สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ชีอปปิ้งมากเกินไประวังจะเป็นโรคนิ้วล๊อค


สำหรับคนที่ไม่เคยเป็น ฟังดูอาจจะงง ๆ สักหน่อยกับคำว่า นิ้วล๊อค แต่ถ้าคุณเคยเป็นมาแล้วล่ะก็ จะรู้ซึ้งทีเดียวว่า มันทรมาณแค่ไหน

มีคำเตือนมาจากผู้เชี่ยวชาญว่า สาว ๆ วัยกลางคน อย่าหิ้วของหนัก อย่าหักโหมทำงานบ้าน รวมทั้งกระหน่ำตีกลอ์ฟ เพราะมันอาจจะทำให้คุณเป็นโรคเกี่ยวกับมือชาและนิ้วล็อคได้ ซึ่งโรคมือชานั้น เกิดจากเส้นประสาท มีเดียน บริเวณอุโมงค์มือหรือที่หมอดูเรียกว่า บริเวณเส้นชีวิต ถูกปลอกเส้นประสาทรัด หรือเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับทำให้มือชา นิ้วมือเหยียดงอไม่ได้ ส่วนการรักษาทำได้ตั้งแต่การเฝ้าดู รับประทานยา ทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงผ่าตัด แล้วแต่ความรุนแรงของโรค

ส่วนโรคนิ้วล็อค เป็นความผิดปกติของนิ้วที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด กลุ่มอายุ 50-60 ปี ส่วนผู้ชายพบร้อยละ 20 ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี สาเหตุที่โรคนี้เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่ามาจากการที่ผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำ ๆ มากกว่าผู้ชาย ขณะที่ผู้ชายใช้มือทำงานออกแรง แต่ไม่ซ้ำซาก เกิดจากการที่เอ็นนิ้วมือ เสียดสีกับปลอกรัดเอ็น ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของปลอกรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์เส้นประสาท ทำให้เอ็นไม่สามารถรอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิดการฝืด การตึง สะดุด จนถึงนิ้วล็อคในที่สุด

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น เรียกได้ว่า ถ้าต้องหิ้วถุงหนัก ๆ ผิดผ้า ซักผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมูสับไก่ ใช้กรรไกรตัดผ้า หากพบอาการสะดุด นิ้วงอไม่ได้ เหยียดออกไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะปัจจุบัน มีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัด รวมทั้งการผ่าตัดสำหรับคนที่ไม่เคยเป็น ฟังดูอาจจะงง ๆ สักหน่อยกับคำว่า นิ้วล๊อค แต่ถ้าคุณเคยเป็นมาแล้วล่ะก็ จะรู้ซึ้งทีเดียวว่า มันทรมาณแค่ไหน

มีคำเตือนมาจากผู้เชี่ยวชาญว่า สาว ๆ วัยกลางคน อย่าหิ้วของหนัก อย่าหักโหมทำงานบ้าน รวมทั้งกระหน่ำตีกลอ์ฟ เพราะมันอาจจะทำให้คุณเป็นโรคเกี่ยวกับมือชาและนิ้วล็อคได้ ซึ่งโรคมือชานั้น เกิดจากเส้นประสาท มีเดียน บริเวณอุโมงค์มือหรือที่หมอดูเรียกว่า บริเวณเส้นชีวิต ถูกปลอกเส้นประสาทรัด หรือเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับทำให้มือชา นิ้วมือเหยียดงอไม่ได้ ส่วนการรักษาทำได้ตั้งแต่การเฝ้าดู รับประทานยา ทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงผ่าตัด แล้วแต่ความรุนแรงของโรค

ส่วนโรคนิ้วล็อค เป็นความผิดปกติของนิ้วที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด กลุ่มอายุ 50-60 ปี ส่วนผู้ชายพบร้อยละ 20 ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี สาเหตุที่โรคนี้เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่ามาจากการที่ผู้หญิงใช้มือทำงานซ้ำ ๆ มากกว่าผู้ชาย ขณะที่ผู้ชายใช้มือทำงานออกแรง แต่ไม่ซ้ำซาก เกิดจากการที่เอ็นนิ้วมือ เสียดสีกับปลอกรัดเอ็น ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของปลอกรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์เส้นประสาท ทำให้เอ็นไม่สามารถรอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิดการฝืด การตึง สะดุด จนถึงนิ้วล็อคในที่สุด

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น เรียกได้ว่า ถ้าต้องหิ้วถุงหนัก ๆ ผิดผ้า ซักผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมูสับไก่ ใช้กรรไกรตัดผ้า หากพบอาการสะดุด นิ้วงอไม่ได้ เหยียดออกไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพราะปัจจุบัน มีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัด รวมทั้งการผ่าตัด






Create Date : 21 สิงหาคม 2551
Last Update : 21 สิงหาคม 2551 11:14:10 น. 0 comments
Counter : 1032 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.