สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
บรูเซลโลซิส : โรคติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง

ในระยะ ๓-๔ ปีมานี้ มีรายงานผู้ที่ป่วยเป็นโรคบรูเซลโลซิสจากการดื่มนมแพะ และการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงแพะในจังหวัดราชบุรี (พ.ศ. ๒๕๔๖) สตูล (พ.ศ. ๒๕๔๖-๗) และกาญจนบุรี
(พ.ศ. ๒๕๔๘-๙) โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่งที่มีมาแต่นานนม เกิดในฝูงสัตว์เลี้ยง (เช่น โค กระบือ แพะ แกะ หมู อูฐ) สุนัข สัตว์เกาะ สัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม (ปลาวาฬ โลมา) สัตว์ป่า (กระบือป่า กระต่ายป่า สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า) โรคนี้สามารถติดต่อมาสู่คนได้ แต่จะไม่ติดจากคนสู่คนด้วยกัน เนื่องจากความร้ายแรงของโรคนี้ จึงมีการนำเชื้อโรคชนิดนี้ไปผลิตเป็นอาวุธชีวภาพเช่นเดียวกับเชื้อแอนแทรกซ์ (โรคที่พบในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง) และพิษโบทูลิน (พิษหน่อไม้ปี๊บ)

ชื่อภาษาไทย บรูเซลโลซิส (โรคที่เกิดกับสัตว์มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โรคแท้งติดต่อในสัตว์")

ชื่อภาษาอังกฤษ Brucellosis, Undulent fever, Mediterranean fever)





สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บรูเซลลา (brucella) ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย คนเราสามารถติดโรคจากสัตว์ได้หลายทาง ได้แก่

สัมผัสสิ่งปนเปื้อน น้ำนม เลือด รก น้ำเมือก ในอวัยวะเพศของสัตว์เพศเมีย น้ำเมือกตามตัวลูกสัตว์ที่ตกลูกออกมาใหม่ๆ มูลหรือปัสสาวะสัตว์ เชื้อโรคจะเข้าทางบาดแผลหรือรอยถลอก

กินเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ หรือนมสัตว์ (รวมทั้งผลิตภัณฑ์นม เช่น ไอศกรีม เนยแข็ง) ที่ติดเชื้อโดยไม่ได้ปรุงให้สุกหรือผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ
หายใจสูดเอาฝุ่นหรือละอองของสิ่งคัดหลั่ง น้ำนมที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ขณะรีดนมในคอกสัตว์

ถูกเข็มฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์ทิ่มแทง เชื้อบรูเซลลาสามารถเข้ากระแสเลือด แพร่กระจายไปยังอวัยวะแทบทุกส่วน ก่อให้เกิดอาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ


ระยะฟักตัว

ระบุได้ไม่ค่อยแน่นอน อาจเป็นตั้งแต่ ๑ สัปดาห์ จนถึงนานกว่า ๒ เดือน
(ทั่วไปประมาณ ๑-๒ เดือน)





อาการ

มักมีอาการค่อยเป็นค่อยไปแบบเรื้อรังมากกว่าเฉียบพลัน อาการที่พบบ่อย คือ มีไข้สูงๆ ต่ำๆ แบบเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ ไม่แน่นอน (อาจมีไข้ ๑-๓ สัปดาห์ สลับกับไม่มีไข้ ๑-๓ วัน) ร่วมกับอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกายทั่วไป มึน ซึม หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ไอ เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด ตับโต ม้ามโต อัณฑะอักเสบ ระยะการเจ็บป่วยอาจนานหลายวัน หลายเดือน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนานเป็นปีหรือนานกว่า และมักมีอาการซูบผอมจากการขาดอาหาร ในรายที่ติดเชื้อทางอาหารการกิน อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเดิน หรือท้องผูก ปวดหลัง ปวดข้อ ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจมีเพียงอาการไข้ต่ำๆ หรือมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคทางจิตประสาทได้ บางรายอาจติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการชัดเจนก็ได้


การแยกโรค

อาการไข้ในช่วงแรกๆ (ภายในสัปดาห์แรก) อาจดูคล้ายโรคติดเชื้อเฉียบพลัน เช่น ไข้หวัดใหญ่ (ไข้ปวดเมื่อย เจ็บคอ เบื่ออาหาร) มาลาเรีย (ไข้สูง หนาวสั่นมาก มีประวัติอยู่หรือเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา) เล็บโตสไปโรซิสหรือไข้ฉี่หนู (ไข้สูง หนาวสั่น ปวดเจ็บน่อง ตาแดง ตาเหลือง มีประวัติสัมผัสน้ำ) ปอดอักเสบ (ไข้สูง ไอ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ) เป็นต้น เมื่อเป็นไข้เรื้อรัง (เป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือน) อาจต้องแยกออกจากโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มาลาเรียชนิดเรื้อรัง (ไข้เรื้อรัง และมีประวัติอยู่หรือเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา) ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย (มีไข้สูงตลอดเวลา ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเดิน) ไทฟัสหรือไข้รากสาดใหญ่ (มีไข้สูง หนาวสั่น อาจพบรอยแผลคล้ายรอยบุหรี่จี้ ตามผิวหนังในบริเวณร่มผ้า มีประวัติอยู่หรือเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา หรือมีอาชีพ ทำไร่ ทำสวน) วัณโรคปอด (ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง หรือไอเป็นเลือด) มะเร็ง (ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด) เป็นต้น


การวินิจฉัย

หากสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีไข้เรื้อรัง (เป็นสัปดาห์ถึงเป็นแรมปี) น้ำหนักลด ข้ออักเสบ อัณฑะอักเสบ หรือมีอาการติดเชื้อของอวัยวะหลายแห่ง และมีประวัติทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง หรือกินเนื้อสัตว์ หรือดื่มนมที่ติดเชื้อ (เช่น นมแพะ) ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการทดสอบทางน้ำเหลือง (agglutination test, enzyme linked immunoassay) การตรวจด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR) การเพาะเชื้อจากเลือด ไขกระดูก น้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid) น้ำในข้อ (synovial fluid) การตรวจเลือดมักพบเม็ดเลือดขาวต่ำ (โดยมีสัดส่วนของลิมโฟไซต์สูง) เกล็ดเลือดต่ำ เอนไซม์ตับ (AST, ALT) สูงเล็กน้อย บางรายอาจต้องตรวจชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) เอกซเรย์ปอด และกระดูกสันหลัง


การดูแลตนเอง

หากมีไข้และดูแลตนเอง (เช่น กินยาลดไข้ นอนพักผ่อน) ประมาณ ๓-๔ วันแล้วไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประวัติทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือกินเนื้อสัตว์ดิบหรือดื่มนม (เช่น นมแพะ) ที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์ เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคบรูเซลโลซิส ก็ควรกินยารักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างจริงจัง





การรักษา

ที่สำคัญ คือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อบรูเซลลา แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย ๒ ชนิดร่วมกัน เช่น ดอกซีไซคลีน (doxycycline) วันละ ๒๐๐ มก. ร่วมกับไรแฟมพิซิน (rifampicin) วันละ ๖๐๐-๙๐๐ มก. นาน ๖ สัปดาห์ (สำหรับเด็ก แพทย์จะให้โคไตรม็อกซาโซลร่วมกับไรแฟมพิซิน หรืออะมิโนไกลโคไซด์) ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกัน ๓-๔ ชนิด และให้นานกว่า ๖ สัปดาห์ ในรายที่เป็นฝีตับ อาจต้องทำการระบายเอาหนองออก ในรายที่มีภาวะผิดปกติของลิ้นหัวใจอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ผลการรักษานับว่าได้ผลดี แต่ถ้ากินยาไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดยาก่อนกำหนดเวลา ก็อาจมีอาการ กำเริบซ้ำได้อีก ในรายที่มีเยื่อบุหัวใจอักเสบร่วมด้วย มักมีอัตราตายค่อนข้างสูง ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา มีอัตราตายโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒


ภาวะแทรกซ้อน

เชื้อบรูเซลลาสามารถเข้ากระแสเลือด แพร่กระจาย ไปยังอวัยวะแทบทุกส่วน ก่อให้เกิดการอักเสบต่างๆ ขึ้น ที่พบบ่อยคือ การอักเสบของกระดูกและข้อ อาการที่ข้อพบบ่อยที่สุด ได้แก่ ข้ออักเสบ (ซึ่งมีลักษณะปวดและบวม ที่บริเวณข้อเข่า สะโพก ข้อเท้า ข้อมือ เพียง ๑ ข้อหรือพร้อมกันหลายข้อ) การอักเสบที่กระดูกบริเวณเชิงกราน (sacroileitis) ข้อสันหลังอักเสบ (spondylitis) ภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น อัณฑะและท่อนำเชื้ออักเสบ (epidymo-orchitis) สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปลายประสาทเสื่อม (peripheral neuropathy) ตับอักเสบ ฝีตับ ถุงน้ำดีอักเสบ ปอดอักเสบ ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) เยื่อตาอักเสบ ม่านตาอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) ผื่นที่ผิวหนัง (erythema nodosum) เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ ได้แก่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และมักทำให้ลิ้นหัวใจพิการซึ่งต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างเร่งด่วน


การดำเนินโรค

ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มักจะหายได้ภาย ในเวลาไม่นาน แต่ถ้ากินยาไม่ครบ ก็อาจกำเริบซ้ำได้อีก ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มักจะมีอาการเรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จนถึงเสียชีวิตได้





การป้องกัน

๑. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบรูเซลโลซิสในสัตว์เลี้ยง (โค กระบือ แพะ แกะ หมู)

๒. ถ้าสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงเป็นโรคนี้ เช่น สัตว์ในคอก มีไข้ ซึม เต้านมอักเสบ ข้อขาอักเสบ เยื่อหุ้มข้ออักเสบ อัณฑะอักเสบ ขาหลังเป็นอัมพาต สัตว์แท้งลูกบ่อยๆ (โรคนี้มีชื่อเรียกว่า "โรคแท้งติดต่อในสัตว์") เป็นหมัน ให้น้ำนมน้อยลง เป็นฝีตามที่ต่างๆ ลูกที่ตกออกมาไม่แข็งแรง เป็นต้น ก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์ ถ้าเป็นโรคนี้ก็ควรกำจัดทิ้ง กรณีที่สัตว์แท้งลูก ควรเก็บลูกสัตว์ที่แท้งและรกส่งตรวจหาสาเหตุของโรค

๓. หมั่นตรวจสอบการติดเชื้อในฝูงสัตว์เลี้ยงด้วยการตรวจเลือด และน้ำนม ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อควรทำการคัดแยกและทำลาย

๔. คนที่ทำงานในฟาร์ม (โดยเฉพาะฟาร์มแพะ) ควรป้องกันไม่ให้สัมผัสถูกเชื้อโดยตรง เช่น ขณะทำงาน ควรสวมถุงมือยางชนิดหนาและทนทาน สวมหน้ากากปิดปากและจมูก ใส่ชุดกันเปื้อน ระวังอย่าให้เข็มฉีดยาหรือเจาะเลือดทิ่มตำ ล้างมือด้วยสบู่ภายหลังการสัมผัสถูกน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ สารคัดหลั่งจากอวัยวะสืบพันธุ์ เลือด น้ำเหลือง มูลสัตว์ รกและลูกสัตว์ที่แท้ง

๕. ถ้าถูกเข็มฉีดวัคซีนโรคนี้ทิ่มตำเข้าโดยบังเอิญ ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำกับสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อทันที และควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ยาป้องกัน (แพทย์จะให้กินดอกซีไซคลีน ๑๐๐ มก. วันละ ๒ ครั้ง ร่วมกับไรแฟมพิซิน ๖๐๐-๙๐๐ มก. วันละครั้ง นาน ๒๑ วัน ถ้าวัคซีนบังเอิญเข้าตาควรรีบล้างออกและควรกินยาป้องกันนาน ๔-๖ สัปดาห์

๖. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ปรุงให้สุก และนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อ (พาสเจอร์ไรซ์) การต้ม หรือการทำให้สุกด้วยความร้อนวิธีอื่นๆ

๗. เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย แต่ต้องระวังอย่าสัมผัสถูกหนอง และน้ำเหลืองของผู้ป่วย หนองและเลือดที่ติดตามเสื้อผ้าหรือบริเวณต่างๆ ต้องผ่านการทำลายเชื้อ


ความชุก

โรคนี้พบได้ประปรายเป็นครั้งคราวในกลุ่มคนที่เสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ หรือดื่มนมที่ปนเปื้อนเชื้อ







ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
เว็บไซด์หมอชาวบ้าน


Create Date : 15 มิถุนายน 2552
Last Update : 15 มิถุนายน 2552 8:46:37 น. 15 comments
Counter : 2002 Pageviews.

 

เย้..ได้แวะมาเจิม..อิอิ
หวัดดีเช้าวันจันทร์ค่ะ มีความสุขกับการทำงานวันแรกของสัปดาห์นะค่ะ


โดย: maew_kk วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:8:51:41 น.  

 
ตอนนี้หมูมาแรงแซงโค้งสัตว์อื่นๆนะคะคุณกบ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]


โดย: pinkyrose วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:13:01:04 น.  

 
น่ากลัวเนาะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:13:46:13 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีวันจันทร์วันทำงานแรกของสัปดาห์จ้า คุณกบ
วันที่คนเมืองกำลังหวาดวิตกไปกับไข้หวัด 2009 ที่กำลังแพร่กระจายไปทั่ว



โดย: หอมกร วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:15:23:35 น.  

 
มาส่งความสุข

อบรมอยู่ตะกะยังแอบมา เน้

(เพราะตามมะทัน คิกๆๆ)


โดย: ถุงก๊อปแก๊ป วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:15:33:28 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเที่ยวด้วยกันนะคะ
your home is so sweet


โดย: praewa cute วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:20:15:44 น.  

 
กลับมาแย้ว
คิดฮอดหลาย อิๆๆๆๆๆ



โจจังก้าบ


โดย: พลังชีวิต วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:20:35:54 น.  

 
น่ากลัวจัง มันจะมาพร้อมกับพี่ชินหรือเปล่าเนี่ย


โดย: peeshin วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:21:00:42 น.  

 
เยี่ยมเลยครับ

แวะมาทีไรได้ความรู้กลับออกไปทุกที


โดย: อนันต์ครับ วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:23:05:03 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์นะคะ เดี๋ยวนี้ต้องระวังตัวมากๆ เลยนะคะ


โดย: วิสกี้โซดา วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:0:39:50 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับคุณกบ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:7:34:14 น.  

 

Comment Hi5 Glitter


แวะมาทักทายกันวันอังคารด้วยความเบิกบานใจจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:8:40:06 น.  

 
ง่า ถุงนอนห้องเดียวกะหะมานิ กะข้าวปุ้นดิ แต่น้องหมานอนหน้าเตียงค่ะ คงมะเป็นไรมั้ง เพราะน้องหมาสะอาดเน้


โดย: ถุงก๊อปแก๊ป วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:9:34:43 น.  

 
Photobucket

อ่านแล้วจิตวิตก วิตกจริตเลยค่ะคุณกบ

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


โดย: fleuri วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:10:36:41 น.  

 
สวัสดียามเย็นค่ะคุณ กบ คุณสบายดีนะคะ


มาชวนไปชมการ สาธิตทำดอกไม้แซมผมค่ะ เกศสุริยง


โดย: เกศสุริยง วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:21:03:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
15 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.