สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง

ปัญหาโรคหัวใจของคนไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง คือ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โรคหัวใจชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมาก คือ โรคหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง





จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง

ผู้มีอาการเจ็บหน้าอก ใจเต้นสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นผู้ที่มีอาการน่าสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ การจะทราบว่าเป็นจริงหรือไม่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือเกี่ยวกับโรคหัวใจโดยเฉพาะ เช่น เครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงชนิดสี เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พกติดตัวได้ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ

สาเหตุ และอาการ

เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอุดกั้น หรืออุตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม ถ้าเป็นมากจะเพลียมาก เหงื่อออก เป็นลม ใจสั่น จนถึงเสียชีวิตแบบกระทันหันได้ เพราะคราบไขมันมาเกาะทำให้ผนังภายในหลอดเลือดพอกหนาขึ้นทิ้งไว้นาน ๆ จะอุดตันเข้ามาภายในหลอดเลือด ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการมาก เจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาล เพราะแพทย์จะได้ช่วยชีวิตไว้ได้ทันท่วงที





ปัจจัยเสี่ยง

ตัวเร่งการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น

1. โรคความดันโลหิตสูง
2. ีไขมันในเลือดสูง
3. การสูบบุหรี่
4. โรคเบาหวาน
5. โรคอ้วน
6. ความเครียด
7.
การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
9. ผู้มีบรรพบุรุษเป็นโรคนี้มีโอกาสมากกว่า

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
7. งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกกเลี่ยงการสูบบุหรี่
8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
9. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที
10. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์





การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

1. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน - กะทิ รวมทั้งไข่แดง ทำให้มีการสะสมไขมันในหลอดเลือด ก่อให้เกิดแผ่นคราบไขมันตามมา
2. ควรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่จะทำอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว
5. นอนพักผ่อนให้เพียวพอ ไม่เครียดกับงานควรทำสมาธิหรือฟังเพลงเบา ๆ
6. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน โดยใช้วิธีออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เช่น งดขนมหวาน , ผลไม้รสหวานจัด เพราะหัวใจของคนอ้วนต้องทำงานมากกว่าปกติ
7. ตรวจเช็คสุภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์


การรักษา

หลังจากที่ได้ตรวจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคหัวใจ การรักษาก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาเสมอไป แต่แพทย์อาจจะแนะนำวิธีปฏิบัติตัว และนัดให้มาตรวจเพิ่มเติมอีกในระยะเวลาที่เหมาะสมท่านที่เป็นโรคหัวใจจะต้องปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เช่น

1. งดสูบบุหรี่
2. งดรับประทานอาหารเค็ม
3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4. ลดความเครียด
5. พักผ่อน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6. รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างต่อเนื่องตลอดไป

เมื่อเริ่มรักษาด้วยยา ท่านควรมาตรวจตามที่นัดอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจต้องเพิ่ม หรือลดขนาดยาตามความจำเป็น ถ้าใช้การรักษาทางยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรืออาการของโรคทรุดลง ก็จะปรึกษาศัลยแพทย์โรคหัวใจเพื่อรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

ในกรณีที่รักษาทุกวิธีแล้วยังไม่หายขาด หรือไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา เช่น ในกรณีที่มีการอุดตันของหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัดโรคหัวใจในประเทศไทย มีความปลอดภัย และได้ผลดีทัดเทียมกับต่างประเทศ

การผ่าตัดหัวใจทำได้ 2 วิธี คือ ผ่าตัดภายนอกหัวใจวิธีนี้ไม่ต้องให้หัวใจหยุดทำงาน อีกวิธีหนึ่งคือ การผ่าตัดเปิดหัวใจ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เย็บปิดรูภายในหัวใจ ต่อหลอดเลือดเข้าหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องหัวใจ และปอดเทียม ทำหน้าที่แทนหัวใจ และปอดของผู้ป่วย ขณะแพทย์เปิดหัวใจทำการผ่าตัด แพทย์ และพยาบาลต้องได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ ให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นระยะเวลานาน ทำให้ไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงจะปลอดภัยในการผ่าตัด







ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.Bangkokhealth.com
และวิกิพิเดีย




Create Date : 16 เมษายน 2552
Last Update : 16 เมษายน 2552 10:37:00 น. 2 comments
Counter : 1787 Pageviews.

 







โดย: JJ&TheGang วันที่: 16 เมษายน 2552 เวลา:13:14:58 น.  

 
blog สีหวานจังเลย..
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะจ๊ะ...


โดย: UStogetheR วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:5:36:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
16 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.