happy memories
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 ตุลาคม 2566
 
All Blogs
 
วันนวมินทรมหาราช ๑๓ ต.ค. ๒๕๖๖


"สิ้นแสงแห่งภูมี"
ศิลปิน Arthit Kannikar ครูเบิร์ด
จาก เพจ Arthit Kannikar



เพลงขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป







วันนวมินทรมหาราช
๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
วันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร


กราบบังคมบรมกษัตริย์ขัตติยราช
อีกแสนชาติคงไม่พบสบสมัย
เป็นหลักธรรม หลักชาติและหลักชัย
นำผองไทยฝ่าภัยด้วยใจทะนง

เป็นที่พึ่งแก้ไขในสิ่งผิด
เป็นหลักคิดสุจริตมิมีหลง
ทศพิธราชธรรม ธ มั่นคง
จึงดำรงผาสุกมาเป็นช้านาน

กาลเวลาพาพรากไปให้ประจักษ์
อนิจจลักษณ์เที่ยงแท้ทุกสถาน
พระผ่านภพสู่สวรรค์ชั้นวิมาน
มิอาจย้อนวันวานให้หวนคืน

อกสะท้านใจสะท้อนย้อนคำนึง
ไร้ที่พึ่งอ้างว้างมิอาจฝืน
วังเอ๋ยวังเวงต้องกล้ำกลืน
ผ้าทั้งผืนฉ่ำชื้นด้วยน้ำตา

เจ็ดปียังจารไว้แนบสนิท
ธ สถิตในดวงใจมั่นรักษา
เทิดพระคุณสลักใจนิรันดร์มา
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ๚ะ๛



น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
มิมีที่สุดมิมีประมาณ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
นางสาวศุภมาส เสนะเวส
จาก เพจศุภมาส เสนะเวส













เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน ไม่น่าเชื่อว่าจากวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ จะผ่านไปเจ็ดปีแล้ว รู้สึกเหมือนเพิ่งผ่านไปเมื่อวานนี้เอง เมื่อเช้าดูคลิปเพลง "ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป" ที่นำมาร้องใหม่ในรายการข่าวช่องท็อปนิวส์ น้ำตาก็ยังไหลเหมือนเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว คิดถึงพระองค์ท่านจริง ๆ ค่ะ

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ให้ชมภาพจากนิทรรศการ "อัครศิลปินเหนือเกล้า" ที่จัดแสดงที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ - ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ ชื่องาน จัดแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติมากมาย เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างหาที่สุดมิได้ สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์ ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
บล็อกเกอร์ไฮกุและครอบครัว







“ความเป็นศิลปิน หมายถึง ความสามารถตามธรรมชาติ ที่จะเห็นความงามและคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น จึงแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือศิลปกรรม ในลักษณะอื่น ๆ ได้

การสร้างงานศิลปะทุกประเภทนอกจากจะต้องใช้ความฝึกหัดเจนจัดในทางปฏิบัติ ประกอบกับวิธีการที่ดีอย่างเหมาะสมแล้ว ศิลปินจำต้องมีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจในงานที่ทำด้วย จึงจะได้ผลงานที่มีค่าควรแก่การยอมรับนับถือ เพราะความจริงใจที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์มั่นคงนั้น เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สามารถนำเอาคุณลักษณะพิเศษภายในตัวออกมาแสดงให้ปรากฎได้โดยเด่นชัด เมื่อบรรดาศิลปินสร้างสรรค์งานของตนด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้ว ผลงานทั้งหมดก็จะประกอบกันเป็นนิมิตหมายอันดีงาม” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงนิยามความเป็นศิลปินและพระราชทานแนวทางปฏิบัติสำหรับศิลปิน

เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕ สำนักพระราชวังประกาศการเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ ๘๙ ทรงครองราชสมบัติได้ ๗๐ ปี นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของประชาชนชาวไทย และเป็นการสูญเสีย "อัครศิลปิน" ผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่ศิลปิน ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ องค์อุปถัมภ์ศิลปินแห่งชาติ และเครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรมมาโดยตลอด

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดไม่ได้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดนิทรรศการ "อัครศิลปินเหนือเกล้า" เพื่อแสดงความไว้อาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็น "อัครศิลปิน" โดยฐาปนันดรศิลปิน ศิลปินแห่งชาติ และครุศิลปะ และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะให้แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ครู อาจารย์ ศิลปิน และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทอัครศิลปินสืบไป

นิทรรศการ "อัครศิลปินเหนือเกล้า" จัดแสดงระหว่างวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๙๙ - ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน นำเสนอพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่พระองค์ทรงได้รับการถวายสมัญญานามว่า “อัครศิลปิน” ตลอดจนผลงานของศิลปินแห่งชาติ ๓ สาขากว่า ๑๐๐ ชิ้นและผลงานจากครูสอนศิลปะอีกกว่า ๕๐ ชิ้น ยังมีมุมกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ด้วยตัวคุณเอง

นิทรรศการแบ่งการจัดแสดงเป็น ๒ ส่วน โดยชั้น ๑ แสดงผลงานและพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน ๙ ด้าน ได้แก่ พระอัจฉริยภาพด้านสถาปัตยกรรม งานออกแบบ ฝีพระหัตถ์ หัตถศิลป์และสิ่งประดิษฐ์ ประติมากรรม จิตรกรรม ภาพถ่าย วรรณศิลป์ วาทศิลป์ และดุริยางคศิลป์

ขณะเดียวกัน ยังมีผลงานของ ฐาปนันดรศิลปิน ศิลปินแห่งชาติ ๓ สาขา ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง รวม ๖๘ ท่าน นำมาจัดแสดงมากถึง ๑๓๑ รายการ อาทิ ผลงาน สู่สรวงสวรรคาลัย จิตรกรรมสื่อผสมบนผ้าใบ และผลงานสื่อผสมโลหะ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดย อ.กมล ทัศนาญชลี ผลงาน ในหลวงของปวงชนชาวไทย ซึ่งใช้สีอะคริลิกบนผ้าใบ โดยอ.เดชา วราชุน ผลงาน ทศพิธราชธรรม สีอะคริลิกบนผ้าใบ โดย อ.ปรีชา เถาทอง ผลงานประติมากรรม ปูนปลาสเตอร์ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม สูง ๙๐ เซนติเมตร โดย อ.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ผลงาน ยังอยู่ในสายพระเนตร จงทำความดี เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ โดย อ.สมบูรณ์สุข นิยมศิริ

ขณะที่ผลงานวรรณกรรม อาทิ หนังสือ น้ำเล่นไฟ โดย สุกัญญา ชลศึกษ์ หรือ กฤษณา อโศกสิน และผลงานสาขาศิลปะการแสดง อาทิ บทเพลงเทิดพระเกียรติ ร.๙ แสงส่องไทย เนื่องในวาระศุภมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ โดย คุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยรัตนเวช รวมทั้ง บทความ หนังสือ บทกวี ซีดี โน้ตเพลง แผ่นเสียง เป็นต้น

ส่วนบริเวณชั้น ๒ จัดแสดงผลงานของศิลปินรุ่นใหม่จากโครงการครุศิลปะสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ รุ่นที่ ๑-๗ อีก ๕๖ ท่าน ที่สร้างสรรค์ผลงานเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณฯ ในหลวง รัชกาลที่ ๙


พระบรมสาทิสลักษณ์ ภาพและข้อมูลจาก
thairath.co.th
mgronline.com



































“พระบาททสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”
ศิลปิน นายชวน หลีกภัย ฐาปนันดรศิลปน
เทคนิค ลากเส้นด้วยปากกา






“พระบรมราชาภิเษก ร.๙” (สำเนา)
ศิลปิน นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบประยุกต์ศิลป์) พ.ศ. ๒๕๓๖
ขนาด ๕๖ x ๔๖ ซม.










“สู่สรวงสรรคาลัย” ๒๕๕๙
ศิลปิน กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พ.ศ. ๒๕๔๐
ขนาด ๑๖๕ x ๑๐๐ ซม.






“ในหลวงของปวงชนชาวไทย” ๒๕๕๙
ศิลปิน ศาสตราจารย์เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์และสือผสม) พ.ศ. ๒๕๕๐
เทคนิค สีอะคลีลิคบนผ้าใบ
ขนาด ๑๐๐ x ๑๒๐ ซม.






“ทศพิธราชธรรม”
ศิลปิน ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาททอง ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๒
เทคนิค สีอะครีลิคบนผ้าใบ / ลายเส้นและเขียนสี
ขนาด ๒๔๐ x ๒๗๐ ซม.










“ทรงช่วยเหลือไพร่ฟ้าผู้ทุกข์ยาก (กายทิพย์)” ๒๕๓๙
ศิลปิน นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๔
เทคนิค สีอะครีลิค - ดินสอดำบนผ้าใบ
ขนาด ๙๑ x ๑๒๕ ซม.






“รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ” ๒๕๕๙
ศิลปิน นายกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พ.ศ. ๒๕๔๐
เทคนิค โมเดลประติมากรรมสแตนเลส
ขนาดสูง ๒๐๐​ ซม.






“อัครศิลปินเหนือเกล้า” ๒๕๕๙
ศิลปิน ศาสตราจารย์พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๕
เทคนิค นวการลากและระบายสีอะคลีลิค
ขนาด ๗๖.๒ x ๑๒๓.๒๙ ซม.






“สดุดีมหาราชัน แห่งวันดินโลก”
ศิลปิน นายช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๖
เทคนิค ปากกาดำบนผ้าใบ
ขนาด ๙๙ x ๑๑๖ ซม.






(ซ้าย) “น้อมเกล้า...ส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย” ๒๕๕๙
ศิลปิน ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) พ.ศ. ๒๕๕๕
เทคนิค จิตรกรรมสื่อผสม
ขนาด ๑๒๐ x ๒๐๐ ซม.

(ขวา) “น้อมเกล้า...ส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย” ๒๕๕๙
ศิลปิน ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) พ.ศ. ๒๕๕๕
เทคนิค จิตรกรรมสื่อผสม
ขนาด ๑๒๐ x ๒๐๐ ซม.










หุ่นจำลอง อาคารสหประชาชาติ นครเจนีวา
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ๒๕๓๘
ศิลปิน ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ๒๕๔๑
เทคนิค เหล็กไร้สนิม ขนาด สูง ๓๐ ซม.






“พระนารายณืทรงช้าง ๖ เศียร” ๒๕๔๐
ศิลปิน นายทองร่วง เอมโอษฐ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ - ศิลปะปูนปั้น) พ.ศ. ๒๕๕๔
เทคนิค ปูนปั้นสด
ขนาด สูง ๗๐ ซม.






“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ๒๕๕๗
ศิลปิน ศาสตรเมธีนนิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ. ๒๕๔๙
เทคนิค ปูนปลาสเตอร์
ขนาด สูง ๙๐ ซม.










“ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์” ๒๕๕๗
ศิลปิน นายอินสนธิ์ วงค์สาม ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ. ๒๕๔๒
เทคนิค สีอะคลีลิคบนผ้าใบ
ขนาด ๙๐ x ๙๐ ซม.






“พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๕ พ.ค. ๒๔๙๓”
ศิลปิน นายไพบูลย์ มุสิกโปดก ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (ภาพภ่ายศิลปะ) พ.ศ. ๒๕๔๗
ขนาด ๓๗.๕ x ๔๗.๗ ซม.






“ในหลวง” ๒๕๕๙
ศิลปิน ศาสตราจารย์เกียรติคุณเข็มรัตน์ กองสุข ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ. ๒๕๕๕
เทคนิค ประติมากรรมปูนปั้น
เศียรเท่าพระองค์จริง สูง ๓๙ ซม. ขนาด สูง ๗๐ ซม.














“พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา” ๒๕๔๗
ศิลปิน นางสาววนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) พ.ศ. ๒๕๔๖
เทคนิค งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีแบบร่วมสมัย
ขนาด ๑๐๐ x ๑๒๐ ซม.














“อาคารนวมภูมินทร์” ๒๕๕๖ อาคารหอประชุม รร.วชิราวุธวิทยาลัย
ชื่อพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศิลปิน นายนิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) พ.ศ. ๒๕๔๕
ขนาด ๑๐๐ x ๑๒๐ ซม.






“สงัด เงียบ” ๒๕๕๙ และงานเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว
ศิลปิน นายจรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์์) พ.ศ. ๒๕๕๗
ขนาด ๒,๐๐๐ x ๑,๒๐๐ มม.










คณะจงรัก ภักดี ศักดิ์ศรี มงคล หอพักนักเรียน และโรงอาหาร
โรงเรียนวชิราวุธวิททยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๑
ศิลปิน นายกฤษฎา โรจนกร ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๘ ออกแบบสถาปัตยกรรม
ขนาด ๑๐๐ x ๒๐๐ ซม.






ศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติ เมืองฮัมบวก ประเทศเยอรมันนี
ศิลปิน รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) พ.ศ. ๒๔๓๗
งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี
ขนาด ๕๐ x ๖๐ ซม.














ผลงานของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๖






เพลง ล้นเกล้าเผ่าไทย
ศิลปิน นายสมนึก ทองมา ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ. ๒๕๔๒
ประพันธ์คำร้อง






บทเพลงเทิดพระเกียรติ ร.๙ “แสงส่องไทย”
เนื่องในศุภวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ พ.ศ. ๒๕๔๗
ศิลปิน คุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ. ๒๕๔๐
ประพันธ์ทำนองเพลงและอำนวยการสร้างสรรค์บทเพลง










“ภูมิพโลภิกขุ” ๒๕๕๙
ศิลปิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธณฤษภ์ ทิพย์วารี
เทคนิค Mixed Drawing on Canvas
ขนาด ๑๘๕ x ๑๕๐ ซม.






“ธ สถิตในดวงใจ” ๒๕๕๙
ศิลปิน นางสาวสุริวัลย์ สุธรรม
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด ๑๒๐ x ๑๐๐ ซม.






“ธ สถิตในดวงใจไทยทั่วหล้า” ๒๕๕๙
ศิลปิน นายสุวัฒน์ บุญธรรม
เทคนิค แกะดินสอพองผสมวาดเส้น
ขนาด ๙๘ x ๘๙ ซม.






“เสด็จสู่สวรรคาลัย” ๒๕๕๙
ศิลปิน นายมงคล กลิ่นทับ
เทคนิค สีอะคลีลิคบนผ้าใบ
ขนาด ๖๐ x ๘๐ ซม.



























































บีจีจากคุณเนยสีฟ้า กรอบจากคุณ KungHangGerman ไลน์จากคุณญามี่





Create Date : 13 ตุลาคม 2566
Last Update : 22 ตุลาคม 2566 10:25:38 น. 0 comments
Counter : 757 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณ**mp5**, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtoor36, คุณJohnV, คุณLittleMissLuna, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณThe Kop Civil, คุณสองแผ่นดิน, คุณkae+aoe, คุณเริงฤดีนะ, คุณอุ้มสี, คุณปัญญา Dh, คุณnewyorknurse, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณeternalyrs, คุณNENE77, คุณทนายอ้วน, คุณเนินน้ำ, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณtuk-tuk@korat, คุณtanjira, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณpeaceplay, คุณทูน่าค่ะ, คุณปรศุราม


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.