รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
9 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

ฝึกรู้ในสัมมาสติ ให้รู้แบบผ่าน ๆ ไม่ต้องสนใจว่า สิ่งที่รู้คืออะไร

ผมได้เขียนเรื่อง อาการของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ฉบับประสบการณ์ส่วนตัวที่ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=06-2010&date=07&group=8&gblog=26
มีข้อที่น่าจะบอกกล่าวเพิ่มเติมเรื่องลักษณะของการรู้ในการฝึกฝนสัมมาสติ
ขอให้ท่านสังเกตตนเองในขณะฝึกฝนด้วย ก็จะเป็นการดียิ่ง

เมื่อท่านรู้สึกตัวอยู่ ท่านสมควรจะมีการรับรู้ได้ดีพร้อม ๆ กันในทุกระบบประสาท
กล่าวคือ

ตาก็มองเห็น
หูก็ได้ยิน
จมูกก็ได้กลิ่น
ลิ้นก็ได้รู้รส
กายก็ได้รู้สัมผัส
จิตใจก็รู้สภาพความรู้สึกของจิตใจ ซึ่งปรกติ ในขณะฝึกฝนสัมมาสติ จิตใจคนฝึกมักเฉย ๆ สบาย ๆ

ทีนี้ขอให้ท่านสังเกตด้วยครับว่า เื่มื่ีอท่านรู้สึกตัวเป็นปรกติอยู่ ไม่ได้คิดอะไรในสมอง
ไม่ต้องการรู้อะไรในขณะนี้ การรับรู้ต่าง ๆ ที่ผ่านระบบประสาททาง ตา หู จมูก ลิ้น
กาย จิตใจ จะเป็นการรับรู้ที่สักแต่ว่า ผ่าน ๆ ไปเท่านั้น มันเหมือนกับว่า ทุกอย่างรับรู้พร้อม ๆ กันในขณะเดียวกันทีเดียว

ผมจะยกตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจกับสิ่งที่ผมใช้คำว่า .การรับรู้สักแต่ว่าผ่าน ๆ ไป.
สมมุติว่าท่านไปตลาดสดทีีมีขายปลาหลาย ๆชนิดที่แผงปลา
พอท่านมองผ่าน ๆ ท่านจะเห็นเป็น .พรืด ๆ .แต่ท่านจะไม่รู้ว่า ปลาทีท่านเห็นมีปลาอะไรบ้าง

อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านเปิด TV หรือ วิทยุ ก็ได้ เปิดแต่พอได้ยิน ทีนี้ถ้าทานไม่สนใจในเสียง
ที่ได้ยินว่า เป็นเสียงพูดเรื่องอะไร ท่านจะรู้ว่า มีเสียงมา แต่ท่านจะไม่รู้เรื่องราวในสิ่งที่เป็นคำพูดของเสียง

อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านลองเอาฝ่ามือลูบแขนผ่านไปแว๊บหนึ่ง ท่านรู้สึกได้ถึงการสัมผัสผ่านไปแว๊บหนึ่ง แต่ท่านจะไม่รู้ว่า การสัมผัสนั้น มันนุ่ม มันแข็ง มันสาก หรือ มันเรียบ

จาก 3 ตัวอย่างนี้ ขอให้ท่านลองดูจริง ๆ เพื่อจะได้เข้าใจคำว่า สักแต่รู้ผ่าน ๆ ไป

ที่ผมเขียนเรื่องขึ้นมา เพื่อให้ท่านเข้าใจในการฝึกฝนการเจริญสัมมาสติที่ดีว่า
การฝึกนั้น เพียงรู้สึกตัว ที่แสนธรรมดาของท่าน แล้วไม่ต้องอยากรู้อะไร
เมื่อรับรู้อะไรแล้วจากการทำงานของระบบประสาทแล้่ว ก็ไม่ต้องไปสนใจเลยว่า
สิ่งที่รับรู้คืออะไรอีก ท่านจะเห็นว่า การฝึกฝนมันง่ายจริง ๆ แม้แต่เด็กทารก ก็ฝึกได้
โดยที่ผ่านหมั่นลูบตัวเขาบ่อย ๆ แค้นี้ ก็เท่ากับฝึกให้เด็กทารกแล้ว
เพราะพอลูบตัว เด็กเขาจะรู้ความรู้สึกที่ผ่านทางผิวหน้งของเขา
ท่านทีีมีลูกเล็ก ก็ลองทำดูซิครับ ถ้่าท่านรักเขา ท่านควรช่วยเขาแต่เล็ก ๆ ในเรื่องนี้
ได้ด้วยวิธีนี้

ทีนี้ ถ้าท่านเกิดฝึกอยู่แล้วไปรู้ละ เช่น เห็นแผงปลา ก็มองผ่าน ๆ แต่รู้ว่า นี่ปลาทู
อย่างนี้ก็ไม่ผิดครับ แต่ผมจะบอกว่า มันไม่จำเป็นที่ต้องรู้ก็ได้ เมื่อท่านรู้ มันมากเกินไปก็เท่านั้น และเป็นการรู้ที่ไม่มีประโยชน์ต่อการเจริญสัมมาสติ

ท่านอาจอยากรู้ว่า แล้วทำไมถึงว่ารู้มากเกินไปละ
>> เรื่องนี้ ผมจะบอกท่านว่า การที่ท่านรู้ว่า นี่คือปลาทู มันเป็นการรู้ที่ีมาจากสัญญาขันธ์
ไม่ใช่การรับรู้ที่มาจากจิตครับ ถ้าในสัญญาขันธ์ของท่านไม่รู้จักปลาทู ท่านเห็นมัน ท่านก็จะ
ไม่รู้ว่า นี่ืคือปลาทู คล้าย ๆ เด็กทารก ถ้าเขาเห็นปลาทู เขาเห็นจริง แต่เขาไม่รู้ว่า
สิ่งที่เห็นเขาเรียกกันว่า ปลาทู เพราะสัญญาขันธ์ เขาไม่มีปลาทูในนั้น

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัมมาสติ ถ้าท่านฝึกสัมมาสติไป ท่านอาจสงสัยว่า
เวลารู้สึกตัวอยู่ ความรู้สึกมันจะลอย ๆ และอวัยวะต่าง ๆ เช่นแขน ขา ร่างกาย
มันไม่มี มันจะมีแต่ความรู้สึกที่รู้สึกได้อย่างลอย ๆ ไม่มีตำแหน่งว่าอยู่ที่ไหน
ผมจะบอกท่านว่า มันจะเป็นอย่างนั้นเอง
ซึ่งผ่านที่ฝึกมาดีมาก ๆ ท่านจะรู้สึกเหมือนร่างกายมันหายไป เหลือแต่ความรู่สึกที่ปรากฏอยู่
อย่างลอย ๆ แต่ถ้าท่านฝึกอยู่ในตอนนี้ แล้วรู้สึกว่า ยังมีแขน ขา มีร่างกาย ก็ไม่ผิดครับ
แต่ถ้าฝึกไปมาก ๆ ในอนาคต ผมรับรองว่า แขน ขา ร่างกาย ท่านหายหมดแน่ ๆ

ผมจะโยงเรื่องนี้ เข้ากับการฝึกลมหายใจ
ในตำราอาณาปานสติ มีการเขียนไว้ ลมหายใจยาว ก็ให้รู้ว่าลมหายใจยาว
ลมหายใจสั้น ก็ให้รู้ว่าลมหายใจสั้น ผมจะบอกท่านว่า ท่านไม่จำเป็นต้องไปรู้เลยว่า
มันสั้นหรือมันยาว เพราะสั้นยาวมันเป็นการรุ้ด้วยสัญญาขันธ์ มันไม่ีใช่จิตครับ
เอาเป็นว่า ในการฝึกนั้น หายใจแล้วสบายก็พอครับ

และอีกอย่าง ผมเห็นในเวปบอร์ด มักเขียนกันจัง ให้รับรู้ลมที่ปลายจมูก
นี่ก็ไม่ถูกเหมือนกันครับ ผมบอกท่านว่า ในสัมมาสติ ร่างกายจะหายหมด
แขนขาก็ไม่มี แล้วมันจะมีปลายจมูกให้ท่านรู้สึกได้อย่างไรที่นั้น
ถ้าท่านไปรู้สึกที่ปลายจมูก ส่วนใหญ่จะเป็นการเพ่งจ้องที่ปลายจมูกแล้ว
ซึ่งไม่ถูกต้องต่อการฝึกครับ การรับรู้ลมหายใจ เพียงแต่รู่้สึกได้ถึง
ว่ามีอะไรทีมันกระเืพื่อม กระเพื่อม อยู่ก็ใช้ได้แล้วครับ
ขอให้ท่านลองดูตอนนี้เลย ขอให้ท่านนั่งกอดอก นั่งให้สบาย ๆ
ไม่ต้องอยากรู้อะไรเลย เพียงแค่รู้สึกตัวอยู่เท่านั้น ท่านจะรู้สึกได้ถึงสภาพกระเพื่อม กระเพื่อม
อันเนื่องมากจากการหายใจที่สังเกตได้ง่าย มาก ๆ
ท่านอย่าลืมนะครับ เมื่อท่านรับรู้อาการกระเพื่อม กระเพื่อม นี้ได้
ตาท่านก็ยังมองเห็น หูท่านก็ยังได้ยินอยู่ และ ระบบประสาทอื่น ๆ ก็ยังทำงานได้อยู่
ซึ่งจะสอดคล้องกับบทความอื่น ๆ ที่ผมเขียนไว้ใน blog

เรื่้องการนั่งฝึกอาณาปานสติ ก็เหมือนกัน ท่านไม่จำเป็นต้องนั่งท่าขัดสมาธิให้ปวดหัวเข่า
ปวดขาเลยครับ ท่านเป็นคนทำงานทีีนั่งเก้าอี้อยู่ประจำ ท่านนั่งแบบขัดสมาธิจะทำให้ัหัวเข่าท่านเสีย ผมมีประสบการณ์มาแล้ว จากที่เคยทำสมาธิแบบฤาษีมาก่อน อย่าทรมานตัวแบบนั้นเลยครับ
ท่านอาจได้ยินได้ฟังมาว่า ทำสมาธิต้องทำติดต่อกันนาน ๆ จึงต้องนั่งแบบขัดสมาธิ
ผมจะบอกท่านว่า การเจริญสัมมาสติ ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเลยครับ ท่านนั่งดูลมหายใจ 5 นาที แล้วเมือย ท่านพลิกตัว ขยับตัวได้ทันที ไม่ต้องเกรงใจตำราแต่อย่่างใด เพราะว่าในการเจริญสัมมาสติอยู่ เมื่อท่านดูลมหายใจ พอท่านเมื่อยอีก 5 นาทีต่อมา ท่านพลิกตัวเพื่อคลายเมื่อย
ในขณะทีี่ท่านพลิกตัว ถ้าท่านยังรู้สึกตัวได้อยู่ สัมมาสติท่านไม่ขาดเลยครับ อย่าไปเข้าใจว่า
ต้องดูลมติดต่อกัน พลิกตัวไม่ได้ ต้องทนปวดขา ปวดเข่า อย่างนั้นไม่ใช่การฝึกสัมมาสติครับ แต่เป็นการฝึกเพื่อย่างอื่นมากกว่า

เรื่องที่เขียนมา มันเป็นประสบการณ์ตรงที่ผมพบมาในการปฏิบัติการเจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ผมนำมาให้ท่านพิจารณาเองด้วยปัญญา มันอาจขัดแย้งกับตำรา ขัดกับคำสอนของพระชื่อดัง
มันเป็นสิทธิของท่านที่่จะรับรู้สภาพอีกด้านของตำรา ซึ่งผมนำมาแสดงให้ท่านในบทนี้

ผมหวังว่า บทนี้จะทำให้ท่านเข้าใจการเจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่ตรงขึ้น
เข้าใจการฝึกอาณาปานสติ ที่สอดคล้องกับสภาพของสัมมาสติ ที่แท้จริง


การฝึกที่ถูกต้อง จะทำให้ผลลัพธ์เกิดได้ดี ฝึกได้สบาย ไม่มึนหัว และได้ผลเร็ว
******

เรื่องท้ายบท
พระพุทธองค์ทรงสอนปัจจัคคีย์ว่า 2 สิ่งที่ไม่ควรเสพย์
คือ การทรมานตนให้ลำบาก และ การเพลิดเพลินในกามสุข
แล้วท่านจะไปทนปวดหัวเขา ปวดขา กันทำไม
พระพุทธองค์ก็สอนไว้แล้วครับ
โปรดพิจารณาด้วยปัญญา

การฝึกสัมมาสตินั้น ถ้าท่านฝึกแล้ว มึนหัว วิงเวียน ขอให้ท่านหยุดฝึก
แล้วพิจารณาในการฝึกว่า ท่านเพ่งจ้องหรือเปล่า
เพราะนี่คือสิ่งบอกเหตุครับว่า ท่านตึงเกินไปแล้ว (เรื่อง พิณ 3 สาย )
สมควรปรับใหม่ให้พอดี ไม่ตึง ไม่หย่อน

*****
บทความตอนนี้ ผมเชื่อว่า จะมีผู้คัดค้านในสิ่งที่ผมเขียนเป็นจำนวนมาก
ก็แล้วแต่ท่านที่เข้ามาอ่านก็แล้วครับ ท่านจะฝึกอย่างไร มันเป็นเรื่องของท่าน ผมไม่เกี่ยว แต่นี่เป็น blog ของผม ผมฝึกแบบนี้ ผมก็เขียนแบบนี้ออกมา ผมไม่เกรงใจตำราหรอกครับ เพราะผมฝึกแบบตำรามาก่อนแล้ว ผมพบว่า มันไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์
แล้วผมจะไปเชื่อตำราได้อย่างไร

ท่านใดที่เข้ามาเขียนแย้ง โจมตี ผมขอใช้สิทธิเจ้าของ blog ลบทันทีที่ผมเห็น

ถ้าท่านใดสงสัยในข้อเขียนตอนใด ถามได้ ผมยินดีตอบให้ครับ






 

Create Date : 09 มิถุนายน 2553
8 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 16:11:04 น.
Counter : 1423 Pageviews.

 

แล้วถ้าเรานั่งสมาธิ กำหนดพองยุบ โดยยังรับรู้ด้วยทางทวารทั้ง 6 โดยกำหนดรู้ตามสภาวะจริงที่เกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียง ก็รู้ว่าได้ยินเแต่ไม่ได้สนใจต่อไปว่าเสียงอะไร
หรือได้กลิ่น ก็รู้ว่าได้กลิ่นแต่ไม่สนใจว่ากลิ่นอะไร เพียงแต่รู้เท่านั้น นี่ก็เหมือนกันหรือเปล่าคะ

 

โดย: cakecode 9 มิถุนายน 2553 22:31:42 น.  

 

อย่่างเดียวกันครับ

 

โดย: นมสิการ 9 มิถุนายน 2553 23:11:49 น.  

 

สาธุ....... แจ่มแจ้งค่ะ...

 

โดย: ตั้งไข่ IP: 114.128.161.223 10 มิถุนายน 2553 6:51:13 น.  

 

สวัสดีครับคุณนมสิการ
เป็นขอแนะนําที่ดีครับในการฝึกสติ

 

โดย: ยิ่งเอก IP: 125.24.75.180 10 มิถุนายน 2553 9:37:44 น.  

 

บางครั้งรู้สึกว่าเผลอลืมใจ มาถูกทางหรือเปล่า

 

โดย: กุลภัสสรณ์ IP: 118.175.88.18 10 มิถุนายน 2553 11:53:52 น.  

 

อาการเผลอ เป็นปรกติของทุกคนที่กำลังเดินทาง ที่ต้องมีเผลอ

อย่าไปจดจ้องหรือจับให้จิตนิ่งเพื่อไม่ให้เผลอ ถ้าอย่างนี้ผิดทางครับ

ต้องหมั่นฝึกการรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆและฝีกบ่อย ๆ แล้วอาการเผลอจะค่อยๆ
ลดน้อยลงไปทีละนิด ทีละนิดอย่างช้า ๆ
ทั้งหมดต้องใช้เวลาด้วยครับ

 

โดย: นมสิการ 10 มิถุนายน 2553 13:07:57 น.  

 

เขียนได้ดีค่ะ
อ่านแล้วเข้าใจง่าย

มีความเห็นและผลการปฏิบัคิที่คล้ายกัน

ขอบคุณที่นำมาความรู้และประสบการณ์มาแบ่งปัน

จะได้รู้ว่าในโลกนี้มีคนที่มีแนวคิดเหมือนๆกัน

 

โดย: pintip IP: 118.174.12.110 10 มิถุนายน 2553 13:25:32 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 16:43:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.