สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคหัด





โรคหัด (measles) หรือชื่ออื่นๆ ได้แก่ rubeola, hard measles, red measles เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อและทำให้เกิดการระบาดได้ง่าย เชื้อไวรัสติดต่อได้ทางลมหายใจ พบมากในช่วงฤดูหนาว หรือในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว โดยเพิ่มสูงมากเดือนมกราคมจนถึงมีนาคมของทุกปี มักพบระบาดในโรงเรียนและชุมชน

โรคหัดพบได้บ่อยในเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป จนถึง 15 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 5-9 ขวบ และที่พบบ่อยคือกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน หรือได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว การสำรวจในประเทศไทยช่วงปี 2549 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคหัดประมาณ 2,500 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ภาคกลางพบผู้ป่วยได้มากกว่าภาคอื่นๆ


สถานการณ์ระบาดในปี พ.ศ. 2552

ขณะนี้มีการระบาดของโรคหัดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าไข้ออกผื่นมากขึ้นในเด็กอายุมากกว่า 6 ขวบขึ้นไป โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 22 ก.พ. 2552 สำนักระบาดวิทยา รายงานพบผู้ป่วยโรคหัดทั่วประเทศ 837 ราย กลุ่มอายุมากกว่า 6 ขวบขึ้นไปป่วยมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ประมาณ 2 เท่าตัว โดยใน 8 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบ 90 ราย มากที่สุดคือ ที่จังหวัดบุรีรัมย์ 36 ราย รองลงมาคือ นครราชสีมา และสุรินทร์ จังหวัดละ 19 ราย ศรีสะเกษ 7 ราย อุบลราชธานี 6 ราย ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ จังหวัดละ 1 ราย ทั้งนี้ได้กำชับให้ อสม.ทุกคน เฝ้าระวังการระบาดของโรคหัด พร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลเมื่อเป็นหัด เนื่องจากอาจมีโรคแทรกซ้อนทำให้ถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้มีวัคซีนฉีดป้องกันได้ผลดี โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ติดตามให้ผู้ปกครองพาเด็กอายุ 9-12 เดือน ไปฉีดวัคซีนป้องกันหัดเข็มแรก และฉีดเข็มที่ 2 เมื่อเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือ อายุ 7 ขวบ

โรคหัดหรือโรคไข้ออกผื่นที่ระบาดครั้งนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ในลำคอของผู้ป่วย ติดต่อกันทางการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด ผู้ติดเชื้อจะเป็นโรคเกือบทุกรายจะมีอาการป่วย หลังติดเชื้อประมาณ 3-5 วัน โรคนี้พบได้ตลอดปี พบบ่อยในกลุ่มอายุ 1-6 ขวบ ถ้าไม่มีภูมิต้านทานจะเป็นได้ทุกอายุ โดยอาการ เริ่มด้วยมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้น และจะสูงเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ โดยจะขึ้นที่หน้า บริเวณชิดขอบผมก่อน แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว กินเวลาประมาณ 2-3 วัน ทั้งนี้ควรให้เด็กหยุดเรียนหรือแยกเด็กที่ป่วยออกจากเด็กอื่น เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์

ปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยโรคหัดลดน้อยลงไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลเมื่อปี 1950 พบผู้ป่วยหลายพันคน ในขณะที่ปี 2002 พบรายงานผู้ป่วยเพียง 44 รายเท่านั้น ระยะหลังๆพบผู้ป่วยปีละไม่ถึงร้อยราย


สาเหตุ

โรคหัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า rubeola virus เป็นไวรัสที่ติดต่อทางลมหายใจ สามารถติดต่อได้ง่ายโดยการไอ จาม หายใจรดกัน อาจกล่าวได้ว่าโรคหัดติดต่อกันทางระบบหายใจเช่นเดียวกับไข้หวัดทั่วไปไวรัสหัดมีขนาด 100–200 นาโนเมตร มีเปลือกหุ้ม แกนกลางเป็น RNA ชนิดสายเดียว จัดอยู่ในพวก paramyxovirus และอยู่ใน genus Morbillivirus


ไวรัสติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำมูก

สัมผัสถูกมือผู้ป่วย หรือนิ้วมือไปสัมผัสกับสิ่งที่ปนเปื้อน เช่น ลูกบิดประตู รีโมต โทรศัพท์ แก้วน้ำ แล้วใช้นิ้วมือที่สัมผัสถูกเชื้อนั้น แคะจมูก หรือ
ขยี้ตา เชื้อก็จะผ่านเยื่อเมือกเข้าไปในทางเดินหายใจ

ระยะฟักตัวของโรค 9-12 วัน บางรายอาจนานถึง 21 วัน

ระยะติดต่อของโรค โรคหัดสามารถติดต่อได้ ตั้งแต่ระยะก่อนผื่นขึ้น 4 วัน จนถึงระยะหลังผื่นขึ้น 4 วัน


อาการ

อาการในระยะแรก ได้แก่ ไข้สูง น้ำมูกไหล ไอมาก และตาแดง โดยเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อ 9-12 วัน อาการไข้สูงในโรคหัด อาจสูงได้มากถึง 40 องศาเซลเซียส และเมื่อกินยาลดไข้ ไข้อาจจะไม่ลดลง เวลาที่ผู้ป่วยไอหรือจาม จะแพร่เชื้อได้ง่ายมาก ร้อยละ 90 ของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันจะติดโรค ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนมีโอกาสติดเชื้อมากกว่า 22 เท่า

ระยะออกผื่น ต่อมา 3-4 วัน จะมีผื่นเป็นจุดสีแดงขึ้นที่หลังหู หน้าผาก และไหล่ผม แล้วลามไปทั้งหน้า ลำตัว แขน ขา ผื่นแดงทำให้เกิดอาการคัน เวลาที่ผื่นหายจะทำให้สีผิวคล้ำขึ้น ผื่นกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในระยะนี้อาจมีอาการแทรกซ้อนด้วยโรคท้องร่วง ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งจะเป็นอันตรายได้ โรคนี้อาจยังผลให้เด็กมีภาวะขาดอาหารตามมาได้ อาการแทรกซ้อนพบมากในกลุ่มเด็กที่ขาดสารอาหารหรือเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ความต้านทานโรค ผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วมักไม่เป็นซ้ำอีก ยกเว้นเป็นเมื่ออายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี


การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคหัด (measles) อาศัยลักษณะประวัติอาการ ได้แก่ พบมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง หลังมีไข้ 3-4 วัน ร่วมกับอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง อาการเป็นหวัด ไอ ร่วมกับการตรวจพบ Koplik's spot ในกระพุ้งแก้ม ประวัติการได้รับวัคซีน ประวัติการเดินทางไปยังแหล่งที่มีการระบาด และประวัติการสัมผัสโรค

ในกรณีที่วินิจฉัยแยกโรคไม่ได้ชัดเจนจากโรคไข้เลือดออก หรือปอดอักเสบ อาจจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยยืนยัน ได้แก่ ตรวจเลือดพบแอนติบอดีต่อเชื้อ measles virus ชนิด IgM หรือที่เรียกว่า measles-specific IgM ซึ่งสามารถกระทำได้เร็ว ทราบผลภายในหนึ่งวัน ส่วนการเพาะเชื้อไวรัสและตรวจลักษณะทางพันธุกรรม ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะทราบผล ปัจจุบันอาจส่งตรวจ measles virus RNA จากสารคัดหลั่งทางเดินหายใจได้เช่นกัน


แนวทางการรักษา

การติดเชื้อไวรัสโรคหัดไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง และไม่ใช้ยาต้านไวรัสสำหรับโรคหัดในปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วยขณะมีไข้สูง ให้ทำการเช็ดตัว และดื่มน้ำมากๆ พิจารณาให้ยาลดไข้ชนิดพาราเซตามอล สามารถซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน สำหรับโรคหัด ยาลดไข้อาจไม่ช่วยบรรเทาอาการไข้ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของโรค ไม่ควรกินยาถี่กว่าที่
แนะนำ ถ้าผู้ป่วยไอมาก ให้จิบน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาว หากเด็กเบื่ออาหาร แนะนำให้ดื่มนม น้ำหวาน น้ำผลไม้ ระหว่างที่มีไข้ เด็กจะอยู่ในสภาพสูญเสียสารน้ำในร่างกายพักผ่อนมากๆ จะช่วยให้หายเร็วขึ้น ส่วนใหญ่เด็กสามารถกลับไปโรงเรียนได้ภายใน 7-10 วัน หลังจากไข้และผื่นหาย ระหว่างที่ไม่สบาย ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กอื่นที่มีโอกาสติดโรค


การป้องกันโรค

โดยการฉีดวัคซีน MMRในเด็กวัย 9-12 เดือน และกระตุ้นเมื่ออายุ 6 ปี เนื่องจากโรคหัดเป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ขณะนี้จึงมีการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในบางแห่งที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรค ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อเด็กอายุ 6 เดือน และเข็มที่สองกระตุ้นเมื่ออายุ 1 ปี
3 เดือนการฉีดวัคซีนเข้าชั้นใต้ผิวหนังจะได้ผลดีเมื่อใช้ขนาด 1000 TCID หมายถึงขนาดที่ก่อโรคโดยเชื้อไวรัสในจานเพาะเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นชนิด monovalent หรือชนิดวัคซีนรวม MMR มีผลในการยัยยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสเท่าๆกัน เมื่อปี 2005 ได้มีการนำวัคซีนรวม MMR-V มาใช้ ประกอบด้วย หัด หัดเยอรมัน คางทูม และสุกใส




ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ







Create Date : 29 มีนาคม 2552
Last Update : 29 มีนาคม 2552 10:11:47 น. 6 comments
Counter : 2317 Pageviews.

 
สวัสดีครับคุณกบ

แวะมาทักทายยามบ่ายครับ



โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 29 มีนาคม 2552 เวลา:14:29:39 น.  

 


โดย: พลังชีวิต วันที่: 29 มีนาคม 2552 เวลา:20:53:07 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลยค่ะ


โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ วันที่: 29 มีนาคม 2552 เวลา:23:31:04 น.  

 
แวะมาขอบคุณค่ะ ที่ไปเยี่ยม
เข้ามาอ่านบล๊อคขอบคุณกบ แล้วได้ความรู้เพิ่ม จะได้ระวัง เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ค่ะ


โดย: จิ๊บ (คุณนายเยอรมัน ) วันที่: 30 มีนาคม 2552 เวลา:1:18:52 น.  

 
good afternoon Pictures, Images and Photos

เป็นโรคที่อันตรายนะคะ

บล็อกวันนี้สดใสซาบซ่าจังค่ะ


โดย: fleuri วันที่: 30 มีนาคม 2552 เวลา:5:14:06 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณกบ...กำลังทำอะไรอยู่เอ่ย ยุ่งไหมคะ นุชแวะมาทักทายค่ะ ไม่ได้แวะมาทุกวันแต่คิดถึงคุณกบเสมอนะคะ คุณกบสบายดีไหมเอ่ย


Photobucket


โดย: Vannessa วันที่: 30 มีนาคม 2552 เวลา:9:10:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.