สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยวิธีเมมโมแกรม

lozocatlozocat



ได้ไปเยี่ยมหัวหน้าซึ่งเพิ่งผ่าตัดมะเร็งที่เต้านม ทำให้ได้
รู้ว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบถ้าเราไม่รู้จักตรวจตราร่างกายของ
เราว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาและผิดปกติบ้างหรือเปล่า บางครั้ง
ก็อาจสายเกินแก้ไปแล้ว วันนี้ก็เลยขอนำความรู้เกี่ยวกับ
การตรวจเมมโมแกรมเต้านม ซึ่งเป็นการตรวจที่แพร่หลาย
ในปัจจุบัน สามารถตรวจได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและ
เอกชนค่ะ แต่ถ้าเป็นของรัฐอาจจะต้องรอคิวนานหน่อย
ถ้าคิดว่าตัวเองมีอะไรผิดปกติอย่ารอช้ารีบไปตรวจกับ
โรงพยาบาลเอกชนก่อนจะดีกว่า ค่าใช้จ่ายของโรง
พยาบาลเอกชนราคาประมาณ 1,700- 2,300 บาท แล้ว
แต่ช่วงที่บางโรงพยาบาลจัดโปรโมชั่น สำหรับ
โรงพยาบาลของรัฐราคาประมาณ 800 บาทค่ะ


แมมโมแกรมคืออะไร

แมมโมแกรม คือการตรวจเต้านมโดยใช้รังสีเอ็กซ์ ในขณะตรวจเต้านมจะถูกกดโดยเครื่องให้แน่นเพื่อที่จะได้เห็นความผิดปกติอย่างชัดเจน


ประโยชน์ของแมมโมแกรม

แมมโมแกรมมีความสามารถสูงในการตรวจหามะเร็งเต้านมที่ยังมีขนาดเล็กและไม่มีอาการ ทำให้ผลการรักษาดีผู้ป่วยมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้นและนานขึ้น การตรวจแมมโมแกรมในคนปกติที่ไม่มีอาการ เพื่อหามะเร็งระยะเริ่มต้นแบบนี้ เรียกว่า " SCREENING MAMMOGRAM "

นอกจากนี้แมมโมแกรมยังมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค (diagnosic mammogram) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแล้ว เช่น คลำได้ก้อน


ข้อด้อยของแมมโมแกรม

1. เจ็บ ระหว่างการตรวจเต้านมจะถูกบีบให้แน่น จึงทำให้รู้สึกเจ็บบ้าง แต่จะพอทนได้

2. ค่าใช้จ่าย การทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้นจะมีประสิทธิผลสูงสุดก็ต่อเมื่อต้องทำเป็นประจำทุก 1 ปี ด้วยเหตุนี้อาจทำให้มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายได้ ค่าตรวจแมมโมแกรมแต่ละครั้งประมาณ 800-2000 บาท แล้วแต่ละโรงพยาบาล เพราะว่าแมมโมแกรมมีความไวสูงในการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้น แต่มีความเฉพาะเจาะจงไม่สูงมาก หมายความว่าเมื่อรังสีแพทย์เห็นความผิดปกติในแมมโมแกรม อาจมีบางครั้งที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตัดชิ้นเนื้อบริเวณนั้นออกมาดู (ตัดเฉพาะความผิดปกติออก ไม่ใช่ตัดทั้งเต้านม)

หมายเหตุ : ปริมาณรังสีเอ็กซ์ที่ใช้ในการตรวจจะมีปริมาณน้อยมาก ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดมะเร็งแต่อย่างใด


ข้อห้ามในการตรวจแมมโมแกรม

ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรหลีกเหลี่ยงการตรวจ Screening Mammogram
จริง ๆ แล้วในคนท้องถ้าจำเป็นจริง ๆ เช่น คลำได้ก้อน ก็สามารถทำแมมโมแกรมได้ โดยเจ้าหน้าที่จะเอาแผ่นตะกั่วกันรังสีมาคลุมท้องไว้ขณะตรวจ

หมายเหตุ : หญิงกำลังมีประจำเดือนก็สามารถทำการตรวจ
ได้ หญิงที่เสริมเต้านมก็ทำการตรวจได้ เพียงแต่ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำการตรวจ


จะเริ่มตรวจแมมโมแกรมเพื่อหามะเร็งระยะเริ่มต้นเมื่อไรดี

ในอเมริกายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 40 ปีหรือ 50 ปีดี สำหรับประเทศไทยก็ยังไม่มีงานวิจัยหรือคำแนะนำที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศออกมาใช้ ส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าการพิจารณาว่าหญิงไทยควรจะเริ่มตรวจเมื่ออายุเท่าไร ควรเป็นการพิจารณาร่วมของเจ้าตัวและแพทย์เจ้าของไข้ โดยคำนึงถึงปัจจัยทางคลินิก ( เช่น มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวหรือไม่ , กินฮอร์โมนหรือไม่ ) และการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อด้อยของแมมโมแกรมอย่างที่กล่าวมาแล้ว


ความถี่ในการตรวจ

ในต่างประเทศ ส่วนมากจะแนะนำให้ตรวจเป็นประจำทุก 1 ปี


ข้อควรทราบอื่นๆ สำหรับการตรวจแมมโมแกรม

ถึงแม้แมมโมแกรมจะมีความสามารถสูงในการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น แต่ก็ไม่ 100% เพราะฉะนั้นการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้นต้องประกอบด้วย

คลำเต้านมตัวเองเดือนละ 1 ครั้ง ( Breast Self Examination - BSE )
ให้แพทย์ตรวจเต้านมปีละ 1 ครั้ง ( Clinical Breast Examination - CBE )
สำหรับคนอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ให้ทำแมมโมแกรมปีละ 1 ครั้งด้วย

ในบางสถาบัน คนที่ทำแมมโมแกรมจะได้รับการตรวจด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound) ด้วยทุกราย แต่ในบางสถาบัน เช่น รพ. พระมงกุฎเกล้า จะทำ ultrasound เฉพาะในบางรายเท่านั้น เช่น ในรายที่สงสัยก้อน Ultrasound อย่างเดียวไม่สามารถทดแทนแมมโมแกรมในการตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้

ความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ จากแมมโมแกรมพบได้บ่อย ไม่ต้องตกใจ รังสีแพทย์อาจถ่ายฟิล์มท่าต่าง ๆ เพิ่มเติมหรือนัดให้ตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด ( เช่น ทุก 6 เดือน ) สักระยะหนึ่ง

ควรนัดมาตรวจแมมโมแกรมในช่วงที่ไม่คัดเต้านม เพราะจะทำให้เจ็บน้อยลงขณะตรวจ หรืออาจจะไม่เจ็บเลยก็ได้

วันมาตรวจ ควรสวมชุดครึ่งท่อนเพื่อความสะดวกในการตรวจ

วันมาตรวจต้องไม่ทาครีม , แป้ง , น้ำหอม หรือน้ำยาดับกลิ่นตัวบริเวณเต้านมและรักแร้ทั้งสองข้าง เพราะอาจทำให้ดูเหมือนมีความผิดปกติ ( หินปูน ) ในภาพแมมโมแกรมได้


การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE)

สมาคมมะเร็งของสหรัฐอเมริกา ( THE AMERICAN CANCER SOCIETY ) แนะนำว่าผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปทุกคนต้องคลำเต้านมตัวเองเดือนละครั้ง ผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ควรคลำหลังจากหมดประจำเดือน 1-7 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงที่เต้านมคัดตึงซึ่งอาจจะทำให้คลำยาก และคลำคล้ายมีก้อนได้ ส่วนผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วควรคลำในวันเดียวของทุกเดือน เช่น ทุกวันที่ 25 เป็นต้น


วิธีตรวจเต้านมตัวเองทำได้ ดังนี้


ขั้นที่1 ถอดเสื้อแล้วยืนตรงแขนชิดลำตัวหน้ากระจก มองดูเต้านมโดยเปรียบเทียบทั้ง 2 ข้าง มองหาว่ามีความ

การมอง แตกต่างกันระหว่างนม 2 ข้างหรือไม่ เช่น มีก้อน , มีสีผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป หรือมีรอยดึงรั้งไหม เสร็จแล้วให้มองหาในทำนองเดียวกัน แต่เปลี่ยนท่ายืนเป็นยืนท้าวสะเอวและยกแขน 2 ข้างไว้บนศีรษะ

ขั้นที่2 ให้นอนหงาย ยกแขนข้างเดียวกับนมที่จะตรวจไว้เหนือศีรษะโดยงอข้อศอกด้วย เอาหมอนแบน ๆ หรือ

การคลำ ผ้าเช็ดตัวรองใต้ไหล่ข้างเดียวกันกับนมข้างที่จะตรวจ แล้วใช้มือด้านตรงข้ามคลำ การคลำให้ใช้ อุ้งนิ้ว 3 นิ้ว ( นิ้วชี้ , นิ้วกลาง , นิ้วนาง ) ไม่ใช้ปลายนิ้ว กดลงไปและในขณะเดียวกันก็คลึง คือวนเป็น ก้นหอยด้วย ตอนแรกลงน้ำหนักเบา ๆ ก่อนแล้วจึงค่อยกดแรงขึ้น และทำอย่างนี้ไปจนกระทั่ง ทั่วเต้านม

หลังจากคลำเต้านมเสร็จแล้วให้บีบหัวนมเบา ๆ ดูว่ามีอะไรไหลออกมาหรือไม่และคลำรักแร้ด้วย เมื่อทำเสร็จข้างหนึ่งแล้ว ก็ทำอย่างเดียวกันกับด้านตรงข้าม

การคลำอาจทำในท่ายืนตอนอาบน้ำก็ได้ ก็ใช้เทคนิคเดียวกันกับในท่านอน

เต้านมคนปกติอาจไม่เรียบได้ อาจตะปุ่มตะป่ำเล็กน้อยหรือหนาขึ้นเป็นทางบาง ๆ ได้ ถ้าคลำเต้านมตัวเองทุกเดือนก็จะทราบว่าโตขึ้นหรือไม่ ถ้าโตขึ้นแสดงว่าผิดปกติค่อยมาพบแพทย์


ถ้าคลำเต้านมตัวเองแล้วพบความผิดปกติต่อไปนี้ให้รีบมาพบแพทย์

พบก้อน
หัวนมถูกดึงรั้งผิดปกติ
มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลจากหัวนม
ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม
ขนาดและรูปร่างของนมทั้ง 2 ข้างต่างกันอย่างผิดปกติ
ขอย้ำว่าการตรวจเต้านมตัวเองต้องทำทุกเดือน และต้องคลำให้ทั่วนม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก รพ.พระมงกุฎเกล้า



lozocatlozocat




 

Create Date : 03 มีนาคม 2552
4 comments
Last Update : 3 มีนาคม 2552 11:08:08 น.
Counter : 2016 Pageviews.

 

ตรวจมาแล้วจ้า ผ่านโลด ดีใจจัง อิอิ

แวะมาทักทายค่ะ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบล็อคน่ะค่ะ
วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศจากท้องฟ้าเป็นดอกไม้หวานๆล่ะกัน

 

โดย: มาเรีย ณ ไกลบ้าน 3 มีนาคม 2552 12:05:10 น.  

 

ชอบblog นี้มากเลยค่ะ ข้อมูลมีประโยชน์จริงๆ จะคอยติดตามตลอดนะคะ

 

โดย: prizella 3 มีนาคม 2552 13:34:29 น.  

 

ช่วงเดือนที่ผ่านมาเจอคนรู้จักเป็นไปแล้ว 2 คน ไปเยี่ยมและนั่งฟังแล้วรู้สึกท้อแท้ตามไปด้วย กับการที่เค้าเริ่มท้อแท้ในการรักษา และยอมรับในหลายๆ สิ่งที่ตามมาไม่ได้ เป็นอะไรที่ใกล้ตัว และทำร้ายกันแบบไม่รู้ตัวจริงๆ

 

โดย: ถปรร 3 มีนาคม 2552 23:38:26 น.  

 

แวะมาขอบคุณค่ะ ที่ไปเยี่ยม แต่งบล๊อกได้สวยจัง

 

โดย: คุณนายเยอรมัน 4 มีนาคม 2552 2:15:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.