ไม้ยางพารา


ไม้ยางพารา






ข้อมูลวันนี้ เขียนขึ้นจากรายงานการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราไทย ของสำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลจากไม้
กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม




ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 12.3 ล้านไร่ มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประมาณ 15 ล้านไร่ ส่วนประเทศมาเลเซียซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 10 ล้านไร่ นั่นเป็นอันดับสาม บริเวณที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดของไทย อยู่ที่ภาคใต้ ซึ่งมีปลูกทุกจังหวัด ทั้ง 14 จังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 85.3% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นการปลูกกันในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ...น่าแปลกที่ ภาคกลางไม่ปรากฏสถิติ


จากการที่ปัจจุบันราคายางดี รัฐบาลส่งเสริมให้มีการปลูกยางพารามากขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าในอนาคตอันใกล้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของประเทศไม่น้อยไปกว่าภาคใต้





หมายเหตุ : ที่ทำงานของจขบ. ปรากฏว่ามีรปภ.นายหนึ่ง ลาออกจากงานรปภ.กลับไปกรีดยางที่บ้านที่สกลนคร ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกยาง 10 ไร่เรียบร้อยแล้ว เห็นเขาบอกมาว่าได้รายได้วันละประมาณ 1,000 บาท)


ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการส่งออกยางธรรมชาติ(ยางดิบ) ออกไปเป็นอันดับหนึ่งของโลก



ชั้นวางเอนกประสงค์






ไม้ยางพารา

ไม้ยางพารานั้นถือเป็นผลพลอยได้จากต้นยางที่หมดอายุเก็บเกี่ยวน้ำยาง ซึ่งมักจะเป็นต้นยางที่มีอายุเกิน 25 ปี ก็จะทำการโค่นและปลูกขึ้นใหม่ทดแทน


และจากอดีต เมื่อตัดโค่นต้นยางลงแล้ว ก็มักจะนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงและเผาถ่าน แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนา นำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆ ทั้งใช้ในประเทศและส่งออกต่างประเทศ


เตียงนอนหมา






ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ยางพารา

1. เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ชุดรับประทานอาหาร ชุดรับแขก

2. เครื่องครัว ของใช้ในบ้าน ชั้นวางของ กรอบรูป

3. แผ่นชิ้นไม้อัด (Particle board)

4. ของเล่นไม้

5. ไม้เสาเข็มก่อสร้าง

6. ลังไม้ แท่นรองสินค้า ล้อสำหรับม้วนสายไฟ และอื่นๆ




ตะกร้าเอกสาร



ถังเอนกประสงค์






ความเหมาะสมของไม้ยางพาราแปรรูป

เนื่องจากป่าไม้ในปัจจุบันมีจำนวนเหลือน้อยลง การจะนำไม้ป่ามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์เชิงพาณิชย์ จึงไม่อาจจะทำได้ ไม้ยางพาราที่โค่นล้มโดยมีการปลูกทดแทน จึงเป็นความเหมาะสมเมื่อนำมาแปรรูป เพราะสาเหตุ


1. ปริมาณไม้มีมากพอ ทุกปีจะมีการโค่นสวนยางประมาณ 3 แสนกว่าไร่ แล้วปลูกทดแทน ขึ้นมาใหม่ คิดเป็นเนื้อไม้ประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. ไม้ยางพาราจะมีสีตามธรรมชาติเป็นสีขาวอมเหลืองอ่อน หรืออมครีม และมีลวดลายให้เห็นเมื่อเลื่อยไม้ตัดรัศมี ซึ่งจะดูสวยงามเมื่อนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

3. เมื่อเปรียบเทียบไม้ยางพารากับไม้สัก น้ำหนักและความแข็งแรงในการรับน้ำหนัก จะอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกัน

4. คุณสมบัติเกี่ยวกับ การอบแห้ง การหดตัว และการคงรูปขณะใช้งาน จากข้อมูลของการอบไม้ของโรงงานอบไม้พบว่า

• การอบไม้ยางพารา หนา 2 นิ้ว จะใช้เวลา 10-12 วันซึ่งจะเร็วกว่าการอบไม้สักประมาณ 2 เท่า การแตกเสียหายจากการอบ มีน้อย ยกเว้นไม้ติดไส้จะแตกเสียหายมาก

• การหดตัวของไม้ยางพาราในด้านรัศมีและด้านสัมผัส จะใกล้เคียงกับไม้สัก แต่การหดตัวทางด้านยาวตามเสี้ยนไม้ของไม้ยางพารา จะมีค่าสูง คือ 0.9-1.1%

• การเรียงไม้อย่างถูกวิธีขณะอบ และการใช้น้ำหนักกดทับขณะอบ จะช่วยลดการเสียหายจากการโก่งบิดงอได้ และการคงรูปขณะใช้งานของไม้ยางพาราก็อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้

5. ความยากง่ายในการตกแต่งด้วยเครื่องจักร ไม้ยางพารานับเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลาง ซึ่งสามารถแปรรูป หรือเลื่อยตัด หรือไสได้ง่าย




กล่องเอกสาร






ปัญหาของไม้ยางพาราแปรรูป

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าไม้ยางพาราจะไม่มีปัญหาเลยในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะไม้ยางพาราก็มีปัญหาอยู่บ้างเหมือนกัน ก่อนที่จะแปรรูปจึงควรจะเข้าใจถึงปัญหาของไม้ยางพารา ซึ่งมีดังนี้

1. ไม้ยางพาราจะถูกทำลายด้วย มอดหรือด้วยรา ได้ง่ายหลังการโค่นล้มตัดฟันลง จึงไม่ควรจะวางท่อนไม้ตากฝนหรือทิ้งไว้นานๆ จำเป็นจะต้องอาบหรืออัดน้ำยาเคมี หรืออบแห้ง และเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ของใช้จากไม้ยางพารา ควรจัดวางในที่ร่ม ใช้ในที่แห้งไม่ควรให้สัมผัสน้ำบ่อยๆ

2. ไม้ยางพาราหากเป็นชิ้นใหญ่และยาว จะมีตาไม้มาก และอาจจะบิดโก่งงอ การนำไปใช้จึงควรจะนำไปเป็นชิ้นส่วนสั้นๆ หากต้องการทำเป็นชิ้นส่วนที่มีความยาวและหน้ากว้าง ควรจะใช้เทคนิค กาวต่อประสาน

3. การเลื่อยตัด การซอย การเจาะรู การตีบัว หากใบมีดหรือสว่านไม่คมพอ หรือมีการขัดที่รุนแรง จะเกิดรอยตำหนิบนเนื้อไม้ได้

4. ไม้ยางพารามีเสี้ยนขุยในบางบริเวณ ทำให้การไสให้เรียบทั้งแผ่นทำได้ยาก ต้องเสียเวลาขัดมาก การย้อมสีผิวไม้ก็ทำได้ยาก เพราะจะมีการดูดซึมสีไม่เท่ากัน

5. การตัดโค่นไม้ยางพารา จะทำได้น้อยในหน้าฝน เนื่องจากการชักลากต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่เหมือนกับการชักลากไม้สักซึ่งทำได้ง่ายกว่า




ตู้เสื้อผ้าแบบลิ้นชัก






อุตสาหกรรมไม้ยางพารา

อุตสาหกรรมไม้ยางพารา เกี่ยวข้องกับคน 3 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยางพารา อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่กลุ่มธุรกิจไม้ยางพาราแปรรูป และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้แก่กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้จากไม้ยางพารา รวมมูลค่าผลผลิตของทั้ง 3 กลุ่ม ประมาณ 7 หมื่นล้านบาททีเดียว


กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้จากไม้ยางพาราในประเทศไทยมีประมาณ 2,500 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) มีกำลังการผลิตประมาณ 100,000 ล้านบาท/ปี แยกเป็นส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 57,000 ล้านบาท/ปี และบริโภคภายในประเทศประมาณ 43,000 ล้านบาท/ปี


กลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้จากไม้ยางพาราในประเทศไทย มีมากในกรุงเทพและปริมณฑล เช่น บางโพ สะพานดำ จตุจักร สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี 886 โรงงาน(34.13%) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี 449 โรงงาน(17.30%) ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 436 โรงงาน(16.80%) ในภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ เพชรบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี 374 โรงงาน(14.40%) ในภาคใต้ 260 โรงงาน และในภาคตะวันออก 191 โรงงาน



ชั้นวางไวน์






เทคโนโลยีในการผลิต

เทคโนโลยีในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์ของใช้จากไม้ยางพารา ประมาณ 75% ของโรงงานทั้งหมด ยังคงใช้เครื่องจักรระดับพื้นฐาน เครื่องจักรเก่า และเป็นเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ อีกประมาณ 25% ของโรงงานทั้งหมด จึงใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยใช้เครื่องจักรทันสมัยจากเยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี


อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ทั้งยังจำเป็นจะต้องใช้แรงงานคนที่มีฝีมือจำนวนมากด้วย แต่น่าแปลก ที่คนรุ่นหลังที่มีความสามารถทางสมองสูง จะไม่สนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมประเภทนี้มากเท่าที่ควร และอีกประการหนึ่ง ประเทศไทยยังขาดการพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย




โต๊ะนั่งเล่น






รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์

เฟอร์นิเจอร์ที่มีการผลิต แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดไม่ได้ (Furnished Furniture) เป็นเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่สามารถยกไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นมาเพื่อขายภายในประเทศ กับ เฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดได้ (Knock Down Furniture) เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ถอดแยกชิ้นส่วนออก แล้วให้ผู้ซื้อประกอบขึ้นมาเองใหม่ ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นเพื่อการส่งออก เพื่อลดค่าระวางและประหยัดเนื้อที่ อันจะเป็นการลดต้นทุนเพื่อประโยชน์ต่อการแข่งขัน


รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ มากกว่า 80% โรงงานจะรับจ้างผลิตตามรูปแบบที่ลูกค้ากำหนดมาให้ ที่เหลือ อีก 20% โรงงานจะผลิตรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ขึ้นมาเอง โดยดัดแปลงมาจากรูปแบบในแคตตาล๊อค กับ โรงงานบางโรงงานผลิตขึ้นมาตามตราสินค้าของโรงงานเอง




ชั้นวางทีวี






ตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์

ตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา ส่งออกมากที่สุด คือสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือญี่ปุ่น และลำดับที่สามคือสหภาพยุโรป


ตลาดสหรัฐอเมริกา

ประเทศไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราไปสหรัฐอเมริกามากที่สุด ประมาณ 17,500 ล้านบาท หรือ 35.91% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วนไม้ของไทย แต่ไทยก็ยังมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐอเมริกาในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการซื้อของประเทศสหรัฐทั้งหมด


ตลาดญี่ปุ่น

ในอดีตญี่ปุ่นจะนำเข้าไม้แปรรูปจากไทยเพื่อนำไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ต่างๆตามดีไซน์และคุณภาพของญี่ปุ่น แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีปัญหาทางด้านค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตสูง จึงนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดได้ไปแทน ทั้งนี้ทางญี่ปุ่นจะจ้างผลิตตามรูปแบบดีไซน์ที่กำหนดมาให้ แล้วไปติดตราสินค้าของตนเอง ตลาดญี่ปุ่นถือเป็นตลาดที่เข้มงวดเรื่องคุณภาพสินค้ามาก ทุกชิ้นจะต้องมีการตรวจสอบตามเกณฑ์มาตรฐานที่ญี่ปุ่นกำหนด


ตลาดสหภาพยุโรป

กลุ่มสหภาพยุโรปเป็นทั้งผู้ผลิตเครื่องเรือนเพื่อการส่งออก(ส่วนใหญ่เป็นการค้าภายในกลุ่มกันเอง) และเป็นผู้นำเข้าเครื่องเรือนรายใหญ่ของโลก โดยประเทศที่มีการค้าเครื่องเรือนที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี เนื่องจากตลาดสหภาพยุโรปต้องการเครื่องเรือนไม้เนื้อแข็งคุณภาพดีราคาสูง แต่เครื่องเรือนที่นำเข้าจากประเทศกลุ่มอาเซียนเป็นไม้ยางพาราเป็นส่วนใหญ่


ตลาดที่สำคัญของไทยในสหภาพยุโรป คือ สหราชอาณาจักร ซึ่งนับเป็นตลาดที่มีอนาคตสดใส เพราะขณะนี้ยังมีการส่งออกไปในปริมาณที่น้อย และในตลาดของสหภาพยุโรปจะให้ความสำคัญทางด้านคุณภาพและราคา ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ของไทยจะเด่นทางด้านความประณีตและคุณภาพอยู่แล้ว หากเทียบกับเฟอร์นิเจอร์จากประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน




คอกหมา






วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไม้ยางพารา


1. จุดแข็ง

1) เป็นอุตสาหกรรมจากไม้ที่ใช้งานแล้วและมีการปลูกขึ้นมาใหม่ทดแทน

2) มีแรงงานที่มีฝีมือภายในประเทศ

3) มีตลาดส่งออกที่แน่นอน คือตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

4) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาค่อนข้างจะมีคุณภาพ



2. จุดอ่อน

1) มีการพึ่งพาตลาดส่งออกที่เคยทำธุรกิจมานาน มากเกินไป

2) ขาดการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

3) มีข้อจำกัดเรื่องการวิจัยพัฒนาปรับปรุง(R&D) และการส่งเสริมจากภาครัฐ

4) ขาดข้อมูลสารสนเทศใหม่ๆและความรู้ใหม่ๆ


3. โอกาส

1) มีการส่งเสริมพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2) ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง และมีภาพลักษณ์เป็นประเทศที่น่าลงทุนและน่าร่วมพันธมิตรธุรกิจ

3) ประเทศไทยตกลงทำการค้าแบบ FTA กับหลายประเทศ



4. อุปสรรค


1) ด้านกฎระเบียบราชการ

• การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งใช้ขออนุญาตเป็นเวลานาน และต้องต่ออนุญาตเป็นรายปี และยังต้องเสียค่าธรรมเนียมการตั้งโรงงานทั้งกับกรมป่าไม้และกรมโรงงานอุตสาหกรรม

• การจัดทำบัญชีไม้แปรรูปของไม้ยางพารา ต้องจัดทำบัญชี 3 เล่ม อันเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา

• โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ต้องทำการแปรรูประหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาพระอาทิตย์ตก และต้องเปิดประตูเข้า-ออกของโรงงานแปรรูปตลอดเวลา

• การขออนุญาตนำเข้าเลื่อยยนต์หรือเลื่อยโซ่ ใช้เวลานานมาก



2) การขาดแคลนวัตถุดิบ

• ตลาดต่างประเทศมีความต้องการซื้อไม้ยางพาราแปรรูปมากขึ้น เพราะประเทศจีนปิดป่า มีหลายประเทศที่เป็นคู่แข่งส่งออกของไทย ต้องการซื้อไม้ยางพาราแปรรูปจากไทย ไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อส่งออกขายแข่งขันกับไทย

• มีการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปจำนวนมาก เพราะขายได้ราคาดีกว่าขายให้โรงงานในประเทศไทย



3) การตลาด

• ค่าจ้างแรงงานในประเทศจีน และประเทศเวียตนาม มีราคาถูกกว่าประเทศไทย ราคาวัตถุดิบคือไม้ยางพาราในประเทศมาเลเซีย มีราคาถูกกว่าประเทศไทย จึงทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา มีราคาสูง อันมีผลทำให้เสียเปรียบในด้านการตลาด

• การพัฒนาช่องทางการตลาด และการติดต่อประสานงานกับผู้ซื้อในต่างประเทศยังไม่เข้มแข็ง



รถเข็นชงชา






4) การกีดกันทางการค้า

ตลาดสหรัฐอเมริกา

• ผู้ผลิตต้องติดฉลากที่แสดงถึงประเทศผู้ผลิตสินค้า สำหรับสินค้าที่ผ่านมาตรฐานUFAC

• มีความแตกต่างของกฎหมายในแต่ละรัฐที่เกี่ยวกับ การผลิต การซ่อมแซมให้กลับสภาพเดิม การฆ่าเชื้อ การพ่นควันเพื่อฆ่าเชื้อ การติดฉลาก และการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ใหม่และใช้แล้ว


ตลาดญี่ปุ่น

• กฎหมาย Product Liability ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2538 ผู้ผลิตต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจาก ความบกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโภค แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิตสินค้า

• เฟอร์นิเจอร์ไม้ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพและอบแห้งมีความชื้นในระดับมาตรฐาน และการตัดไม้ต้องควบคุมให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน Timber Conversion Process รวมทั้งอุปกรณ์การตัดไม้ต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุม คุณภาพเครื่องมือตัดงานไม้

• สินค้าเฟอร์นิเจอร์ต้องผ่านการตรวจสอบและการรับรองคุณภาพ เช่น “JIS”Mark และ “S”Mark เป็นต้น


ตลาดสหภาพยุโรป

• การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ในห้องนอน เฟอร์นิเจอร์ที่เกี่ยวกับเด็ก ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค Hazardous Products Acts

• เฟอร์นิเจอร์ไม้เมืองร้อนต้องมีใบรับรองว่า ใช้ไม้จากป่าที่อนุญาตให้ตัดไม้ได้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ




5) ปัญหาด้านอื่นๆ

• การผลิตไม่ทันสมัย การจัดการไม่ดี ขาดเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ ขาดความรู้ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

• การผลิตมีเศษของเสียสูง และมีรอยตำหนิ

• ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ทันสมัย

• ขาดบุคลากรระดับผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกล ขาดแรงงานที่มีฝีมือชำนาญเฉพาะด้าน

• ขาดอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต เช่น วัสดุหรือชิ้นส่วนที่นำมาประกอบจนกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต้องลงทุนผลิตวัสดุหรือชิ้นส่วนขึ้นเอง



โต๊ะอาหาร






ข้อเสนอแนะ


1. ควรสนับสนุนให้มีการจัดงานแสดงเครื่องจักรทันสมัยในประเทศไทยบ่อยๆ เพื่อจะได้ศึกษาข้อมูลของเครื่องจักรที่ทันสมัย และควรลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักรบางประเภท


2. ควรปรับปรุงกฎหมายเพื่อลดระยะเวลาการขออนุญาต และการทำบัญชีหลายเล่ม


3. ควรส่งเสริมให้มีการจัดงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์ของใช้จากไม้ยางพาราในต่างประเทศ และเป็นประเทศใหม่ๆ


4. ควรส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และส่งเสริมให้มีการพัฒนาดีไซน์รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ


5. ควรประสานงานให้มีการรวมพลังของอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อมีวิสัยทัศน์สอดคล้องกัน เพื่อวางแผนปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกัน ไม่มีการนำไม้ยางพาราแปรรูปไปขายให้ประเทศผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์คู่แข่ง.





เตียงนอนหมา









โดย yyswim




Create Date : 13 ตุลาคม 2549
Last Update : 13 ตุลาคม 2549 14:08:33 น. 66 comments
Counter : 34188 Pageviews.

 
เห็นชื่อเรื่อง ต้องรีบเข้ามาอ่านเลย

จะว่าไปแล้วผมกับ ต้นยางพารานี่ แทบจะโตมาด้วยกันเลย
ตอนที่เป็นเด็กๆ ก็วิ่งเล่น เก็บขี้ยาง เก็บลูกยางเอาขบกันประจำ ตอนนั้นจำได้ว่า ไม้ยางพารายังไม่ได้มีการแปรรูปเหมือนอย่างทุกวันนี้ อย่างมากพอล้มยางเค้าก้ตัดเอามาทำเป็นไม้ฟืน แต่ทุกวันนี้ไม่อยากจะเชื่อว่ายางพอหมดน้ำยางแล้ว สามารถนำไม่มาขายได้ไร่ละหลายๆหมื่น บางคนมีซัก50ไร่ ลองคูณด้วย 5หมื่น ดูล่ะกันว่าป็นเงินเท่าไหร่

นับว่ายางพารามีอิทธิพลต่อพวกผมเป็นอย่างมากครับ
พรรคพวกผมที่ตรัง เรียนจบออกมาเป็น ผู้จัดการโรงงานแปรรูปไม้ยางก็มี บางคนก็รับซื้อน้ำยาง บางคนก็รับล้มไม้ยาง ส่วนพ่อผมทุกวันนี้แกยังยังกรีดยางอยู่เลยครับ


สวนยาง ที่พ่อผมกรีดอยู่ทุกวัน (ถ้าฝนไม่ตก)


น้ำยางในจอกยาง ก่อนที่จะเก็บ (แป๊บเดียว)


(รูปเหล่านี้ผมพึ่งจะไปถ่ายยมาเมื่ออาทิตย์ก่อนตอนลงไปเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวเอง)




โดย: merf1970 วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:15:23:43 น.  

 
ต้นยางมีผลต่อระบบนิเวศมั้ยครับ
.
.
กลัวว่าถ้าคนปลูกมาก ๆ อาจส่งผลกระทบ
ต่อระบบนิเวศได้ครับ เหมือนไร่ส้มอ่ะครับ
บางอย่างมีผลต่อเศรษฐกิจก็จริง
แต่ผลต่อสภาพแวดล้อมน่ากลัวกว่า
ผมว่านะ


โดย: little-joe วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:15:41:00 น.  

 
คุณสินคะ ถ้ามีราคาด้วย จะการเป็นไซต์ขายเครื่องประดับไปเลยค่ะ
รายละเอียดดีกว่า เวบไซต์ พวกนั้นเยอะเลยค่ะ


โดย: mda IP: 203.159.12.15 วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:16:21:42 น.  

 
มาเอาสาระใส่สมองค่ะ...


โดย: แอน (thattron ) วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:18:39:09 น.  

 
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ
ตอนนี้ปลูกกันได้ทุกภาคแล้ว

คงต้องพัฒนาในเรื่องการใช้ประโยชน์
และลู่ทางในการทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น


โดย: man@ (manatto ) วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:19:36:53 น.  

 
แวะมาทักทายนะครับ เนื้อหาสาระดีครับ เด็ก ๆ เคยไปใต้ดูเค้ากรีดยางเหมือนกัน ต้องตื่นตั้งแต่ตีสามแน่ะ กลิ่นต้นยาง ตอนเช้า ๆ ก็หอมดีด้วย


โดย: addicted2love IP: 124.120.185.194 วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:23:21:17 น.  

 
ใช้ประโยชน์ได้หลายด้านเลยครับ


โดย: somnumberone วันที่: 13 ตุลาคม 2549 เวลา:23:55:37 น.  

 
โอ้....ละเอียดมากครับ ผมยังไม่ค่อยรู้ละเอียดจนาดนี้เลย


โดย: ตงเหลงฉ่า วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:11:16:48 น.  

 



หวัดดีค่ะมาทักทายวันหยุด ขอให้มีความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์นะค่ะ....


โดย: แอน (thattron ) วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:15:41:33 น.  

 
เราว่าผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารานี่โอเคเลยนะ
คือมันป๋องแป๋งเหมือนพลาสติก
แต่ก็ไม่แพงมากเหมือนไม้แท้ ...
....
น่าจะสนับสนุนให้ทำเยอะๆ เนาะ


โดย: ซีบวก วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:20:48:14 น.  

 


โดย: ดำรงเฮฮา วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:21:36:26 น.  

 
ชอบถังอเนกประสงค์จังครับ กะเตียงนอนหมา เห็นแล้วอยากลงไปลองนอนท่าทางจะนุ่ม ๆ


โดย: 90210 วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:22:26:36 น.  

 
ยังคงเป็นบล็อกที่เปี่ยมสาระเช่นเคย

เดี๋ญวนี้พบเห็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ยางพาราเยอะขึ้นนะครับ


โดย: 9A วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:23:42:09 น.  

 

Merf…..ผมเขียนblogเรื่องนี้ นึกถึงmerf นึกถึงคุณซออู้ ครับ …ขอบคุณที่Merfมาเยี่ยม

และขอบคุณรูป สวนยางที่พ่อกรีด ที่นำมาให้ดูด้วย ทำให้blogวันนี้มีกลิ่นต้นยาง น้ำยาง และสัมผัส ผู้ที่คลุกคลีกับต้นยางจริงๆ …ปลื้มมาก

อันที่จริงผมยังไม่เคยกรีดยางเลย เคยแต่เก็บผลไม้และขายผลไม้ในสวน ที่เกาะที่บ้านผม แม้เดี๋ยวนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้ว แต่พื้นที่บางส่วนก็มีปลูกต้นยางพาราอยู่ เพียงแต่ไม่ใช่ในสวนของบ้านผม

ชีวิตผม ที่เกี่ยวกับยางจริงๆก็ในเรื่องไปบรรยายให้กับบริษัทแปรรูปไม้ยางเท่านั้น ส่วนพ่อและพวกอา ก็เกี่ยวข้องกะพวกกาแฟมากกว่ายาง


โจเล็ก…..ดีใจที่นายห่วงระบบนิเวศ ต้นยางก็มีศัตรูพืชเหมือนกัน แต่ไม่ถึงกับต้องใส่ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชอย่างมากแบบต้นส้ม สังเกตว่าต้นส้มจะเก็บเกี่ยวนานๆครั้ง แต่ต้นยางต้องกรีดยางทุกวัน

เรื่องยางอาจจะทำลายระบบนิเวศหรือไม่ คิดว่าคงไม่มากนัก เพียงแต่ต้นไม้ใหญ่ในป่าจะไม่มีเหลือ เพราะการบุกรุกป่าเพื่อเข้าทำสวนยาง โฮะโฮะ


โดย: yyswim วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:11:38:07 น.  

 

คุณmda……แซวผมเหรอ???? รูปพวกนี้ผมนำมาจากเว๊ปที่เขาขายเฟอร์นิเจอร์ซะด้วย แต่ก็แบบว่า เขาไม่ได้เขียนข้อมูลน่ะครับ ขายลูกเดียว


คุณแอน……ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมถึงสองรอบ วันหยุดสองวันนี้ ผมพักผ่อนอยู่บ้านครับ ไปสระตามปกติ อ้อ เดี๋ยวจะไปวัดกะคุณแม่ด้วยครับ


โดย: yyswim วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:11:44:28 น.  

 

มนัส…..ผมยังไม่เจอสถิติการปลูกในภาคกลางครับ ภาคตะวันออกน่ะ มีแน่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือน่ะมีเยอะขึ้น

ผมได้เขียนข้อเสนอแนะไว้ตอนท้ายของblogเรื่องนี้ไว้บ้างเหมือนกันครับ


คุณโอ๊ต……เคยไปดูเขากรีดยางแล้วเหรอครับ ผมยังไม่เคยดูเลย ขี้เกียจตื่นน่ะ แต่ถ้าออกไปจับปูม้า ตอนดึกๆน่ะ ผมเคยไป โฮะโฮะ ได้ปูมากิน ลาภปาก


โดย: yyswim วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:11:51:01 น.  

 

คุณsomnumberone……ขอบคุณครับที่แวะมาอ่าน ว่างๆเชิญอีกซิครับ


ตง…..ชมเหรอ มะกล้ารับ คร้าบ


โดย: yyswim วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:11:54:42 น.  

 

ซี……วันนี้ ฝนคงไม่ตก เพราะ ซี มาเยี่ยม โฮะโฮะ

หวัดดี วันนี้ไปออกกำลังกายมั๊ย แดดข้างนอกดี น่าน๊อกบอร์ด น่าเล่นเดี่ยวเนาะ


ดำฮา…..วันนี้ ฉงน งงงง เหอ ฮื่อ มันมะค่อยขำ ขอโทษที


โดย: yyswim วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:12:00:10 น.  

 

90210…..เตียงนอนหมา อย่านอนเลย มันแคบ อิอิ

ฮ่อฮ่อ ถังเอนกประสงค์สวยดี แต่ท่าทางจะยกจะหิ้วลำบากอีกแหละ ไม่รู้ใครออกแบบ และไม่รู้ประเทศไหนสั่งซื้อ


9A……วันนี้ เขียนเรื่องข้อมูลบวกความคิดเห็นครับ แต่บางวัน ก็เขียนเรื่องทะลึ่งทะเล้นนาครับ ….บ้านนี้เอาแน่เอานอนไม่ได้

ผมชอบเขียนแนวจิปาถะครับ ไม่ชอบเขียนเน้นแนวใดแนวเดียว จะว่าไปเรื่องพวกออกกำลังกายก็ห่างหายการเขียนไปนานแล้ว คงจะต้องย้อนกลับมาเขียนใหม่อีกแล้ว


โดย: yyswim วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:12:11:08 น.  

 
สวัสดีค่ะ ... อ่านวันนี้นอกจากจะได้เพลินก็ยังได้ความรู้เกี่ยวกับยางพาราอีกด้วย อีกอย่างอ่านแล้วเหมือนได้กลับไปเรียนวิชาการตลาดอีกด้วยเพราะมีทั้งการวิเคราะห์ต่างๆ ให้อ่านเพิ่มเติมด้วยค่ะ

ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ทำออกมาแล้วสวยมากเลยค่ะ เห็นสีสันของเค้าแล้วมันดูธรรมชาติงาม ออกมานวลตา แล้วก็ทำออกมาตั้งหลายอย่างแน่ะค่ะ ชอบโดยเฉพาะทำเป็นตู้บิ้วอินในครัว สวยจริงๆ ... แอบลอกเลียนแบบไปเลยนะค่ะสำหรับแบบห้องครัว


โดย: JewNid วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:12:42:37 น.  

 
ยางพารากำลังราคาดีเลยครับ


โดย: ปลายเทียน วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:13:32:53 น.  

 
กลัวว่า ถ้าชาวบ้านปลูกยางพาราเยอะๆ supply มากกว่าdemand ราคาจะตกอีกครับ ชาวบ้านจะเดือดร้อนอีก


โดย: zero สุดหล่อออออ (น้องzeroสุดหล่อ ) วันที่: 15 ตุลาคม 2549 เวลา:13:36:09 น.  

 
...

ขอบคุณความรู้ดีๆที่สรรมาฝากครับ

ชอบเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆที่โพสรูปให้ดูจังครับ...เรียบง่าย แต่ดูดีมากๆ



โดย: The Legendary Midfielder วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:8:33:53 น.  

 

คุณนิด......หวัดดีครับ ผมเคยเห็นห้องอบซาวน่าในเมืองไทย เขาใช้ไม้ยางพาราเป็นฝาผนังรอบห้อง และทำม้านั่งจากไม้ยางพาราด้วยครับ เสียดายหารูปมาโชว์คุณนิดไม่ได้


ปลายเทียน.....ที่ภูเก็ต มีปลูกยางพาราเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นนะครับ บางคนที่เป็นนักท่องเที่ยวใหม่อาจจะนึกไม่ถึง นึกเพียงแต่ว่าจังหวัดของคุณปลายเทียน มีแต่เรื่องท่องเที่ยว

ตอนนั่งรถมาจากสนามบิน เพื่อเข้าเมือง สวนยางพาราที่รถวิ่งผ่าน สวยดีนะครับ น่าถ่ายรูปและน่าถ่ายโฆษณา


โดย: yyswim วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:9:11:21 น.  

 

น้องzero….กลัวdemandจะล้นเหรอ? น้องZero บ่ต้องกลัวครับ ประเทศจีนกำลังปิดป่า ความต้องการวัตถุดิบทั้งเรื่อง ยางธรรมชาติ และไม้ยางแผ่น มีหลายๆประเทศกำลังต้องการซื้อครับป๊ม

ยิ่งประเทศไทยกำลังจะมีข้อตกลง FTA กับสหรัฐด้วยแล้ว ความต้องการเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา ยิ่งมีไม่อั้นครับ เพราะสหรัฐแค่ รัฐเท็กซัส รัฐเดียว ก็เท่าเมืองไทยแล้ว

ตอนนี้รัฐกำลังส่งเสริมทางอีสานให้ปลูกยางพารากันครับ จะได้เป็นป่าเศรษฐกิจไปด้วย ดินจะได้ชุ่มชื้น ชาวบ้านจะได้ไม่หนีแล้งเข้ากรุง สามารถกรีดยาง น้ำยางได้ราคาดี ส่งออกน้ำยาง ก็มีประเทศรับซื้อ เพราะยางดิบทางเมืองจีนยังต้องการรับซื้อไปพัฒนาประเทศอีกมาก


คุณmidfielder…..ชอบรูปภาพเหรอคร้าบ ขอบคุณนะครับ

จากข้อมูลที่ค้นคว้ามา เรื่องดีไซน์ของเฟอร์นิเจอร์ เมืองไทยยังต้องการการพัฒนาให้มากกว่านี้อีกครับ


โดย: yyswim วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:9:23:53 น.  

 
แวะมาเยี่ยมครับ เดี๋ยวคืนนี้จะมาคอมเมนท์ใหม่ ครับ ขอศึกษาให้ดีก่อนครับ


โดย: ราชันย์เมฆา IP: 61.7.158.141 วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:12:58:11 น.  

 
ตอนนี้ทางเหนือแถวๆบ้านผมเค้าก็หันมาปลูกยางพารากันเยอะเลยแหละครับ

เริ่มเห็นมันโตขึ้นมั่งล่ะ

ไม่นานก็คงมีการกรีดยางขาย อยากรู้เหมือนกันว่าแนวโน้มตลาดยางในอนาคตจะเป็นอย่างไร

เห็นคนทำสวนยางบ้านเราขายไปราคาเท่านี้

แต่บริษัทผลิตยางรถยนต์นำมาขายราคาสูงลิ่ว

แม๊ๆๆๆ มันช่างหงุดหงิดใจซะเหลือเกิน



โดย: Dr.Manta IP: 58.147.93.109 วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:13:01:32 น.  

 
เป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ดีนะ เคยไปดูเขาทำยางกันด้วยตั้งกะเก็บน้ำยางจนมาถึงผสมน้ำยา เอามาใส่ถาด รอเวลาให้ยางได้ที่แล้วก้เอาเหยียบๆก่อนจะเข้าเครือ่งรีดเป็นแผ่นๆ แต่ยังไม่เคยเห้นเครื่องเรือนที่ทำจากไม้ยากพาราเลย ได้มาเห็นที่บลอกนี้ล่ะค่ะ

มาชวนไปร่วมตั้งชื่อรีสอร์ทด้วยกันจ้า


โดย: ณ มน วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:14:18:55 น.  

 
ชมค่ะ เนื้อหาแน่นดี


โดย: mda IP: 203.159.12.16 วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:14:30:53 น.  

 
มาหวัดดีเย็นวันจันทร์ค้าบบบ
.
.
วันนี้ผมงานยุ่งมาก ๆๆๆๆ


โดย: little-joe วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:15:44:48 น.  

 

ราชันย์เมฆา........มายามไหนก็ได้ ยินดีต้อนรับทุกเวลา ยิ่งตอนทานข้าวเย็น จะเชิญทานข้าวเย็นซะเลย


หมอแมนต้า.....จากข้อมูล มีปลูกยางพาราแถวเชียงใหม่ เชียงราย จริงด้วย

เรื่องราคายาง ก็ขึ้นกับดีมานด์และซัพพลายครับ ถ้าซัพพลายคือประเทศเรา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมกันแข็ง ก็พอจะต่อรองกับผู้ซื้อได้

แต่ถ้าไม่แข็ง แต่ละประเทศต่างลดราคาเพื่อหวังขายก่อน มีหวัง.....

และอีกอย่าง ในแต่ละประเทศก็ต้องรวมตัวกันให้แข็งด้วย ห้ามลักลอบขาย หรือแยกตัวออกไปขายลดราคาอยู่บริษัทเดียว


คุณ ณ มน....ต้นยางมีประโยชน์หลายอย่างครับ ทั้งยาง ต้น และใบยาง


คุณMDA…..ขอบคุณครับ แต่ยังมะค่อยกล้ารับคำชมครับ


โจเล็ก......งานยุ่งเหรอ???? เข้าใจ ...เป็นคนเก่งก็ทำนองนี้ละ มีคนเห็นคุณค่า

เออ ขอให้ได้ผลลัพธ์ดีๆ คืนสนอง


โดย: yyswim วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:16:45:04 น.  

 
ผมว่าประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของยางพารา คือ ทำ condom ไงคร้าบบบ อย่าลืมนะครับ ข้อนี้สำมะคัญ


โดย: นายเจย์ IP: 58.147.95.46 วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:21:12:51 น.  

 
ข้อเขียนวันนี้น่าสนใจมากๆ เลยครับ
นั่งอ่านไปเรื่อยๆ อ่านไปก็เกิดคำถามไป
ว่ายางพารามีข้อดีและข้อไม่ดียังไง
ทำไมถึงขึ้นมาเป็นชนิดไม้หลักในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้
พออ่านไปก็พบข้อมูลที่ตอบข้อสงสัยได้ทุกอย่างเลยครับ
รวมทั้งมีแง่มุมอื่นๆ เสริมเข้าไปอีกด้วย
ยอดเยี่ยมครับ ชอบจัง


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:21:22:10 น.  

 
เป็นไม้ที่มีประโยชน์มากๆคับเนี่ย

อ่ะจึ๋ย อ่านเม้นข้างบน ยางพาราทำ condom ได้ด้วยหรอ


โดย: mingky วันที่: 16 ตุลาคม 2549 เวลา:22:57:01 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาอวยพรวันเกิดผมครับ


โดย: สิงห์นครพิงค์ วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:4:06:48 น.  

 
ทำประโยชน์ได้มากๆ เลยนะคับ


รักษาสุขภาพนะคับ ..




โดย: Malee30 วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:4:44:48 น.  

 
ตามเข้ามาอ่านและเข้ามาชมครับ ได้รู้เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ยางพาราไปด้วยครับ น่าสนใจดีจังครับ ^^


โดย: Tempting Heart วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:6:05:24 น.  

 
เข้ามาอ่านเรื่องราวของยางพาราครับ

ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ


โดย: เด็กอ้วน (Rovivrus ) วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:8:00:33 น.  

 



ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำอวยพรนะคะ ขอให้คุณมีความสุขมากๆเช่นกันค่ะ


โดย: รักบังใบ วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:8:26:35 น.  

 
แวะมาทีไรได้สาระความรู้เต็มอิ่มกลับไปทุกที ยอดเยี่ยมครับท่าน



โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:10:55:28 น.  

 


แวะเข้ามาดูเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ยางพาราค่ะ


โดย: copbureau วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:11:25:38 น.  

 



เอาความสุขมาส่งจ๊ะ....


โดย: แอน (thattron ) วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:13:01:08 น.  

 
ละเอียดจัง ต้องอยู่สถาบันวิจัยยางแน่เลย


โดย: ต่อตระกูล วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:18:15:06 น.  

 
เข้ามาชมแล้ว อยากได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก-ดูแลต้นยางพารา เพราะที่บ้าน(ขุนหาญ ศรีสะเกษ)เพิ่งปลูกได้ 5 เดือน อยากรู้ขั้นตอนทุกอย่าง...แบบละเอียด ศึกษาได้จากที่ไหน


โดย: พี ออม IP: 61.19.55.150 วันที่: 27 ตุลาคม 2549 เวลา:14:41:59 น.  

 
ขอให้Web board ช่วยนำเสนอไม้ยางพาราที่เป็นไม้ NAC ( Non Additonal Chemical) ตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นจนถึงข้อมูลเชิงลึกหน่อยซิครับ เพราะตอนนี้ต่างประเทศกำลังใช้ไม้ NAC มาเป็นจุดขายเพื่อแย่งชิงตลาดสินค้าประเภททอยส์ทำจากม้ยางพารา


โดย: samakida IP: 203.170.207.120 วันที่: 13 มกราคม 2550 เวลา:12:00:02 น.  

 



ในมุมมองเขียนของคุณสิน
มีประโยชน์มากกว่าของดี.เยอะเลยค่ะ
เดี๋ยวทำงานเสร็จ
จะมานั่งอ่านอย่างจริงจังอีกรอบนะคะ












โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:14:12:26 น.  

 
.. .เห็นด้วย มีราคาบอกนิดหน่อย และชื่อร้านด้วย ผมต้องการใช้ไม้ยางพารา ขนาด 1.1.2x3.นี้ว ยาว .60 ซ.ม ประมาณ 300ตัว ช่วยบอกหนอ่ย ครับ ......


โดย: dfk IP: 203.113.56.11 วันที่: 15 กรกฎาคม 2550 เวลา:7:12:20 น.  

 
ผมทำงานวิจัยเรื่องไม้ยางพารา จึงอยากรบกวนถามผู้รู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิต เกี่ยวกับการเข้าไม้
หรือถ้ามีเอกสาร ช่วยส่งให้หน่อยครับ
product0123456@hotmail.comขอบ
คุณล่วงหน้าครับ สำหรับข้อมูล จะนำไปใช้ในการเรียนจบ


โดย: โอ๊ค IP: 124.121.182.23 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:15:37:00 น.  

 
อยากรู้ว่า ไม้ยางพาราทำเครื่องดนตรีได้มั้ยครับ
ไม้ที่ทำเครื่องดนตรีของผมนี่คุณสมบัติคือ เบา เนื้อนุ่ม ยุ่ย ละเอียด แห้งแล้วไม่แตก
ไม่ทราบว่าไม้ยางพาราคุณสมบัติไกล้เคียงมั้ยครับ


โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 29 มีนาคม 2551 เวลา:21:44:53 น.  

 
อยากให้รัฐบาลจัดสรรที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านที่ยากจนเพื่อปลูกยางพารา เพื่อชาวบ้านจะมีรายได้ อยู่ดีกินดีไม่ต้องเข้าไปทำงานในกรุงเทพ ประเทศชาติก็จะร่มรื่นป่าไม้ก็จะอุดมสมบูรณ์ โดยรัฐบาลจะต้องวางระเบียบที่ดินที่จัดสรรให้ ต้องปลูกยางพาราเท่านั้น


โดย: คนอิสาน(เริ่มปลูก) IP: 125.26.98.88 วันที่: 11 สิงหาคม 2551 เวลา:12:19:46 น.  

 
ก็ดีคะ


โดย: คนสวย IP: 118.175.130.156 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:16:00:38 น.  

 
- รับซื้อตอไม้ยางพาราจำนวนมาก
- สนใจ! ติดต่อ คุณเอกพล (แอ๊ด) แผ้วชมภู
C.T.WORLD INTERTRADE LTD.,PART.
PETROASIA
90/39 ม.6 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
Tel : 087-030-3731,086-376-9348 Fax : 02-904-4942
E-mail : pongrapat@hotmail.com


โดย: เอกพล(แอ๊ด)แผ้วชมภู IP: 124.121.214.139 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:28:18 น.  

 
ไม่ทราบว่าจะเข้าถึงข้อมูลตรงของรายงานการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยาง ได้อย่างไรค่ะ เพราะต้องใช้ข้อมุลในการทำงานวิจัย รบกวนผู้เกี่ยวข้องแจ้งด้วยค่ะ


โดย: ชยาพร IP: 118.174.197.94 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:18:08 น.  

 
ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้ไม้ยางพารา แต่หาข้อมูล update ที่เกี่ยวกับไม้ยางพาราไม่ค่อยมี ทั้งข่าวทางภาครัฐ และเอกชน comment 25 ให้ข้อมูลข่าวสารค่อนข้างดีมี e-mail ส่วนตัวมั๊ยคะ รบกวนขอด้วย ดีใจนะคะที่พบ web board นี้


โดย: ธารวิมล IP: 58.10.210.23 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:21:59 น.  

 
ผมทำงานอยู่ในโรงงานผลิตไม้ยางพาราแปรรูป นะครับ เพื่อนำไม้มาทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีกระบวนการคร่าวๆๆ มาเล่าสู่กันฟัง
1 ผ่ายตลาด ต้องทราบว่าลูกค้าต้องการไม้ขนาด เท่าไร โดย ไม้ 1 ท่วน จะมี ความหนา*ความกว้าง*ความยาว เป้น นิ้ว * นิ้ว *เมตร แล้วสั่งให้ฝ่ายผลิต ผลิตออกมาตามวันและเวลาที่จะจัดส่ง
2. ฝ่ายผลิตจะเริ่มที่การจัดซื้อวัตถุดิบ คือต้นไม้ยาง ที่ขนาดและความสวยงามของเนื่อไม้ จากนั้น ทำงานโค่น และตัดความยาวไม้ตามที่กำหนด เช่น 1.10 เมตร
3. นำไม้ที่ได้จากฝ่ายวัตถุดิบ มาทำการแปรรูปโดยใช้เลื่อย สายพาน ให้ได้ ตามขนาดที่ต้องการเช่น หนา 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ยาว 1.10 เมตร ในปริมาณและคุณภาพที่ตกลงกับลูกค้าไว้
4. นำไม้ที่ได้จากโรงเลื่อยมาทำการอัดน้ำ เพื่อป้องกัน มอดและแมลง โดยใช้สารเคมีพวก โบรอน ด้วยเครื่องอัดน้ำยา เมื่อเสร็จแล้ว ก็นำมาเรียง เพื่อเข้าเตาอบให้ไม้แห้งต่อไป
5. นำไม้ที่เรียงตามขนาดและมีการคั้นเพื่อให้ลมผ่านได้แล้วก็นำมาเข้าเตาอบเพื่อไม้ให้เเห้ง โดยใช้แรงลม และไอความร้อน จาก หม้อไอน้ำ ผ่านทางคอยล์ในห้องอบ อบจนไม้แห้งตามที่ต้องการแล้ว จึงเอามาออกมาเรียงตามขนาดและจำนวนตัวที่กำหนด พร้อมทั้งแพ็ค เพื่อส่งออกต่อไป

++5555++ ยาวไปหน่อยแต่อยากถ่ายทอดความรู้ให้คนภายนอกอาชีพได้รู้มั่ง ใครสนจัย รายละเอียด แอดมาคุยกันได้ที่ piyapon_2006@hotmail.com ผมทำงานอยู่สุราษฎร์ นะคราบ ว่างๆๆมาเที่ยวกันบ้างนะคราบ


โดย: yp IP: 118.173.21.125 วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:20:17:22 น.  

 
อยากทราบว่ามีการนำเอาไม้ยางพารามาทำเครื่องดนตรีไหมครับ.........ช่วยตอบหน่อยนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
ปล.ตอบมาที่ Pongsuk2008@hotmail.com


โดย: นายตัว"D" IP: 202.29.24.193 วันที่: 28 พฤษภาคม 2553 เวลา:23:15:22 น.  

 
เรียน ท่านผู้จัดการ

ผมมีลูกค้าต้องการแผ่นไม้ยางพาราอบแห้ง สีธรรมชาติ ตามขนาดๆละ 500 แผ่น/เดือน ดังนี้
1, ขนาด 1.75" x 96" x 25"
2, ขนาด 1.75" x 72" x 25"
3, ขนาด 1.00" x 26.25" x 23.75"

ช่วยเสนอราคาเป็นราคา FOB. และราคา CIF.ส่งที่ LA.USA.

ขอแสดงความนับถือ

ภัทระ

-----------------------------------------------
Mobile Phone : +84 92 888 0788
-----------------------------------------------


โดย: ภัทระ IP: 123.20.162.76 วันที่: 31 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:32:51 น.  

 
จะต้องทำงานวิจัยเกี่ยวกับยางพารา
ขอเข้ามาเก็บข้อมูลหน่อยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: ลูกพีชเชื่อม วันที่: 9 สิงหาคม 2553 เวลา:18:21:43 น.  

 
พอดีอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ เบอร์โทร หรือ e-mail ก็ได้ ของ บ. ที่รับผลิตเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ ที่ทำจากไม้ยางพารา ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนบ้างคะ ถ้าพอจะมีคำตอบให้ได้บ้าง รบกวน ส่งรายละเอียดทาง mail ให้ด้วยนะคะ cheese_creamcake@yahoo.co.th ขอบคุณค่ะ

แต่ขอบอกว่า อ่านข้อมูลแล้ว ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมาก ๆ เลยค่ะ


โดย: warin IP: 183.89.94.26 วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:0:17:13 น.  

 
เป็นโรงงานผลิตไม้ยางพาราแปรรูปอัดอบ ตอนนี้อยากเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในประเทศบ้างเพราะปกติส่งออกอย่างเดียว ลูกค้าในประเทศท่านใดต้องการไม้ยางพาราแปรรูปอัดอบคุณภาพดี ๆ ส่งขนาดไม้ที่ต้องการแล้วร่อน emailมาที่ patara_parawood@hotmail.com /075-470041

ต้องการดูงานวิธีการแปรรูป-อัด-อบ ไม้ยางพาราก็ยินดีนะคะ
ส่วนท่านสนใจสินค้า เราเน้น ราคาคุณภาพ สินค้าคุณภาพ โรงงานคุณภาพจ้า


โดย: patara IP: 118.175.209.48 วันที่: 15 กันยายน 2553 เวลา:11:44:02 น.  

 
เนื้อหาดีค่ะ หนูเอาเนื้อหาไปทำรายงาน อาจารย์ให้เต็มเลยค่ะ


โดย: เกอิชา ซายูริ IP: 125.26.165.2 วันที่: 18 กันยายน 2553 เวลา:20:14:06 น.  

 
ผมตัดยางอัดแก๊สคับ

ได้รายได้ดีด้วยน้ำยางก็ออกมาก

กว่าลองมาอัดแก๊สยางจะได้เพิ่มปริมาณ

น้ำยางของท่านเปอร์เซ็นก็ดีอีกด้วย


โดย: สกาย IP: 223.207.181.98 วันที่: 4 มกราคม 2554 เวลา:18:56:01 น.  

 
ขายหรือเปล่าค่ะเนี่ย..ถ้าขายราคาเท่าไหร่บ้างค่ะ
mink_lov_49@hotmail.com


โดย: มิ้งค์ IP: 202.28.10.55 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:4:17:13 น.  

 
//ice-woody.com/

รับทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ บิวท์อิน ตกแต่งบ้าน ห้อง คอนโด

ice-woody.com เราบริการรับทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะอาหาร โต๊ะทำงาน เก้าอี้ต่างๆ ตู้โชว์ ตู้เอนกประสงค์ เคาน์เตอร์สวยๆ

และเรายังรับ บิวท์อิน ตกแต่งบ้าน ห้องครัว ห้องนอน ห้องทำงาน บริษัท ห้าง ร้าน ของท่าน ตามความต้องการ มีแบบให้ท่านเลือกมากมาย มีผลงานออกแบบบิวท์อินสวยๆ มากมายครับ

ดูตัวอย่างผลงานของเราได้ที่
https://www.facebook.com/pages/Ice-woodycom/260137457392025?sk=photos_stream

หรือที่เว็บไซต์
//ice-woody.com/

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
096-162-2654 (เก่ง)
Line id: icewoody1


โดย: sripana IP: 49.49.251.54 วันที่: 6 มิถุนายน 2558 เวลา:22:44:58 น.  

 
จะติดต่อซื้อได้ที่ไหนคะ


โดย: เมย์ IP: 27.145.176.128 วันที่: 24 กรกฎาคม 2562 เวลา:15:03:20 น.  

 
จะติดต่อซื้อได้ที่ไหนคะ


โดย: เมย์ IP: 27.145.176.128 วันที่: 24 กรกฎาคม 2562 เวลา:15:03:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.