สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคหัวใจขาดเลือด







เจ็บหน้าอก กับโรคหัวใจขาดเลือด


อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แต่ก็อาจจะเป็นอาการของโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้ คนทั่วไปมักจะคิดว่า อาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเจ็บหน้าอกด้านซ้าย เกิดจากโรคหัวใจ จึงเกิดความกังวล ความกลัวว่า จะมีอันตรายถึงชีวิตจากหัวใจวาย โดยทั่วไป อาการเจ็บหน้าอกพบได้บ่อย ในชีวิตประจำวัน ของคนทั่วๆ ไป อาการเจ็บหน้าอก เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการเจ็บในหลอดอาหาร ปอด เยื่อหุ้มปอด หรือในกล้ามเนื้อ และพังผืดผนังหน้าอก

นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องไปถึง กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครงอ่อนด้านหน้า และข้อต่อของกระดูก อาการเจ็บในหลอดอาหาร มักเกิดขึ้น ระหว่างรับประทานอาหาร บางทีเกิดระหว่างกลืน บางทีอาจเกิดจาก หลังรับประทานอาหาร มักมีอาการจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ และใต้กระดูก หน้าอก เกิดเนื่องจาก กรดในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบ ของหลอดอาหารได้ อาการเจ็บจากปอด และเยื่อหุ้มปอดมักจะมีอาการเจ็บ ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเข้าลึกๆ ลักษณะการเจ็บจะมีอาการเจ็บแปล๊บๆ ขึ้นมาได้ บางครั้งอาจมีอาการบวม และกดเจ็บบริเวณที่มีการอักเสบ ของกระดูกข้อต่อ ระหว่างกระดูกหน้าอก และกระดูกซี่โครงอ่อน อาการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนทำให้ผู้ที่เกิดอาการ มักไม่แน่ใจว่าตัวเอง จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่ ซึ่งในตอนต่อไป จะได้กล่าวถึงอาการเจ็บหน้าอก จากโรคหัวใจขาดเลือด


โรคหัวใจขาดเลือด

เกิดจากเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการตีบ ทำให้เลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดออกซิเจนชั่วขณะ เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาการจะทุเลาเมื่อพัก และถ้าเส้นเลือดที่ตีบ เกิดอุดตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เกิด อาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง อาจมีอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน ก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาลได้

อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการเสียสมดุลย์ ของการใช้ออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ ในคนปกติ หรือผู้ที่มี หลอดเลือดหัวใจตีบเล็กน้อย การไหลเวียนของเลือด เพียงพอที่จะส่งออกซิเจน ให้กล้ามเนื้อหัวใจ แม้ว่าจะทำงานอย่างหนักก็ตาม ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น จะมีอาการเจ็บหน้าอก เมื่อมีการออกกำลัง เพราะกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องการออกซิเจนมากขึ้น แต่ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีจำกัด เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อาการจะดีขึ้นเมื่อพัก ความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง อาการเจ็บหน้าอกมักจะเป็นไม่เกิน 10 นาที เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ระยะเวลาที่ออกกำลังจะน้อยลง อาการเจ็บหน้าอก จะเกิดเร็วขึ้นตามลำดับ และถ้ามีอาการอุดตัน ของหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ กล้ามเนื้อหัวใจที่หลอดเลือดตันไปเลี้ยง จะตาย อาการเจ็บหน้าอก จะเป็นอยู่นาน และต่อเนื่องมากกว่า 15 นาทีขึ้นไป และอาการจะไม่ทุเลา แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เลย

ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก จากโรคหัวใจขาดเลือด เป็นอาการเจ็บปวดเหมือนถูกกดดัน ผู้ป่วยมักจะบรรยายว่า มีอาการแน่นหน้าอก เหมือนถูกกด ถูกบีบ หรือรู้สึกแน่น กลางหน้าอก อาการเหล่านี้ อาจร้าวไปยังหัวไหล่ แขน คอ ขากรรไกร หรือหลังก็เป็นได้ บางคนอาจมีความรู้สึกเหมือนมีเชือดรัด หรือมัดรอบหน้าอก อาจมีอาการเหงื่อออกอย่างมาก ตัวเย็น วิงเวียน คลื่นไส้ และอ่อนแรง ระยะเวลาของการเจ็บหน้าอก และความรุนแรงของอาการเจ็บ ขึ้นอยู่กับสภาพหลอดหัวใจว่าตีบน้อย ตีบมาก หรืออุดตันโดยสิ้นเชิง และความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าออกกำลัง หัวใจต้องทำงานหนัก ต้องการออกซิเจนมากขึ้น อาการเจ็บหน้าอกก็จะเป็นมาก และนานกว่า ในขณะพักการทำงานของหัวใจลดลง ความต้องการออกซิเจนก็จะลดลง อาการเจ็บหน้าอกจะลดลง






ใครบ้างที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด มักจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่

1. เพศชาย มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า
2. อายุ ในเพศชาย มักจะเริ่มตั้งแต่ อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงจะเกิดช้ากว่า คือ มักจะเกิดในวัยหมดประจำเดือน อายุประมาณ 50-55 ปี
3. สูบบุหรี่
4. ไขมันในเลือดสูง
5. โรคความดันโลหิตสูง
6. โรคเบาหวาน
7. อ้วนและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
8. เครียดง่าย เครียดบ่อย
9. มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัว

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ก็จะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ได้เร็วกว่าผู้อื่น และมักจะมีความรุนแรงของโรค มากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง

การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด
การวินิจฉัยเบื้องต้น ที่สำคัญที่สุด คือ อาการเจ็บหน้าอก ดัง ได้กล่าวแล้วข้างต้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หลายข้อ มีอาการเจ็บหน้าอก เหมือนถูกกดทับ หรือเหมือนถูกบีบรัด เป็นมากเวลาออกกำลัง ทุเลาลงเวลาพัก อาการมักจะหายไป ใน 10-15 นาที ในกรณีที่มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีเหงื่อออกมาก วิงเวียน คลื่นไส้ มือเท้าเย็น เขียว หรือมีอาการหมดสติ พักแล้วไม่ดีขึ้น มักเกิดจาก หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ต้องรีบนำผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตโดยกระทันหันได้

ในกรณีที่หลอดเลือด หัวใจตีบเล็กน้อย อาจจะไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเลย หรือเจ็บเล็กน้ อย เมื่อเวลาออกกำลังกายหนักเท่านั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบน้อย คลื่นไฟฟ้าหัวใจมักจะปกติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่สามารถนำเลือด และออกซิเจน ให้กล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น จึงช่วยในการวินิจฉัย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ นอกจากนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ยังช่วยบอกความรุนแรง ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และสมรรถภาพของหัวใจได้อีกด้วย

ปัจจุบันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังกาย ทำโดยให้เดินบนสายพาน และมีการบันทึกกร๊าฟของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความดันโลหิตตลอดเวลา ที่ออกกำลังกาย และในระยะพัก หลังออกกำลังกาย เพื่อเปรียบเทียบกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในขณะที่ยังไม่ได้ออกกำลังกาย

การตรวจพิเศษอย่างอื่น ที่ช่วยในการวินิจฉัย โรคหัวใจขาดเลือด เช่น การฉีดสารกัมมันตภาพรังสี และใช้เครื่องมือตรวจจับสารเหล่านี้ ซึ่งจะปรากฏที่กล้ามเนื้อหัวใจ และนำภาพเหล่านี้มาเปรียบเทียบกัน ระหว่างในขณะพัก กับในขณะออกกำลังกาย ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาพที่ได้ขณะออกกำลังกาย จะมีการขาดหายไปของสารกัมมันตภาพรังสี ในบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดไปเลี้ยง

การวินิจฉัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น สำหรับวิธีการตรวจเพื่อยืนยัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ การฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ โดยการใช้สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดแดง เข้าสู่เส้นเลือดหัวใจ และมีการบันทึกภาพขณะฉีดสารทึบรังสี ผ่านเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ นอกจากจะเห็นลักษณะการตีบของเส้นเลือดหัวใจแล้ว ยังช่วยในการวางแผน การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในขั้นตอนต่อไปด้วย





การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดเนื่องจาก เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เกิดตีบหรืออุดตัน โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทางที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้น โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จะชะลอการเกิดโรคนี้ ก่อนวัยอันควรจะเป็น หรืออาจจะไม่เป็นเลยก็ได้

ในผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดเป็นครั้งแรก คือมีอาการเจ็บหน้าอก เวลาออกกำลังกาย หรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ควรพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง พร้อมทั้งจะได้รับการรักษา และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ยังดีอยู่ จะได้ทำงานเป็นปกติต่อไปได้


การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดประกอบไปด้วย

1. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยการลดปัจจัยเสี่ยง

การลดปัจจัยเสี่ยงเป็นแนวทางที่ สำคัญอย่างยิ่ง ในการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากเส้นเลือดหัวใจตีบ ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้มีการตีบของเส้นเลือดหัวใจ และยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจลงด้วย การลดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ
• เลิกสูบบุหรี่ เด็ดขาด
• ลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
• ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
• ควบคุมโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สำหรับผู้ที่เป็นแล้ว ในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเหล่านี้ ควรมีการตรวจเช็คทุก 6 เดือน เพื่อที่จะได้ควบคุมโดยเร็วที่สุด

2. การรักษาด้วยการใช้ยา

ในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความรุนแรงของโรคมีหลายระดับ ตั้งแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ยาที่ใช้รักษา จึงขึ้นอยู่กับระยะ และความรุนแรงของโรคได้แก่
• ยาเพื่อป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด กับผนังของหลอดเลือดแดง ซึ่งมีผลทำให้เกิดการทำลายของผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดตีบ ตันมากขึ้น และอุดตัน
• ยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ลดการทำงานของหัวใจ ช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
• ยาเพื่อใช้ละลายลิ่มเลือด ที่อุดกั้นเส้นเลือดหัวใจที่ตีบอย่างเฉียบพลัน เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะได้ประโยชน์มาก ถ้าให้ได้เร็วที่สุด หลังจากที่เส้นเลือดหัวใจ มีการอุดตันอย่างเฉียบพลัน ถ้าเกิน 6 ชั่วโมงไปแล้ว จะได้ประโยชน์น้อย หรืออาจจะไม่ได้ประโยชน์เลย
• ยาอื่นๆ ที่ใช้รักษาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ยาพวกนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อ มีโรคแทรกซ้อน
เกิดขึ้นเท่านั้น





3. การขยายเส้นเลือดหัวใจโดยบอลลูน

เป็นวิธีการขยายเส้นเลือดหัวใจ โดยการให้สายสวนหัวใจ ผ่านทางเส้นเลือดแดงที่โคนขา เข้าไปจนถึงเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ และขยายเส้นเลือด โดยทำให้บอลลูนที่ปลายของสาย สวนหัวใจพองขึ้น เพื่อที่จะดันเส้นเลือดที่ตีบให้ขยายออก จะได้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น

4. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจใหม่

โดยการใช้เส้นเลือดแดง หรือเส้นเลือดดำที่ขา มาต่อเส้นเลือดหัวใจ เพื่อเพิ่มทางเดินของเลือด ที่จะมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่มาพบแพทย์ ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ต้องการการรักษาต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่จะตามมาซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้






ขอขอบคุณข้อมูลจากนายแพทย์ภาณุ สมุทรสาคร
อายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจ
วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 11



Create Date : 02 เมษายน 2552
Last Update : 2 เมษายน 2552 8:26:11 น. 4 comments
Counter : 1950 Pageviews.

 
ดีค่ะ ขอบคุณที่ไปทักทายกันนะคะ รักมากมายค่ะ


โดย: baniair วันที่: 2 เมษายน 2552 เวลา:12:17:07 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกบ มาบล็อกมี่วันนี้ ทานข้าวให้อิ่มก่อนนะคะ เดี๋ยวจะตกใจร้องอะฮ้าจิ อิอิ


โดย: ญามี่ วันที่: 2 เมษายน 2552 เวลา:17:17:02 น.  

 
สวัสดีจ้ะ

แวะมาชมบล้อกค่ะ
ขอบคุณที่แวะไปตามเสียงคิดถึงนะจ๊ะ


โดย: รัตนมาลี วันที่: 2 เมษายน 2552 เวลา:19:07:37 น.  

 
เคยเจ็บหน้าอกแบบจุก หายใจไม่ออก เสียดเหมือนมีของแหลมแทงอยู่ กลัวจะตายค่ะ
ไปหาหมอก็สัณนิฐานว่าอ้วนและแก๊สตีขึ้นน่ะค่ะ อิอิ


ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆมาฝากกันเสมอเลยน่ะค่ะ

Happy friday จ้า ลัลล้าสุดๆ






โดย: มาเรีย ณ ไกลบ้าน วันที่: 3 เมษายน 2552 เวลา:10:21:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
2 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.