บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
28 มิถุนายน 2553
 

10 วิธีเพื่อสุขภาพหัวใจดีไปนานๆ



จดหมายข่าว 'HEALTHbeat'
ของสำนักพิมพ์ฮาร์วาร์ด ตีพิมพ์เรื่อง '10
small steps for better heart health
' = "10
ขั้นตอนเล็กๆ เพื่อสุขภาพหัวใจดีขึ้น
",
ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [
HEALTHbeat ]



... 


กล่าวกันว่า
ความสำเร็จใหญ่ๆ เป็นผลจากการยืนหยัดพัฒนาครั้งละน้อยๆ หลายครั้ง,
เรื่องสุขภาพหัวใจก็เช่นกัน



ขั้นตอนเล็กๆ เพื่อทำให้สุขภาพหัวใจดีไปนานๆ ได้แก่



...


(1). เดินเพิ่ม
ขึ้นอีก 10 นาที > เมื่อแข็งแรงขึ้นแล้วให้ลองฝึกเพิ่มทีละน้อย เช่น
เดินเร็วสลับเดินช้า เดินแนวราบสลับขึ้นลงบันได เดินสลับวิ่ง
เดินตัวเปล่าสลับเดินสะพายเป้ใส่ถุงทรายถ่วงน้ำหนัก
เดินตัวเปล่าสลับเดินถือถังฝักบัวรดน้ำต้นไม้ (ใส่น้ำด้วย) ฯลฯ



...


(2). ยกของ >
เริ่มจากยกขวดใส่น้ำขนาด 1 ลิตร หรือหนังสือปกแข็ง,
เมื่อแข็งแรงขึ้นแล้วควรหาโอกาเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละน้อย



การออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ มีหลักการสำคัญ คือ
ให้หายใจเข้าออกช้าๆ อย่ากลั้นหายใจ,
การกลั้นหายใจหรือเบ่งอาจทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้นจนเป็นอันตรายได้



...


(3). กินผักหรือ
ผลไม้ทั้งผล (ถ้าเป็นน้ำผลไม้... ควรเป็นชนิดไม่เติมน้ำตาล ไม่กรองกาก
หรือมีน้ำผักปน) เพิ่มขึ้น 1 กำมือ/วัน



การกินถั่วที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ถั่วลิสงต้ม ฯลฯ และลดเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น
วัว หมู แพะ ฯลฯ ให้น้อยลงเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน



...


(4). กินอาหาร
เช้าดีๆ > เริ่มจากธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท (เติมรำ)
ฯลฯ ซึ่งถ้าเสริมถั่ว ผัก หรือผลไม้ในมื้อเช้าได้ด้วย น่าจะดีมาก



ฝรั่ง (ชาวตะวันตก) มีอาหารเสริมทำจากรำ (bran) ใช้ปนไปในขนมปังขาว ข้าวขาว
ทำให้ได้เส้นใย (ไฟเบอร์) เพิ่มขึ้น,
เมืองไทยเราน่าจะหาทางพัฒนาอาหารเสริมเส้นใยจากรำข้าว จมูกข้าว
เพื่อเติมไปในข้าวขาวให้ได้ (คนหลายๆ คนชอบกินข้าวขาว)



...


(5). ลดเครื่อง
ดื่มเติมน้ำตาล > ลองเปลี่ยนจากการซื้อกาแฟหรือชาเป็นชนิดชงเอง
จะช่วยลดปริมาณน้ำตาลไปได้มาก
(ถ้าชงเองมักจะไม่กล้าเติมน้ำตาลมากเท่าของที่ทำขาย)



การลดปริมาณน้ำหวาน น้ำอัดลมครั้งละ 1
แก้วจะช่วยลดปริมาณกำลังงานหรือแคลอรีได้ประมาณ 100 แคลอรีขึ้นไป
ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักไขมันประมาณ 4.5 กก./ปี



...


(6). ถั่ว 1
ฟายมือ/วัน > กินนัท (nuts = ถั่วเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก เช่น อัลมอนด์
ฯลฯ) หรือถั่วลิสง 1 ฟายมือแทนขนม
หรือกินถั่วแล้วลดปริมาณข้าว-แป้ง-น้ำตาลลงในขนาดพอๆ กัน ช่วยให้ได้โปรตีน
ไขมันชนิดดีมาก



แถมเส้นใย (ไฟเบอร์) ชนิดละลายน้ำในถั่วยังทำให้อิ่มนาน
และ่ช่วยดูดซับโคเลสเตอรอลได้ด้วย



...


(7). อาหารทะเล 1
มื้อ/สัปดาห์ > ลองกินอาหารทะเลแทนเนื้อสัตว์ใหญ่สัปดาห์ละ 1 มื้อ
และค่อยๆ เพิ่มเป็น 2 มื้อ/สัปดาห์



อาหารทะเลมีไขมันชนิดดีมากหรือโอเมกา-3 ที่ดีกับสมองและหัวใจมากเป็นพิเศษ
มีแร่ธาตุ เช่น สังกะสี ฯลฯ ที่ดีกับเซลล์ทั่วร่างกาย



...


(8). หายใจช้าๆ
> ฝึกหายใจช้าๆ คราวละ 2-3 นาทีบ่อยๆ
ซึ่งจะฝึกโดยเอามือข้างหนึ่งวางไว้ที่หน้าอก อีกข้างวางที่หน้าท้อง
หายใจช้าๆ ไม่เกิน 10 ครั้ง/นาทีก็ได้ หรือจะฝึกการหายใจช้าๆ
ผ่านการฝึกสมาธิ ไทชิ โยคะก็ได้



การหายใจให้ช้าลงได้เป็นปกตินิสัย อาจทำให้ความดันเลือดและความเครียดลดลง



...


(9). ล้างมือ
บ่อยๆ > ล้างมือด้วยสบู่ (และล้างก๊อกน้ำด้วย)
หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ช่วยลดโอกาสติดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม
ซึ่งทำให้สุขภาพหัวใจแย่ลงชั่วคราว



...


(10). คิดถึง
เรื่องดีๆ ในชีวิตอย่างน้อยวันละเรื่อง > การฝึก "มองตน"
ในแง่ดีมีส่วนช่วยให้สุขภาพดี อายุยืนยาว
ลดความโกรธ-เกลียด-ก้าวร้าวให้น้อยลง



เรื่องที่ควรนำมาคิด คือ เรื่องร้ายๆ ที่กลับกลายเป็นดี
(วิกฤติที่กลายเป็นโอกาส), เรื่องการทำดี (ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่)



เมื่อฝึก "มองตน" ในแง่ดีแล้ว... ขอให้ฝึกมอง "คนใกล้ๆ" ในแง่ดีด้วย เช่น
ฝึกคิดว่า วันนี้จะกล่าวคำขอบคุณ-ขอบใจกับคนใกล้ตัวเราได้อย่างไร



และอย่าลืมฝึกกล่าวคำขอโทษ-ขออภัยให้ได้ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก...
ขอเพียงให้คำพูดของเราทำให้คนอื่นสบายใจก็ทำให้หัวใจของเราเบิกบานแล้ว



...


ถึงตรงนี้...
ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



...


ขอแนะนำท่าโยคะ
ซูเปอร์เบรน (Superbrain Yoga) ซึ่งเมื่อฝึกหายใจช้าๆ ร่วมด้วยแล้ว
จะทำให้สุขภาพดีขึ้นอย่างมากมาย ช่วยบริหารทั้งสมอง การทรงตัว การหายใจ
(ขาลงหายใจออก-ขาขึ้นหายใจเ้ข้า), และกล้ามเนื้อขา-สะโพก



...


[ Twitter ]


ที่

มา                                                         




  • Thank HEALTHbeat
    ;



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร
    ลำปาง. 28 มิถุนายน 2553.




  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ
    การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.









Free TextEditor




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 21:51:39 น.
Counter : 1120 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com