสโต๊ก





การกรน

เกิดจากการสั่นของผนังลำคอและเพดานปากรวมทั้งลิ้นไก่ขณะหายใจ อุบัติการของการกรนขึ้นอยู่กับอายุและเพศ โดยรวมแล้ว 25% ของผู้ชาย และ 15% ของผู้หญิง กรนเป็นประจำ ในวัยกลางคน (40 – 65 ปี) อุบัติการจะสูงขึ้นเป็น 60% ในผู้ชายและ 40% ในผู้หญิง การกรนอาจมีผลมากจากความผิดปกติของผนังจมูก,ทอนซิล. รูปร่างของคางและลิ้น,โรคภูมแพ้, ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์ ยาและสุราหรือ พันธุกรรม พบว่าประมาณ 40 – 60 % ของผู้ที่กรนเป็นประจำมีโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea ) การศึกษาทางระบบวิทยาพบว่า การกรนอาจเป็นปัจจัยหนุนต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต ปัญหาการนอนของคนใกล้ชิดและการหย่าร้าง


โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea )

โรคนี้พบว่ามีการอุดกั้นของการเดินหายใจต่อบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลำคอขณะหลับ สาเหตุของโรคนี้ซับซ้อนและมีหลายอย่างรวมกัน เช่น บางคนอาจมีขนาดของทางเดินหายใจที่เล็กกว่าคนทั่วไป บางคนมีความผิดปกติของผนังหรือโครงสร้างอื่น ๆ ในจมูก, ริดสีดวงจมูก, ทอนซิลโต บางคนมีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตอนบน ผลที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับคือ ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองขาดออกซิเจนเป็นระยะ ๆ อาจบ่อยถึง 50 ครั้ง ต่อนาทีในรายที่เป็นมาก ทำให้สมองสวิทช์กลับไปมาจากการหลับลึกเป็นตื้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อพยายามส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ อาการหลักของโรคนี้คือ ง่วงหงาวหาวนอนเวลากลางวัน ผล็อยหลับขณะทำงาน มีปัญหาในการทำงาน ถูกไล่ออกจากงาน หลับขณะขับรถเวลารถติดหรืออุบัติเหตุทางการจราจรจากการหลับใน คู่สมรสมักพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหากรนเสียงดังหยุดหายใจขณะนอนหลับ ผู้ป่วยเองอาจบ่นว่ามีอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะเวลาเช้า ความจำไม่ดี หงุดหงิดง่ายซึมเศร้า สมรรถภาพทางเพศเสื่อม โรคนี้มักมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ และโรคความดันโลหิตในปอดสูง ผู้ที่เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงมีอัตราตายสูงกว่าบุคคลทั่วไป

การวินิจฉัยทำได้โดยการเริ่มจากการซักถามประวัติการนอนอย่างละเอียด การตรวจร่างกาย และการยืนยันโดยการตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ซึ่งแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหลับในห้องปฏิบัติการนอนหลับเป็นเวลา 1 คืน จะมีการวัดคลื่นสมองและตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตา เพื่อดูระดับต่าง ๆ ของการหลับ ตรวจกระแสลมที่ผ่านจมูก ตรวจจับเสียงกรน ตรวจกล้ามเนื้อคาง ตรวจการเคลื่อนไหว ของทรวงอกและหน้าท้อง การเคลื่อนไหวของขา ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และระดับของออกซิเจนในเลือด ทั้งหมดนี้จะตรวจไปพร้อมกันขณะหลับ การตรวจนี้จะให้การวินิจฉัยและบอกความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาต่อไป

การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นกับสภาพความผิดปกติและความรุนแรงการรักษาขั้นพื้นฐานที่ต้องทำ คือ ลดน้ำหนัก งดการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ยาบางอย่างซึ่งมีผลต่อการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อในลำคอ อาจต้องถูกงดไป หากผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้ คัดจมูก ก็ควรได้รับการรักษาด้วย เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับมีอาการรุนแรงขึ้น

การใช้หน้ากากและเครื่องเพิ่มความดันของทางเดินหายใจ (CPAP) ถือว่าเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับโรคนี้ ผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากที่ครอบจมูกหรือจมูกและปากขณะนอนหลับ หน้ากากนี้จะต่อเข้ากับเครื่อง ปัมพ์ลม ที่มีขนาดประมาณเครื่องปิ้งขนมปัง หลักการคร่าว ๆ ของเครื่องนี้ ก็คือ ใช้กระแสลมก่อให้เกิดความดัน ในช่องคอเพื่อจะค้ำผนังลำคอ มิให้หย่อนตัวและปิดขณะหายใจ เครื่องมือนี้สามารถรักษาได้ถึง 95% ของผู้ป่วย ข้อจำกัดคือ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาปรับตัว ให้เกิดความคุ้นเคยกับเครื่อง โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน พบว่าประมาณ 70% ของผู้ป่วยใช้เครื่องมือนี้อย่างสม่ำเสมอ

การใช้อุปกรณ์ดึงคางหรือขากรรไกร (Oral appliance) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีที่ความรุนแรงของโรคไม่มาก วิธีนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์เฉพาะตัวของผู้ป่วย คล้าย ๆ กับการจัดฟัน ผู้ป่วยจะต้องสวมอุปกรณ์นี้ขณะนอนหลับทุกคืน เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างพอที่อากาศจะไหลเข้าออกได้ ข้อเสียคือ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถทนใส่อุปกรณ์นี้ได้ขณะหลับ






โรคนี้พบว่ามีการอุดกั้นของการเดินหายใจต่อบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลำคอขณะหลับ สาเหตุของโรคนี้ซับซ้อนและมีหลายอย่างรวมกัน เช่น บางคนอาจมีขนาดของทางเดินหายใจที่เล็กกว่าคนทั่วไป บางคนมีความผิดปกติของผนังหรือโครงสร้างอื่น ๆ ในจมูก, ริดสีดวงจมูก, ทอนซิลโต บางคนมีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตอนบน ผลที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับคือ ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองขาดออกซิเจนเป็นระยะ ๆ อาจบ่อยถึง 50 ครั้ง ต่อนาทีในรายที่เป็นมาก ทำให้สมองสวิทช์กลับไปมาจากการหลับลึกเป็นตื้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อพยายามส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ อาการหลักของโรคนี้คือ ง่วงหงาวหาวนอนเวลากลางวัน ผล็อยหลับขณะทำงาน มีปัญหาในการทำงาน ถูกไล่ออกจากงาน หลับขณะขับรถเวลารถติดหรืออุบัติเหตุทางการจราจรจากการหลับใน คู่สมรสมักพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหากรนเสียงดังหยุดหายใจขณะนอนหลับ ผู้ป่วยเองอาจบ่นว่ามีอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะเวลาเช้า ความจำไม่ดี หงุดหงิดง่ายซึมเศร้า สมรรถภาพทางเพศเสื่อม โรคนี้มักมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ และโรคความดันโลหิตในปอดสูง ผู้ที่เป็นโรคนี้อย่างรุนแรงมีอัตราตายสูงกว่าบุคคลทั่วไป

การวินิจฉัยทำได้โดยการเริ่มจากการซักถามประวัติการนอนอย่างละเอียด การตรวจร่างกาย และการยืนยันโดยการตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ซึ่งแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหลับในห้องปฏิบัติการนอนหลับเป็นเวลา 1 คืน จะมีการวัดคลื่นสมองและตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตา เพื่อดูระดับต่าง ๆ ของการหลับ ตรวจกระแสลมที่ผ่านจมูก ตรวจจับเสียงกรน ตรวจกล้ามเนื้อคาง ตรวจการเคลื่อนไหว ของทรวงอกและหน้าท้อง การเคลื่อนไหวของขา ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และระดับของออกซิเจนในเลือด ทั้งหมดนี้จะตรวจไปพร้อมกันขณะหลับ การตรวจนี้จะให้การวินิจฉัยและบอกความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาต่อไป

การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นกับสภาพความผิดปกติและความรุนแรงการรักษาขั้นพื้นฐานที่ต้องทำ คือ ลดน้ำหนัก งดการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ยาบางอย่างซึ่งมีผลต่อการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อในลำคอ อาจต้องถูกงดไป หากผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้ คัดจมูก ก็ควรได้รับการรักษาด้วย เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับมีอาการรุนแรงขึ้น

การใช้หน้ากากและเครื่องเพิ่มความดันของทางเดินหายใจ (CPAP) ถือว่าเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับโรคนี้ ผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากที่ครอบจมูกหรือจมูกและปากขณะนอนหลับ หน้ากากนี้จะต่อเข้ากับเครื่อง ปัมพ์ลม ที่มีขนาดประมาณเครื่องปิ้งขนมปัง หลักการคร่าว ๆ ของเครื่องนี้ ก็คือ ใช้กระแสลมก่อให้เกิดความดัน ในช่องคอเพื่อจะค้ำผนังลำคอ มิให้หย่อนตัวและปิดขณะหายใจ เครื่องมือนี้สามารถรักษาได้ถึง 95% ของผู้ป่วย ข้อจำกัดคือ ผู้ป่วยต้องใช้เวลาปรับตัว ให้เกิดความคุ้นเคยกับเครื่อง โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน พบว่าประมาณ 70% ของผู้ป่วยใช้เครื่องมือนี้อย่างสม่ำเสมอ

การใช้อุปกรณ์ดึงคางหรือขากรรไกร (Oral appliance) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีที่ความรุนแรงของโรคไม่มาก วิธีนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์เฉพาะตัวของผู้ป่วย คล้าย ๆ กับการจัดฟัน ผู้ป่วยจะต้องสวมอุปกรณ์นี้ขณะนอนหลับทุกคืน เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างพอที่อากาศจะไหลเข้าออกได้ ข้อเสียคือ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถทนใส่อุปกรณ์นี้ได้ขณะหลับ

การผ่าตัด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ โดยหลักการแล้ว การผ่าตัด จะเข้าไปแก้ไขการอุดกั้นทางเดินหายใจของผู้ป่วย ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น อาการกรน รวมทั้งการหยุดหายใจขณะหลับก็หายไป ดังนั้น ถ้าการผ่าตัดได้ผล ผู้ป่วยก็จะหายขาดจากอาการกรน รวมทั้งอาการหยุดหายใจขณะหลับไปเลย

การจะผ่าตัดส่วนใดนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ว่ามีการอุดกั้นในทางเดินหายใจส่วนใด เช่นการผ่าตัดปรับผนังกั้นกลางจมูกจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีผนังกั้นกลางจมูกคด การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของผนังข้างของจมูกจะทำในกรณีที่เป็นเยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรัง การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือตัดต่อมอดีนอยด์ออกทำในกรณีที่เป็นต่อมทอนซิลหรือต่อมอดีนอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือการผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อนของผู้ป่วยทำในกรณีที่มีเพดานอ่อน หรือลิ้นไก่หนาตัวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้วิธีการผ่าตัดธรรมดา การใช้ลำแสงเลเซอร์ หรือการใช้คลื่นวิทยุในการรักษา





สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดวิธีใหม่ และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันคือ การรักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุ แบบ Somnoplasty จะถูกปล่อยเข้าไปในเนื้อเยื่อของผู้ป่วย และถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ไม่สูงมากนัก เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน เนื้อเยื่อเกิดการหดตัว ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น อาการกรน รวมทั้งอาการหยุดหายใจขณะหลับก็หายไป ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หลังทำการรักษา ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ หรือสังเกตอาการเพียง 1 คืน และไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักต้องรับการรักษาด้วยวิธีนี้ 2 ครั้งห่างกันประมาณ 6-8 อาทิตย์ อาการต่างๆก็จะหายไป การรักษาด้วยคลื่นวิทยุนี้ สามารถทำได้ทั้งที่ช่องจมูก เพดานอ่อน หรือบริเวณโคนลิ้น และให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ

ในกรณีที่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับอยู่ในขั้นรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดที่ทำให้ช่องลำคอกว้างขึ้น ดึงขากรรไกรมาทางด้านหน้า หรืออาจต้องใช้วิธีเจาะคอของผู้ป่วย เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้ ในกรณีที่เป็นมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วเท่านั้น


การผ่าตัด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ โดยหลักการแล้ว การผ่าตัด จะเข้าไปแก้ไขการอุดกั้นทางเดินหายใจของผู้ป่วย ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น อาการกรน รวมทั้งการหยุดหายใจขณะหลับก็หายไป ดังนั้น ถ้าการผ่าตัดได้ผล ผู้ป่วยก็จะหายขาดจากอาการกรน รวมทั้งอาการหยุดหายใจขณะหลับไปเลย

การจะผ่าตัดส่วนใดนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ว่ามีการอุดกั้นในทางเดินหายใจส่วนใด เช่นการผ่าตัดปรับผนังกั้นกลางจมูกจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีผนังกั้นกลางจมูกคด การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของผนังข้างของจมูกจะทำในกรณีที่เป็นเยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรัง การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือตัดต่อมอดีนอยด์ออกทำในกรณีที่เป็นต่อมทอนซิลหรือต่อมอดีนอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือการผ่าตัดบริเวณเพดานอ่อนของผู้ป่วยทำในกรณีที่มีเพดานอ่อน หรือลิ้นไก่หนาตัวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้วิธีการผ่าตัดธรรมดา การใช้ลำแสงเลเซอร์ หรือการใช้คลื่นวิทยุในการรักษา

สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดวิธีใหม่ และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันคือ การรักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุ แบบ Somnoplasty จะถูกปล่อยเข้าไปในเนื้อเยื่อของผู้ป่วย และถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ไม่สูงมากนัก เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน เนื้อเยื่อเกิดการหดตัว ทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น อาการกรน รวมทั้งอาการหยุดหายใจขณะหลับก็หายไป ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ไม่เจ็บ ไม่ต้องดมยาสลบ สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หลังทำการรักษา ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ หรือสังเกตอาการเพียง 1 คืน และไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักต้องรับการรักษาด้วยวิธีนี้ 2 ครั้งห่างกันประมาณ 6-8 อาทิตย์ อาการต่างๆก็จะหายไป การรักษาด้วยคลื่นวิทยุนี้ สามารถทำได้ทั้งที่ช่องจมูก เพดานอ่อน หรือบริเวณโคนลิ้น และให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ

ในกรณีที่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับอยู่ในขั้นรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดที่ทำให้ช่องลำคอกว้างขึ้น ดึงขากรรไกรมาทางด้านหน้า หรืออาจต้องใช้วิธีเจาะคอของผู้ป่วย เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้ ในกรณีที่เป็นมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วเท่านั้น






โรคแรงต้านทานในทางเดินหายใจสูง (Upper Airway Resistance Syndrome)

โรคนี้ก่อให้เกิดการง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน เช่นกัน แต่ไม่มีการขาดออกซิเจน เป็นระยะๆขณะหลับ อย่างที่พบในโรคหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยจะมีการตื่นเป็นระยะ ๆ เนื่องจากมีแรงต้านการหายใจ อันเกิดจากทางเดินหายใจตอนบน การตรวจทางเข้าปฏิบัติการนอน จะพบว่า ผู้ป่วยต้องใช้แรงมากขึ้นในการหายใจ มีการนอนกรนที่ดังขึ้นและตามมาด้วยการตื่นนอน โดยตรวจพบจากคลื่นสมอง ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าการนอนของตนเองถูกขัดจังหวะเลย

โรคนี้ก่อให้เกิดการง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน เช่นกัน แต่ไม่มีการขาดออกซิเจน เป็นระยะๆขณะหลับ อย่างที่พบในโรคหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยจะมีการตื่นเป็นระยะ ๆ เนื่องจากมีแรงต้านการหายใจ อันเกิดจากทางเดินหายใจตอนบน การตรวจทางเข้าปฏิบัติการนอน จะพบว่า ผู้ป่วยต้องใช้แรงมากขึ้นในการหายใจ มีการนอนกรนที่ดังขึ้นและตามมาด้วยการตื่นนอน โดยตรวจพบจากคลื่นสมอง ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าการนอนของตนเองถูกขัดจังหวะเลย


การหายใจแบบ ชีน – สโต๊ก (Cheyne – Stokes Ventiration)

พบในโรคต่าง ๆ หลายโรค เช่น หัวใจล้มเหลว โรคระบบประสาทส่วนกลางและโรคไต นอกจากรักษาที่สาเหตุแล้ว การใช้ออกซิเจนเครื่องช่วยหายใจหรือยาก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้

มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำงานน้อยกว่าปกติขณะหลับ กลุ่มนี้เรียกว่า Central sleep apnea ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการนอนไม่หลับ ตื่นตอนกลางดึก หายใจไม่พอ เมื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการนอนจะพบว่ามีกระแสลมผ่านเข้าออกจากจมูก น้อยกว่าปกติพร้อมกับการที่หน้าอกและท้องหยุดเคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกแรงเพื่อหายใจนั่นเอง การรักษาอาจเป็นยา หรือ การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ


พบในโรคต่าง ๆ หลายโรค เช่น หัวใจล้มเหลว โรคระบบประสาทส่วนกลางและโรคไต นอกจากรักษาที่สาเหตุแล้ว การใช้ออกซิเจนเครื่องช่วยหายใจหรือยาก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้

มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำงานน้อยกว่าปกติขณะหลับ กลุ่มนี้เรียกว่า Central sleep apnea ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการนอนไม่หลับ ตื่นตอนกลางดึก หายใจไม่พอ เมื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการนอนจะพบว่ามีกระแสลมผ่านเข้าออกจากจมูก น้อยกว่าปกติพร้อมกับการที่หน้าอกและท้องหยุดเคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกแรงเพื่อหายใจนั่นเอง การรักษาอาจเป็นยา หรือ การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ก็อาจมีปัญหาการหายใจมากขึ้นขณะนอนหลับได้ บางรายเป็นจากการมีโรคหยุดหายใจขณะหลับร่วมกับโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้โรคแทรกซ้อนต่อหัวใจเกิดขึ้นได้มากกว่าทั่วไป แต่ผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังอย่างเดียว ก็อาจมีความผิดปกติทางการหายใจขณะหลับได้ โดยเป็นผลจากการที่กล้ามเนื้อหายใจ และศูนย์ควบคุมการหายใจที่แย่อยู่แล้วจากโรคขณะตื่น ทำงานมีประสิทธิภาพลดลงขณะหลับ ตามกลไกปกติของร่างกาย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องคำนึงถึงไว้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังขนาดปานกลางหรือรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีอาการมากเกินกว่าคาดหมาย เมื่อตรวจสมรรถภาพทางปอด การตรวจวัดออกซิเจนขณะหลับ หรือตรวจทางห้องปฏิบัติการนอน สามารถช่วยวินิจฉัยและกำหนดการรักษาผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้





ในช่วงที่คนเรานอนหลับรวดไปทั้งคืนนั้นจะมีรูปแบบของการนอนหลับใหญ่ๆ 2 แบบ โดยจะมีความแตกต่างกันตรงความลึก หรือการสนิทของการนอนหลับ รวมทั้งการเคลื่อนไหวของตา แต่ละแบบจะมีคลื่นสมองที่ไม่เหมือนกัน

1. ร้อยละ 78-80 ของช่วงการนอนหลับจะเป็นแบบที่เรียกว่า NREM (non-rapid-eye-movement) ซึ่งรวมถึงการเริ่มการนอนหลับ ลักษณะของคลื่นสมองจะเป็นแบบ slowwave การนอนหลับจะมีความลึกตั้งแต่ 1-4 (4 คือหลับสนิทจริงๆ) กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย การเต้นของหัวใจและการหายใจจะช้า แรงดันโลหิตจะลดลง

2. แบบนี้เรียกว่า REM (rapid-eye-movement) คือช่วงเวลาที่เหลือของการนอนหลับนี้ ซึ่งถ้าดูคลื่นสมอง (EEG) จะเป็นคลื่นชนิด low-voltage fast activity เกิดขึ้น 5-6 ครั้งระหว่างการนอนหลับตลอดคืน การหายใจจะเร็วขึ้นและลึกแต่กล้ามเนื้อทั่วไปจะยังผ่อนคลายยิ่งกว่าช่วงการนอนหลับแบบ NREM


ความผิดปกติของการนอนหลับ (sleep disorders) อื่นๆ

การฝันร้าย (night terros และ nightmares) แบบแรกเกิดในเด็กในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยบ่อยครั้งจะมีการลุกขึ้นมาเดินโดยไม่รู้ตัว (sleep walk) ส่วนแบบหลังเกิดในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

นอนไม่หลับ (isomnia) เป็นอาการที่เกิดบ่อยๆ สืบเนื่องจาการผิดปกติทางอารมณ์หรือโรคของกายบางอย่าง


Sleep Apnea ( สลีบ-แอ๊บ-เหนี่ย) คืออะไร ?

Sleep Apnea หรือภาวะการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต เนื่องจากคนที่เป็นภาวะนี้อาจจะหยุดหายใจเป็นเวลา 10 วินาที โดยบางรายอาจมีอาการอย่างนี้คืนละกว่า 300 ครั้ง ภาวะนี้มีบ่อยกว่าที่คนจะเข้าใจและที่จริงวงการแพทย์ก็มารู้จักภาวะนี้เมื่อปี พ.ศ. 2508 แล้วตั้งชื่อว่า Sleep Apnea โดยคำว่าApnea มีรากศัพท์จากภาษากรีก แปลว่า "ต้องการที่จะหายใจ" แบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ

1. Central sleep Apnea ซึ่งพบน้อยกว่าแบบที่ 2 โดยมีสาเหตุจากการที่สมองไม่ส่งสัญญาณ มาสั่งการให้กล้ามเนื้อสำหรับการหายใจทำงานโดยปกติ
2. Obstructive sleep apnea คือการหยุดหายใจ เนื่องจากอากาศไม่สามารถไหลผ่านจมูก และปากได้แม้ว่าระบบการหายใจยังดำเนินอยู่
การหยุดหายใจในบางคนอาจจะบ่อยถึง 20 ครั้งต่อชั่วโมง และมักจะมีเสียงกรนผสมโรง อยู่ในช่วงของการหยุดหายใจ

อาการที่บ่งบอกภาวะนี้คือ การหยุดหายใจบ่อยๆ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนการตื่นนอนบ่อยๆ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะตอนเช้า และง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน


ใครบ้างที่เป็น Sleep Apnea ?

ภาวะนี้เป็นได้กับคนทั้งสองเพศและในทุกอายุ แต่ผู้ชายจะเป็นมากกว่าผู้หญิง อย่างที่สหรัฐอเมริกานั้น ประมาณการณ์ว่าจะมีประชาชนถึง 18 ล้านคน ที่หยุดหายใจตอนหลับหรือราว 4% ของชายวัยกลางคนและ 2% ในหญิงวัยกลางคนเป็นแล้วง่วงเหงาหาวนอนตอนกลางวัน





คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ

อ้วน
กรนดัง
ความดันโลหิตสูง
มีความผิดปกติทางร่างกายวิภาคของจมูก ลำคอหรือส่วนอื่นๆ ของทางเดินหายใจ
มักเป็นกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน จึงเข้าใจว่าอาจจะมีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง


สาเหตุของ Sleep apnea

เกิดจากปัญหาทางโครงสร้างและจักรกลของการทำงานของทางเดินหายใจจนมีผลทำให้การหายใจหยุดชงัก ระหว่างที่เจ้าตัวหลับอยู่ อย่างในบางคน พอหลับแล้วกล้ามเนื้อตรงบริเวณลำคอและลิ้นจะผ่อยคลาย จนห้อยไปจุกช่องทางเดินหายใจ เมื่อกล้ามเนื้อเพดานอ่อนบริเวณฐานลิ้นและลิ้นไก่ (uvula) (ที่เห็นเป็นติ่งห้อยจากเพดานปากตรงกลางเวลาที่อ้าปากส่องดูลำคอตัวเองในกระจก) ผ่อนคลาย และห้อยไปจุกทางเดินหายใจทำให้อากาศไหลเวียนไม่ได้ เสียงหายใจก็จะดังขึ้นหรือบางกรณีหยุดหายใจไปเลย

นอกจากนั้นภาวะนี้จะเกิดได้ในคนอ้วนที่มีกล้ามเนื้อเยื่อรอบทางเดินหายใจมากจนทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ต้องออกแรงหายใจมากขึ้น

ภาวะเหล่านี้ทำให้คนนอนกรนโดยที่ไม่รู้ตัว ยิ่งถ้ามีการดื่มสุราหรือมีการกินยานอนหลับมากก่อนเข้านอน ก็จะยิ่งทำให้กรนถี่อละกรนนาน


ขั้นตอนการหยุดหายใจสลับการหายใจ

ระหว่างที่หยุดหายใจไปนั้น คนนอนหลับจะไม่สามารถหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอด และปล่อยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากับลมหายใจออก ร่างกายจะมีระดับออกซิเจนต่ำ และมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลในการส่งสัญญาณเตือนสมองให้ส่งสัญญาณ ไปบังคับให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง จะได้หายใจใหม่โดยมักจะมีเสียงกรนดังและแต่ละช่องดังกล่าว อาจหมายถึงการตื่นนอนบ่อยครั้ง ทำให้ร่างกายไม่ได้รับประโยชน์ที่ควรจากการนอนหลับดีๆ สักช่วงหนึ่งในแต่ละคืน


ผลกระทบของ Sleep apnea

เนื่องจากอดหลับอดนอนในตอนกลางคืน พอตกกลางวันก็จะรู้สึกง่วงนอน ประสิทธิภาพในการทำงานและสมาธิจะเสียไป เกิดอาการเกร็ง เศร้าซึม สมรรถภาพทางเพศเสียหาย การเรียนรู้และความจำมีปัญหา บางคนหลับนก หรือหลับในขณะที่ทำงาน ขับรถยนต์ หรือพูดโทรศัพท์อยู่

ข้อสำคัญคือประมาณร้อยละ 50 ของคนไข้กลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูง และเพิ่มการเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

เด็กทารกที่เสียชีวิตในเปล หรือเตียงนอนนั้นสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเกิดภาวะ Sleep apnea นี่เอง เขาจึงเรียกโรคไหลตายในเด็ก (sudden infant death syndrome)


เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็น Sleep apnea ?

คู่สามีภรรยาคือผู้ที่น่าจะเป็นคนแรกที่ส่งสัยว่าคู่นอนของเรามีความผิดปกติทางการกรนดัง หรือหายใจลำบากขณะหลับ ส่วนในคนโสดก็มักจะอาศัยเพื่อนร่วมงานที่พักอยู่ด้วยกันเป็นคนสังเกตเห็น เช่น สังเกตว่าเพื่อนนอนหลับในเวลาที่ดูไม่เหมาะสม เช่น ขณะทำงาน ขับรถ หรือ กำลังพูดกันอยู่


หมอวินิจฉัย Sleep apnea กันอย่างไร ?

แพทย์ที่สามารถให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ประกอบด้วย แพทย์ประจำตัวหรือประจำครอบครัว แพทย์สาขาประสาทวิทยาที่ฝึกอบรมด้านความผิดปกติของการนอนหลับมาเป็นพิเศษ แพทย์โรคทรวงอก

การวินิจฉัย Sleep apnea ไม่ใช้ของง่ายๆ เพราะอาจมีเหตุผลหลาย 10 ประการที่ขัดขวางการนอนหลับ จึงอาจต้องอาศัยวิธีการตรวจหลายอย่าง เช่น Polysomnography (โป-ลี่-ซอม-โน-กร๊าฟ-ฟี่) เป็นการตรวจที่บันทึกการทำงานของร่างกายหลายอย่างที่หลับอยู่ เช่น กระแสไฟฟ้าในสมอง การเคลื่อนไหวของตา กิจกรรมของกล้ามเนื้อต่างๆ อัตราการเต้นของหัวใจการหายใจ การไหลเวียนของอากาศ และระดับออกซิเจนในเลือด แล้วประมวนการวินิจฉัยตลอดจนการบ่งชี้ความรุนแรง

Multiple Sleep Latency test (MSLT) (มัล-ติ-เปิ้ล-สะ-ลี้ป-เล-เท้น-ซี่-เท้สท์) ซึ่งเป็นวิธีการวัดอัตราความเร็วของการนอนหลับ โดยจะให้โอกาสคนไข้หลายๆ สถานการณ์ในการล้มตัวลงนอนให้หลับในแต่ละช่วงของวัน ทั้งๆ ที่ควรเป็นช่วงเวลาที่จะตื่น แต่ละโอกาสดังกล่าวก็จะมีการวัดจำนวนการหลับจริงนานเท่าไร คนที่มีปัญหาการนอนไม่หลับเลยนั้น มักจะนอนหลับภายใน 10-20 นาที

ในคนทีสามารถนอนหลับได้ภายใน 5 นาที มักจะต้องเข้าทำการรักษาความผิดปกติของการนอนหลับ ดังนั้นการตรวจ MSLT จึงมีประโยชน์ในการวัดความรุนแรงของอาการง่วงนอนตอนกลางวัน และช่วยตัดประเด็นสาเหตุอื่นๆ ออก

การตรวจเหล่านี้มักต้องทำในศูนย์รักษาการนอนหลับ (Sleep center) ที่มีอุปกรณ์พร้อม แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เอื้ออำนวยให้เอาไปบันทึกที่บ้านได้






การรักษา Sleep apnea ทำอย่างไร ?

การรักษาจำเพาะเจาะจงจะต้องพิจารณาปรับความเหมาะสมไปในคนไข้แต่ละคน โดยอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และผลการตรวจ Polysomnography


การรักษาด้วยยามักจะไม่ได้ผล

การได้รับออกซิเจนขณะหลับในบางรายอาจได้ประโยชน์แต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา Sleep Apnea หรืออาการง่วงนอนตอนกลางวัน การรักษาวิธีนี้จึงมีข้อถกเถียงกันอยู่โดยไม่อาจพยากรณ์ได้ว่ารายไหนจะได้ผล รายไหนจะไม่ได้ผลจะรักษาวิธีใดก็ตามสามารถตรวจประเมินผลได้ด้วย Polysomnography


พฤติกรรมบำบัด

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนับเป็นส่วนสำคัญของการรักษา อย่างในคนที่เป็นไม่มาก อาจหายได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น ได้แก่ การงดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา งดกินยานอนหลับ เพราะจะทำให้ทางเดินหายใจแคบลงขณะหลับ

คนที่อ้วนไปก็จะได้ประโยชน์จากการลดน้ำหนัก แม้ลดได้เพียง 10% ของน้ำหนักตัว ก็จะลดจำนวนครั้งของการหยุดหายใจขณะหลับได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ในคนที่เป็นไม่มาก การใช้หมอนหนุน หรืออุปกรณ์อื่นช่วยให้นอนอยู่ได้ในท่าตะแคงก็แก้ปัญหาได้แล้ว


กายภาพหรืออุปกรณ์บำบัด

อุปกรณ์ที่คงสภาพให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งอยู่เสมอ โดยการสร้างแรงดันอากาศไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา เรียกย่อๆ ว่า "CPAP" (อ่านว่า ซี-แพ็บ ซึ่งย่อจากคำเต็มว่า Centinuous Positive Airway Pressure) เป็นวิธีการรักษา Sleep apnea ที่มีประสิทธิภาพที่สุด

อุปกรณ์หน้ากากนี้เอาไว้ให้คนไข้ครอบจมูก แล้วเครื่องจะปรับแรงดันให้สูงพอ ที่จะเป่าอากาศให้ไหลผ่านรูจมูก โดยที่ทางเดินหายใจไม่ตีบแคบลงขณะหลับ แรงดันดังกล่าวจะคงที่ต่อเนื่อง

อุปกรณ์ CPAP นี้มีหลายยี่ห้อ โดยที่จะมีการปรับปรุงให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ป้องกันการระคายเคืองต่อจมูก หรือใบหน้า หรือทำให้ท้องอืด แสบตาหรือปวดศีรษะ บางยี่ห้อปรับเปลี่ยนแรงดันให้เป็นไปตามรูปแบบของการหายใจของคนไข้ได้

อุปกรณ์ทางทันตกรรม ที่จะจัดทำขึ้นเพื่อปรับตำแหน่งของกรามล่างและลิ้น ช่วยผู้ป่วย Sleep Apnea ขนาดเบาหรือแม้คนที่กรนเฉยๆ ได้


การผ่าตัด

ผู้ป่วยที่นอนกรนหรือ Sleep Apnea บางรายต้องรักษาด้วยการผ่าตัดจึงจะหาย โดยมีวิธีการผ่าตัดให้เลือกได้หลายวิธี

ที่สหรัฐอเมริกา มีองค์กรพิเศษที่ช่วยวิจัย ฝึกอบรมและให้ความรู้ในการผิดปกติของการนอนหลับ มีชื่อย่อว่า NCSDR (National Center on Sleep Disorders Research) ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรสาร (301)408-3451






ขอบคุณข้อมูลจาก น.พ. สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ, น.พ. ศรชัย หิรัญนิรมล
//www.dek-d.com
//www.elib-online.com
นิตยสารใกล้หมอ













Create Date : 23 พฤษภาคม 2552
Last Update : 23 พฤษภาคม 2552 15:33:49 น. 10 comments
Counter : 6815 Pageviews.

 
สวัสดียามดึกจ้า บล็อกนี้กำลังเข้ากระแสเลย อิอิ
สบายดีนะครับ


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 23 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:20:38 น.  

 
ติดตามอ่านเหมือนกันค่ะ

เห็นแล้วสงสารเด็กำลังน่ารักตาแป๋ว


โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 24 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:44:36 น.  

 
หูย! ยาวเลยค่ะ

สรุปเกิดจาก
1.สมองสั่งให้หายใจ...ผิดปกติ ก็ดูว่าเกิดจากมีโรคอะไรแฝงอยู่หรือเปล่าทำให้การสั่งการผิดปกติ ก็ไปแก้ที่โรค

2.เกิดจากทางเดินอากาศอุดตันก็ไปแก้การอุดตัน

เนาะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:50:31 น.  

 
สวัสดดีค่ะ แวะมาอ่าน น้องขวัญนอนกรนด้วยค่ะ คริคริ ได้มาจากแดดดี้


โดย: แม่น้องขวัญ_ซาแมนต้า วันที่: 24 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:57:44 น.  

 
สงสารน้องเค้าจังเลยครับ

เป็นโรคที่รักษาไม่หายสุดแทนจะทรมาน


โดย: อนันต์ครับ วันที่: 24 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:50:24 น.  

 
หวัดดีค่ะ...
ขอบคุณจ้า สำหรับกำลังใจที่มีให้เสมอ...ค้าาาาาาาา
ปล. แฟนจิ๊บก้อนอนกรนเหมือนกัน.บางครั้งกลัวจัง..กลัวเขาหายใจไม่ทันนะ...


โดย: จิ๊บ (คุณนายเยอรมัน ) วันที่: 25 พฤษภาคม 2552 เวลา:2:07:08 น.  

 
have a good week 11 Pictures, Images and Photos

อย่างนี้หรือเปล่า เขาเรียกโรคไหลตาย


โดย: fleuri วันที่: 25 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:03:09 น.  

 
สวัสดียามสายครับคุณกบ

สบายดีนะครับ
ผมไปเที่ยวมาตั้ง 4 วันแน่ะครับ อิอิอิ














โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 พฤษภาคม 2552 เวลา:10:11:26 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ดี ๆ ค่ะ โรคนี้เห็นข่าวแล้วน่าสงสารเด็กจังเลยนะคะ

แวะมาทักทายกันเหมือนเดิมค่ะ ^_^


โดย: นู๋ Beee เองค่ะ (Beee_bu ) วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:17:03:21 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับคุณกบ










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:05:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
23 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.